พบผลลัพธ์ทั้งหมด 138 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยินยอมให้ลงชื่อรับมรดก ถือเป็นการโอนกรรมสิทธิ์สมบูรณ์ เพิกถอนมิได้
ยินยอมให้ผู้อื่นลงชื่อรับมฤดกในโฉนดที่ดินรวมทั้งส่วนของตนด้วย ถือได้ว่าผู้มีชื่อในโฉนดย่อมได้รับกรรมสิทธิโดยสมบูรณ์ตามกฎหมายที่ดินแล้ว จะมาร้องขอให้เพิกถอนหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ไม่มีการโอนตามกฎหมาย
ซื้อขายที่ดินมีโฉนดกัน โดยมิได้ไปทำโอนซื้อขายกันต่อเจ้าพนักงาน แต่ผู้ซื้อได้ปกครองเป็นเจ้าของที่ดินนั้นมาเกิน 10 ปีแล้วดังนี้ ผู้ซื้อย่อมได้เป็นเจ้าของที่ดินที่ซื้อขายนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินเวนคืน: สิทธิคืนเป็นของผู้ถูกเวนคืนเดิม ไม่ใช่ผู้รับโอนภายหลัง
ที่ดินมีโฉนดนั้นเมื่อถูกเวนคืนบางส่วนโดยพ.ร.ก.เพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์ฯลฯ กรรมสิทธิ์ย่อมตกไปเป็นของรัฐส่วนหนึ่งแล้วทันที โดยไม่ต้องทำพิธีรังวัดแบ่งแยกทางพนักงานเจ้าหน้าที่
ถ้าหากรัฐบาลจะต้องส่งคืนที่ดินที่ถูกเวนคืน ผู้ที่สูญเสียทรัพย์สินนั้นไปเพราะการเวนคืนเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับคืน ไม่ใช่ผู้ถือโฉนดในตอนหลังเพราะตนรับโอนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเท่านั้น
หลักกฎหมายในเรื่องเสรีภาพบริบูรณ์ในทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นที่รับนับถือกันตลอดมาแล้วในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องระบุวัตถุประสงค์ไว้ถ้าไม่ได้ใช้ทรัพย์ที่เวนคืนตามวัตถุประสงค์ก็จำต้องโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นกลับคืนให้ผู้ถูกเวนคืน
พ.ร.ก.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินฯลฯ เพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์ฯลฯมาตรา 4 ที่ให้เจ้าพนักงานจำหน่ายขายที่ดินที่รับซื้อไว้ซึ่งเหลือจากการสร้างสะพานหรือถนนแล้วนั้นหมายความเฉพาะที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานต้องกำหนดราคาค่าทดแทนเป็นตัวเงินให้เท่านั้น
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2495)
ถ้าหากรัฐบาลจะต้องส่งคืนที่ดินที่ถูกเวนคืน ผู้ที่สูญเสียทรัพย์สินนั้นไปเพราะการเวนคืนเป็นผู้มีสิทธิ์ได้รับคืน ไม่ใช่ผู้ถือโฉนดในตอนหลังเพราะตนรับโอนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนเท่านั้น
หลักกฎหมายในเรื่องเสรีภาพบริบูรณ์ในทรัพย์สิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้น เป็นที่รับนับถือกันตลอดมาแล้วในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราช การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จึงต้องระบุวัตถุประสงค์ไว้ถ้าไม่ได้ใช้ทรัพย์ที่เวนคืนตามวัตถุประสงค์ก็จำต้องโอนอสังหาริมทรัพย์นั้นกลับคืนให้ผู้ถูกเวนคืน
พ.ร.ก.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินฯลฯ เพื่อสร้างปฐมบรมราชานุสสรณ์ฯลฯมาตรา 4 ที่ให้เจ้าพนักงานจำหน่ายขายที่ดินที่รับซื้อไว้ซึ่งเหลือจากการสร้างสะพานหรือถนนแล้วนั้นหมายความเฉพาะที่ดินซึ่งเจ้าพนักงานต้องกำหนดราคาค่าทดแทนเป็นตัวเงินให้เท่านั้น
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2495)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ถูกยึดชั่วคราวเนื่องจากข้อพิพาทเรื่องการโอนและจำนอง
โจทก์ยึดทรัพย์จำเลยเพื่อบังคับคดีโดยการขายทอดตลาดของศาลผู้ร้องยื่นคำร้องว่าทรัพย์สินที่ยึดเป็นของผู้ร้องผู้ร้องกำลังฟ้องขอให้ทำลายการโอน ซึ่งจำเลยรับโอนไปโดยปลอมใบมอบอำนาจและขอให้ทำลายการจำนองระหว่างโจทก์จำเลยอยู่แล้ว ขอให้ศาลงดการขายทอดตลาดทรัพย์สินรายนี้ไว้ก่อน ดังนี้ ศาลย่อมใช้ดุลพินิจงดการขายได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 306 ประกอบด้วยมาตรา292(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของเดิมมีสิทธิฟ้องค่าเสียหายจากการละเมิดต่ออสังหาริมทรัพย์ แม้จะโอนให้ผู้อื่นไปแล้ว
มีผู้ทำละเมิดให้เสียหายแก่อสังหาริมทรัพย์ในขณะที่เจ้าของเดิมยังเป็นเจ้าของทรัพย์นั้นอยู่ แม้ภายหลังจะได้โอนทรัพย์นั้นให้แก่ผู้อื่นไปแล้วเจ้าของเดิมก็ยังมีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายแก่ผู้ทำละเมิดนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินที่ได้มาหลังแต่งงานถือเป็นสินสมรส การโอนโดยไม่ยินยอมสามีเป็นโมฆียะ
หญิงที่ทำนาของบิดามารดามาก่อนแต่ได้รับโอนโฉนดใส่ชื่อตนเมื่อภายหลังได้กับสามี ดังนี้ถือว่าที่ดินนั้นเป็นสินสมรสและสินบริคนห์ หากภรรยาเอาไปโอนโดยสามีมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยนิติกรรมเป็นโมฆียะ เมื่อสามีบอกล้างแล้วเป็นโมฆะ และสามีย่อมฟ้องทำลายสัญญาโอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินโอนหลังแต่งงานเป็นสินสมรส แม้ทำนามาก่อน หากโอนโดยสามีไม่ยินยอมนิติกรรมเป็นโมฆียะ
หญิงที่ทำนาของบิดามารดามาก่อนแต่ได้รับโอนโฉนดใส่ชื่อตนเมื่อภายหลังได้กับสามี ดังนี้ถือว่าที่ดินนั้นเป็นสินสมรสและสินบริคณห์ หากภรรยาเอาไปโอนโดยสามีมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยนิติกรรมเป็นโมฆียะ เมื่อสามีบอกล้างแล้วเป็นโมฆะ และสามีย่อมฟ้องทำลายสัญญาโอนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 668/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำขอโอนมรดกขัดแย้งกับคำอ้างและพินัยกรรม เจ้าพนักงานที่ดินชอบที่จะไม่จัดการได้
ฝ่ายโจทก์ยื่นคำร้องขอโอนโฉนดโดยอ้างว่าผู้ตายทำพินัยกรรมตั้งพวกตนเป็นผู้จัดการมรดก แต่พวกโจทก์กลับขอให้เจ้าพนักงานลงชื่อพวกตนเป็นผู้รับมรดกโดยตรง คำขอของโจทก์จึงขัดต่อคำอ้างและเป็นคำขอที่ขัดต่อพินัยกรรมเจ้าพนักงานที่ดินชอบที่จะไม่จัดการให้ตามคำขอของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายทรัพย์สินที่มีข้อจำกัดในการโอน และความรับผิดในสัญญา
ทำสัญญาขายทรัพย์ซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของ แล้วทำการโอนไม่ได้เพราะเจ้าของอีกคนหนึ่งคัดค้านนั้น ไม่ทำให้ผู้ขายหลุดพ้นจากความรับผิดในฐานผิดสัญญา
เบี้ยปรับฐานผิดสัญญา ซึ่งคู่ความตกลงกันไว้ในสัญญา เมื่อศาลได้พิจารณาข้อสัญญาประกอบด้วยเหตุผลทั่ว ๆ ไปที่ปรากฏตามทางพิจารณาแล้ว ศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควร ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 ได้
การคืนเงินในกรณีเลิกสัญญา ไม่ใช่คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง
เบี้ยปรับฐานผิดสัญญา ซึ่งคู่ความตกลงกันไว้ในสัญญา เมื่อศาลได้พิจารณาข้อสัญญาประกอบด้วยเหตุผลทั่ว ๆ ไปที่ปรากฏตามทางพิจารณาแล้ว ศาลมีอำนาจกำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควร ตาม ป.พ.พ.มาตรา 383 ได้
การคืนเงินในกรณีเลิกสัญญา ไม่ใช่คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 938/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิซื้อฝากหลุด: เจ้าของเดิมมีสิทธิฟ้องเพิกถอนการโอนที่ดินแม้จะตกลงขายให้ผู้อื่น
โจทก์ที่ 1 ได้รับซื้อฝากที่ดินไว้จากจำเลย จนหลุดเป็นกรรมสิทธิแบ้ว เมื่อยังไม่ปรากฏทางทะเบียนว่าได้เปลี่ยนโอนกรรมสิทธิไปยังผู้อื่นกรรมสิทธิก็ยังคงตกเป็นของโจทก์ที่ 1 แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่าได้ตกลงขายให้โจทก์ที่ 2 แล้ว ก็ตาม โจทก์ที่ 1 ก็ยังมีกรรมสิทธิเป็นเจ้าของและมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ทำลายสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยซึ่งเป็นที่ดินขายฝากโจทก์ไว้เกิน 10 ปีแล้ว จำเลยต่อสู้ว่าไถ่ถอนแล้ว แต่ยังไม่ได้แก้ทะเบียน แต่จำเลยมิได้ฟ้องแย้งดังนี้ คดีไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลย
ขายฝากที่ดินไว้ไม่ได้ไถ่ถอนโอนทะเบียนคืนมาผู้ขายฝากไปโอนทะเบียนขายให้ผู้อื่น ผู้รับซื้อฝากฟ้องขอให้ทำลายการโอนได้
โจทก์ฟ้องขอให้ทำลายสัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างจำเลยซึ่งเป็นที่ดินขายฝากโจทก์ไว้เกิน 10 ปีแล้ว จำเลยต่อสู้ว่าไถ่ถอนแล้ว แต่ยังไม่ได้แก้ทะเบียน แต่จำเลยมิได้ฟ้องแย้งดังนี้ คดีไม่มีประเด็นต้องวินิจฉัยตามข้อต่อสู้ของจำเลย
ขายฝากที่ดินไว้ไม่ได้ไถ่ถอนโอนทะเบียนคืนมาผู้ขายฝากไปโอนทะเบียนขายให้ผู้อื่น ผู้รับซื้อฝากฟ้องขอให้ทำลายการโอนได้