คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โฉนด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 214 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 704/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินนิคมสร้างตนเองยังไม่ได้ออกโฉนด ถือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ไม่อยู่ในอำนาจบังคับคดี
ที่ดินซึ่งกรมประชาสงเคราะห์จัดสรรให้จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองเข้าทำกินตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2485 และทางนิคมยังไม่ได้ออกหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลยเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินและไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 343/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำรางใช้ประโยชน์ทั่วไป แม้ในโฉนดโจทก์ ก็อาจเป็นสาธารณสมบัติได้ หากเจ้าของเดิมไม่เคยห้าม
ลำรางพิพาทอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์ แม้โจทก์มิได้อุทิศให้เป็นทางสาธารณะก็ตาม แต่เมื่อลำรางนี้ประชาชนทั่วไปได้ใช้ประโยชน์เป็นสัญจรไปมาหลายสิบปี ก่อนที่ที่ดินนั้นจะตกมาเป็นของโจทก์ เจ้าของที่ดินก็มิได้ว่ากล่าวหวงห้ามในการที่ประชาชนทั่วไปใช้ประโยชน์ในลำรางนี้แสดงว่าเจ้าของที่ดินเดิมได้อุทิศที่ดินส่วนที่เป็นอำรางพิพาทนี้ให้เป็นสาธารณประโยชน์โดยปริยายแล้ว แม้จะไม่ได้แก้โฉนด ลำรางพิพาทก็เป็นลำรางสาธารณะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาข้อเท็จจริง: ประเด็นสำคัญคือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่ใช่กระบวนการออกโฉนด
ในกรณีที่ประเด็นสำคัญแห่งคดีมีอยู่ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์จริงหรือไม่แล้วจำเลยมาฎีกาว่าประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่าจำเลยได้เคยเอาที่ดินที่เคยเช่าวัดบางส่วนกับเอาที่ดินของวัดที่ไม่ได้เช่าบางส่วนไปรวมออกโฉนดจริงหรือไม่ เช่นนี้เมื่อประเด็นที่จำเลยว่าสำคัญเป็นประเด็นที่จำเลยยกกล่าวอ้างขึ้นมาเองเพื่อจะให้เข้ากับกฎหมายที่ประสงค์จะอ้างอิงและเพื่อที่จะให้ศาลวินิจฉัยไปตามประเด็นที่ยกขึ้นนั้นดังนี้ เป็นฎีกาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดินยังไม่สมบูรณ์จนกว่าจะมีโฉนด การครอบครองที่ดินด้วยใบไต่สวนยังไม่เพียงพอต่อการแสดงกรรมสิทธิ์
ตราบใดที่ผู้ถือที่ดินยังไม่ได้มาซึ่งโฉนดหรือยังไม่ได้รับโฉนดไปจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ที่ยึดถือไว้ก็จะถือว่าตนได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินอันแท้จริงถูกต้องตามกฎหมายแล้วไม่ได้
การที่บุคคลจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้น จะมีได้แต่เฉพาะในที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นแล้ว ซึ่งหมายความว่าที่ดินนั้นได้ออกโฉนดแผนที่แล้วด้วย ถ้าหากเป็นที่ดินที่ยังไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของใครเลย เช่น ที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือที่ดินซึ่งมีผู้ทอดทิ้ง หรือเวนคืน หรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่น ผู้ครอบครองที่ดินชนิดนี้หามีโอกาสได้กรรมสิทธิ์อย่างใดไม่ เพียงแต่เจ้าพนักงานออกใบไต่สวนให้เท่านั้น ใบไต่สวนนี้หาใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินอย่างโฉนดแผนที่แต่อย่างใดไม่ จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 มาใช้ไม่ได้
เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่นา ผู้ร้องก็จะร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์หาได้ไม่
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 76 เป็นบทบัญญัติที่สืบเนื่องมาจากมาตรา 72,73,74,75 ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่คู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมต่อกัน ตามความในมาตรา 72 เนื่องจากใบไต่สวนไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน จึงต้องอนุโลมให้จดแจ้งในใบไต่สวนตามวิธีการจดทะเบียนโฉนดที่ดิน มาตรา 76 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยวิธีการจดทะเบียนสิทธิที่ได้มาโดยนิติกรรมเท่านั้น การจดทะเบียนตามมาตรา 76 มิได้บัญญัติให้ผู้ครอบครองที่ดินชนิดนี้ต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเสียก่อน เจ้าพนักงานจะเกี่ยงให้ผู้ร้องซึ่งครอบครองที่ดินที่มีเพียงใบไต่สวนต้องนำคำสั่งศาลไปแสดงจึงจะดำเนินการออกโฉนดหาได้ไม่ เพราะกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 ฉะนั้น เมื่อผู้ร้องประสงค์จะขอออกโ ฉนดที่นาแปลงนี้ก็ชอบที่จะไปร้องขอทางเจ้าพนักงานที่ดิน หากเจ้าพนักงานที่ดิน ไม่ปฏิบัติการให้หรือมีผู้โต้แย้งประการใด ผู้ร้องจึงชอบที่จะมาดำเนินคดีเป็นคดีมีข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินต้องมีโฉนด ผู้ครอบครองด้วยใบไต่สวนยังไม่มีสิทธิฟ้องคดีไม่มีข้อพิพาท
ตราบใดที่ผู้ถือที่ดินยังไม่ได้มาซึ่งโฉนดหรือยังไม่ได้รับโฉนดไปจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ที่ยึดถือไว้ก็จะถือว่าตนได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินอันแท้จริงถูกต้องตามกฎหมายแล้วไม่ได้
การที่บุคคลจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 นั้น จะมีได้แต่เฉพาะในที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้อื่นแล้ว ซึ่งหมายความว่าที่ดินนั้นได้ออกโฉนดแผนที่แล้วด้วย ถ้าหากเป็นที่ดินที่ยังไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของใครเลย เช่นที่ดินรกร้างว่างเปล่าหรือที่ดินซึ่งมีผู้ทอดทิ้ง หรือเวนคืนหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่น ผู้ครอบครองที่ดินชนิดนี้หามีโอกาสได้กรรมสิทธิ์อย่างใดไม่ เพียงแต่เจ้าพนักงานออกใบไต่สวนให้เท่านั้น ใบไต่สวนนี้หาใช่หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินอย่างโฉนดแผนที่แต่อย่างใดไม่จะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 มาใช้ไม่ได้
เมื่อผู้ร้องยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่นา ผู้ร้องก็จะร้องขอต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาท ให้ศาลสั่งแสดงกรรมสิทธิ์หาได้ไม่
ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 76 เป็นบทบัญญัติที่สืบเนื่องมาจากมาตรา 72,73,74,75. ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่คู่กรณีแสดงเจตนาทำนิติกรรมต่อกันตามความในมาตรา 72 เนื่องจากใบไต่สวนไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน จึงต้องอนุโลมให้จดแจ้งในใบไต่สวนตามวิธีการจดทะเบียนโฉนดที่ดิน มาตรา 76 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยวิธีการจดทะเบียนสิทธิที่ได้มาโดยนิติกรรมเท่านั้น การจดทะเบียนตามมาตรา 76 มิได้บัญญัติให้ผู้ครอบครองที่ดินชนิดนี้ต้องใช้สิทธิทางศาล เป็นคดีไม่มีข้อพิพาทเสียก่อน เจ้าพนักงานจะเกี่ยงให้ผู้ร้องซึ่งครอบครองที่ดินที่มีเพียงใบไต่สวนต้องนำคำสั่งศาลไปแสดงจึงจะดำเนินการออกโฉนดหาได้ไม่ เพราะกรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 78 ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องประสงค์จะขอออกโฉนดที่นาแปลงนี้ก็ชอบที่จะไปร้องขอทางเจ้าพนักงานที่ดิน หากเจ้าพนักงานที่ดิน ไม่ปฏิบัติการให้หรือมีผู้โต้แย้งประการใด ผู้ร้องจึงชอบที่จะมาดำเนินคดีเป็นคดีมีข้อพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1060/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินจากการครอบครอง: ที่ดินต้องมีโฉนดหรือมีผู้มีกรรมสิทธิ์เดิม จึงจะขอแสดงกรรมสิทธิ์ได้
การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ย่อมหมายถึงการครอบครองที่ดินที่ผู้อื่นมีกรรมสิทธิ์ เมื่อที่ดินที่ผู้ร้องครอบครองเป็นที่ดินไม่มีโฉนด หรือยังไม่เคยมีผู้ใดมีกรรมสิทธิ์ ผู้ร้องก็จะใช้สิทธิทางศาลเสนอคดีไม่มีข้อพิพาท ขอให้ศาลแสดงว่าผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นหาได้ไม่
กรณีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงว่าที่นามีใบไต่สวนเป็นกรรมสิทธิ์ ของผู้ร้องโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 นั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ร้องขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์ได้ ศาลย่อมยกคำร้องขอของผู้ร้อง
แม้เจ้าของที่นาจะไปขอออกโฉนดที่นา แต่ตราบใดที่เจ้าของที่นายังไม่ได้ขอรับโฉนดมา ที่นานั้นก็ยังไม่เป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่นา ผู้ยึดถือที่นานั้นมีแต่สิทธิครอบครองเท่านั้น หากมีผู้ใดมาแย่งสิทธิ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ก็ให้ใช้อายุความ 1 ปี ไม่ใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 769/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองรวมทั้งโฉนดและสิ่งปลูกสร้าง สัญญาจำนองเป็นหลักสำคัญ ห้ามเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้
สัญญาจำนองเป็นการทำหนังสือจดทะเบียนไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตราทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันการชำระหนี้สาระสำคัญแห่งการจำนองจึงอยู่ที่ข้อความในหนังสือสัญญาจำนองที่จดทะเบียนไว้สิ่งที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงก็คือ สัญญาจำนองที่ได้จดทะเบียนไว้นั้นเมื่อสัญญาจำนองระบุไว้ชัดเจนแล้วว่า จำเลยจำนองที่ดินเต็มทั้งโฉนด และสิ่งปลูกสร้างจำนองด้วยทั้งสิ้นจำเลยจะนำสืบว่าได้ตกลงจำนองกันเพียงที่ดินและห้องแถวเพียง16 ห้องในจำนวน 22 ห้องที่มีอยู่ในเวลาทำสัญญานั้นหาได้ไม่ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
แม้เอกสารสัญญาก้ที่ลูกหนี้ได้ทำไว้กับโจทก์ก่อนหน้าที่จำเลยทำสัญญาจำนองจะได้กล่าวถึงตึกแถวว่าจำนวน 16 คูหาก็ดี ก็เป็นความตกลงคนละเรื่องคนละรายกับสัญญาจำนองรายนี้
แม้ในสัญญาจำนองจะได้กล่าวไว้ว่า ข้อสัญญาอื่นๆเป็นไปตามสัญญากู้ที่ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์และตามสัญญากู้กล่าวว่าจำนอง 16 ห้องแต่เมื่อสัญญาจำนองระบุไว้ชัดเจนแล้วว่าจำนองที่ดินทั้งโฉนดพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างด้วยทั้งสิ้น (22 ห้อง) ข้อที่ว่าจะจำนองสิ่งปลูกสร้างมากน้อยเพียงใดจึงไม่ใช่ข้อสัญญาอื่นๆนอกสัญญาจำนองดังนั้นจะตีความว่าจำนองเพียง 16 ห้องตามที่กล่าวในสัญญากู้หาได้ไม่
แม้จะถือว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยชักถอนทรัพย์จำนองบางส่วนออกไปเมื่อยังมิได้จัดการแก้ทะเบียนที่ได้ตราไว้ก็ไม่กระทบกระเทือนสัญญาจำนองที่มีอยู่
ธนาคารอุตสาหกรรมร้องขอให้ศาลสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองของผู้จำนองหลายรายซึ่งตราไว้เป็นประกันหนี้รายเดียวกัน ในวงเงินต่างๆ กันผู้จำนองร่วมกันทำคำแถลงต่อสู้คดีโดยขอให้ศาลยกคำร้องดังกล่าวนั้น เป็นการดำเนินคดีร่วมกัน มิได้เสนอต่อศาลขอแบ่งแยกพิพาทเรียงรายตัวบุคคลดังนั้น เมื่อผู้จำนองแพ้คดีศาลย่อมพิพากษาให้ร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายที่ชนะคดีได้ ไม่จำต้องแบ่งส่วนตามจำนวนเงินที่แต่ละคนจำนอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: สิทธิในโฉนดเป็นหลักฐานเบื้องต้น แม้มีการอุทิศที่ไม่สมบูรณ์
ผู้ใดมีชื่อในโฉนดที่ดิน ย่อมสันนิษฐานในเบื้องต้นว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น จนกว่าจะถูกพิสูจน์หักล้างเสีย
มัสยิดที่ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลย่อมไม่อยู่ในฐานะรัรบอุทิศทรัพย์สินที่มีผู้จะอุทิศให้
อ้างฎีกาที่ 792/2497

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 540/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินตามโฉนดสันนิษฐานเบื้องต้น การอุทิศทรัพย์สินต้องมีนิติบุคคลรับ
ผู้ใดมีชื่อในโฉนดที่ดิน ย่อมสันนิษฐานในเบื้องต้นว่ามีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นจนกว่าจะถูกพิสูจน์หักล้างเสีย
มัสยิดที่ยังมิได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ย่อมไม่อยู่ในฐานะรับอุทิศทรัพย์สินที่มีผู้จะอุทิศให้
(อ้างฎีกาที่ 792/2497)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โฉนดไม่ใช่เอกสารเป็นชุด แม้ไม่ส่งสำเนา ศาลรับฟังได้เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
โฉนดไม่ใช่เอกสารเป็นชุดดังที่กล่าวไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(1) เพราะมีขึ้นสำหรับที่ดินแปลงใดก็เพียง 2 ฉบับ โดยทำเป็นอย่างเดียวกันหาได้ออกเป็นชุดไม่ แต่โฉนดเป็นเอกสารที่ทางราชการออกให้ข้อความในโฉนดย่อมเป็นที่เชื่อถือได้แม้คู่ความฝ่ายที่อ้างจะยื่นต่อศาลในวันสืบพยานโดยมิได้ส่งสำเนาให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามมาตรา 90 แต่เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลก็มีอำนาจรับฟังได้ตามมาตรา 87(2)
of 22