พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,035 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7111/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเพิกถอนพินัยกรรมเป็นคดีมีทุนทรัพย์ หากเป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกกลับคืน
การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนพินัยกรรมโดยอ้างว่าพินัยกรรมปลอม เป็นการฟ้องเรียกให้ทรัพย์ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาท จึงเป็นคดีที่มีคำขอปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีมีทุนทรัพย์ตามราคาทรัพย์ที่ระบุไว้ในพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6675/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้ลงนามไม่ต่อหน้าศาล ถือเป็นการสัตยาบัน ไม่เป็นเหตุให้เพิกถอนกระบวนพิจารณา
การยกข้อค้านเรื่องผิดระเบียบขึ้นกล่าวอ้างนั้น ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง บัญญัติว่า คู่ความฝ่ายนั้นต้องมิได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือต้องมิได้ให้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้นๆ คดีนี้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า โจทก์ยื่นคำแถลงขอให้ศาลออกนั่งพิจารณาเพื่อพิจารณาสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาและมีคำพิพากษาตามยอมในวันเดียวกัน โดยศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่า คู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงร่วมกันว่าสามารถทำยอมกันได้ พร้อมกับเสนอสัญญาประนีประนอมยอมความให้ศาลชั้นต้นตรวจพิจารณา ศาลชั้นต้นตรวจดูแล้วเห็นว่าไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงพิพากษาตามยอมและออกคำบังคับแก่จำเลย ซึ่งปรากฏว่าจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาฉบับดังกล่าว ทั้งได้ลงลายมือชื่อรับทราบการอ่านคำพิพากษาและคำบังคับไว้ที่ปกสำนวนด้วย ข้อเท็จจริงในส่วนนี้จำเลยมิได้โต้แย้งมาในคำร้องว่าศาลชั้นต้นบันทึกไม่ถูกต้องตรงกับความจริงแต่อย่างใด ดังนั้น แม้จะฟังตามคำร้องของจำเลยว่า จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อต่อหน้าศาลตามที่ระบุไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยขณะลงลายมือชื่อจำเลยอยู่นอกห้องพิจารณาคดีและไม่พบเห็นผู้พิพากษาก็ตาม แต่การที่จำเลยยังคงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อมาจนศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมและออกคำบังคับแก่จำเลย ถือได้ว่าจำเลยยอมรับความถูกต้องของสัญญาประนีประนอมยอมความและได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำที่อ้างว่าผิดระเบียบนั้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจยกเอาเหตุที่จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลขึ้นเป็นข้อค้านเรื่องผิดระเบียบได้อีก ทั้งการที่โจทก์มิได้นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยในกรณีเช่นนี้ก็หาใช่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6319/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนภาระจำยอมคลาดเคลื่อนและการเพิกถอนตามกฎหมายที่ดิน ศาลยกฟ้องเนื่องจากจำเลยไม่มีอำนาจเพิกถอนและขาดคู่ความ
โจทก์ฟ้องขอให้กรมที่ดินจำเลยที่ 1 และเจ้าพนักงานที่ดิน จำเลยที่ 2 จดทะเบียนเพิกถอนรายการจดทะเบียนภาระจำยอมโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 จดทะเบียนผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากข้อตกลงของโจทก์และเจ้าของสามยทรัพย์ที่ประสงค์จะจดทะเบียนทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินกลับจดทะเบียนทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินแทน แต่ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 วรรคหนึ่ง (2) กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอน แก้ไข เอกสารที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือเอกสารที่ได้จดแจ้งรายการทะเบียนอสังหาริมทรัพย์คลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยทั้งสองที่ไม่ดำเนินการจดทะเบียนยกเลิกหรือเพิกถอนภาระจำยอม จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกมิได้มีการใช้ภาระจำยอมเกินกว่า 10 ปีแล้ว แต่โจทก์มิได้ฟ้องเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์เข้ามาเป็นคู่ความด้วย ศาลจึงพิพากษาให้ยกเลิกหรือเพิกถอนรายการจดทะเบียนภาระจำยอมนั้นให้แก่ที่ดินของโจทก์ไม่ได้
ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกมิได้มีการใช้ภาระจำยอมเกินกว่า 10 ปีแล้ว แต่โจทก์มิได้ฟ้องเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์เข้ามาเป็นคู่ความด้วย ศาลจึงพิพากษาให้ยกเลิกหรือเพิกถอนรายการจดทะเบียนภาระจำยอมนั้นให้แก่ที่ดินของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6197/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดโดยไม่รอคำวินิจฉัยเรื่องร้องขัดทรัพย์ ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้ร้องมีสิทธิขอเพิกถอนได้
การที่ผู้ร้องเสียค่าธรรมเนียมในการส่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 70 วรรคท้าย ให้แก่เจ้าพนักงานศาล มีผลเท่ากับผู้ร้องได้นำส่งสำเนาคำร้องตามคำสั่งศาลชั้นต้นแล้ว
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับหมายนัดและสำเนาคำร้องขัดทรัพย์แล้วเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2545 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดไปในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2545 จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 288 แม้ขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ผู้ร้องไม่ได้ไปคัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือไม่ได้ไปแจ้งอายัดต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อห้ามโอนที่ดินพิพาท ก็ไม่อาจถือว่าผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่อ
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับสำเนาคำร้องขัดทรัพย์แล้วกลับนำที่ดินพิพาทมาขายทอดตลาด โดยไม่รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลชั้นต้นในเรื่องร้องขัดทรัพย์เสียก่อนซึ่งถือเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง อันเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ผู้ร้องจึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์
เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับหมายนัดและสำเนาคำร้องขัดทรัพย์แล้วเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2545 การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดไปในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2545 จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 288 แม้ขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ผู้ร้องไม่ได้ไปคัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือไม่ได้ไปแจ้งอายัดต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อห้ามโอนที่ดินพิพาท ก็ไม่อาจถือว่าผู้ร้องใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่อ
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้รับสำเนาคำร้องขัดทรัพย์แล้วกลับนำที่ดินพิพาทมาขายทอดตลาด โดยไม่รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลชั้นต้นในเรื่องร้องขัดทรัพย์เสียก่อนซึ่งถือเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ผู้ร้องย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง อันเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ผู้ร้องจึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6124/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: ข้อจำกัดสิทธิฎีกาภายหลังแก้ไข ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ
จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินมีจำนวนต่ำเกิดสมควรอันเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคาและเกิดความไม่สุจริตหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฎิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 21)ฯ ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2548 คดีนี้จำเลยทั้งสองยื่นฎีกาวันที่ 17 พฤศจิกายน 2548 ภายหลังจากบทบัญญัติ มาตรา 309 ทวิ มีผลบังคับใช้แล้ว คำร้องของจำเลยทั้งสองจึงตกอยู่ภายใต้บังคับของวรรคสี่แห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวซึ่งบัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นในกรณีนี้เป็นที่สุด ดังนั้น จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิฎีกาได้อีก ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยทั้งสองมาจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5249/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายห้องชุดเพื่อหลีกเลี่ยงชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ ถือเป็นการฉ้อฉล เพิกถอนได้
การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดกับจำเลยที่ 1 โดยก่อนจะมีการทำสัญญาซื้อขายห้องชุดดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้นำเช็คมาแลกเงินสดไปจากจำเลยที่ 2 รวม 10 ฉบับ เป็นเงิน 597,000 บาท ภายหลังจากเช็คถึงกำหนดชำระ จำเลยที่ 2 นำเช็คทั้งสิบฉบับไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค จำเลยที่ 1 จึงโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าวชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 โดยที่จำเลยที่ 1 ไม่เคยรู้จักจำเลยที่ 2 มาก่อน ซึ่งจำเลยที่ 2 รับเช็คไว้ถึง 10 ฉบับ ทั้งๆ ที่จำเลยที่ 2 ไม่เคยมีอาชีพปล่อยเงินกู้ อีกทั้งไม่เคยรับแลกเช็ค เพิ่งทำครั้งนี้เป็นครั้งแรก การที่จำเลยที่ 2 รับแลกเช็คจากจำเลยที่ 1 จึงผิดปกติวิสัยหลายประการ ประการแรก คือ พฤติการณ์ที่ลุงของจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่กล้าให้จำเลยที่ 1 แลกเช็ค แต่แนะนำให้จำเลยที่ 1 นำเช็คมาแลกเงินสดจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหลานของตนเอง ประการต่อมาเช็คที่จำเลยที่ 1 นำมาแลกเงินสดทั้งสิบฉบับล้วนเป็นเช็คของคนอื่น ไม่ใช่เช็คของจำเลยที่ 1 และเมื่อเช็คแต่ละฉบับถึงกำหนดแทนที่จำเลยที่ 2 จะรีบนำเช็คแต่ละฉบับไปเรียกเก็บเงินทันที กลับปล่อยเวลาล่วงเลยไป จึงเพิ่งนำไปเรียกเก็บเงินพร้อมกัน และต่อมาจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดเพื่อชำระหนี้ตามเช็ค และจำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนจำนองต่อจำเลยที่ 3 ในวันเดียวกัน อีกทั้งจำเลยที่ 2 ยังได้ทำบันทึกว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับโอนห้องชุดดังกล่าวชำระหนี้ตามเช็คทั้งสิบฉบับ รวมเป็นเงิน 597,100 บาท และหนี้ที่เหลือไม่ติดใจเรียกร้องอีกต่อไป ซึ่งการกระทำดังกล่าวขัดต่อเหตุผล เพราะกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่จำเลยที่ 2 รับโอนมีราคาประมาณ 400,000 บาท อีกทั้งยังจำนวนแก่จำเลยที่ 3 เป็นประกันหนี้อยู่ประมาณ 270,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 รับโอนกรรมสิทธิ์แล้วจึงยังต้องรับภาระชำระหนี้จำนองดังกล่าวด้วย แต่จำเลยที่ 2 กลับทำบันทึกว่า หนี้ที่เหลือไม่ติดใจเรียกร้องอีกต่อไป ทั้งช่วงระยะเวลาที่จำเลยที่ 2 รับแลกเช็คจากจำเลยที่ 1 และทำสัญญารับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด อยู่ในระหว่างเวลาที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ชำระหนี้และจำเลยที่ 2 ก็ทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากกรรมสิทธิ์ในห้องชุด ดังกล่าว จึงเป็นข้อบ่งชี้ชัดว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดโดยรู้ว่าจะเป็นการให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลโจทก์
โจทก์ได้ไปตรวจสอบเอกสารกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่สำนักงานที่ดิน เขตลาดพร้าว วันที่ 2 มีนาคม 2542 จึงทราบว่าจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้จำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2541 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 เมื่อนับแต่วันที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนคือวันที่ 2 มีนาคม 2542 ถึงวันฟ้อง จึงเป็นระยะเวลาไม่พ้นหนึ่งปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์ได้ไปตรวจสอบเอกสารกรรมสิทธิ์ห้องชุดที่สำนักงานที่ดิน เขตลาดพร้าว วันที่ 2 มีนาคม 2542 จึงทราบว่าจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้จำเลยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2541 โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2543 เมื่อนับแต่วันที่โจทก์ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอนคือวันที่ 2 มีนาคม 2542 ถึงวันฟ้อง จึงเป็นระยะเวลาไม่พ้นหนึ่งปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 477/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีที่ล่าช้าเกินกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้มีเหตุผลเรื่องการปลอมแปลงเอกสาร
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องอ้างว่า จำเลยที่ 2 ไม่ทราบว่าถูกฟ้องเนื่องจากไม่เคยได้รับหมายและไม่เคยแต่งทนายความให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ลายมือชื่อในใบแต่งทนายความของจำเลยที่ 2 เป็นลายมือชื่อปลอมโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ปลอมลายมือชื่อจำเลยที่ 2 กระบวนพิจารณานับตั้งแต่ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 จนกระทั่งศาลมีคำพิพากษาตามยอมไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวนั้นต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคหนึ่ง แต่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องล่วงเลยเวลา 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างว่าผิดระเบียบ จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4290/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลชั้นต้นเพิกถอนการขายทอดตลาดที่มิชอบ แม้ศาลแพ่งเป็นผู้มีคำสั่งบังคับคดี
ศาลแพ่งได้ออกหมายบังคับคดีส่งไปให้ศาลชั้นต้นบังคับคดีแทน เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยได้เมื่อจำเลยเห็นว่าการขายทอดตลาดดังกล่าวไม่ชอบเพราะราคาที่ขายได้ต่ำเกินสมควร เพราะเกิดจากการคบคิดฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการเข้าสู้ราคาหรือความไม่สุจริตหรือความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของเจ้าพนักงานบังคับคดีในการปฏิบัติหน้าที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดต่อศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นส่งเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดนั้นไปให้ศาลแพ่งได้และหากศาลชั้นต้นพบว่ามีความไม่ถูกต้องของการบังคับคดีจริงตามที่จำเลยกล่าวอ้าง ย่อมมีอำนาจสั่งไต่สวนและมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ วรรคสอง หาขัดต่อมาตรา 302 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3805/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์จำนองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจ ศาลต้องเพิกถอน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ออกหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เท่านั้น ส่วนจำเลยที่ 5 และที่ 6 ปรากฏว่ายังไม่ครบกำหนดที่จะต้องปฏิบัติตามคำบังคับ ศาลชั้นต้นจึงไม่ออกหมายบังคับคดีให้ตามคำขอของโจทก์ ดังนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 6 เพื่อขายทอดตลาดโดยที่ศาลชั้นต้นยังมิได้ออกหมายบังคับคดีแก่ทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 6 จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 278 ซึ่งเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการเพิกถอนการยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 6 ของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวเสีย ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกของจำเลยที่ 6 จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เป็นคุณแก่จำเลยที่ 6 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) เมื่อข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่าการยึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 6 ของเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการเพิกถอน จึงไม่มีกรณีที่ผู้ร้องจะต้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและมีคำสั่งระงับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 310/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และความคล้ายคลึงทำให้สาธารณชนสับสน
เครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 และมีการต่ออายุตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 จึงอาจมีการเพิกถอนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ได้
จำเลยร่วมรับโอนเครื่องหมายการค้าพิพาททางมรดกจากบิดาจำเลยร่วม ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากรณีมีเหตุทำให้เชื่อได้ว่าความคล้ายของเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมกับของโจทก์เกิดจากการที่บิดาจำเลยร่วมทราบถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์เนื่องจากเคยทำงานกับโจทก์ และนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปดัดแปลงและจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของตนจึงถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสีย โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 61 (2) ประกอบ มาตรา 8 แม้สินค้าบานเกล็ดจะไม่ใช่เป็นสินค้าที่ระบุไว้ในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอน แต่คณะกรรมการฯมีคำสั่งไม่ให้เพิกถอน คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมจึงชอบแล้ว
จำเลยร่วมรับโอนเครื่องหมายการค้าพิพาททางมรดกจากบิดาจำเลยร่วม ข้อเท็จจริงฟังได้ว่ากรณีมีเหตุทำให้เชื่อได้ว่าความคล้ายของเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมกับของโจทก์เกิดจากการที่บิดาจำเลยร่วมทราบถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์เนื่องจากเคยทำงานกับโจทก์ และนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไปดัดแปลงและจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของตนจึงถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสีย โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 61 (2) ประกอบ มาตรา 8 แม้สินค้าบานเกล็ดจะไม่ใช่เป็นสินค้าที่ระบุไว้ในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เมื่อโจทก์มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอน แต่คณะกรรมการฯมีคำสั่งไม่ให้เพิกถอน คำสั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้าของจำเลยร่วมจึงชอบแล้ว