คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
แบ่งมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 350 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4097/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีแบ่งมรดก: ตกลงราคาทรัพย์บางส่วนได้ ให้งดบังคับคดีได้ หากไม่ตกลงให้ดำเนินตามคำพิพากษา
ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้แบ่งแยกที่ดินพิพาทและบ้าน 3 หลัง บนที่ดินแก่โจทก์ตามส่วนในคำพิพากษา ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ก็ให้ประมูลกันในระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 เอาเงินแบ่งให้โจทก์ตามส่วน หากการประมูลไม่ตกลงกัน ก็ให้นำออกขายทอดตลาด เอาเงินสุทธิแบ่งให้โจทก์ตามส่วน ทั้งได้ส่งคำบังคับแก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 โดยวิธีปิดคำบังคับ โดยชอบแล้ว ข้อความในคำพิพากษาและคำบังคับแสดงอยู่ในตัวว่าการตกลงแบ่งทรัพย์สินกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3ที่ 4 ดังกล่าวจะต้องเป็นการตกลงแบ่งทั้งที่ดินพิพาทและบ้านพิพาท เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ตกลงยินยอมแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามส่วนในอัตราตารางวาละ 15,000 บาทแต่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ไม่ตกลงแบ่งบ้านพิพาทให้โจทก์ตามส่วน โดยคำนวณราคารวมที่ดินพิพาทเป็นเงิน 500,000 บาทตามที่โจทก์เรียกร้อง จึงถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 2 ที่ 3ที่ 4 ยังไม่อาจตกลงกันในชั้นบังคับคดีได้ครบทุกข้อกรณีจึงต้องบังคับตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ว่า การแบ่งแยกที่ดินพิพาทและบ้านพิพาท 3 หลัง ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้ก็ให้ประมูลกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4เอาเงินแบ่งให้โจทก์ตามส่วน หากการประมูลไม่ตกลงกันก็ให้นำออกขายทอดตลาดเอาเงินสุทธิแบ่งให้โจทก์ตามส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์มรดกและการขาดอายุความฟ้องร้องแบ่งมรดก
การที่ทายาทคนหนึ่งครอบครองทรัพย์มรดกไว้นั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุนว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นด้วย กรณีจะเป็นการครอบครองทรัพย์มรดกไว้แทนทายาทอื่นหรือครอบครองไว้เพื่อตนเองย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในแต่ละคดี เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสามไม่ได้ครอบครอง ทรัพย์มรดกแต่จำเลยเป็นผู้ครอบครองซึ่งเป็นการครอบครองไว้เพื่อ ตนเอง มิได้ครอบครองไว้แทนโจทก์ทั้งสามซึ่งเป็นทายาทด้วย โจทก์ทั้งสามฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกที่พิพาทเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่ จ้ามรดกตาย คดีของโจทก์ทั้งสามจึงขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4289/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการมรดกโดยผู้จัดการที่ละเลยหน้าที่และโอนทรัพย์สินโดยมิชอบ ทายาทมีสิทธิขอถอนผู้จัดการและแบ่งมรดก
จำเลยอ้างว่ามีสัญญาประนีประนอมยอมความเมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือจึงรับฟังตามข้อต่อสู้ไม่ได้ เพราะ ป.พ.พ. มาตรา 851หมายความรวมถึงการต่อสู้คดีด้วยไม่ว่าจะมีการปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้วหรือไม่ก็ตาม จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้โอนมรดกเป็นของตนเอง เป็นการละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ และมีพฤติการณ์แสดงว่าจะจัดการมรดกไปในทางที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทายาท อันมีเหตุที่จะถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการตามมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1727 โจทก์ในฐานะทายาทจึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิฟ้องขอให้ถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องมรดกสืบแทนและการร้องสอดคดีแบ่งมรดกของผู้มีสิทธิรับมรดก
เมื่อโจทก์ฟ้องคดีขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและ ครอบครองทรัพย์มรดกแบ่งทรัพย์ในกองมรดกให้ และคดีอยู่ในระหว่าง การพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องผู้มีสิทธิรับมรดกที่มีอยู่ ในกองมรดกก็ มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้ได้ ผู้ร้อง ย่อมมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57(1) และ ป.พ.พ. มาตรา 1749 ศาลชั้นต้น จะยก คำร้องสอดอ้างว่าทำให้คดีล่าช้าไม่สะดวกแก่การพิจารณา พิพากษาหาได้ไม่ แม้ว่าผู้ร้องจะชำระค่าขึ้นศาลไม่ครบถ้วน ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจที่จะสั่งให้ชำระเพิ่มเติมให้ครบถ้วนได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในระยะเวลาหรือเงื่อนไข ที่กำหนดศาลชั้นต้นจึงจะมีอำนาจสั่งไม่รับคำร้องสอดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3480/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทโดยการสืบแทนและการร้องสอดคดีแบ่งมรดก
เมื่อโจทก์ฟ้องคดีขอให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกและครอบครองทรัพย์มรดกแบ่งทรัพย์ในกองมรดกให้ และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ผู้ร้องผู้มีสิทธิรับมรดกที่มีอยู่ในกองมรดกก็มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้ได้ ผู้ร้องย่อมมีสิทธิร้องสอดเข้ามาในคดีเพื่อบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1) และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1749 ศาลชั้นต้นจะยกคำร้องสอดอ้างว่าทำให้คดีล่าช้าไม่สะดวกแก่การพิจารณาพิพากษาหาได้ไม่ แม้ว่าผู้ร้องจะชำระค่าขึ้นศาลไม่ครบถ้วน ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจที่จะสั่งให้ชำระเพิ่มเติมให้ครบถ้วนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในระยะเวลาหรือเงื่อนไขที่กำหนด ศาลชั้นต้นจึงจะมีอำนาจสั่งไม่รับคำร้องสอดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกกรณีสมรสตามกฎหมายอิสลามและประมวลกฎหมายแพ่ง โดยพินัยกรรมผูกพันเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก
เจ้ามรดกได้รับที่พิพาทจากบิดาในระหว่างที่สมรสกับมารดาโจทก์ตามกฎหมายอิสลามก่อนวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใช้บังคับ ตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกไม่มีบัญญัติว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินสมรสหรือไม่ ต้องใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียอันเป็นกฎหมายในขณะนั้นบังคับ ที่พิพาทจึงเป็นสินสมรส ต่อมามารดาโจทก์ถึงแก่กรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งเจ้ามรดกและมารดาโจทก์มีสินเดิมหรือไม่ ที่พิพาทจึงตกเป็นของมารดาโจทก์ 1 ส่วนและตกเป็นของเจ้ามรดกเอง 2 ส่วน เฉพาะทรัพย์ส่วนที่เป็นของมารดาโจทก์นั้นต้องแบ่งแก่ทายาทตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ข้อความในพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงผูกพันที่พิพาทเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก ไม่มีผลผูกพันส่วนของมารดาโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะได้รับทั้งส่วนที่เป็นมรดกของมารดาโจทก์และส่วนของเจ้ามรดกที่ระบุไว้ในพินัยกรรม
ปัญหาว่าส่วนของมารดาโจทก์จะต้องแบ่งกันตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก และโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจะได้รับส่วนของมารดาโจทก์เท่าใด เป็นข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมต้องเป็นผู้ชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม ฯ พ.ศ.2489มาตรา 3, 4 จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกสินสมรสระหว่างทายาทและคู่สมรสก่อนกึ่งหนึ่ง
จำเลยยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลชั้นต้นกำหนด เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้แล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อนี้ จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มิได้วินิจฉัยให้ คำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองจึงวินิจฉัยไม่ครบถ้วนตาม ประเด็นพิพาทของคู่ความอันเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควร วินิจฉัยประเด็นดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ส.และห. อยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ไม่ปรากฏว่าฝ่ายใดมีสินเดิม ทรัพย์ที่ได้มาระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรส ห.ผู้เป็นภริยามีสิทธิได้รับสินสมรส 1 ใน 3 ส่วน ทายาทโดยธรรมของ ส.มี6คนคือห. และผู้สืบสันดานจึงต้องแบ่งทรัพย์สินออกเป็นมรดกของ ส. จำนวน 2 ใน 3 ส่วนแล้วแบ่งทรัพย์มรดกของ ส. ออกเป็น 6 ส่วนเท่า ๆ กัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 823/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก การแบ่งมรดก และสิทธิของเจ้าของรวม
หลังจากเจ้ามรดกตาย โจทก์จำเลยซึ่งเป็นบุตรของเจ้ามรดกและ ส. ซึ่งเป็นภรรยาของเจ้ามรดกได้ครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกร่วมกัน ส่วนบุตรคนอื่นของเจ้ามรดกไม่ได้ร่วมครอบครองที่ดินพิพาทด้วย แม้ต่อมา ส. ได้รื้อบ้านออกไปปลูกในที่ดินแปลงอื่น ก็ถือว่าโจทก์จำเลยและ ส. ได้ครอบครองที่ดินพิพาทร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748 การที่ส.ขอออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยลงชื่อตนเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียวในภายหลังโดยโจทก์ไม่ยินยอม ก็ถือว่าโจทก์ยังคงมีส่วนในที่ดินพิพาทนั้น 1 ใน 3 ส่วนอยู่เช่นเดิม ส.ไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทส่วนของโจทก์ไปยกให้จำเลย โจทก์ขอแบ่งที่ดินพิพาทที่ตนเป็นเจ้าของรวมจากจำเลย 1 ใน 3 ส่วนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องแบ่งมรดกซ้ำกับคดีก่อนที่เคยฟ้องแล้วย่อมถูกห้ามตามกฎหมาย
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ขอให้แบ่งปันมรดกให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่จำเลยทั้งสามทำกับผู้จัดการมรดกร่วมของผู้ตายโดยมิได้ขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายด้วย คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแม้โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่โจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันระบุถึงส่วนแบ่งมรดก การฟ้องคดีของโจทก์ในคดีก่อนจึงเป็นการเรียกร้องมรดกในฐานะที่ตนเป็นทายาทนั่นเอง ในเมื่อคดีก่อนโจทก์มิได้ฟ้องขอแบ่งที่พิพาทที่เป็นมรดกมาด้วยตามสิทธิที่จะเรียกร้องได้ คงมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อน เมื่อโจทก์จำเลยทั้งสามเป็นคู่ความรายเดียวกัน คดีของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
ปัญหาที่ว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ทั้งข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนตามที่คู่ความนำสืบก็เป็นการนำสืบโดยถูกต้องตามวิธีพิจารณา ศาลจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5480/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องแบ่งมรดกซ้ำหลังคดีก่อนถึงที่สุดแล้ว
โจทก์เคยฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ขอให้แบ่งปันมรดกให้แก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ที่จำเลยทั้งสามทำกับผู้จัดการมรดกร่วมของผู้ตายโดยมิได้ขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายด้วย คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแม้โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นการฟ้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็ตาม แต่โจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันระบุถึงส่วนแบ่งมรดก การฟ้องคดีของโจทก์ในคดีก่อนจึงเป็นการเรียกร้องมรดกในฐานะที่ตนเป็นทายาทนั่นเอง ในเมื่อคดีก่อนโจทก์มิได้ฟ้องขอแบ่งที่พิพาทที่เป็นมรดกมาด้วยตามสิทธิที่จะเรียกร้องได้ คงมาฟ้องใหม่เป็นคดีนี้ ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในคดีนี้จึงเป็นประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้ในคดีก่อน เมื่อโจทก์จำเลยทั้งสามเป็นคู่ความรายเดียวกัน คดีของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 ปัญหาที่ว่าฟ้องของโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลเห็นสมควรก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ทั้งข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนตามที่คู่ความนำสืบก็เป็นการนำสืบโดยถูกต้องตามวิธีพิจารณา ศาลจึงยกขึ้นวินิจฉัยได้.
of 35