คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โจทก์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,033 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีความผิดอันยอมความได้ เริ่มนับจากวันที่โจทก์ทราบเรื่องความผิดและตัวผู้กระทำผิด
ในขณะที่จำเลยตกลงซื้อขายที่ดินกับ อ.มีการรังวัดที่ดินกัน 1 ครั้งโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงลงชื่อยินยอมในการรังวัดของเจ้าพนักงานที่ดินไว้ด้วยจำเลยทำคำขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในวันที่ 24 กรกฎาคม 2538 แล้วทำสัญญาขายที่ดินเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2538 และตามคำขอจดทะเบียนสิทธิก็ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่บันทึกให้มีการประกาศเป็นเวลา 30 วันก่อน แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้มีการรังวัดกันเมื่อใด แต่ก็ย่อมต้องกระทำก่อนที่มีการทำสัญญาซื้อขาย แสดงว่าโจทก์รู้ว่าจำเลยตกลงขายที่ดินตั้งแต่ก่อนวันที่ 19 กันยายน 2538 แล้ว ที่โจทก์อ้างว่าเพิ่งทราบเรื่องเมื่อธันวาคม 2538 ก็ขัดกับคำเบิกความของโจทก์เอง ดังนั้นเมื่อโจทก์ทราบว่าจำเลยได้ขายที่ดินให้ อ.แล้ว จะถือว่าอายุความเริ่มนับแต่เดือนธันวาคม2538 ไม่ได้
คดีความผิดอันยอมความได้ เมื่อโจทก์มาฟ้องคดีเมื่อเกินกำหนด3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด จึงขาดอายุความตาม ป.อ.มาตรา 96 กรณีเป็นเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8152/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดคำนวณทุนทรัพย์คดีแพ่ง ต้องพิจารณาจากราคาที่โจทก์ฟ้อง มิใช่จากคำต่อสู้ของจำเลย
การคิดคำนวณทุนทรัพย์นั้นพึงคิดจากราคาตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องในศาลชั้นต้นหรือผู้อุทธรณ์ในชั้นศาลอุทธรณ์หรือผู้ฎีกาในชั้นศาลฎีกา มิใช่คิดคำนวณทุนทรัพย์จากผู้ที่มิได้ฟ้องหรือมิได้อุทธรณ์หรือมิได้ฎีกา โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์มรดกให้โจทก์ทั้งเจ็ดคนละเท่าๆ กัน คือคนละหนึ่งในแปดส่วนของทุนทรัพย์ 345,000 บาท จำเลยให้การว่า ที่พิพาทมิใช่ทรัพย์มรดกขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งเจ็ดอุทธรณ์ ดังนี้ การคิดคำนวณทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์สามารถแยกคิดออกเป็นของโจทก์แต่ละคนได้โดยชัดแจ้งคือคนละ 43,125 บาท ไม่เกินคนละ 50,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8081/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: โจทก์มีสิทธิฟ้องทั้งนายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้
พ.ร.ฎ. แบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 3 ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา (จำเลยที่ 1) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วย? เครื่องหมายการค้า? มาตรา 4 กำหนดให้กองตรวจสอบ 2 ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 5 (3) (ก) เป็นส่วนราชการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและควบคุมดูแลการดำเนินการของกองตรวจสอบ 2 เกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ส่วนจำเลยที่ 10 เป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีอำนาจหน้าที่รับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เมื่อจำเลยที่ 10 มีคำวินิจฉัยให้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นคัดค้านไว้และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมติยืนตามคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 10 โดยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า รวมทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 10 เป็นจำเลยต่อศาลได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7823/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เริ่มนับจากวันที่สามารถบังคับคดีได้จริง
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยที่ 1 จะเปิดทางภาระจำยอมภายในวันที่ 31 สิงหาคม 2533 ดังนี้ โจทก์ทั้งสี่จะขอบังคับคดีในส่วนนี้ได้หลังวันที่ 31 สิงหาคม 2533 ไปแล้ว กำหนดเวลา 10 ปี ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 ย่อมเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์ทั้งสี่อาจขอดำเนินการบังคับคดีได้ คือวันที่ 1 กันยายน 2533 เป็นต้นไป โจทก์ทั้งสี่ยื่นคำขอดำเนินการบังคับคดีเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2542 ยังไม่เกิน 10 ปี โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7607/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวและการระงับสิทธิเรียกร้อง
คดีความผิดต่อส่วนตัวจำเลยที่ 3 ฎีกาแต่ผู้เดียว ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์ยื่นคำร้อง ขอถอนฟ้อง เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่คัดค้าน ศาลฎีกาจึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยได้และสิทธินำ คดีอาญามาฟ้องย่อมระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ศาลฎีกาให้จำหน่ายคดี
วินิจฉัยตามแนวคำพิพากษาฎีกาที่ 2870/2541

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7578/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินพิพาทหลังสัญญาขายฝาก: โจทก์ยังไม่ได้ครอบครอง จึงไม่มีความผิดฐานบุกรุก
จำเลยที่ 2 ทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทแก่ พ. แต่ พ. ไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยที่ 2 ยังคงครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา ต่อมา พ. ขายที่ดินพิพาทให้โจทก์ แต่ก็เป็นเพียงดำเนินการทางทะเบียนเท่านั้น โจทก์ยังมิได้ครอบครองที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงไม่เป็นการเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์อันจะเป็นความผิดฐานบุกรุกได้ และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิจำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5372/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่ผูกพันโจทก์ หากทำโดยทนายโดยโจทก์ไม่ยินยอม
เมื่อประเด็นแห่งคดีคงมีเฉพาะเกี่ยวกับหนี้จำนวนที่โจทก์ฟ้องมิได้รวมถึงหนี้รายอื่นที่จำเลยให้การถึง การที่ทนายโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยในหนี้รายอื่น โดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในหนี้ที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ไม่มีผลผูกพันโจทก์ และศาลไม่อาจมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นให้ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 138 โจทก์ย่อมอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนเสียได้
โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5372/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความต้องครอบคลุมเฉพาะประเด็นแห่งคดี การทำสัญญาเกี่ยวกับหนี้อื่นย่อมไม่ผูกพันโจทก์
เมื่อประเด็นแห่งคดีคงมีเฉพาะเกี่ยวกับหนี้จำนวนที่โจทก์ฟ้องมิได้รวมถึงหนี้รายอื่นที่จำเลยให้การถึง การที่ทนายโจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยในหนี้รายอื่น โดยโจทก์มิได้ยินยอมด้วย จึงเป็นการทำสัญญาประนีประนอมยอมความในหนี้ที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ไม่มีผลผูกพันโจทก์ และศาลไม่อาจมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นให้ได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้ จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 โจทก์ย่อมอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนเสียได้
โจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138 เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4270/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน: โจทก์ต้องพร้อมชำระหนี้ก่อนจึงจะบังคับให้จำเลยชำระหนี้ได้
++ เรื่อง สัญญาต่างตอบแทน
++ โปรดดูย่อจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา สำนักงานศาลยุติธรรม
++ เล่มที่ 8 หน้า 176 ++
++ ขอดูชุดพิเศษโปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานมีผลเพียงชี้แนะ ไม่ใช่คำสั่ง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอน
เมื่อปรากฏว่านายจ้างได้กระทำการฝ่าฝืนประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตามพนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจเตือนให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามประกาศ กระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 77 แต่คำเตือนดังกล่าวมีผล เพียงเป็นการชี้แนะของเจ้าหน้าที่เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่าง นายจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัยที่กฎหมายบัญญัติ ให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ถ้านายจ้างเห็นว่าคำเตือนนั้น ไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็น การกระทบกระเทือนต่อสิทธิหน้าที่ของโจทก์ไม่เป็นการโต้แย้ง เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของนายจ้างตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 นายจ้างไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงาน
of 104