คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ไม่สุจริต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 369 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5123/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วงทำเหมือง: การใช้สิทธิเลิกสัญญาที่ไม่สุจริตและการชดใช้ค่าเสียหาย
พระราชบัญญัติแร่ฯ มาตรา 76 และ 77 มิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาดหากรัฐมนตรีอนุญาตก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้สัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นและมีผลใช้บังคับตั้งแต่ที่โจทก์จำเลยตกลงกัน ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากซึ่งหากรัฐมนตรีไม่อนุญาต การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวก็อาจเป็นพ้นวิสัยเท่านั้นหาใช่สัญญายังไม่เกิดเพราะยังไม่ได้รับคำสั่งอนุญาตจากรัฐมนตรีไม่ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหินและขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามแต่ก็เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5081/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยชี้ขาดเกินขอบเขตสัญญา/ไม่สุจริต อุทธรณ์ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ
เหตุผลที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นสรุปได้ว่า อนุญาโตตุลาการมิได้วินิจฉัยชี้ขาดไปตามข้อเท็จจริงและสัญญา ไม่หยิบยกพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านเห็นว่าสำคัญขึ้นวินิจฉัย จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับเนื้อหาแห่งคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการทั้งสิ้น การที่อนุญาโตตุลาการจะหยิบยกพยานหลักฐานใดขึ้นวินิจฉัยภายในขอบเขตของกฎหมายและสัญญาที่พิพาทกัน ย่อมเป็นสิทธิที่จะกระทำได้ ที่ผู้คัดค้านอ้างว่าอนุญาโตตุลาการกระทำการโดยไม่สุจริต ก็ไม่ปรากฏพยานหลักฐานใด ๆว่าอนุญาโตตุลาการกระทำการโดยไม่สุจริตอย่างไร อุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงต้องห้ามตามพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2530 มาตรา 26 แม้ศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไว้พิจารณาแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนความแล้วเห็นว่า คดีของผู้คัดค้านต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจยกอุทธรณ์นั้นโดยไม่ต้องวินิจฉัยในประเด็นแห่งอุทธรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 242(1) ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้คัดค้าน โดยให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151 ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมอบหุ้นโดยไม่สุจริตและผลของการคืนหุ้น/ชำระราคา
จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นของธนาคาร ก.แทนจำเลย จำนวน1,000 หุ้น จำเลยชำระเงินค่าหุ้นให้แก่โจทก์แล้วแต่โจทก์ยังมิได้ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลย ต่อมาจำเลยได้สั่งให้โจทก์ขายหุ้นของธนาคาร ก.จำนวน 2,000หุ้น โดยเป็นหุ้นที่จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อไว้แทนจำนวน 1,000 หุ้นดังกล่าวรวมกับหุ้นที่จำเลยมีอยู่เดิม โจทก์ได้ขายให้จำเลยแล้วในราคาหุ้นละ 303 บาท และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าขายหุ้นดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้วในส่วนของหุ้นจำนวน 1,000 หุ้นเป็นเงิน 301,182 บาท โดยหักค่าธรรมเนียมการขายไว้ ต่อมาโจทก์ได้ส่งมอบใบหุ้นของธนาคาร ก.ให้แก่จำเลยอีกจำนวน 1,000 หุ้น โดยสำคัญผิดว่าเป็นหุ้นที่จำเลยได้สั่งซื้อไว้และโจทก์ยังมิได้ส่งมอบใบหุ้นให้ จำเลยรับไว้แล้วจำเลยส่งมอบใบหุ้นจำนวนเดียวกันนี้คืนโจทก์ในวันเดียวกัน โจทก์ก็รับไว้โดยเข้าใจว่าเป็นการส่งมอบใบหุ้นที่จำเลยได้สั่งขายในส่วนที่ยังค้างการส่งมอและได้จ่ายเงินค่าขายหุ้นส่วนที่เหลือจำนวน 301,182 บาท ให้แก่จำเลยไป การที่จำเลยรับใบหุ้นจากโจทก์โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีหุ้นของจำเลยเหลืออยู่ที่โจทก์อีก จึงเป็นการรับไว้โดยไม่สุจริต จำเลยต้องคืนหุ้น 1,000 หุ้น ให้โจทก์เต็มจำนวน หากคืนไม่ได้ต้องใช้ราคา 301,182 บาท แก่โจทก์เท่าจำนวนราคาหุ้นที่จำเลยรับไปจากโจทก์มิใช่ราคา 303,000 บาท ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบใบหุ้นเกินไปโดยสำคัญผิด และการรับใบหุ้นโดยไม่สุจริต จำเลยต้องคืนหุ้นหรือชำระราคา
จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นของธนาคาร ก. แทนจำเลยจำนวน 1,000 หุ้น จำเลยชำระเงินค่าหุ้นให้แก่โจทก์แล้วแต่โจทก์ยังมิได้ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลย ต่อมาจำเลยได้สั่งให้โจทก์ขายหุ้นของธนาคาร ก. จำนวน 2,000 หุ้น โดยเป็นหุ้นที่จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อไว้แทนจำนวน 1,000 หุ้นดังกล่าวรวมกับหุ้นที่จำเลยมีอยู่เดิม โจทก์ได้ขายให้จำเลยแล้วในราคาหุ้นละ 303 บาท และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าขายหุ้นดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้วในส่วนของหุ้นจำนวน 1,000 หุ้น เป็นเงิน301,182 บาท โดยหักค่าธรรมเนียมการขายไว้ ต่อมาโจทก์ได้ส่งมอบใบหุ้นของธนาคาร ก. ให้แก่จำเลยอีกจำนวน1,000 หุ้น โดยสำคัญผิดว่าเป็นหุ้นที่จำเลยได้สั่งซื้อไว้และโจทก์ยังมิได้ส่งมอบใบหุ้นให้ จำเลยรับไว้แล้วจำเลยส่งมอบใบหุ้นจำนวนเดียวกันนี้คืนโจทก์ในวันเดียวกันโจทก์ก็รับไว้โดยเข้าใจว่าเป็นการส่งมอบใบหุ้นที่จำเลยได้สั่งขายในส่วนที่ยังค้างการส่งมอบและได้จ่ายเงินค่าขายหุ้นที่เหลือจำนวน 301,182 บาท ให้แก่จำเลยไป การที่จำเลยรับใบหุ้นจากโจทก์โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีหุ้นของจำเลยเหลืออยู่ที่โจทก์อีก จึงเป็นการรับไว้โดยไม่สุจริต จำเลยต้องคืนหุ้น 1,000 หุ้น ให้โจทก์เต็มจำนวน หากคืนไม่ได้ต้องใช้ราคา 301,182 บาท แก่โจทก์เท่าจำนวนราคาหุ้นที่จำเลยรับไปจากโจทก์มิใช่ราคา 303,000 บาท ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4738/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการโอนที่ดินโดยไม่สุจริต
ส. บิดาจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่พิพาทมาตั้งแต่60 ปี ก่อนเกิดกรณีพิพาทคดีนี้ ประกอบกับโจทก์ไม่มีพยานรู้เห็นว่า ส.เข้าครอบครองที่พิพาทได้อย่างไรพฤติการณ์ที่ส.และจำเลยทั้งสองครอบครองที่พิพาทสืบต่อกันมานานถึง60 ปี โดยไม่ปรากฎว่า ส. และจำเลยทั้งสองครอบครองที่พิพาทแทนผู้อื่น แสดงให้เห็นว่า ส. และจำเลยร่วมกันยึดถือที่พิพาทเพื่อตนมาก่อนมีการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 5285 แม้ ส.และจำเลยที่ 2 มิได้โต้แย้งคัดค้านการที่ อ. ขอออกโฉนดที่ดินเลขที่ 5285 ซึ่งรวมที่พิพาทไว้ด้วย และมิได้โต้แย้งคัดค้านการโอนมรดกที่ดินโฉนดดังกล่าวก็ตาม ก็ไม่ทำให้ลักษณะการยึดถือที่พิพาทของ ส. และจำเลยที่ 2 เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นหลังจากการออกโฉนดที่ดินเลขที่ 5285 แล้ว ส.และจำเลยที่ 2ยังคงครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี เมื่อ ส. ตาม จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นทายาทของ ส.จึงเป็นผู้สืบสิทธิของส. แล้วร่วมกับจำเลยที่ 2 ครอบครองที่พิพาทตลอดมา กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทจึงตกเป็นของจำเลยทั้งสองโดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3343/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดเนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาต่ำกว่าตลาด และผู้ซื้อประมูลราคาต่ำโดยไม่สุจริต
หากข้อเท็จจริงได้ความว่า การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ของจำเลย ต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาด ซึ่งมีราคา 8,123,000 บาทหลายเท่าตัว โดยไม่ตรวจสอบราคาอันถูกต้องแท้จริงเสียก่อน และขายทอดตลาดแก่ บ. ไปในราคา 2,335,000 บาท ซึ่งต่ำกว่าราคาที่ประเมินไว้ ย่อมส่อพฤติการณ์ว่าไม่สุจริตอยู่ในตัว และหาก บ. ผู้ประมูลได้เคยตกลงจะเข้าประมูลในราคาถึง5,000,000 บาท แต่กลับประมูลในราคาต่ำเช่นนี้ ย่อมเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริตทำให้จำเลยหลงเชื่อไม่เตรียมหาผู้อื่นมาประมูลสู้ราคา เป็นการไม่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 5 มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
การที่ศาลชั้นต้นด่วนสั่งยกคำร้องของจำเลย โดยไม่ไต่สวนพยานจำเลยเสียก่อน และศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนโดยอ้างเหตุเดียวกันว่าผู้ซื้อประมูลได้ต่ำกว่าราคาประเมินขณะยึดไม่มาก แต่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินของสำนักงานที่ดิน ทั้งในการขายทอดตลาดครั้งแรกจำเลยเคยแถลงคัดค้านราคาไว้แต่ไม่ได้หาคนมาสู้ราคาในครั้งที่สอง และไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่า การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินไปโดยไม่สุจริตนั้น เป็นการไม่ชอบ เพราะราคาที่ขายไปทำให้จำเลยเสียหายมากน้อยเพียงใดนั้น ต้องคำนวณจากราคาแท้จริงในท้องตลาด หาใช่คำนวณจากราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ขณะยึดทรัพย์ไม่และที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 อ้างว่าจำเลยมิได้หาคนมาสู้ราคาในครั้งที่สองนั้น เป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นเอง โดยคู่ความยังมิได้นำสืบพยานว่า บ.เป็นบุคคลที่จำเลยหามาสู้ราคาหรือไม่ ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยนอกสำนวนไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงมีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะต้องไต่สวนคำร้องของจำเลยเสียก่อนที่จะมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 331/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองบ้านจากการซื้อขายและการครอบครองต่อเนื่อง การคัดค้านการเวนคืนที่ไม่สุจริต
แม้นาง ต. ได้ซื้อบ้านพิพาทจากนาง ม. โดยไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือ ต่อมานาง ต. ได้ขายบ้านดังกล่าวให้แก่โจทก์โดยทำหนังสือสัญญาซื้อขายไว้ต่อกัน และเมื่อซื้อบ้านพิพาทดังกล่าวแล้วโจทก์ได้เช่าที่ดินซึ่งบ้านพิพาทตั้งอยู่จากนาง ข. เพื่ออยู่อาศัยตลอดมา ถือว่า โจทก์ได้รับมอบการครอบครองบ้านพิพาทจากผู้ขายและได้เข้าครอบครองแล้ว ย่อมได้สิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367 การที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุตรนาง ม. เจ้าของบ้านพิพาทเดิมมิได้ครอบครองบ้านดังกล่าวไปคัดค้านการจ่ายเงินทดแทนการเวนคืนบ้านพิพาทจากกรมทางหลวงจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 5 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยทั้งสองให้เพิกถอนคำคัดค้านและห้ามจำเลยทั้งสองเข้าเกี่ยวข้องกับบ้านพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3192/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการซื้อที่ดินโดยไม่สุจริต ทำให้สิทธิในที่ดินตกเป็นของผู้ครอบครอง
จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในส่วนที่โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีจึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ก่อนตกลงซื้อที่ดินพิพาท โจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยครอบครองทำประโยชน์ปลูกพืชผลและปลูกบ้านอยู่ในที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์แล้ว โจทก์จะอ้างว่าจดทะเบียนโดยสุจริตหาได้ไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ได้กรรมสิทธิ์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมแม้จะยังมิได้จดทะเบียนก็ยกเป็นข้อต่อสู้ โจทก์ซึ่งมิได้จดทะเบียนโดยสุจริตได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องแต่เพียงว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิจากเจ้าของเดิม โจทก์ทั้งสามไม่ประสงค์ที่จะให้จำเลยอาศัยอยู่ในที่ดินพิพาท โดยไม่ได้บรรยายฟ้องถึงเรื่องที่จำเลยเช่าที่ดินเพื่อเลี้ยงปลา คดีจึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยอยู่ในที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่าเพื่อเลี้ยงปลาที่โจทก์ที่ 2และที่ 3 ฎีกาว่า การเช่าที่ดินของจำเลยซึ่งเช่าจากโจทก์ที่ 2และที่ 3 ได้มีการเปลี่ยนลักษณะของการเช่าที่ดินจากการเช่าเพื่อทำนามาเป็นการเช่าเพื่อเลี้ยงปลา ย่อมไม่ได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เมื่อโจทก์บอกเลิกการเช่าและให้จำเลยออกไปจากที่ดินที่เช่าแล้ว โจทก์ที่ 2และที่ 3 จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยนั้น เป็นเรื่องนอกประเด็นแห่งคดีศาลฎีกาวินิจฉัยให้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนแคชเชียร์เช็คโดยไม่สุจริต คบคิดฉ้อฉล ธนาคารไม่ต้องรับผิด
ธนาคารจำเลยที่ 1 ได้ออกแคชเชียร์เช็คแก่จำเลยที่ 6โดยเชื่อตามคำหลอกลวงว่าเช็คที่จำเลยที่ 6 นำมาเข้าบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ที่มีจำเลยที่ 6 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการที่ธนาคารสาขาของจำเลยที่ 1 เป็นของลูกค้าชั้นดีสามารถเรียกเก็บเงินได้ แต่ต่อมาปรากฏว่าเป็นเช็คที่จำเลยที่ 6 สั่งจ่ายและถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ทำให้ไม่มีเงินเข้าบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ที่ธนาคารสาขาของจำเลยที่ 1 แล้วในวันเดียวกันนั้นจำเลยที่ 6 ได้สลักหลังโอนแคชเชียร์เช็คแก่โจทก์แล้วเลิกกิจการหลบหนีไป ต่อมาโจทก์ได้นำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการใช้เงิน เมื่อปรากฏว่ามารดาโจทก์และพี่น้องของภรรยาจำเลยที่ 6 ได้ทราบปัญหาเกี่ยวกับความไม่สุจริตของจำเลยที่ 6จากเจ้าหน้าที่ของธนาคารจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ตอนเย็นของวันที่ออกแคชเชียร์เช็คแล้ว เชื่อได้ว่ามารดาโจทก์และน้องสาวโจทก์ต้องรีบแจ้งให้โจทก์ทราบตั้งแต่คืนวันนั้นว่าจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นน้องเขยของโจทก์กำลังมีปัญหากับธนาคารเพราะโจทก์ยังมีเช็คของจำเลยที่ 6จำนวน 60 ฉบับ อยู่ที่ตนที่ยังไม่ได้นำไปเรียกเก็บเงิน จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทราบถึงความไม่สุจริตของจำเลยที่ 6 ที่ได้แคชเชียร์เช็คมาจากธนาคารจำเลยที่ 1 ตั้งแต่คืนของวันที่ออกแคชเชียร์เช็คแล้วการที่โจทก์รับโอนไว้โดยอ้างว่าเพื่อชำระหนี้ในคืนนั้นจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต คบคิดกันฉ้อฉลเพื่อยืมมือโจทก์มาฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ประกอบมาตรา 989ธนาคารจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามแคชเชียร์เช็คแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2317/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างรุกล้ำที่ดินของผู้อื่น แม้เริ่มสุจริต แต่หากรู้ภายหลังยังก่อสร้างต่อ ถือไม่สุจริตตาม ป.พ.พ.มาตรา 1311
การที่จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดจำเลยที่ 1ได้ควบคุมการก่อสร้างบ้านพักครูหลังที่ 2 และที่ 3 ไปจนถึงขั้นทำคานชั้นบนเสร็จแล้วจำเลยที่ 3 จึงทราบว่าบ้านพักครูหลังที่ 2และที่ 3 ได้ก่อสร้างอยู่ในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยที่ 3 ยังขืนสร้างต่อไปจนเสร็จนั้น ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ก่อสร้างบ้านพักครู2 หลังนี้ในที่ดินของโจทก์โดยไม่สุจริต ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1311โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 รวมกันรื้อถอนบ้านพักครูออกไปจากที่ดินของโจทก์ได้
of 37