คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนกรรมสิทธิ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 556 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5394/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน: การครอบครองโดยอาศัยสิทธิในสัญญาจะซื้อจะขาย ไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ์หากผู้ขายยังไม่ได้โอน
บ. เข้าครอบครองที่ดินแปลงที่ผู้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์รายนี้โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างบริษัท ศ. ผู้จะขายกับ บ. ผู้จะซื้อส่วนผู้ร้องเข้าครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำระหว่าง บ. กับผู้ร้อง ซึ่งสัญญาแต่ละฉบับดังกล่าวมีข้อความระบุว่าผู้ขายจะต้องไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อด้วย แสดงให้เห็นว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีเจตนาที่จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ต่อกัน ฉะนั้น การครอบครองที่ดินรายนี้ของ บ.จึงเป็นการครอบครองแทนบริษัท ศ. และผู้ร้องก็จะเข้าครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวโดยอาศัยสิทธิของ บ.ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิดีกว่า บ. เมื่อไม่ปรากฏว่า บ.ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ยังเป็นของบริษัท ศ. แม้ บ. จะครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าวนานเพียงใด บ. ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ผู้ร้องครอบครองต่อจาก บ. และโดยอาศัยสิทธิของ บ. จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5268/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสอบสวนคดีอาญาและการระงับความผิดทางแพ่ง: การโอนกรรมสิทธิ์ที่ไม่เป็นไปตามสัญญา
โจทก์ร่วมแจ้งความว่าจำเลยที่ 2 ได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1ให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยที่ 2 ยืนยันในชั้นสอบสวนว่าสามารถปฏิบัติการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ตามสัญญาจะซื้อจะขายให้โจทก์ร่วมได้เมื่อได้รับชำระเงินงวดสุดท้ายจากโจทก์ร่วม พนักงานสอบสวนจึงเห็นว่ากรณียังไม่แน่ชัดว่าจะเป็นความผิดตามที่โจทก์ร่วมกล่าวหาจึงบันทึกเป็นหลักฐานไว้ในรายงานประจำวันซึ่งมีผลเป็นเพียงบันทึกเบื้องต้นหาได้เป็นความเห็นชัดเจนเด็ดขาดว่าเป็นเพียงความรับผิดทางแพ่งแต่ประการใดไม่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏต่อมาว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ตามสัญญาจะซื้อจะขายให้แก่โจทก์ร่วมตามที่ได้ยืนยันตกลงกับโจทก์ร่วมไว้ในเอกสารดังกล่าวฉะนั้น การที่โจทก์ร่วมมาร้องทุกข์มอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาด้วยเหตุที่ความจริงแล้วจำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ตามสัญญาให้แก่บุคคลอื่นไปและไม่สามารถนำมาโอนให้แก่โจทก์ร่วมได้อีก ย่อมเป็นกรณีที่มีมูลความผิดทางอาญาที่พนักงานสอบสวนมีอำนาจและชอบที่จะดำเนินการสอบสวนเป็นคดีอาญาได้ ข้อความที่ปรากฏในเอกสารรายงานประจำวันดังกล่าวข้างต้นมีผลเป็นเพียงจำเลยได้ตกลงกำหนดนัดวันเวลาที่จะไปโอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์ให้โจทก์ร่วมและรับชำระเงินงวดสุดท้ายจากโจทก์ร่วมอันเป็นเพียงการยืนยันจะปฏิบัติตามนิติสัมพันธ์ที่ก่อไว้ตามสัญญาจะซื้อจะขายเดิมเท่านั้น หาได้มีข้อความใด ๆที่มีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความระงับสิทธิในการฟ้องคดีอาญาของโจทก์ร่วมแต่ประการใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหลังการหลุดจำนอง: สัญญาโอนใช้ได้หากผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ หรือผู้ใช้อำนาจปกครองทำแทนโดยถูกต้อง
ในช่วงที่ ผ. ทำหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิ โจทก์ที่ 4 มีอายุประมาณ 22 ปี เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว สัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ หาตกเป็นโมฆะไม่
สำหรับที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์ในช่วงที่ ผ. ทำสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แม้ในวันทำสัญญาดังกล่าวจะมีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 ใช้บังคับแล้วโดยให้เพิ่มบทบัญญัติบรรพ 5 ตั้งแต่มาตรา 1435 ถึง 1598 เข้าเป็นส่วนหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2478 เป็นต้นไป ซึ่งบทบัญญัติบรรพ 5 นี้ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำนิติกรรมอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์ไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1546 แต่การโอนที่ดินให้หลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนองนั้นไม่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 1546(1) ถึง (8) แต่อย่างใด ดังนั้น การที่ ผ. ทำสัญญาโอนที่ดินพิพาทให้หลุดเป็นสิทธิแก่ จ. แทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(1) ถึง (8) ใช้บังคับ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว สัญญาที่ ผ. ทำไว้ดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน และหาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ. ตามหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแล้ว การที่ต่อมา จ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ก็ดี จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 218086 ถึง 218088 และโฉนดที่ดินเลขที่ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือแล้วจำเลยที่ 1 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218086 และ 218088ให้แก่จำเลยที่ 2 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218087 และ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 3 ก็ดี และจำเลยที่ 3 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3472ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 ก็ดี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยดังกล่าวโดยชอบโจทก์ทั้งหกหามีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้กลับสู่สภาพเดิมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4841/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมาย การทำนิติกรรมของผู้เยาว์ และผลของการไม่ขออนุญาตศาล
ในช่วงที่ ผ. ทำหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิ โจทก์ที่ 4 มีอายุประมาณ 22 ปี เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว สัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ หาตกเป็นโมฆะไม่
สำหรับที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ยังเป็นผู้เยาว์ในช่วงที่ ผ. ทำสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 แม้ในวันทำสัญญาดังกล่าวจะมีพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 ใช้บังคับแล้วโดยให้เพิ่มบทบัญญัติบรรพ 5 ตั้งแต่มาตรา 1435 ถึง 1598 เข้าเป็นส่วนหนึ่งแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้ใช้บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ตั้งแต่วันที่ 1ตุลาคม 2478 เป็นต้นไป ซึ่งบทบัญญัติบรรพ 5 นี้ มีบทบัญญัติเกี่ยวกับผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำนิติกรรมอันเกี่ยวแก่ทรัพย์สินของผู้เยาว์ไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1546 แต่การโอนที่ดินให้หลุดเป็นสิทธิแก่ผู้รับจำนองนั้นไม่มีบัญญัติไว้ในมาตรา 1546(1) ถึง (8) แต่อย่างใด ดังนั้น การที่ ผ. ทำสัญญาโอนที่ดินพิพาทให้หลุดเป็นสิทธิแก่ จ. แทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ในขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1546(1) ถึง (8) ใช้บังคับ จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติดังกล่าว สัญญาที่ ผ. ทำไว้ดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้โดยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อน และหาตกเป็นโมฆะไม่
เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ. ตามหนังสือสัญญาโอนหลุดเป็นสิทธิแล้ว การที่ต่อมา จ. ขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 ก็ดี จำเลยที่ 1 แบ่งแยกที่ดินพิพาทออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 218086 ถึง 218088 และโฉนดที่ดินเลขที่ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือแล้วจำเลยที่ 1 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218086 และ 218088ให้แก่จำเลยที่ 2 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 218087 และ 3472 ในส่วนจำนวนเนื้อที่ของที่ดินที่เหลือให้แก่จำเลยที่ 3 ก็ดี และจำเลยที่ 3 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 3472ดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 4 ก็ดี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยดังกล่าวโดยชอบโจทก์ทั้งหกหามีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่เพื่อขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวให้กลับสู่สภาพเดิมไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4312/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอาคารพาณิชย์: หน้าที่ของคู่สัญญาในการจัดหาเงินกู้และการโอนกรรมสิทธิ์
ตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญามีข้อความระบุไว้อย่างชัดเจนว่า การชำระเงินงวดสุดท้ายชำระในวันที่โจทก์ทำการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่จำเลย โดยโจทก์จะพาจำเลยไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคาร ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องพาจำเลยไปจดทะเบียนจำนองกู้เงินจากธนาคารตามสัญญา เมื่อโจทก์เพียงแต่แนะนำให้จำเลยไปติดต่อกับธนาคารเพื่อขอกู้เงินจากธนาคารมาชำระหนี้ค่าซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทเท่านั้น โดยโจทก์ไม่ได้เป็นผู้พาจำเลยไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคารเช่นนี้ย่อมถือได้ว่าโจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อสัญญาตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญาดังกล่าวอีกทั้งโจทก์ได้นัดหมายให้จำเลยไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์อาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทที่สำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี ในวันที่ 25 ธันวาคม 2534 โดยให้จำเลยชำระเงินส่วนที่เหลือจำนวน 420,750 บาท ในวันดังกล่าวด้วย ซึ่งจำเลยก็ได้ไปที่สำนักงานที่ดินตามนัด และได้ทำบันทึกโต้แย้งว่าจำนวนเงิน 420,750 บาท นั้น โจทก์ต้องเป็นผู้จัดการนำอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินเข้าจำนองแก่ธนาคารให้จำเลย แสดงว่าจำเลยถือเอาข้อสัญญาตามบันทึกข้อต่อท้ายสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญในการทำสัญญาซื้ออาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทจากโจทก์ แม้จำเลยนำอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทไปจดจำนองกู้เงินจากธนาคารเอง และขอยืมจากผู้อื่นเพื่อชำระให้แก่โจทก์ก็ตาม ก็เป็นเพราะจำเลยต้องการจะได้กรรมสิทธิ์ในอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินรายพิพาทและกลัวว่าจะถูกโจทก์ยึดไปเท่านั้น จะถือว่าจำเลยสละข้อสัญญาดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยจึงมิใช่เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขายอาคารพาณิชย์พร้อมที่ดินกับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและฟ้องขับไล่กับเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4261-4264/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนการบังคับคดีเมื่อมีการปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ต้องเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์
เจ้าพนักงานบังคับคดีจะถอนการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 295(3) ได้ในสองกรณี คือ คำพิพากษาในระหว่างบังคับคดีได้ถูกกลับในชั้นที่สุด หรือหมายบังคับคดีได้ถูกยกเลิกเสีย แต่คำพิพากษาตามยอมระหว่างโจทก์จำเลยไม่ได้ถูกกลับในชั้นที่สุด ทั้งจำเลยได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมบ้านซึ่งเป็นทรัพย์พิพาทให้แก่โจทก์แล้วย่อมถือว่าโจทก์และจำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมแล้ว การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินทำการจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถือว่ามีการบังคับคดีที่กำลังดำเนินการอยู่ที่ศาลจะเพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์โดยกลฉ้อฉลและสิทธิการครอบครองของเจ้าของร่วม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาท จำเลยเข้ามาอาศัยอยู่โดยปราศจากสิทธิ ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ล.บุตรสาวจำเลย เดิม ล.กับโจทก์เป็นสามีภริยากัน โจทก์ได้หลอกลวงล.จะนำบ้านพร้อมที่ดินพิพาทไปกู้เงินธนาคาร ล.จึงโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หลังจากนั้น ล.กับโจทก์ก็หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา จำเลยอยู่ในบ้านโดยอาศัยสิทธิของ ล. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งศาลชั้นต้นตั้งประเด็นว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทหรือไม่ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับ ล.อยู่กินเป็นสามีภริยากันก่อนที่จะมีการจดทะเบียนสมรส ระหว่างเวลาดังกล่าว มีการซื้อบ้านและที่ดินพิพาทจดทะเบียนในนาม ล.โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ล. โจทก์กับ ล.จึงเป็นเจ้าของร่วม การที่ ล.จดทะเบียนยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการกระทำของโจทก์ที่วางแผนเพื่อให้ ล.โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์โดยบอกว่าจะเอาไปจำนองในนามของโจทก์ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวตามที่จำเลยกล่าวอ้างจริง อันเป็นการใช้กลอุบายเพียงเพื่อให้ ล.หลงเชื่อ แล้วโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เท่านั้น โดยโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะนำบ้านและที่ดินพิพาทไปจำนองแก่ธนาคาร การจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ของ ล. จึงเกิดขึ้นจากการทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้โอนกรรมสิทธิ์ให้ด้วยเจตนาที่สำคัญผิดอันเป็นสาระสำคัญ จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 156 กรรมสิทธิ์จึงยังเป็นของโจทก์กับ ล.ในฐานะเจ้าของร่วม เมื่อจำเลยเข้ามาอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ล.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งจึงเป็นการเข้าอยู่อาศัยโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยนั้น เป็นการพิพากษาตามฟ้องตามประเด็นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์โดยกลฉ้อฉลและผลกระทบต่ออำนาจฟ้องขับไล่
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาท จำเลยเข้ามาอาศัยอยู่โดยปราศจากสิทธิ ขอให้ขับไล่ จำเลยให้การว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของ ล.บุตรสาวจำเลย เดิม ล.กับโจทก์เป็นสามีภริยากัน โจทก์ได้หลอกลวงล.จะนำบ้านพร้อมที่ดินพิพาทไปกู้เงินธนาคารล.จึงโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หลังจากนั้น ล. กับโจทก์ก็หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา จำเลยอยู่ในบ้านโดยอาศัยสิทธิของล.โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ซึ่งศาลชั้นต้นตั้งประเด็นว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทหรือไม่ แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับ ล.อยู่กินเป็นสามีภริยากันก่อนที่จะมีการจดทะเบียนสมรส ระหว่างเวลาดังกล่าว มีการซื้อบ้านและที่ดินพิพาทจดทะเบียนในนามล.โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ล. โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์ อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ล. โจทก์กับ ล.จึงเป็นเจ้าของร่วม การที่ ล.จดทะเบียนยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการกระทำของโจทก์ที่วางแผนเพื่อให้ล.โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์โดยบอกว่าจะเอาไปจำนองในนามของโจทก์ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวตามที่จำเลยกล่าวอ้างจริง อันเป็นการใช้กลอุบายเพียงเพื่อให้ ล.หลงเชื่อแล้วโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เท่านั้นโดยโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะนำบ้านและที่ดินพิพาทไปจำนองแก่ธนาคาร การจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ของล. จึงเกิดขึ้นจากการทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้โอนกรรมสิทธิ์ให้ด้วยเจตนาที่สำคัญผิดอันเป็นสาระสำคัญ จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 กรรมสิทธิ์จึงยังเป็นของโจทก์กับ ล.ในฐานะเจ้าของร่วม เมื่อจำเลยเข้ามาอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ล.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งจึงเป็นการเข้าอยู่อาศัยโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยนั้น เป็นการพิพากษาตามฟ้องตามประเด็นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์โดยกลฉ้อฉลทำให้โมฆะ เจ้าของร่วมมีสิทธิเข้าอยู่อาศัย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินพิพาทจำเลยเข้ามาอาศัยอยู่โดยปราศจากสิทธิขอให้ขับไล่จำเลยให้การว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของล.บุตรสาวจำเลยเดิมล.กับโจทก์เป็นสามีภริยากันโจทก์ได้หลอกลวงล.จะนำบ้านพร้อมที่ดินพิพาทไปกู้เงินธนาคารล.จึงโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หลังจากนั้นล. กับโจทก์ก็หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยาจำเลยอยู่ในบ้านโดยอาศัยสิทธิของล.โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องซึ่งศาลชั้นต้นตั้งประเด็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทหรือไม่แล้วฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์กับล.อยู่กินเป็นสามีภริยากันก่อนที่จะมีการจดทะเบียนสมรสระหว่างเวลาดังกล่าวมีการซื้อบ้านและที่ดินพิพาทจดทะเบียนในนามล.โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์อีกส่วนหนึ่งเป็นของล. โดยเงินที่ซื้อส่วนหนึ่งเป็นของโจทก์อีกส่วนหนึ่งเป็นของล. โจทก์กับล.จึงเป็นเจ้าของร่วมการที่ล.จดทะเบียนยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นการกระทำของโจทก์ที่วางแผนเพื่อให้ล.โอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์โดยบอกว่าจะเอาไปจำนองในนามของโจทก์เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวตามที่จำเลยกล่าวอ้างจริงอันเป็นการใช้กลอุบายเพียงเพื่อให้ล.หลงเชื่อแล้วโอนกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เท่านั้นโดยโจทก์ไม่มีเจตนาที่จะนำบ้านและที่ดินพิพาทไปจำนองแก่ธนาคารการจดทะเบียนโอนบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ของล. จึงเกิดขึ้นจากการทำกลฉ้อฉลหลอกลวงให้โอนกรรมสิทธิ์ให้ด้วยเจตนาที่สำคัญผิดอันเป็นสาระสำคัญจึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา156กรรมสิทธิ์จึงยังเป็นของโจทก์กับล.ในฐานะเจ้าของร่วมเมื่อจำเลยเข้ามาอยู่ในบ้านและที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิของล.ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งจึงเป็นการเข้าอยู่อาศัยโดยชอบโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยนั้นเป็นการพิพากษาตามฟ้องตามประเด็นแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3559/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายติดจำนอง: ศาลพิพากษาให้โอนกรรมสิทธิ์ตามสัญญาเดิม แม้มีสัญญาซื้อขายใหม่
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและบ้านพิพาท จำเลย ให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่ดินและบ้านพิพาท โดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาท ระหว่างจำเลยกับโจทก์ร่วม ถือไม่ได้ว่าจำเลยกล่าวแก้ เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า ที่ดินและบ้านพิพาทในขณะยื่นคำฟ้องอาจให้เช่าได้เดือนละ 6,000 บาท จึงต้องห้ามฎีกาใน ข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคสอง สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยมีข้อตกลงว่า จำเลยผู้จะซื้อจะชำระให้แก่โจทก์ร่วมผู้จะขายเป็นงวด ๆ ทุกวันที่ 16 ของทุกเดือน ส่วนราคาบ้านและที่ดินที่ยังคงต้องผ่อนชำระกับธนาคารอยู่นั้นจำเลยผู้จะซื้อจะเป็นผู้ผ่อนชำระกับธนาคารเอง โดยไม่เกี่ยวข้องกับผู้จะขายเลย ในกรณีที่ผู้จะซื้อผิดนัดหรือผิดสัญญาผู้จะซื้อยอมให้ผู้จะขายริบเงินมัดจำไว้ทั้งหมดได้ทันทีโดยมิต้องบอกกล่าว และหากผู้จะขายผิดนัดหรือผิดสัญญาผู้จะขายยอมคืนเงินมัดจำที่ผู้จะซื้อชำระไว้ให้แก่ผู้จะซื้อ เมื่อกรณีที่สัญญากำหนดให้จำเลยเป็นผู้ผ่อนชำระหนี้จำนองที่ดิน และบ้านพิพาทกับธนาคารแทนโจทก์ร่วม เป็นการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและบ้านพิพาทโดยติดจำนองไปด้วย ดังนี้ การที่จำเลยมีภาระจะต้องผ่อนชำระหนี้จำนองแก่ธนาคารผู้รับจำนองจึงเป็นเรื่องระหว่างจำเลยกับธนาคาร ไม่เกี่ยวกับโจทก์ร่วม แม้จำเลยจะรับว่าได้ผ่อนชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเพียง 3 ครั้ง แล้วไม่ชำระ อีกเลยก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและ บ้านพิพาทกับโจทก์ร่วม ส่วนการที่จำเลยไม่ผ่อนชำระหนี้แก่ธนาคาร หากทำให้โจทก์ร่วมได้รับความเสียหายอย่างใด โจทก์ร่วม มีสิทธิ ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหาย นั้นให้แก่โจทก์ร่วมได้ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดตามฟ้องแต่มิได้พิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
of 56