พบผลลัพธ์ทั้งหมด 546 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดแจ้งความเท็จ แม้มีการกระทำต่อเนื่องทำให้เกิดความเสียหายภายหลัง ศาลพิพากษายกฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ศาลอุทธรณ์แก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 3,000 บาท อีกสถานหนึ่ง และรอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท แม้ศาลอุทธรณ์จะลงโทษปรับจำเลยด้วยแต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ โทษที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงต่ำกว่าโทษที่จำเลยจะต้องรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น มิใช่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานและแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 และมาตรา 267 แต่การกระทำของจำเลยที่โจทก์บรรยายไว้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 นั้น ก็เฉพาะการกระทำในส่วนที่อ้างว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและที่ให้เจ้าพนักงานตำรวจจดข้อความอันเป็นเท็จลงในสมุดรายงานประจำวันอันเป็นเอกสารราชการเท่านั้น ส่วนการที่โจทก์กล่าวไว้ในคำฟ้องว่าต่อมาจำเลยนำสำเนารายงานประจำวันไปขอออกใบแทนโฉนดที่ดินแล้วนำไปจดทะเบียนให้แก่ผู้มีชื่อนั้น โจทก์มิได้บรรยายการกระทำและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ตามที่ต้องกล่าวตามมาตรา158(5) จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยสำหรับการกระทำในส่วนนี้ด้วย ดังนั้นในการวินิจฉัยข้อกฎหมายว่าโจทก์จะเป็นผู้เสียหายหรือไม่จึงต้องพิจารณาเฉพาะการกระทำที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยคือการที่จำเลยนำข้อความอันเป็นเท็จไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าโฉนดที่ดินของจำเลยหาย เพื่อให้เจ้าพนักงานตำรวจจดบันทึกไว้ในสมุดรายงานประจำวันอันเป็นเอกสารราชการ การกระทำตามฟ้องที่จำเลยนำข้อความอันเป็นเท็จไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าโฉนดที่ดินของจำเลยหาย เป็นการกระทำต่อเจ้าพนักงานมิได้กระทำต่อโจทก์และข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งให้ร้อยตำรวจโทพ.จดบันทึกลงในสมุดรายงานประจำวันที่เป็นเอกสารราชการนั้น แม้จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137และมาตรา 267 ก็ตาม แต่ข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งนั้น มิได้มีการกล่าวอ้างถึงการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นของโจทก์ ความที่ปรากฏว่าเป็นเท็จก็ดี สมุดรายงานที่เจ้าพนักงานจดบันทึกไว้มีข้อความเป็นเท็จก็ดีมิได้ทำให้สิทธิของโจทก์เกี่ยวกับการมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในโฉนดต้องถูกเปลี่ยนแปลงหรือกระทบกระเทือนต่อการที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในทางที่ทำให้สิทธิที่มีอยู่ลดน้อยถอยลงในการกระทำความผิดของจำเลยในส่วนนี้โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายแม้จะได้ความต่อมาว่า จำเลยได้นำหลักฐานการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจไปดำเนินการต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอใบแทนโฉนดแล้วนำไปขายให้บุคคลอื่นอันเป็นการกระทำที่เกิดความเสียหายให้แก่โจทก์ก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ที่กระทำต่อมาหลังจากการกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและให้เจ้าพนักงานตำรวจจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการสำเร็จแล้วนั้น เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษ จึงนำเอาการกระทำส่วนนี้มาเป็นข้อพิจารณาว่าโจทก์เสียหายในส่วนของการกระทำตามฟ้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2803/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำผิด การแจ้งความเท็จไม่ทำให้สิทธิของโจทก์ลดลง
คดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 3,000 บาท อีกสถานหนึ่ง และรอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี นั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท แม้ศาลอุทธรณ์จะลงโทษปรับจำเลยด้วยแต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้ โทษที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงต่ำกว่าโทษที่จำเลยจะต้องรับตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219 คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยได้แจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่า โฉนดที่ดินที่โจทก์ฟ้องเป็นของจำเลยได้หายไปจากบ้านพักพนักงานสอบสวนจึงได้จดข้อความตามที่จำเลยแจ้งลงในสมุดรายงานประจำวันอันเป็นเอกสารราชการ ซึ่งความที่จำเลยแจ้งต่อพนักงานสอบสวนดังกล่าวเป็นความเท็จ ดังนี้ เห็นได้ว่า การกระทำตามที่บรรยายฟ้องมานั้นจำเลยกระทำต่อเจ้าพนักงานมิได้กระทำต่อโจทก์และข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งให้พนักงานสอบสวนจดบันทึกลงในสมุดรายงานประจำวันที่เป็นเอกสารราชการนั้น แม้จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 และมาตรา 267 ก็ตาม แต่ข้อความเท็จที่จำเลยแจ้งนั้นมิได้มีการกล่าวอ้างถึงการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นของโจทก์ความที่ปรากฏว่าเป็นเท็จก็ดี สมุดรายงานที่เจ้าพนักงานจดบันทึกไว้มีข้อความเป็นเท็จก็ดี มิได้ทำให้สิทธิของโจทก์เกี่ยวกับการมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินในโฉนดต้องถูกเปลี่ยนแปลงหรือกระทบกระเทือนต่อการที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดดังกล่าวในทางที่ทำให้สิทธิที่มีอยู่ลดน้อยถอยลงแต่ประการใด ในการกระทำความผิดของจำเลยในส่วนนี้โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย แม้จะได้ความต่อมาว่า จำเลยได้นำหลักฐานการแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจไปดำเนินการต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อขอใบแทนโฉนดแล้วนำไปขายให้บุคคลอื่น อันเป็นการกระทำที่เกิดความเสียหายให้แก่โจทก์ก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยในส่วนนี้ที่กระทำต่อมาหลังจากการกระทำความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจและให้เจ้าพนักงานตำรวจจดข้อความเท็จลงในเอกสารราชการสำเร็จแล้วนั้น เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากการกระทำที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย จึงนำเอาการกระทำส่วนนี้มาเป็นข้อพิจารณาว่าโจทก์เสียหายในส่วนของการกระทำตามฟ้องไม่ได้เมื่อโจทก์มิใช่ผู้เสียหายสำหรับการกระทำที่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเรื่องทรัพย์สิน: โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยตรง แม้ความผิดต่อเจ้าพนักงาน
จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ลักทรัพย์จำเลยอันเป็นความเท็จทำให้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญา โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงในข้อหาฐานแจ้งข้อความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามป.อ. มาตรา 137 แม้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวจะเป็นความผิดต่อเจ้าพนักงานซึ่งปกติรัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรงก็ตาม ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเนื่องจากเห็นว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายโจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ แต่จำเลยได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์โต้แย้งว่าทรัพย์ของกลางเป็นของจำเลย การที่ศาลอุทธรณ์ด่วนฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่าทรัพย์ของกลางเป็นของโจทก์ โดยไม่วินิจฉัยในประเด็นนี้ จึงเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงที่ไม่ชอบ และไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา แต่เมื่อปรากฏพยานหลักฐานในสำนวนแล้วศาลฎีกาวินิจฉัยข้อเท็จจริงได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2415/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแจ้งความเท็จ: ผู้เสียหายจริงคือผู้ถูกกล่าวหาเมื่อได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ
จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์ลักทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นความเท็จ ทำให้โจทก์ถูกดำเนินคดีอาญา แม้ความผิดฐานแจ้งความเท็จแก่เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137เป็นความผิดต่อเจ้าพนักงาน ซึ่งปกติรัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรงก็ตามแต่โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษจากการร้องทุกข์ของจำเลยซึ่งเป็นเท็จ โจทก์ย่อมเป็นผู้เสียหายที่แท้จริงในข้อหาดังกล่าวและมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ-เบิกความเท็จ: การพิจารณาความผิดกรรมเดียว-หลายบท และอำนาจศาลฎีกาในการวินิจฉัยข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานแจ้งความเท็จ 2 กระทงฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม ฐานเบิกความเท็จอีก 2 กระทงฐานแจ้งความเท็จกระทงแรกจำคุก 1 ปี ฐานใช้เอกสารปลอมกับแจ้งความเท็จกระทงหลังให้ลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมจำคุก 2 ปี ฐานเบิกความเท็จจำคุกกระทงละ 3 ปี รวมเป็นโทษจำคุก 9 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสามคงจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยฐานใช้เอกสารปลอม กระทงหนึ่ง จำคุก 6 เดือน และจำเลยมีความผิดฐานเบิกความเท็จกระทงเดียวจำคุก 6 เดือน รวมเป็นจำคุก 1 ปี ลดโทษให้หนึ่งในสาม คงลงโทษจำคุก 8 เดือน เป็นการแก้ไขเพียงเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและเบิกความเท็จจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคแรก แม้ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยในความผิดฐานแจ้งความเท็จและยังไม่ได้ชี้ขาดข้อเท็จจริงว่าข้อความที่จำเลยแจ้งความต่อร้อยตำรวจโทป. เป็นเท็จหรือไม่ แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณา การที่จำเลยไปแจ้งความว่าโจทก์ออกเช็คให้แก่จำเลยทั้งที่ความจริงโจทก์ออกเช็คให้แก่ ว. ทำให้จำเลยกลายเป็นผู้เสียหายมีอำนาจร้องทุกข์ การแจ้งความดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานแจ้งความเท็จ การที่จำเลยเบิกความสองครั้งในคดีเดียวกันคือในชั้นไต่สวนมูลฟ้องและชั้นพิจารณาแม้จะเป็นการเบิกความคนละคราว แต่ก็เป็นการนำสาระสำคัญของข้อความในเรื่องเดียวกัน มูลเหตุเดียวกันมากล่าวอีกครั้งโดยมีเจตนาให้โจทก์ต้องโทษในคดีเดียวกันเท่านั้น จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดกฎหมายหลายบท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4692/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธมีคมจนเป็นอันตรายสาหัส และแจ้งความเท็จ ศาลยืนโทษจำคุก
บาดแผลที่คอของโจทก์ที่ 2 จากการถูกเชือด ด้วยมีดทำครัวแผลบนกว้าง 2 เซนติเมตร ยาว 9 เซนติเมตร แผลล่างกว้าง 3 เซนติเมตรยาว 14 เซนติเมตร เป็นบาดแผลบริเวณที่สำคัญ ทำให้โจทก์ที่ 2มีอาการเจ็บปวด หันคอไม่สะดวก หลังจากผ่าตัดและเย็บแผล 2 ครั้งแพทย์ต้องนัดโจทก์ที่ 2 ไปตรวจรักษาอีก 3 ครั้ง รวมเวลาที่ใช้รักษาทั้งหมด 30 วัน แม้จะได้ความว่าโจทก์ที่ 2 ไม่ได้พักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเลย และยังสามารถไปให้การต่อพนักงานสอบสวนได้เองหลายครั้งในระหว่างที่ยังรักษาบาดแผลอยู่ ก็มิได้หมายความว่าโจทก์ที่ 2จะสามารถประกอบกรณียกิจตามปกติได้ในระหว่างนั้น จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 2 ป่วยเจ็บจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่า 20 วันอันเป็นอันตรายสาหัส จำเลยที่ 1 ทำร้ายโจทก์ที่ 2 โดยใช้มีดเชือด บริเวณลำคอจนโจทก์ที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัสเป็นบาดแผลฉกรรจ์ถึง 2 แผล เกิดเหตุแล้วจำเลยที่ 1 ยังไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาโจทก์ที่ 2 ใช้มีดฟันที่แขนจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่เป็นความจริง และไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้พยายามบรรเทาผลร้ายโดยให้ความช่วยเหลือแก่โจทก์ที่ 2 แต่อย่างใด แม้จำเลยที่ 1 จะประกอบอาชีพเป็นหลักฐานและเคยมีคุณความดีมาก่อน แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์แห่งการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 แล้ว ไม่สมควรรอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2523/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาออกเช็ค-แจ้งความเท็จ: ความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค และ ป.อาญา ม.267
จำเลยทำสัญญากู้เงิน โดยตกลงกันว่าหากจำเลยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำเลยจะชำระหนี้เงินกู้ภายในหนึ่งเดือนและได้ออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวลงวันที่ล่วงหน้าตามสัญญา แม้ต่อมาจำเลยไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่การที่จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้เงินกู้ตั้งแต่แรก จำเลยย่อมคาดหวังว่าจะได้รับเลือกตั้งแน่นอน หาใช่ออกเช็คพิพาทเพื่อเป็นประกันหนี้เงินกู้ไม่เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยย่อมมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3 การที่จำเลยไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจว่าสมุดเช็ค หายทั้งเล่ม หลังจากออกเช็คพิพาทเพียง 3 วันจำเลย จะอ้างว่าไม่มีเจตนาแจ้งว่าเช็คพิพาทหายหาได้ไม่ เพราะเช็คพิพาทรวมอยู่ในสมุดเช็คดังกล่าวด้วยซึ่งสามัญสำนึกของบุคคลเช่นจำเลยที่มีความรู้และยังสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยย่อมต้องรู้ถึงผลของการกระทำของตนเองดีว่าเป็นการแจ้งความเท็จให้เจ้าพนักงานจดข้อความดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2281/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของเจ้าพนักงาน การตรวจค้น การหน่วงเหนี่ยวกักขัง และการแจ้งความเท็จ
คำฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงองค์ประกอบอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 200 การเพิ่มเติมเฉพาะบทมาตรา 200 ในคำขอท้ายฟ้อง จึงไม่มีผลทำให้ศาลลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์เพิ่มเติมฟ้องได้ จำเลยละเว้นไม่จับกุมผู้ขับรถฝ่าฝืนสัญญาณจราจรแม้เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แต่จำเลยมิได้กระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ส.บอกจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจว่าโจทก์หยิบอาวุธปืนสั้นออกมาจากรถ การที่จำเลยตรวจค้นรถโจทก์จึงเป็นการกระทำโดยมีเหตุอันสมควรที่จะตรวจค้น มิใช่เป็นการกลั่นแกล้งโจทก์การกระทำของจำเลยเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังและทำให้โจทก์ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อหาดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยไม่มีสัญชาติไทย ถือเป็นกรรมเดียวผิดหลายบท
จำเลยที่ 1 เป็นชาวญวนอพยพ ไม่มีสัญชาติไทยและไม่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่าบัตรประจำตัวประชาชนหาย แล้วนำหลักฐานที่พนักงานสอบสวนออกให้ไปยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานเขตบางกอกน้อยว่าตนมีสัญชาติไทย และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตัวบุคคล ซึ่งเป็นการกระทำในวันเดียวกัน เวลาต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137, 267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ-ใช้เอกสารเท็จเพื่อออกบัตรประจำตัวประชาชน - ความผิดกรรมเดียว
จำเลยที่ 1 เป็นชาวญวนอพยพ ไม่มีสัญชาติไทยและไม่เคยมีบัตรประจำตัวประชาชน ได้แจ้งความเท็จต่อพนักงานสอบสวนว่าบัตรประจำตัวประชาชนหาย แล้วนำหลักฐานที่พนักงานสอบสวนออกให้ไปยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ โดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานเขตบางกอกน้อยว่าตนมีสัญชาติไทย และแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการ เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตัวบุคคลซึ่งเป็นการกระทำต่อเนื่องกัน โดยมีเจตนาเดียวกันเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้ ถือได้ว่าเป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137,267 และพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14ซึ่งเป็นบทหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90