คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โอนที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3477/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน มิฉะนั้นเป็นโมฆะ การบังคับให้โอนที่ดินจึงทำไม่ได้
ที่ดินพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ การขายฝากที่ดินพิพาทจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มิฉะนั้นตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 491 เมื่อสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่ดินเฉพาะส่วนของจำเลยให้แก่โจทก์ โดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3280/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดิน: การโอนที่ดินโดยผู้ไม่มีสิทธิทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิที่ดีกว่าผู้โอน
โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 2239 โดยสืบสิทธิครอบครองมาหลายทอดจาก ล.เจ้าของเดิม จำเลยที่ 1และที่ 2 ขอให้ศาลตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกของ ล.โดยอ้างว่าที่ดินตาม น.ส.3 ก.ดังกล่าวเป็นทรัพย์มรดกของ ล.เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ขอแบ่งที่ดินตาม น.ส.3 ก. แปลงนั้นออกเป็น 7 ส่วน และโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 3145เนื้อที่ 8 ไร่ ให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 และโอนขายที่ดินที่แบ่งแยกออกเป็นน.ส.3 ก. เลขที่ 3146 เนื้อที่ 4 ไร่ ให้แก่จำเลยที่ 5 โดยจำเลยที่ 3 ที่ 4และที่ 5 ทราบดีว่าที่ดินดังกล่าวเป็นของโจทก์ทั้งสาม ขอให้พิพากษาว่าที่ดินทั้งหมดเป็นสิทธิของโจทก์ทั้งสาม และเพิกถอนสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 และกับจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นการฟ้องเรียกคืนทรัพย์สินจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ และที่ดินที่โจทก์ทั้งสามเรียกคืนจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 เนื้อที่ 8 ไร่ ราคาไม่เกิน50,000 บาท และเรียกคืนจากจำเลยที่ 5 เนื้อที่ 4 ไร่ ราคาไม่เกิน 50,000 บาทเช่นกัน คดีของโจทก์ทั้งสามกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 และกับจำเลยที่ 5 จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้ถือตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247
เมื่อที่พิพาทแปลง น.ส.3 ก. เลขที่ 2239 ไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ล. จำเลยที่ 1 และที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ล.ก็ไม่มีอำนาจขอแบ่งแยกที่พิพาทแปลงนี้ออกเป็น น.ส.3 ก. เลขที่ 3145 และ 3146 และไม่มีอำนาจโอนขายที่ดิน น.ส.3 ก. เลขที่ 3145 ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และโอนขายที่ดิน น.ส.3 ก.เลขที่ 3146 ให้แก่จำเลยที่ 5 จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิดีกว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้โอนซึ่งไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว และย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5 ในกรณีเช่นนี้แม้จำเลยที่ 3 ที่ 4 และที่ 5เข้าครอบครองที่ดินดังกล่าวก็ต้องถือว่าเป็นการครอบครองแทนโจทก์ทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3090/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินและสิทธิในการฟ้องเพิกถอนนิติกรรม เมื่อไม่มีนิติสัมพันธ์โดยตรงระหว่างลูกหนี้กับผู้รับประโยชน์
ต.ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาท และทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 แต่ต่อมา ต.ให้จำเลยร่วมที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยร่วมที่ 2 และจำเลยร่วมที่ 2 โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์ โดยรู้อยู่แล้วว่า ต.ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2ก็ตาม แต่จำเลยร่วมที่ 1 ไม่ใช่ลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยร่วมที่ 1 ไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 2 ฉะนั้นการที่จำเลยร่วมที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยร่วมที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 วรรคแรกได้
ต.ซึ่งทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยไม่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท ต.เพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทเท่านั้นจำเลยที่ 2 จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยร่วมที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ของจำเลยร่วมที่ 1 ทั้งมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จำเลยร่วมที่ 1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 2 ได้ก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างจำเลยร่วมที่ 1 กับจำเลยร่วมที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3090/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดิน: นิติสัมพันธ์และสิทธิของเจ้าหนี้
ต.ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่1ซึ่งเป็นผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทและทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่2แต่ต่อมาต.ให้จำเลยร่วมที่1โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยร่วมที่2และจำเลยร่วมที่2โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์โดยรู้อยู่แล้วว่าต.ได้ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่2ก็ตามแต่จำเลยร่วมที่1ไม่ใช่ลูกหนี้ของจำเลยที่2เพราะจำเลยร่วมที่1ไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆกับจำเลยที่2ฉะนั้นการที่จำเลยร่วมที่1โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยร่วมที่2จำเลยที่2จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา237วรรคแรกได้ ต.ซึ่งทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่2โดยไม่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทต.เพียงแต่ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยร่วมที่1ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทเท่านั้นจำเลยที่2จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆกับจำเลยร่วมที่1จำเลยที่2จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ของจำเลยร่วมที่1ทั้งมิใช่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จำเลยร่วมที่1จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่2ได้ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1300จำเลยที่2จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างจำเลยที่1กับจำเลยร่วมที่2ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2953/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยไม่สุจริตและขอบเขตคำพิพากษาเกินคำฟ้อง
จำเลยที่ 2 ทราบอยู่แล้วในขณะทำการจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทว่า จำเลยที่ 1 มีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายและไม่ได้ให้ความยินยอมแก่จำเลยที่ 1 ในการโอนที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำโดยไม่สุจริตไม่ได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ใส่ชื่อโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกันในโฉนดที่ดินพิพาทโดยโจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 ซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690-2691/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินของคนต่างด้าว, ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ, และสิทธิของบุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริต
การที่โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวให้จำเลยที่1ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทแทนการกระทำดังกล่าวแม้จะตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา86แต่มาตรา94แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวก็บัญญัติให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดฉะนั้นการได้มาซึ่งที่ดินของโจทก์จึงไม่เสียเปล่าทั้งหมดยังมีผลตามกฎหมายอยู่ จำเลยที่3รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่2โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตการที่โจทก์มอบให้จำเลยที่1เป็นตัวแทนลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทแทนตนเป็นเวลานานจนจำเลยที่1ไปขอออกใบแทนโฉนดแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่2และจำเลยที่2นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ต่อธนาคารจนธนาคารเร่งรัดหนี้และต่อมาจำเลยที่2ได้โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่3การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่1ผู้เป็นตัวแทนทำการออกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโจทก์จึงหาอาจทำให้เสื่อมเสียสิทธิของจำเลยที่3ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่มีต่อจำเลยที่1และที่2ซึ่งเสมือนเป็นตัวแทนของโจทก์และได้ขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่1และที่2เป็นตัวแทนของโจทก์ได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา806

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2690-2691/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินของคนต่างด้าว, ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ, สิทธิของบุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริต
การที่โจทก์ซึ่งเป็นคนต่างด้าวให้จำเลยที่1ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทแทนการกระทำดังกล่าวแม้จะตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา86แต่มาตรา94แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวก็บัญญัติให้คนต่างด้าวจัดการจำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดฉะนั้นการได้มาซึ่งที่ดินของโจทก์จึงไม่เสียเปล่าทั้งหมดยังมีผลตามกฎหมายอยู่ จำเลยที่3รับโอนที่ดินพิพาทจากจำเลยที่2โดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนโดยสุจริตการที่โจทก์มอบให้จำเลยที่1เป็นตัวแทนลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาทแทนตนเป็นเวลานานจนจำเลยที่1ไปขอออกใบแทนโฉนดแล้วโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่2และจำเลยที่2นำที่ดินพิพาทไปจดทะเบียนจำนองประกันหนี้ต่อธนาคารจนธนาคารเร่งรัดหนี้และต่อมาจำเลยที่2ได้โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยที่3การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นเรื่องตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำเลยที่1ผู้เป็นตัวแทนทำการออกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโจทก์จึงหาอาจทำให้เสื่อมเสียสิทธิของจำเลยที่3ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่มีต่อจำเลยที่1และที่2ซึ่งเสมือนเป็นตัวแทนของโจทก์และได้ขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่จะรู้ว่าจำเลยที่1และที่2เป็นตัวแทนของโจทก์ได้ไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา806

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2682/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อฉลในการโอนที่ดิน การเพิกถอนการจดทะเบียน และการครอบครองปรปักษ์
แม้การยกให้ที่ดินพิพาทของ ก. และ ช. กับโจทก์ที่4และที่5จะไม่ได้จดทะเบียนแต่โจทก์ที่4และที่5ก็ได้เข้าครอบครองถือกรรมสิทธิ์โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาเกินกว่า10ปีแล้วย่อมได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์การที่ ช.มอบอำนาจให้โจทก์ที่4และที่5ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในภายหลังเป็นเพียงไปจดทะเบียนให้สมบูรณ์ตามกฎหมายเพื่อใช้ยันบุคคลภายนอกเท่านั้นหาทำให้การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ดังกล่าวต้องเสียไปแต่อย่างใดไม่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5เดิมและใหม่ต่างบัญญัติถึงทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาในส่วนนอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัวย่อมเป็นสินบริคณห์และสินสมรสตามลำดับสินบริคณห์และสินสมรสตามกฎหมายใหม่จึงมีความหมายทำนองเดียวกันคือเป็นทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาการที่โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสถือว่าได้กล่าวอ้างถึงสินบริคณห์จึงรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่าโจทก์มีสิทธิเพิกถอนการโอนและการจำนองโฉนดที่ดินพิพาทของจำเลยหรือไม่แล้วอุทธรณ์และฎีกาเรื่องสินบริคณห์นี้จึงเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นโจทก์จึงยกขึ้นมากล่าวอ้างในชั้นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมโอนที่ดิน: รัฐมีสิทธิเรียกเก็บ แม้การขายทอดตลาดถูกเพิกถอน
เงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในการโอนที่ดินเป็นเงินที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎรเป็นค่าตอบแทนที่รัฐให้บริการแก่ราษฎรในการให้ราษฎรได้สิทธิหรือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยบริบูรณ์ทางทะเบียนโดยชอบด้วยกฎหมาย เงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินมีโฉนดที่โจทก์ประมูลซื้อได้จากการขายทอดตลาดและจดทะเบียนรับโอนที่ดินตามคำสั่งศาลเป็นเงินค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 103 เป็นเงินที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาศาลได้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินที่โจทก์ประมูลซื้อได้ และได้ให้จดทะเบียนใส่ชื่อ ล.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เหมือนเดิม แล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดใหม่ การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวไม่ใช่เกิดจากการกระทำของจำเลย ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินก็ไม่มีบทบัญญัติไว้ให้จำเลยคืนเงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินคืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมโอนที่ดินคืนไม่ได้ แม้เพิกถอนการขายทอดตลาด เหตุไม่ใช่ความผิดจำเลย
เงินค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในการโอนที่ดินเป็นเงินที่รัฐเรียกเก็บจากราษฎรเป็นค่าตอบแทนที่รัฐให้บริการแก่ราษฎรในการให้ราษฎรได้สิทธิหรือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์โดยบริบูรณ์ทางทะเบียนโดยชอบด้วยกฎหมาย เงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินมีโฉนดที่โจทก์ประมูลซื้อได้จากการขายทอดตลาดและจดทะเบียนรับโอนที่ดินตามคำสั่งศาลเป็นเงินค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 103 เป็นเงินที่จำเลยเรียกเก็บจากโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาศาลได้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินที่โจทก์ประมูลซื้อได้ และได้ให้จดทะเบียนใส่ชื่อ ล. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เหมือนเดิม แล้วให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดใหม่ การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวไม่ใช่เกิดจากการกระทำของจำเลยซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินก็ไม่มีบทบัญญัติไว้ให้จำเลยคืนเงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินค่าธรรมเนียมการโอนที่ดินคืนจากจำเลย
of 33