คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โฉนดที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 281/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์กรรมสิทธิ์ที่ดิน - โฉนดที่ดินมีน้ำหนักกว่าพยานบุคคล - ส่วนควบเป็นกรรมสิทธิ์เจ้าของที่ดิน
โจทก์นำยึดที่ดินพิพาทที่มีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดพร้อมตึกซึ่งไม่มีหมายเลขบ้าน ผู้ร้องอ้างว่าที่ดินพิพาทและตึกที่ปลูกอยู่บนที่ดินดังกล่าวเป็นของผู้ร้อง ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่ผู้ร้อง เมื่อผู้ร้องมีเพียงพยานบุคคลมาสืบและคำเบิกความของพยานเหล่านั้นไม่น่าเชื่อพยานผู้ร้องจึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะหักล้างโฉนดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นเอกสารมหาชนและมีชื่อจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตามนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127 ส่วนตึกที่ตั้งอยู่บนที่ดินดังกล่าวเป็นส่วนควบของที่ดินพิพาทย่อมถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจประกันตัว: ความรับผิดตามสัญญาแม้ไม่มีลายมือชื่อ
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ขอมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำโฉนดที่ดินมาประกันตัวนาย ช. ผู้ต้องหาต่อพนักงานสอบสวน เป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มาประกันตัวผู้ต้องหาแทนจำเลยที่ 1 นั่นเอง หาใช่จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มาประกันตัวผู้ต้องหาในนามจำเลยที่ 2 เองไม่ และแม้ว่าคำร้องขอประกันและสัญญาประกันจะไม่มีข้อความให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชอบและไม่มีลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ด้วยก็ตาม แต่คำร้องและสัญญาดังกล่าวก็ได้ระบุเลขที่โฉนดที่ดินของจำเลยที่ 1 ไว้เป็นหลักฐานประกันด้วย และการทำสัญญาประกันก็เนื่องมาจากมีหนังสือมอบอำนาจเป็นส่วนสำคัญการวินิจฉัยความรับผิดจะวินิจฉัยแต่เพียงคำร้องขอประกันและสัญญาประกันหาได้ไม่ แต่ต้องวินิจฉัยหนังสือมอบอำนาจประกอบด้วยและถือได้ว่าจำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำโฉนดที่ดินมาทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหา จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดตามสัญญาประกันด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการขอลงชื่อในโฉนดที่ดินที่เป็นสินสมรส และการไม่ขาดอายุความของสิทธิดังกล่าว แม้เวลาผ่านไปนาน
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอหย่าจำเลยและศาลมีคำพิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สิน คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในสินสมรส ประเด็นของคดีจึงมีว่าทรัพย์ตามคำฟ้องเป็นสินสมรสหรือไม่และโจทก์มีสิทธิขอให้ลงชื่อเป็นเจ้าของรวมหรือไม่ อันมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยไว้แล้วในคำพิพากษาคดีก่อน การฟ้องคดีนี้ของโจทก์จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ ป.พ.พ. มาตรา 1475 กำหนดให้สามีหรือภริยาต้องปฏิบัติตามคำร้องขอของอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งไม่มีชื่อในเอกสารสำคัญให้ต้องยินยอมให้ฝ่ายนั้นลงชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วย โจทก์กล่าวไว้ในฟ้องว่าได้มีหนังสือขอให้จำเลยจัดการให้โจทก์ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่อ้างว่าเป็นสินสมรส จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้รับหนังสือดังกล่าวของโจทก์ กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยทราบคำบอกกล่าวของโจทก์แล้วเพิกเฉย อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยให้จดทะเบียนลงชื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมในโฉนดที่ดินสินสมรสได้ การพิจารณาว่าทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาเป็นทรัพย์สินประเภทใดนั้น ต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ได้มา จำเลยรับโอนที่ดินพิพาททั้งสองแปลงมาเป็นของจำเลยในระหว่างสมรสในขณะใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม โดยมิได้ระบุไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวหรือสินเดิมที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงเป็นการได้มาในฐานะที่เป็นสินสมรสตามมาตรา 1466 แห่ง ป.พ.พ.บรรพ 5 เดิม อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะนั้น สิทธิของคู่สมรสที่จะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมในเอกสารสำคัญตามที่บัญญัติใน ป.พ.พ. มาตรา 1475 เป็นบทบัญญัติในหมวดทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา แสดงให้เห็นว่าตราบใดที่ความเป็นสามีภริยายังมีอยู่ คู่สมรสมีสิทธิตามที่กำหนดไว้ในมาตรานี้ตลอดไป โดยไม่ต้องคำนึงว่าได้ล่วงเลยเวลาที่ได้สินสมรสมาแล้วนานเท่าไร เพราะมิใช่กรณีที่จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนด ฉะนั้น แม้โจทก์จะทราบว่าจำเลยได้รับโอนที่ดินพิพาทมาเป็นเวลา 37 ปีแล้ว แต่เพิ่งนำคดีมาฟ้องก็ตามคดีก็ไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 967/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงการส่งคืนโฉนดที่ดินมีผลผูกพัน แม้มีการประนีประนอมในคดีอื่น ศาลสั่งให้บังคับตามข้อตกลงเดิม
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลย มีข้อความให้จำเลยส่งคืนโฉนดให้แก่โจทก์ตามกำหนดเวลาโดยไม่มีเงื่อนไข และไม่ปรากฏว่ามีข้อตกลงอื่นใดอีกหรือได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม หลังจากทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าวแล้ว โจทก์จำเลยมีกรณีพิพาทฟ้องร้องกันและกัน ซึ่งในที่สุดได้ตกลงประนีประนอมกันโดยต่างก็ถอนฟ้องของตนไปโดยไม่กล่าวถึงบันทึกข้อตกลงดังกล่าว ข้อตกลงนั้นจึงมีผลใช้บังคับอยู่โดยสมบูรณ์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยตามข้อตกลงได้ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนโฉนดเลขที่ 13424 แก่โจทก์ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบที่ดินโฉนดเลขที่ 13424 เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ไม่ตรงกับที่ครอบครอง การฟ้องต้องชัดเจนตรงประเด็น หากสืบได้ว่ามีการสลับโฉนดกัน การฟ้องเดิมจึงไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยออกโฉนดทับที่ดินของโจทก์และขอให้เพิกถอนโฉนด แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าที่ดินที่โจทก์และจำเลยต่างอ้างว่าเป็นที่พิพาท โจทก์และจำเลยต่างครอบครองทำกินอยู่คนละแปลง แต่ยึดถือโฉนดซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินออกให้ผิดสลับแปลงกันจึงมิใช่เป็นการออกโฉนดทับที่ดินโจทก์ตามฟ้อง การที่โจทก์ขอให้ศาลวินิจฉัยว่าที่พิพาทที่โจทก์ครอบครองเป็นของโจทก์นั้นแม้วินิจฉัยไปก็ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนโฉนดที่จำเลยยึดถือไว้ เพราะมิใช่เป็นการออกโฉนดทับที่ดินโจทก์ดังกล่าว ส่วนจะมีการสลับโฉนดกันหรือไม่ และจะบังคับกันอย่างไร โจทก์มิได้ฟ้องในเรื่องดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2534 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการออกโฉนดที่ดินทับเขตที่หลวง เจ้าหน้าที่ประมาทเลินเล่อ ผู้บังคับบัญชารับผิดร่วม
ที่ดินพิพาทได้มีการจัดทำระวางแผนที่ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2454 ก่อนที่พระบาทสมเด็จ-พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 จะมีพระบรมราชโองการกำหนดเขตที่ดินดังกล่าวให้เป็นเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในปี พ.ศ.2467 พระบรมราชโองการดังกล่าวเป็นพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ทั้งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตที่ดินทั้งสี่ด้านไว้โดยละเอียด จึงมีผลเป็นกฎหมายที่บุคคลทุกคนรวมทั้งจำเลยทั้งสองจะต้องรับรู้ว่าที่ดินในบริเวณดังกล่าวเป็นที่หลวง แม้ขณะที่มีการออกโฉนดที่ดินพิพาท ยังมิได้มีการลงแนวเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในระวางแผนที่ เนื่องจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ดูแลรักษายังมิได้มีคำขอให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 26 (พ.ศ.2516) แต่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเพิ่งจะออกมาใช้บังคับในภายหลัง จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าไม่ทราบว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันเพราะเหตุดังกล่าวหาได้ไม่ นอกจากนี้ขณะที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสามเมื่อปี พ.ศ.2510 ที่ดินพิพาทอยู่ในระหว่างรังวัดสอบเขตตามคำขอของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องทราบดีและควรระงับการโอนไว้ก่อน แต่หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสองออกโฉนดที่ดินพิพาททับเขตที่ดินพระราชนิเวศน์มฤคทายวันและจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม เป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม เนื่องจากทำให้โจทก์ทั้งสามไม่ได้รับประโยชน์จากที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสองในฐานะผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการออกโฉนดที่ดินทับเขตที่หลวง เจ้าหน้าที่ประมาทเลินเล่อ ผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดร่วม
พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์กำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันใน ปี พ.ศ. 2467และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาระบุแนวเขตที่ดินไว้แล้ว มีผลเป็นกฎหมายที่บุคคลทุกคนรวมทั้งกรมที่ดินและกระทรวงมหาดไทยจำเลยทั้งสองจะต้องรับรู้ว่าที่ดินในบริเวณดังกล่าวเป็นที่หลวงไม่อาจออกโฉนด ให้บุคคลใดได้ แม้ขณะออกโฉนด ที่ดินพิพาท ยังมิได้มีการลงแนวเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในระวางแผนที่เนื่องจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นผู้ดูแลรักษาพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ยังมิได้มีคำขอให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 26(พ.ศ. 2516)แต่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเพิ่งจะออกมาใช้บังคับในภายหลังจำเลยทั้งสองจะอ้างว่าไม่ทราบว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันเพราะเหตุดังกล่าวหาได้ไม่ นอกจากนี้ยังปรากฏว่าก่อนที่จะมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสาม สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ขอรังวัดสอบเขตที่ดินพระราชนิเวศน์มฤคทายวันและได้มีการดำเนินการรังวัดสอบเขตที่ดินตามคำขอ แม้การรังวัดสอบเขตและการลงแนวเขตในระวางแผนที่จะแล้วเสร็จภายหลังมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสาม แต่เจ้าพนักงานที่ดินของจำเลยที่ 1ผู้ทำการจดทะเบียนย่อมต้องทราบว่าที่ดินพิพาทอยู่ในระหว่างดำเนินการรังวัดสอบเขต ควรระงับการโอนไว้ก่อน แต่หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสองออกโฉนดที่ดินพิพาททับเขตที่ดินพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อ ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสามเนื่องจากทำให้โจทก์ทั้งสามไม่ได้รับประโยชน์จากที่พิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสองในฐานะผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการออกโฉนดที่ดินทับเขตที่หลวง และความรับผิดของผู้บังคับบัญชา
การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสองออกโฉนดที่ดินพิพาททับเขตที่ดินพระราชนิเวศน์มฤคทายวันซึ่งเป็นที่หลวงไม่อาจออกโฉนดให้บุคคลใดได้ และจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม เนื่องจากทำให้โจทก์ทั้งสามไม่ได้รับประโยชน์จากที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามจำเลยทั้งสองในฐานะผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 304/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดจากการออกโฉนดที่ดินทับเขตที่หลวง เจ้าพนักงานประมาทเลินเล่อ ผู้บังคับบัญชารับผิดร่วม
ที่ดินพิพาทได้มีการจัดทำระวางแผนที่ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2454ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 จะมีพระบรมราชโองการกำหนดเขตที่ดินดังกล่าวให้เป็นเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในปี พ.ศ. 2467 พระบรมราชโองการดังกล่าวเป็นพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ทั้งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตที่ดินทั้งสี่ด้านไว้โดยละเอียด จึงมีผลเป็นกฎหมายที่บุคคลทุกคนรวมทั้งจำเลยทั้งสองจะต้องรับรู้ว่าที่ดินในบริเวณดังกล่าวเป็นที่หลวง แม้ขณะที่มีการออกโฉนดที่ดินพิพาท ยังมิได้มีการลงแนวเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันในระวางแผนที่ เนื่องจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นผู้ดูแลรักษายังมิได้มีคำขอให้ออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 26(พ.ศ. 2516) แต่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวเพิ่งจะออกมาใช้บังคับในภายหลัง จำเลยทั้งสองจะอ้างว่าไม่ทราบว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันเพราะเหตุดังกล่าวหาได้ไม่ นอกจากนี้ขณะที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสามเมื่อปี พ.ศ. 2510 ที่ดินพิพาทอยู่ในระหว่างรังวัดสอบเขตตามคำขอของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องทราบดีและควรระงับการโอนไว้ก่อน แต่หาได้กระทำเช่นนั้นไม่ การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสองออกโฉนดที่ดินพิพาททับเขตที่ดินพระราชนิเวศน์มฤคทายวันและจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ทั้งสาม เป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม เนื่องจากทำให้โจทก์ทั้งสามไม่ได้รับประโยชน์จากที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสาม จำเลยทั้งสองในฐานะผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1635/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินมีโฉนด การครอบครอง และผลของการทิ้งร้าง การไม่ใช้สิทธิไม่ทำให้กรรมสิทธิ์สิ้นสุด
ที่พิพาทเป็นที่ดินมีโฉนด โจทก์ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้กรรมสิทธิ์สิ้นสุดลงโดยการไม่ใช้ แม้โจทก์จะมิได้เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทนานเท่าใด ตราบใดที่ยังไม่มีผู้อื่นมาแย่งกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไปจากโจทก์ โจทก์ก็หาเสียกรรมสิทธิ์ไปไม่
of 21