พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีรับขนของทางทะเล: ใช้ 10 ปี หากไม่มีกฎหมายเฉพาะ
คดีเกี่ยวกับกฎหมายทะเลต้องบังคับตามกฎหมายและกฏข้อบังคับว่าด้วยการนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 609 วรรคท้าย แต่ปัจจุบันนี้กฎหมายและกฎข้อบังคับของประเทศไทยว่าด้วยการรับขนของทางทะเลยังไม่มี อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 จะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624 มาใช้บังคับหาได้ไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1295/2516)
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการขนสินค้าทางทะเลเนื่องจากถุงบรรจุสินค้าฉีกขาดสินค้าสูญหาย จำเลยให้การด้วยว่า ตามเงื่อนไขในใบตราส่งมีข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในกรณีสินค้าสูญหายเกิดจากการรั่วของภาชนะที่บรรจุศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ข้อยกเว้นความผิดตามใบตราส่งเป็นโมฆะ แต่เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความโจทก์ต้องแพ้ พิพากษายกฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และแม้จะว่ากล่าวโต้แย้งประเด็นข้อนี้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์ เพราะเหตุจำเลยมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเกี่ยวกับการขนสินค้าทางทะเลเนื่องจากถุงบรรจุสินค้าฉีกขาดสินค้าสูญหาย จำเลยให้การด้วยว่า ตามเงื่อนไขในใบตราส่งมีข้อยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องรับผิดในกรณีสินค้าสูญหายเกิดจากการรั่วของภาชนะที่บรรจุศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ข้อยกเว้นความผิดตามใบตราส่งเป็นโมฆะ แต่เมื่อคดีโจทก์ขาดอายุความโจทก์ต้องแพ้ พิพากษายกฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น และแม้จะว่ากล่าวโต้แย้งประเด็นข้อนี้ไว้ในคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์ เพราะเหตุจำเลยมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด จึงถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยข้อนี้จึงต้องห้ามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1115/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่ากระแสไฟฟ้า: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไม่ใช่พ่อค้า, ใช้ อายุความ 10 ปี
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคดำเนินกิจการสาธารณูปโภคตามพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ.2503 มิใช่เป็นพ่อค้าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) การเรียกเก็บค่ากระแสไฟฟ้าจึงไม่ใช่มีอายุความเพียง 2 ปี และโดยที่ค่ากระแสไฟฟ้าประจำเดือนมิใช่จำนวนเงินที่ตกลงกันไว้แน่นอน แม้จะกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา กรณีก็ไม่ต้องด้วยอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 166 จึงต้องนำอายุความทั่วไปมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 164 มาใช้บังคับในเรื่องสิทธิเรียกร้องค่ากระแสไฟฟ้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีตามสัญญาขายลดเช็ค: สัญญาไม่มีกำหนดอายุความเฉพาะ ใช้กฎหมายทั่วไป (10 ปี)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยสลักหลังเช็คพิพาทนำมาขายลดให้แก่โจทก์ โดยตกลงกับโจทก์ว่าเมื่อถึงกำหนดชำระเงินแล้วให้โจทก์นำเช็คไปขึ้นได้ หากขึ้นเงินไม่ได้ จำเลยยอมรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพร้อมด้วยดอกเบี้ย ครั้นเมื่อถึงกำหนดวันชำระเงินตามเช็คพิพาท โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ จึงขอให้บังคับจำเลยใช้เงินตามเช็คและหนังสือสัญญาขายลดเช็คพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์หาได้ฟ้องจำเลยผู้สลักหลังเช็คให้รับผิดใช้เงินตามเช็คแก่โจทก์ในฐานะโจทก์เป็นผู้ทรงเช็ค แต่อย่างเดียวไม่ แต่โจทก์ยังได้ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาขายลดเช็คที่จำเลยทำกับโจทก์อีกด้วย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ของโจทก์ตามสัญญาขายลดเช็คไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 คือมีอายุความ 10 ปี แม้โจทก์ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลงในเช็คพิพาท คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2453/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาโอนสิทธิ์เช่า: เงินค่าตอบแทนไม่ใช่เงินผ่อนทุน แต่เป็นผลประโยชน์จากการทำสัญญา ใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาโอนสิทธิ์การเช่าตึกแถวซึ่งโจทก์ทำการก่อสร้างในที่ดินของผู้อื่นให้แก่จำเลย เพื่อเป็นค่าตอบแทน จำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์จำนวนหนึ่งโดยจ่ายบางส่วนในวันทำสัญญา และในวันเข้าอยู่ในตึกแถว ส่วนที่เหลือตกลงแบ่งชำระกันเป็น 2 งวด งวดแรกชำระแล้ว คงค้างชำระงวดหลังซึ่งนานเกิน 5 ปีแล้ว ดังนี้ เงินตามสัญญาที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์นั้นเป็นค่าตอบแทนในการที่โจทก์ยอมตกลงทำสัญญาให้จำเลยได้รับโอนสิทธิ์การเช่าตึกแถวซึ่งตามปกติธรรมดาแล้วจำเลยจะต้องชำระให้โจทก์ทั้งหมด แต่เพื่อผ่อนผันแบ่งเบาภาระให้จำเลย จึงได้ทำสัญญาเป็นแบ่งงวดชำระ จำนวนเงินดังกล่าวเป็นผลประโยชน์ที่โจทก์ควรจะได้รับจากการที่ยอมให้จำเลยเข้าทำสัญญาเช่าตึกแถว มิใช่เงินอันพึงส่งเพื่อผ่อนทุนคืนโดยตรงเป็นงวด ๆ และไม่ใช่การเรียกเอาเงินค้างจ่าย เช่น เงินปี เงินเดือนหรือเงินอื่น ๆ ที่เป็นทำนองเดียวกันที่มีกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา จึงไม่เป็นสิทธิ์เรียกร้องที่กำหนดอายุความไว้ 5 ปี ตามความในมาตรา 166 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิ์เรียกร้องของโจทก์เข้าลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้เฉพาะเป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความทั่วไปกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1650/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการจ่ายเงินให้ผู้จัดการก่อสร้าง: ไม่ใช่เงินทดรองจ่ายจึงใช้บังคับตามอายุความ 10 ปี
เงินที่บริษัทผู้ล้มละลายมอบให้ผู้ร้องซึ่งเป็นคนของบริษัทเองนำไปใช้จ่ายในการก่อสร้างที่บริษัทรับเหมาทำ หาเข้าลักษณะเป็นค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป"ตามความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) ไม่ จึงมิใช่หนี้ที่มีอายุความสองปีหรือห้าปีตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว หากเป็นหนี้ที่มีอายุความสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เมื่อนับจากวันที่บริษัทผู้ล้มละลายจ่ายเงินให้ผู้ร้องจนถึงวันที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกร้องให้ผู้ร้องชำระหนี้ยังไม่ถึงสิบปี สิทธิเรียกร้องของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดี: การร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี ทำให้สิทธิในการบังคับคดีไม่ขาดอายุความ
เมื่อโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะดำเนินการบังคับต่อไปจนกว่าการบังคับจะแล้วเสร็จ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 721/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความต้องใช้ต่อเนื่อง 10 ปี การขาดการใช้ทำให้ระยะเวลาสะสมเดิมเป็นอันสิ้นสุด
โจทก์ฟ้องว่า ได้ภารจำยอมเป็นทางเดินในที่ดินของจำเลยโดยอายุความ ดังนี้ข้อที่ว่าโจทก์จะได้ภารจำยอมจริงหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับข้อที่ว่าโจทก์ได้เดินผ่านหรือใช้ที่ดินของจำเลยมาครบถ้วนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เกี่ยวกับการได้ภารจำยอมโดยอายุความหรือไม่ ผู้อื่นจะได้ใช้ทางเดินนี้ด้วยหรือไม่ก็ไม่มีผลเกี่ยวกับการได้ภารจำยอมของโจทก์ โจทก์จึงไม่จำเป็นต้องกล่าวในฟ้องว่ามีผู้อื่นได้ใช้ทางพิพาทนี้ด้วย เมื่อโจทก์กล่าวในฟ้องว่าผู้อาศัยอยู่ข้างในได้ใช้ทางเดินและรถผ่านด้วยแม้จะมีได้กล่าวว่าเป็นผู้ใด มีที่ดินอยู่ตรงไหน ก็ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์เบิกความว่า เมื่อ พ.ศ.2486 โจทก์ได้มาอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 82 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดที่ 2177 ทั้งบ้านและที่ดินนี้เป็นของมารดาโจทก์ โจทก์เข้าออกทางพิพาทตลอดมาจนถึง พ.ศ.2493 จึงไปอยู่ต่างจังหวัด และต่อมาอีก 3-4 ปี จึงมารับครอบครัวไปอยู่ด้วย ดังนี้แม้จะนับเวลาที่ครอบครัวของโจทก์ใช้ทางพิพาทเข้าด้วย ก็หาทำให้ที่พิพาทตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมโดยอายุความในช่วงเวลานั้นเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ไม่ เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 นั้น อสังหาริมทรัพย์จะตกอยู่ในภารจำยอมก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เมื่อระยะเวลาที่โจทก์เดินผ่านหรือใช้ที่พิพาทตอนนั้น โจทก์เพียงอาศัยบ้านและที่ดินของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นการใช้ที่พิพาทแทนเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น โจทก์จึงจะฟ้องอ้างว่าโจทก์เองได้ภารจำยอมเหนือที่พิพาทโดยอาศัยอายุความในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1466/2505) แต่เมื่อต่อมา โจทก์ได้เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 30212 โดยมารดาโจทก์แบ่งแยกให้จากที่ดินโฉนดที่ 2177 โจทก์ได้กลับมาปลูกบ้านอยู่ในที่ดินของโจทก์ เช่นนี้โจทก์มีสิทธินับเวลาตอนก่อนของโจทก์ที่ได้ใช้ที่พิพาทแทนเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มารวมกับเวลาที่โจทก์ใช้ที่พิพาทในตอนหลังเมื่อเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้ได้ภารจำยอมในที่พิพาทได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่113/2504) แต่ทั้งนี้ก็ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กล่าวคือโจทก์จะต้องใช้ที่พิพาทโดยสงบเปิดเผยและด้วยเจตนาให้ได้ภารจำยอมติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ออกจากที่ดินโฉนดที่ 2177 ไปอยู่ต่างจังหวัดเมื่อ พ.ศ.2493 และหลังจากนั้นอีก 3-4 ปีครอบครัวของโจทก์ก็ตามไปอยู่ด้วย โจทก์เพิ่งกลับมาปลูกบ้านบนที่ดินของโจทก์โฉนดที่ 30212 เมื่อเดือนมิถุนายน 2510 ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ใช้ที่พิพาทติดต่อกันตลอดมาเพราะโจทก์ได้ขาดการใช้ที่พิพาทเป็นเวลาถึงกว่า 10 ปี การใช้ที่พิพาทของโจทก์ตอนก่อนที่โจทก์ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดเป็นอันสะดุดหยุดลงไปแล้วโจทก์จะนับระยะเวลาตอนนั้นมาร่วมกับระยะเวลาการใช้ที่พิพาทตอนใหม่ของโจทก์มิได้ เมื่อโจทก์เพิ่งกลับมาใช้หรือเดินผ่านที่พิพาทใหม่นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี โจทก์จึงยังไม่ได้ภารจำยอมในที่พิพาทโดยอายุความ
ระหว่างไปอยู่ที่ต่างจังหวัด แม้โจทก์จะได้กลับบ้านเดือนละ 2-3 ครั้งและเข้าออกตามทางพิพาทก็เป็นเพียงเพื่อไปหาผู้ที่อยู่ในที่ดินโฉนดที่ 2177 อันเป็นการเยี่ยมเยียนชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นไม่ถือว่าการใช้ทางพิพาทของโจทก์ในระหว่างนั้นเป็นการใช้ทางพิพาทโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาให้ได้ภารจำยอม
โจทก์เบิกความว่า เมื่อ พ.ศ.2486 โจทก์ได้มาอาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 82 ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดที่ 2177 ทั้งบ้านและที่ดินนี้เป็นของมารดาโจทก์ โจทก์เข้าออกทางพิพาทตลอดมาจนถึง พ.ศ.2493 จึงไปอยู่ต่างจังหวัด และต่อมาอีก 3-4 ปี จึงมารับครอบครัวไปอยู่ด้วย ดังนี้แม้จะนับเวลาที่ครอบครัวของโจทก์ใช้ทางพิพาทเข้าด้วย ก็หาทำให้ที่พิพาทตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมโดยอายุความในช่วงเวลานั้นเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ไม่ เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 นั้น อสังหาริมทรัพย์จะตกอยู่ในภารจำยอมก็ต้องเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เมื่อระยะเวลาที่โจทก์เดินผ่านหรือใช้ที่พิพาทตอนนั้น โจทก์เพียงอาศัยบ้านและที่ดินของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นการใช้ที่พิพาทแทนเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น โจทก์จึงจะฟ้องอ้างว่าโจทก์เองได้ภารจำยอมเหนือที่พิพาทโดยอาศัยอายุความในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นไม่ได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1466/2505) แต่เมื่อต่อมา โจทก์ได้เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 30212 โดยมารดาโจทก์แบ่งแยกให้จากที่ดินโฉนดที่ 2177 โจทก์ได้กลับมาปลูกบ้านอยู่ในที่ดินของโจทก์ เช่นนี้โจทก์มีสิทธินับเวลาตอนก่อนของโจทก์ที่ได้ใช้ที่พิพาทแทนเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มารวมกับเวลาที่โจทก์ใช้ที่พิพาทในตอนหลังเมื่อเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้ได้ภารจำยอมในที่พิพาทได้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่113/2504) แต่ทั้งนี้ก็ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 1401 ประกอบด้วยมาตรา 1382 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กล่าวคือโจทก์จะต้องใช้ที่พิพาทโดยสงบเปิดเผยและด้วยเจตนาให้ได้ภารจำยอมติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ออกจากที่ดินโฉนดที่ 2177 ไปอยู่ต่างจังหวัดเมื่อ พ.ศ.2493 และหลังจากนั้นอีก 3-4 ปีครอบครัวของโจทก์ก็ตามไปอยู่ด้วย โจทก์เพิ่งกลับมาปลูกบ้านบนที่ดินของโจทก์โฉนดที่ 30212 เมื่อเดือนมิถุนายน 2510 ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ใช้ที่พิพาทติดต่อกันตลอดมาเพราะโจทก์ได้ขาดการใช้ที่พิพาทเป็นเวลาถึงกว่า 10 ปี การใช้ที่พิพาทของโจทก์ตอนก่อนที่โจทก์ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดเป็นอันสะดุดหยุดลงไปแล้วโจทก์จะนับระยะเวลาตอนนั้นมาร่วมกับระยะเวลาการใช้ที่พิพาทตอนใหม่ของโจทก์มิได้ เมื่อโจทก์เพิ่งกลับมาใช้หรือเดินผ่านที่พิพาทใหม่นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี โจทก์จึงยังไม่ได้ภารจำยอมในที่พิพาทโดยอายุความ
ระหว่างไปอยู่ที่ต่างจังหวัด แม้โจทก์จะได้กลับบ้านเดือนละ 2-3 ครั้งและเข้าออกตามทางพิพาทก็เป็นเพียงเพื่อไปหาผู้ที่อยู่ในที่ดินโฉนดที่ 2177 อันเป็นการเยี่ยมเยียนชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้นไม่ถือว่าการใช้ทางพิพาทของโจทก์ในระหว่างนั้นเป็นการใช้ทางพิพาทโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาให้ได้ภารจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดี: โจทก์มีสิทธิบังคับคดีต่อได้แม้เกิน 10 ปี หากร้องขอภายในกำหนด
เมื่อโจทก์ร้องขอบังคับภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 แล้ว โจทก์ก็มีสิทธิที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไปจนกว่าการบังคับคดีจะแล้วเสร็จ แม้จะเกิน 10 ปีนับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาโจทก์ก็ไม่หมดสิทธิ์ที่จะดำเนินการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีไม่ระงับ แม้เวลาเกิน 10 ปี หากเจ้าหนี้ร้องขอภายในกำหนด
เมื่อโจทก์ร้องขอบังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา271 แล้วโจทก์ก็มีสิทธิที่จะดำเนินการบังคับคดีต่อไปจนกว่าการบังคับคดีจะแล้วเสร็จ แม้จะเกิน 10 ปีนับตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์ก็ไม่หมดสิทธิที่จะดำเนินการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีไม่ระงับ แม้พ้น 10 ปีจากคำพิพากษา และสิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิยังคงมีผล
บทบัญญัติในมาตรา 271 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งบังคับให้ฝ่ายชนะคดียื่นคำร้องขอบังคับคดีภายใน 10 ปีหาใช่ให้บังคับคดีให้เสร็จสิ้นภายใน 10 ปีไม่ ดังนั้นเมื่อโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีภายใน 10 ปีแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิบังคับคดีได้ตลอดไป แม้จะพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาและคำร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนองของผู้ร้องซึ่งศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้บุริมสิทธิได้ ก็ยังมีผลบังคับต่อไปเช่นเดียวกัน
แม้จำเลยจะได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่า โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก ก็ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องรอการชี้ขาดคดีนี้ ซึ่งผู้ร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนอง เพราะหากศาลสั่งในอีกคดีหนึ่งนั้นว่า โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไป การบังคับคดีเอาทรัพย์ที่ยึดไว้ขายทอดตลาดย่อมไม่อาจกระทำได้มีผลให้หนี้จำนองของผู้ร้องซึ่งยังไม่ได้รับชำระคงติดเป็นภาระกับทรัพย์จำนองต่อไปอยู่เอง
แม้จำเลยจะได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งว่า โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไปเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก ก็ไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องรอการชี้ขาดคดีนี้ ซึ่งผู้ร้องขอรับชำระหนี้บุริมสิทธิจำนอง เพราะหากศาลสั่งในอีกคดีหนึ่งนั้นว่า โจทก์หมดสิทธิที่จะบังคับคดีต่อไป การบังคับคดีเอาทรัพย์ที่ยึดไว้ขายทอดตลาดย่อมไม่อาจกระทำได้มีผลให้หนี้จำนองของผู้ร้องซึ่งยังไม่ได้รับชำระคงติดเป็นภาระกับทรัพย์จำนองต่อไปอยู่เอง