พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,021 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเหนือพื้นดินและการบอกเลิกสัญญาอนุญาตปลูกสร้างบนที่ดินกรรมสิทธิ์รวม
จำเลยปลูกสร้างบ้านบนที่ดินที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยได้รับอนุญาตจากโจทก์ บ้านหรือโรงเรือนที่จำเลยปลูกสร้างย่อมไม่ใช่ส่วนควบของที่ดินที่ โจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 ประกอบมาตรา 1410 โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านที่จำเลยสร้างขึ้นใหม่ บ้านดังกล่าวยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่การที่จำเลยปลูกสร้างบ้านหรือโรงเรือนบนที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมย่อมเป็นการก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่จำเลย แต่สิทธิเหนือพื้นดินดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นเพียงบุคคลสิทธิระหว่างโจทก์เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลย เมื่อสิทธิเหนือพื้นดินดังกล่าวไม่มีกำหนดเวลา โจทก์บอกเลิกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1413 โดยการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่จำเลยตามสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2577/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์บ้านสร้างใหม่บนที่ดินรวม สิทธิเหนือพื้นดิน และการบอกเลิกสัญญา
จำเลยปลูกสร้างบ้านคอนกรีต 2 ชั้น บนที่ดินที่โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมโดยได้รับอนุญาตจากโจทก์ บ้านหรือโรงเรือนที่จำเลยปลูกสร้างขึ้น แม้ใช้บันไดเพื่อขึ้นชั้นที่ 2 ของอาคารด้วยบันไดเดียวกัน ย่อมไม่ใช่ส่วนควบของที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมตาม ป.พ.พ. มาตรา 144 โจทก์จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในบ้านที่จำเลยสร้างขึ้นใหม่ บ้านดังกล่าวยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย
จำเลยปลูกสร้างบ้านหรือโรงเรือนบนที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมย่อมเป็นการก่อนให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่จำเลย แต่สิทธิเหนือพื้นดินดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นเพียงบุคคลสิทธิระหว่างโจทก์เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลย และสิทธิเหนือพื้นดินดังกล่าวไม่มีกำหนดเวลา โจทก์บอกเลิกได้เมื่อบอกกล่าวล่วงหน้าแก่จำเลยตามสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1413
โจทก์ได้บอกกล่าวล่วงหน้าโดยนำคำสั่งไปปิดไว้หน้าโรงเรือนที่จำเลยสร้างขึ้นใหม่แล้ว มีข้อความระบุให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านเลขที่ 51 ออกไป บ้านเลขที่ 51 นั้น เป็นบ้านเก่าปลูกสร้างมาประมาณ 40 ปี ทำด้วยไม้ชั้นเดียวแต่ใต้ถุนสูง ส่วนบ้านของจำเลยเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น และสร้างบ้านใหม่ บ้านดังกล่าวของจำเลยแม้ไม่มีเลขที่ บ้านใช้บันไดร่วมกันเป็นโรงเรือนคนละหลังกัน ไม่ใช่โรงเรือนที่เป็นบ้านเลขที่ 51 ซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินที่โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกเพื่อให้จำเลยออกจากบ้านคอนกรีต 2 ชั้น ทั้งการบอกเลิกนั้นก็ใช้วิธีปิดที่ประตูบ้าน ไม่ได้ส่งให้แก่จำเลย โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องอย่างไรจึงต้องปิดคำสั่งเช่นนั้น กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้บอกเลิกเพื่อมิให้จำเลยมีสิทธิเหนือพื้นดินอันเป็นคุณแก่บ้านที่จำเลยปลูกสร้างขึ้น การบอกเลิกของโจทก์จึงไม่ชอบ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ให้จำเลยขนย้ายบริวารออกไปจากบ้านหรือโรงเรือนที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยปลูกสร้างบนที่ดินที่โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมและส่งมอบบ้านหรือโรงเรือนคืนให้แก่โจทก์
จำเลยปลูกสร้างบ้านหรือโรงเรือนบนที่ดินที่โจทก์มีกรรมสิทธิ์รวมย่อมเป็นการก่อนให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่จำเลย แต่สิทธิเหนือพื้นดินดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่ จึงเป็นเพียงบุคคลสิทธิระหว่างโจทก์เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับจำเลย และสิทธิเหนือพื้นดินดังกล่าวไม่มีกำหนดเวลา โจทก์บอกเลิกได้เมื่อบอกกล่าวล่วงหน้าแก่จำเลยตามสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1413
โจทก์ได้บอกกล่าวล่วงหน้าโดยนำคำสั่งไปปิดไว้หน้าโรงเรือนที่จำเลยสร้างขึ้นใหม่แล้ว มีข้อความระบุให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านเลขที่ 51 ออกไป บ้านเลขที่ 51 นั้น เป็นบ้านเก่าปลูกสร้างมาประมาณ 40 ปี ทำด้วยไม้ชั้นเดียวแต่ใต้ถุนสูง ส่วนบ้านของจำเลยเป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น และสร้างบ้านใหม่ บ้านดังกล่าวของจำเลยแม้ไม่มีเลขที่ บ้านใช้บันไดร่วมกันเป็นโรงเรือนคนละหลังกัน ไม่ใช่โรงเรือนที่เป็นบ้านเลขที่ 51 ซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินที่โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกเพื่อให้จำเลยออกจากบ้านคอนกรีต 2 ชั้น ทั้งการบอกเลิกนั้นก็ใช้วิธีปิดที่ประตูบ้าน ไม่ได้ส่งให้แก่จำเลย โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุขัดข้องอย่างไรจึงต้องปิดคำสั่งเช่นนั้น กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้บอกเลิกเพื่อมิให้จำเลยมีสิทธิเหนือพื้นดินอันเป็นคุณแก่บ้านที่จำเลยปลูกสร้างขึ้น การบอกเลิกของโจทก์จึงไม่ชอบ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่ให้จำเลยขนย้ายบริวารออกไปจากบ้านหรือโรงเรือนที่โจทก์อนุญาตให้จำเลยปลูกสร้างบนที่ดินที่โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมและส่งมอบบ้านหรือโรงเรือนคืนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2409/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจะซื้อจะขาย และการบอกเลิกสัญญาเมื่อผู้โอนสิทธิไม่ชำระหนี้
การที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายโครงการ ก. ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยในข้อ 7.2 มีข้อความว่า จำเลยที่ 2 ตกลงและยอมรับโอนไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายที่จำเลยที่ 1 มีต่อลูกค้าเฉพาะรายที่ได้จองหรือซื้อที่ดินและ/หรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างในโครงการแต่ยังมิได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวนั้นจากจำเลยที่ 1 เป็นการโอนสิทธิเรียกร้อง เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกค้าที่ซื้อที่ดินจากจำเลยที่ 1 แต่ยังไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ได้ทราบถึงการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 แล้วมิได้โต้แย้งคัดค้าน ทั้งยังมีหนังสือแจ้งให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 1 อีกด้วย จึงต้องถือว่าโจทก์ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นหนังสือและยอมให้จำเลยที่ 2 ผูกพันตนในอันที่จะปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแทนจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 จึงต้องรับโอนไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่มีต่อโจทก์แทนจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 2 ได้ การที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขายโดยไม่ยอมเข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยที่ 2 เป็นการใช้สิทธิที่มีอยู่ตามปกติหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เมื่อสัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันจำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องคืนเงินที่จำเลยที่ 1 ได้รับพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่เวลาที่รับไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 391
เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแทนจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อโจทก์ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
เมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแทนจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินต่อโจทก์ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บอกเลิกสัญญา, การชำระเงินค้าง, ค่าปรับ, การกลับคืนสู่ฐานะเดิม, สิทธิการหักเงิน
เมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์แล้วจึงถือได้ว่าสัญญาว่าจ้างเป็นอันเลิกกันตั้งแต่วันที่บอกเลิกสัญญา เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391
เมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแทนการบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญากรณีไม่อาจบังคับให้โจทก์ชำระค่าปรับได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิหักเงินค่าปรับในการทำงานเกินกำหนดจากจำนวนเงินที่จำเลยยังค้างชำระต่อโจทก์
เมื่อจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาแทนการบังคับให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญากรณีไม่อาจบังคับให้โจทก์ชำระค่าปรับได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิหักเงินค่าปรับในการทำงานเกินกำหนดจากจำนวนเงินที่จำเลยยังค้างชำระต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ยอมรับสิทธิสัญญาหลังบอกเลิกสัญญา: ผู้บริหารแผนต้องพิจารณาผลบังคับใช้ของสัญญา
การไม่ยอมรับทรัพย์สินของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญาที่มีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/41 ทวิ ผู้บริหารแผนจะต้องระบุถึงทรัพย์สินและสิทธิตามสัญญาที่จะไม่ยอมรับในแผนฟื้อฟูกิจการหรือข้อเสนอขอแก้ไขแผน และจะต้องกระทำภายในกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันที่ผู้บริหารแผนทราบคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนหรือคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนแล้ว สิทธิตามสัญญาดังกล่าวยังจะต้องเป็นสัญญาที่มีผลใช้บังคับอยู่ มิใช่ได้มีการไม่ยอมรับหรือบอกเลิกสัญญาดังกล่าวไปแล้ว
เมื่อสัญญาจ้างผู้ร้องได้มีการบอกเลิกสัญญาไปแล้วก่อนศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผน และคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลแรงงานกลางว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ การที่ต่อมาผู้บริหารแผนยื่นข้อเสนอขอแก้ไขแผนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/63 วรรคหนึ่ง เพื่อที่จะขอใช้อำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาจ้างผู้ร้องดังกล่าว ทั้งที่สัญญาไม่มีผลใช้บังคับแล้วจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 90/41 ทวิ
เมื่อสัญญาจ้างผู้ร้องได้มีการบอกเลิกสัญญาไปแล้วก่อนศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผน และคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลแรงงานกลางว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ การที่ต่อมาผู้บริหารแผนยื่นข้อเสนอขอแก้ไขแผนตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/63 วรรคหนึ่ง เพื่อที่จะขอใช้อำนาจไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาจ้างผู้ร้องดังกล่าว ทั้งที่สัญญาไม่มีผลใช้บังคับแล้วจึงไม่ชอบด้วยมาตรา 90/41 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10452-10453/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาทางธุรกิจ: การบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้บริษัทเลิกไปแล้ว สัญญาเดิมยังผูกพัน
โจทก์กับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำสัญญากิจการร่วมค้าและอนุญาตให้ใช้สิทธิ โดยร่วมกันจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ช. เป็นต่างหาก เมื่อโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสี่จึงไม่อาจบอกเลิกสัญญาแต่ฝ่ายเดียวได้ แม้การเลิกบริษัท ช. จะได้ดำเนินไปโดยชอบด้วยกฎหมาย การบอกเลิกสัญญากิจการร่วมค้าและอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสัญญาก็ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9373/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่าสถานีบริการที่ไม่ชอบด้วยข้อตกลง ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย
ตามสัญญาให้เช่าสถานีบริการ คู่สัญญาตกลงกันว่า ในกรณีผู้เช่าไม่ปฏิบัติตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใด อันเป็นเหตุให้ ปตท. ได้รับความเสียหาย ปตท. จะมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้เช่าปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญา หากผู้เช่าเพิกเฉยไม่ยอมปฏิบัติตามหรือปฏิบัติแล้วแต่ยังไม่ถูกต้อง ปตท. มีสิทธิบอกเลิกสัญญา ดังนั้น โจทก์ผู้ให้เช่าต้องปฏิบัติตามข้อสัญญาคือต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยผู้เช่าปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาหลังจากนั้นจึงบอกเลิกสัญญากับจำเลยได้ แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยปฏิบัติให้ถูกต้อง ในเอกสารหมาย จ.14 ก็ไม่มีข้อความให้จำเลยปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญา หนังสือที่มีไปถึงจำเลยเป็นการบอกเลิกสัญญาที่ไม่ชอบด้วยข้อตกลงในสัญญาให้เช่าสถานีบริการ ต้องถือว่าสัญญาให้เช่าสถานีบริการยังไม่เลิกกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าปรับจากจำเลยทั้งสองโดยอาศัยสัญญาฉบับนี้ได้ แม้จำเลยทั้งสองจะไม่ได้ให้การต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ไว้ แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247 ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยฝ่ายเดียวไม่ผูกพันคู่หมั้น และประเด็นการฎีกาที่ขัดต่อข้อที่ว่ากล่าวในศาลล่าง
จำเลยที่ 2 บอกโจทก์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องการสมรสกับโจทก์ เป็นการบอกเลิกสัญญาหมั้นของจำเลยที่ 2 แต่เพียงฝ่ายเดียวไม่มีผลผูกพันโจทก์
โจทก์กับจำเลยที่ 2 สมัครใจเลิกสัญญาหมั้นกัน ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยที่ 2 มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้นั้น จำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้คดีในปัญหาดังกล่าวไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจะหยิบยกปัญหาเรื่องการบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 2 ขึ้นวินิจฉัยก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6
โจทก์กับจำเลยที่ 2 สมัครใจเลิกสัญญาหมั้นกัน ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยที่ 2 มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้นั้น จำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้คดีในปัญหาดังกล่าวไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจะหยิบยกปัญหาเรื่องการบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 2 ขึ้นวินิจฉัยก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1576/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาจะขายที่ดินเพื่อชำระค่าหุ้น และสิทธิในการแบ่งทรัพย์สินรวม
สัญญาจะขายที่ดินและสัญญาซื้อขายหุ้นมีข้อความเกี่ยวพันต้องปฏิบัติไปด้วยกัน โดยคู่สัญญาตกลงกันนำที่ดินซึ่งโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของร่วมไปขายเพื่อนำเงินมาชำระค่าหุ้นไม่มีลักษณะที่จะถือว่าวัตถุประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะที่จะให้เป็นเจ้าของรวมกันอย่างถาวร หากแต่มีผลให้ยังเรียกให้แบ่งที่ดินไม่ได้ตราบเท่าที่ข้อตกลงนั้นยังมีผลผูกพันอยู่ เมื่อสัญญาไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด หากจะให้คู่สัญญาต้องผูกพันกันตลอดไปจนกว่าจะขายที่ดินได้ซึ่งไม่แน่นอนว่าจะเป็นระยะเวลาอีกกี่ปีคงไม่ใช่เจตนาของคู่สัญญา เมื่อนับแต่วันทำสัญญาจนถึงวันฟ้องคดีเป็นเวลานานกว่า 6 ปี ก็ยังขายที่ดินไม่ได้ จึงมีเหตุผลสมควรที่โจทก์ทั้งสองจะบอกเลิกสัญญาได้ และเมื่อบอกเลิกสัญญาแล้วความผูกพันตามสัญญาย่อมสิ้นสุดลง นิติกรรมที่เป็นเหตุขัดข้องไม่ให้ขอแบ่งที่ดินจึงไม่มีแล้ว โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยทั้งสามแบ่งที่ดินได้ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 1363
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1141/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่า, การบอกเลิกสัญญา, ข้อตกลงพิเศษ, ผลของการบอกเลิกสัญญา, การส่งมอบทรัพย์สิน
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ กระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น ประนีประนอมยอมความ ฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ สิทธิตามสัญญาเช่าเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจึงเป็นคู่กรณีกับผู้ร้องผู้ให้เช่าโดยตรง โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้คนหนึ่งมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้คัดค้านในการดำเนินการต่อสู้คดีตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 155 แม้โจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียเนื่องจากเป็นผู้รับสิทธิตามสัญญาเช่าจากจำเลยที่ 1 ไว้เป็นประกันหนี้ก็ไม่ใช่คู่กรณีโดยตรงเนื่องจากมีผู้คัดค้านปฏิบัติหน้าที่แทนตามกฎหมาย แต่โจทก์มีอำนาจกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้คัดค้านหากเห็นว่าบกพร่องก็ร้องขอต่อศาลให้สั่งแก้ไขตามมาตรา 146 เมื่อผู้คัดค้านแถลงหมดพยาน ทนายโจทก์แถลงขอสืบพยานโดยไม่ได้ให้เหตุผลว่าพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านนำมาสืบแล้วนั้นยังบกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ส่วนใดจึงขอสืบพยานเพิ่มเติมให้ครบถ้วนบริบูรณ์ คดีนี้พิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องสิทธิตามสัญญาและผลของกฎหมายเมื่อสัญญาสิ้นสุดโดยการบอกเลิก เป็นเรื่องเกี่ยวกับเอกสารแทบทั้งสิ้น ผู้ร้องและผู้คัดค้านนำเสนอเอกสารเป็นพยานครบถ้วนแล้ว ศาลชั้นต้นมีอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 86 ในการดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานหลักฐาน เมื่อพยานหลักฐานที่ผู้คัดค้านนำสืบมาเพียงพอแล้ว พยานหลักฐานที่โจทก์ขอสืบย่อมเป็นพยานที่ฟุ่มเฟือยเกินสมควร จึงไม่อนุญาตให้โจทก์นำเข้าสืบได้ตามมาตรา 86 วรรคสอง
ผลของการเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 ที่กำหนดให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมนั้น เป็นหลักทั่วไปของนิติกรรมสัญญา กฎหมายไม่ได้ห้ามคู่สัญญาที่จะทำนิติกรรมตกลงกันให้ผลของการเลิกสัญญาเป็นประการอื่น หากข้อตกลงนั้นไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว ข้อตกลงนั้นย่อมมีผลบังคับได้ตามหลักความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนา หนังสือสัญญาเช่าที่ดินข้อ 4 ที่ว่า "...เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าตามสัญญาข้อ 3 หรือเมื่อสัญญานี้สิ้นสุดลงด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินตามสัญญานี้ทั้งหมดตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น รวมทั้งส่วนควบและอุปกรณ์ทั้งหมด..." ข้อ 11 ที่ว่า "ถ้าผู้เช่า...ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ทันที" และข้อ 12 ที่ว่า "เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาแห่งการเช่าตามสัญญาข้อ 3 หรือสัญญาเช่านี้สิ้นสุดตามสัญญาข้อ 11... ผู้เช่าจะต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดของผู้เช่าตามสัญญานี้ให้แก่ผู้ให้เช่าในสภาพที่เรียบร้อยภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่สัญญาสิ้นสุดลง" นั้น เป็นข้อตกลงที่ไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด จึงมีผลใช้บังคับกันได้
ผลของการเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 ที่กำหนดให้คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมนั้น เป็นหลักทั่วไปของนิติกรรมสัญญา กฎหมายไม่ได้ห้ามคู่สัญญาที่จะทำนิติกรรมตกลงกันให้ผลของการเลิกสัญญาเป็นประการอื่น หากข้อตกลงนั้นไม่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว ข้อตกลงนั้นย่อมมีผลบังคับได้ตามหลักความศักดิ์สิทธิ์ของการแสดงเจตนา หนังสือสัญญาเช่าที่ดินข้อ 4 ที่ว่า "...เมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าตามสัญญาข้อ 3 หรือเมื่อสัญญานี้สิ้นสุดลงด้วยเหตุใด ๆ ก็ตาม ให้อาคารและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินตามสัญญานี้ทั้งหมดตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้น รวมทั้งส่วนควบและอุปกรณ์ทั้งหมด..." ข้อ 11 ที่ว่า "ถ้าผู้เช่า...ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ทันที" และข้อ 12 ที่ว่า "เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาแห่งการเช่าตามสัญญาข้อ 3 หรือสัญญาเช่านี้สิ้นสุดตามสัญญาข้อ 11... ผู้เช่าจะต้องส่งมอบทรัพย์สินทั้งหมดของผู้เช่าตามสัญญานี้ให้แก่ผู้ให้เช่าในสภาพที่เรียบร้อยภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันที่สัญญาสิ้นสุดลง" นั้น เป็นข้อตกลงที่ไม่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายหรือเป็นการพ้นวิสัย หรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด จึงมีผลใช้บังคับกันได้