คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไต่สวน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 271 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดพิจารณาคดี และการไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลต้องไต่สวนเหตุผลที่ไม่มาศาลก่อน
การที่จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาจะไม่มาศาลตามกำหนดนัดเพราะรถที่จำเลยที่ 1 ใช้เป็นพาหนะเดินทางมาศาลเกิดอุบัติเหตุอันเป็นเหตุสุดวิสัยมิอาจก้าวล่วงเสียได้ การที่ศาลว่าไม่มีเหตุสมควรจะไต่สวนคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงไม่เห็นชอบด้วย เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น เหตุที่จำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องไต่สวนและหากได้ความว่าจำเลยที่ 1ไม่จงใจขาดนัดพิจารณา ศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาคดีใหม่ ถือได้ว่าเป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วว่า กรณีที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 นั้น มิใช่เพราะกรณีฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนแต่เป็นเพราะจำเลยที่ 1ไม่มาตามกำหนดนัดอันเป็นการขาดนัดพิจารณา ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนฟังข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า จำเลยที่ 1 ไม่จงใจขาดนัดพิจารณาหรือไม่ หากเป็นความจริงก็ต้องดำเนินการพิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1โดยมิได้ระบุว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งมีฐานะเป็นโจทก์ตามฟ้องอุทธรณ์ขาดนัดพิจารณาและให้จำหน่ายคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของจำเลยที่ 1 ออกเสียจากสารบบความ จึงมิใช่คำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 201 แต่เป็นการสั่งสืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ไม่มาศาลตามกำหนดนัด จึงเท่ากับศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีพยานมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนยากจนตามคำร้องขอ เป็นการยกคำร้องขอตามมาตรา 156 วรรคสาม ซึ่งจำเลยที่ 1 มีสิทธิดำเนินการต่อไปได้แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 156 วรรคสี่หรือวรรคห้าเท่านั้น หรือหากเห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประการใดก็ย่อมอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 223 ประกอบด้วยมาตรา 229 จำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจร้องขอให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาใหม่ไม่ ทั้งไม่ใช่กรณีขาดนัดตามมาตรา 202 ซึ่งจะขอพิจารณาคดีใหม่ได้ตามมาตรา 207 ประกอบมาตรา 209

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6091/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวต้องดำเนินการตามวิธีปกติ หากมิใช่กรณีเร่งด่วน
ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาของโจทก์ฉบับลงวันที่ 7 ธันวาคม 2531 ในวันที่ 13 ธันวาคม2531 และสั่งให้โจทก์ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทุกคนทราบ เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนเสร็จในวันที่ 14 ธันวาคม 2531 แล้วได้มีคำสั่งในวันรุ่งขึ้นให้จำเลยทุกคนร่วมกันจัดการนำส่งสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทต่อศาลเป็นการชั่วคราวก่อนพิพากษาภายใน 15 วันจำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 12 มกราคม 2532 ขอให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งดังกล่าว ดังนี้ มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้อง ของ โจทก์เป็นการด่วนโดยไม่ชักช้า และคำสั่งดังกล่าวก็มิได้บังคับได้ทันทีโดยไม่ต้องส่งให้จำเลยทุกคนทราบดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 267,269 กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาไต่สวนคำร้อง ของ โจทก์อย่างวิธีธรรมดา จะนำป.วิ.พ. มาตรา 267 วรรคสอง มาปรับกับกรณีตามคำร้อง ของ จำเลยไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีต้องครบถ้วนในคราวเดียว หากประเมินซ้ำต้องไต่สวนใหม่ตามกฎหมาย
การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 จะต้องมีการออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตามมาตรา 19 ก่อน และการประเมินเจ้าพนักงานประเมินจะต้องอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวน ดังนั้น เมื่อพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนตามอำนาจในมาตรา19 มีอยู่เท่าใด เจ้าพนักงานประเมินจะต้องตรวจสอบให้ครบถ้วนในคราวเดียวกัน แล้วจึงจะมีการแจ้งการประเมินไป มิใช่ว่าจะให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบหลักฐานเป็นส่วน ๆ แล้วทยอยแจ้งการประเมินไปในแต่ละคราวเท่าที่เห็นสมควร หากให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจที่จะแจ้งการประเมินหลายครั้งได้ เจ้าพนักงานประเมินก็สามารถทำการประเมินได้อีกโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ความรับผิดของผู้เสียภาษีก็ไม่มีกำหนดเวลาที่จะสิ้นสุดลงได้ ทั้งการแจ้งการประเมินครั้งแรกยังเป็นการแสดงว่าพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนตามมาตรา 19 ได้มีการพิจารณาเสร็จสิ้นไปแล้ว ถ้าจะมีการประเมินอีกครั้งก็ต้องมีการออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้วตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 19 ก่อน ไม่อาจที่จะอาศัยหมายเรียกมาไต่สวนครั้งเดียวนั้นเพื่อทำการแจ้งการประเมินอีกต่อไปได้ ดังนั้น การที่จำเลยประเมินครั้งหลังโดยไม่มีการออกหมายเรียกมาไต่สวนตามกำหนดเวลาที่มาตรา 19 กำหนดไว้จึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีต้องทำตามขั้นตอน ม.19 ก่อนแจ้งประเมิน ม.20 มิได้ตรวจสอบหลักฐานเป็นส่วนๆ
การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 20 จะต้องมีการออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตามมาตรา 19 ก่อน และเจ้าพนักงานประเมินจะต้องอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนตามอำนาจในมาตรา 19ว่ามีอยู่เท่าใด เจ้าพนักงานประเมินจะต้องตรวจสอบให้ครบถ้วนในคราวเดียวกัน แล้วจึงจะแจ้งการประเมิน มิใช่ว่าจะให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบหลักฐานเป็นส่วน ๆ แล้วทยอยแจ้งการประเมินแต่ละคราวเท่าที่เห็นสมควร เมื่อปรากฏว่าการประเมินครั้งแรกและครั้งหลังเป็นการประเมินภาษีที่ต้องชำระตามมาตรา 66และ 70 ทวิ แห่ง ป. รัษฏากร จึงเป็นการทยอยการประเมินตามหลักฐานที่ได้มาจากการไต่สวนเป็นส่วน ๆ ซึ่งเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจที่จะทำเช่นนั้นทั้งการแจ้งการประเมินครั้งแรกแสดงว่าพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนตามมาตรา 19 ได้มีการพิจารณาเสร็จสิ้นไปแล้วถ้า จะมีการประเมินอีกครั้งก็ต้องมีการออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้วตามที่กำหนดไว้ใน ป. รัษฎากร มาตรา 19 ก่อน ไม่อาจที่จะอาศัยหมายเรียกมาไต่สวนครั้งเดียวนั้นเพื่อทำการแจ้งการประเมินอีกดังนั้นการที่จำเลยประเมินครั้งหลังโดยไม่มีการออกหมายเรียกมาไต่สวนตามกำหนดเวลาที่มาตรา 19 กำหนดไว้ จึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 20.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2729/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีต้องอาศัยการไต่สวนตาม ม.19 และพยานหลักฐานครบถ้วนก่อนแจ้งประเมินตาม ม.20
การประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 20 จะต้องมีการออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนตามมาตรา 19 ก่อน และการประเมินเจ้าพนักงานประเมินจะต้องอาศัยพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนดังนั้น เมื่อพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนตามอำนาจในมาตรา19 มีอยู่เท่าใด เจ้าพนักงานประเมินจะต้องตรวจสอบให้ครบถ้วนในคราวเดียวกัน แล้วจึงจะมีการแจ้งการประเมินไป มิใช่ว่าจะให้อำนาจเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบหลักฐานเป็นส่วน ๆ แล้วทยอยแจ้งการประเมินไปในแต่ละคราวเท่าที่เห็นสมควร หากให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจที่จะแจ้งการประเมินหลายครั้งได้ เจ้าพนักงานประเมินก็สามารถทำการประเมินได้อีกโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ความรับผิดของผู้เสียภาษีก็ไม่มีกำหนดเวลาที่จะสิ้นสุดลงได้ ทั้งการแจ้งการประเมินครั้งแรกยังเป็นการแสดงว่าพยานหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนตามมาตรา 19 ได้มีการพิจารณาเสร็จสิ้นไปแล้ว ถ้าจะมีการประเมินอีกครั้งก็ต้องมีการออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนภายในกำหนดเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ได้ยื่นรายการแล้วตามที่กำหนดไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 19 ก่อน ไม่อาจที่จะอาศัยหมายเรียกมาไต่สวนครั้งเดียวนั้นเพื่อทำการแจ้งการประเมินอีกต่อไปได้ ดังนั้น การที่จำเลยประเมินครั้งหลังโดยไม่มีการออกหมายเรียกมาไต่สวนตามกำหนดเวลาที่มาตรา 19 กำหนดไว้ จึงเป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 20 แห่งประมวลรัษฎากร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4910/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอดำเนินคดีอนาถา: ศาลไม่เห็นควรไต่สวนพยานหลักฐานเพิ่มเติม หากข้ออ้างเดิมเคยถูกวินิจฉัยแล้วและไม่มีเหตุผลใหม่สนับสนุน
ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยในชั้นอุทธรณ์ที่ยื่นครั้งแรกแล้วฟังว่า จำเลยมีที่ดิน 1 แปลงเนื้อที่ 20 ไร่ แม้จำเลยจะอ้างว่านำที่ดินไปจำนองเป็นประกันหนี้และยังไม่มีเงินไถ่ คืน ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนยากจนที่ไม่อาจเสียค่าธรรมเนียมศาลได้ จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นคงยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลอนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่า เป็นคนยากจน แต่ข้ออ้างที่ขอให้ไต่สวนใหม่ปรากฏในคำร้องว่าเป็นเหตุเดียวกับที่อ้างไว้เดิม และศาลชั้นต้นวินิจฉัยไปแล้วทำให้เห็นว่าไม่น่าจะมีพยานหลักฐานเพิ่มเติมแสดงให้เห็นฐานะของจำเลย นอกเหนือไปจากที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยไปแล้ว ดังนี้ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะมีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาคำขอใหม่ของจำเลยนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4897/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลสั่งยกคำร้องคัดค้านการบังคับคดี: ไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อน หากพิจารณาแล้วไม่สมควรอนุญาต
การพิจารณาคำร้องของผู้ร้องว่าที่ดินและบ้านเรือนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีให้จำเลยและบริวารออกไปนั้น เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องมิใช่กรรมสิทธิ์ของจำเลย ขอให้ระงับการบังคับคดีไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำการไต่สวนก่อน ที่ศาลชั้นต้นสั่งนัดพร้อมให้ผู้ร้อง โจทก์ จำเลยมาศาลก็เพื่อทำการพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้อง และในวันนัดพร้อม หากศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าคำร้องของผู้ร้องไม่สมควรอนุญาตตามคำร้องก็อาจยกคำร้องเสียได้ ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิเคราะห์แล้วว่าคำร้องของผู้ร้องไม่มีเหตุที่จะอนุญาตตามคำร้อง จึงยกคำร้อง มิได้สั่งยกคำร้องเพราะเหตุผู้ร้องไม่มาศาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4897/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำร้องระงับการบังคับคดี: ศาลไม่จำเป็นต้องไต่สวนก่อนสั่งยกคำร้องหากพิจารณาแล้วไม่มีเหตุสมควร
การพิจารณาคำร้องของผู้ร้องว่าที่ดินและบ้านเรือนที่เจ้าพนักงานบังคับคดีให้จำเลยและบริวารออกไปนั้น เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องมิใช่กรรมสิทธิ์ของจำเลย ขอให้ระงับการบังคับคดีไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องทำการไต่สวนก่อน ที่ศาลชั้นต้นสั่งนัดพร้อมให้ผู้ร้อง โจทก์ จำเลยมาศาลก็เพื่อทำการพิจารณาสั่งคำร้องของผู้ร้อง และในวันนัดพร้อม หากศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่าคำร้องของผู้ร้องไม่สมควรอนุญาตตามคำร้องก็อาจยกคำร้องเสียได้ ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิเคราะห์แล้วว่าคำร้องของผู้ร้องไม่มีเหตุที่จะอนุญาตตามคำร้อง จึงยกคำร้อง มิได้สั่งยกคำร้องเพราะเหตุผู้ร้องไม่มาศาล.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการไต่สวนและประเมินภาษี เมื่อพบรายการที่ยื่นไม่ถูกต้อง
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า โจทก์ยื่นรายการเพื่อเสียภาษี-อากรโดยแสดงเงินได้และหักค่าใช้จ่ายไว้ผิดประเภท เป็นเหตุให้จำนวนภาษีน้อยกว่าที่ควรต้องเสีย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานประเมิน มีเหตุอันควรเชื่อว่า โจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนแล้วประเมินภาษีอากรให้ถูกต้องตามมาตรา 1 และ 20แห่งประมวลรัษฎากรได้ โดยไม่จำเป็นต้องประเมินแล้วแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังโจทก์ผู้ต้องเสียภาษีอากรตามมาตรา 18 วรรคแรกก่อนแต่อย่างใด
เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากการทำงานในสถานพยาบาลของโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีแม่เมาะและในสถานพยาบาลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่แม่เมาะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนเงินได้จากคลินิกซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและดำเนินการรักษาผู้ป่วยโดยไม่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนนั้น เป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลปะ ตามมาตรา 40 (6) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4478/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินในการไต่สวนและประเมินภาษีเมื่อพบความผิดพลาดในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี
เมื่อเจ้าพนักงานประเมินเห็นว่า โจทก์ยื่นรายการเพื่อเสียภาษีอากรโดยแสดงเงินได้และหักค่าใช้จ่ายไว้ผิดประเภทเป็นเหตุให้จำนวนภาษีน้อยกว่าที่ควรต้องเสีย ถือได้ว่าเจ้าพนักงานประเมิน มีเหตุอันควรเชื่อว่า โจทก์แสดงรายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่บริบูรณ์เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจออกหมายเรียกโจทก์มาไต่สวนแล้วประเมินภาษีอากรให้ถูกต้องตามมาตรา 1 และ 20 แห่งประมวลรัษฎากรได้โดยไม่จำเป็นต้องประเมินแล้วแจ้งจำนวนภาษีอากรที่ประเมินไปยังโจทก์ผู้ต้องเสียภาษีอากรตามมาตรา 18 วรรคแรกก่อนแต่อย่างใด เงินได้ที่โจทก์ได้รับจากการทำงานในสถานพยาบาลของโรงงานผลิตปุ๋ยเคมีแม่เมาะและในสถานพยาบาลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยที่แม่เมาะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนเงินได้จากคลินิก ซึ่งโจทก์เป็นเจ้าของและดำเนินการรักษาผู้ป่วยโดยไม่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนนั้นเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ การประกอบโรคศิลปะ ตามมาตรา 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร
of 28