คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ซื้อขาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,032 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5281/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การครอบครองทำประโยชน์ต่อเนื่องมีน้ำหนักกว่าการซื้อเพื่อขายต่อ
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของและครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลง โดยจดทะเบียนซื้อมาจาก ย. และ ป. ตามลำดับ เมื่อโจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาททั้งสองแปลงแล้วได้ปลูกพืชผลต่างๆ จำเลยทั้งหกบุกรุกเข้ามาครอบครองที่ดินพิพาทปลูกมันสำปะหลัง ปลูกกระต๊อบเป็นที่พักและทำลาย ทำให้เสียหายที่ดินและต้นไม้ของโจทก์ เป็นเงินทั้งสิ้น 359,250 บาท และมีคำขอท้ายฟ้องให้บังคับจำเลยทั้งหกร่วมกันชำระค่าเสียหาย ให้โจทก์นับถึงวันฟ้องเป็นเงิน 359,250 บาท และร่วมกันชำระค่าเสียหาย ค่าที่ดิน และต้นไม้ในอัตราไร่ละ 500 บาท ต่อปี ในที่ดิน 52 ไร่ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งหกและบริวารได้ขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินพิพาทในสภาพเรียบร้อยแก่โจทก์ แม้โจทก์ไม่ได้มีคำขอบังคับขับไล่จำเลยทั้งหกและบริวารออกจากที่ดินพิพาท แต่ที่โจทก์ระบุว่าจนกว่าจำเลยทั้งหกและบริวารได้ขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินพิพาทแก่โจทก์นั้น เป็นกรณีพอแปลความหมายได้ว่า จนกว่าจำเลยทั้งหกจะออกไปจากที่ดินพิพาท ซึ่งมีผลเป็นอย่างเดียวกับการขอให้ขับไล่จำเลยทั้งหกและบริวารออกจากอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5027/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการซื้อขายทรัพย์สิน - จำเลยที่ 2 รู้เท่าข้อเท็จจริง - ไม่มีเหตุเพิกถอน - สัญญาซื้อขายชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ตามสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 และให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า จำเลยที่ 2 ชำระราคาทรัพย์พิพาทที่ซื้อจากจำเลยที่ 1 ต่างไปจากราคาที่ระบุไว้ในหนังสือสัญญาซื้อขายเป็นการนำสืบถึงข้อความจริงว่าจำเลยที่ 2 ซื้อทรัพย์พิพาทจากจำเลยที่ 1 มาในราคาเท่าใด มิใช่เป็นการนำสืบเพื่อให้บังคับตามหนังสือสัญญาซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์และการถอนฟ้อง: สิทธิฟ้องไม่ระงับแม้ถอนฟ้องก่อน หากการซื้อขายไม่บริบูรณ์
จำเลยทั้งสองให้การทำนองเดียวกันอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2941 โดยทางราชการออกเอกสารสิทธิให้ถูกต้องตามกฎหมาย และแม้จะฟังว่าทับที่ดินมีโฉนดของโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ก็ครอบครองโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนได้กรรมสิทธิ์ ดังนี้ คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงต้องถือว่ามีข้อเถียงขัดแย้งกันเอง เนื่องเพราะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 บัญญัติว่า "บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่น..." ซึ่งคำว่าผู้อื่นตามบทบัญญัติดังกล่าวจะเป็นใครผู้ใดก็ได้ แต่ต้องมิใช่ผู้ครอบครองปรปักษ์เอง ดังนั้น เมื่อฝ่ายจำเลยทั้งสองอ้างในคำให้การว่าที่พิพาทเป็นของตนเอง จึงไม่อาจมีประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ดังที่จำเลยทั้งสองเถียงในฎีกา
แม้ได้ความว่าโจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นเกี่ยวกับที่พิพาทในคดีนี้และมีประเด็นแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกับคดีนี้ ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้แล้วก็ตาม แต่ในการถอนฟ้องนั้นได้ความว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องโดยอ้างเพียงว่าได้ขายที่ดินให้แก่บุคคลอื่นแล้ว และแถลงว่าอยู่ระหว่างจดทะเบียนโอนสิทธิโดยโจทก์ได้ทำหนังสือมอบอำนาจไว้ หากโอนไปแล้วโจทก์จึงหมดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 อีก โดยโจทก์มิได้ร้องหรือแถลงไว้ในคดีดังกล่าวว่าจะไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 อีก อันจะถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่โจทก์ได้กระทำต่อศาลหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งถือว่าโจทก์ยอมสละสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 176 เกี่ยวกับการยื่นฟ้องใหม่อันเป็นการผูกมัดโจทก์ แม้ในคดีนี้โจทก์เบิกความตอบคำถามค้านทนายจำเลยทั้งสองว่า "ในการถอนฟ้องคดีดังกล่าว โจทก์อ้างว่าได้ขายที่ดินไปแล้ว จะไม่นำคดีมาฟ้องอีก ศาลจึงมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง" คำเบิกความของโจทก์ในคดีนี้ก็ไม่ใช่กระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าว ส่วนที่ศาลในคดีดังกล่าวมีคำสั่งในการถอนฟ้องของโจทก์ว่า "ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องที่สมบูรณ์อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องเพื่อทำฟ้องที่สมบูรณ์มายื่นต่อศาลใหม่อีก ทั้งโจทก์ขอถอนฟ้องโดยอ้างเหตุว่าได้ขายที่ดินให้ผู้อื่น จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะถอนฟ้องโดยหวนกลับมาฟ้องจำเลยใหม่อีก" ก็เป็นเรื่องดุลพินิจของศาลชั้นต้นเอง เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงในคดีนี้ว่า ถ. ผู้ซื้อที่ดินของโจทก์ชำระราคาแก่โจทก์ไม่ครบถ้วน จึงยังมิได้มีการจดทะเบียนซื้อขายโอนกรรมสิทธิ์แก่กันให้บริบูรณ์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องซื้อขายของมหาวิทยาลัย: ไม่ตกภายใต้มาตรา 193/34 (2 ปี) แต่ใช้ 10 ปีตามมาตรา 193/30
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความสองปี (1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้ประกอบศิลปะอุตสาหกรรมหรือช่างฝีมือ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่น รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง" แต่โจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ.2533 มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงทำการสอน ทำการวิจัยให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับแปลงถ่ายทอดและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก ส่วนการดำเนินภารกิจด้านฟาร์มธุรกิจก็เป็นเพียงเพื่อประโยชน์ในการเรียน การสอน และการวิจัย มิใช่เป็นการดำเนินธุรกิจเป็นเอกเทศเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าเป็นสำคัญและหากจะมีผลกำไรขึ้นมาบ้างก็เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า การซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ที่กำหนดอายุความ 2 ปี และกรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2348/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีซื้อขายระหว่างมหาวิทยาลัยกับเอกชน ไม่ตกตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 193/34
โจทก์เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ.2533 มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นในการให้การศึกษา ส่งเสริมวิชาการ การเรียน การสอน การวิจัยและทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเป็นหลัก ส่วนการดำเนินภารกิจด้านฟาร์มธุรกิจเป็นเพียงเพื่อประโยชน์ในการเรียน การสอน และการวิจัย มิใช่เป็นการดำเนินธุรกิจเป็นเอกเทศเพื่อประโยชน์ทางการค้าเป็นสำคัญ และหากจะมีผลกำไรขึ้นมาบ้างก็เป็นเพียงผลพลอยได้เท่านั้น จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้า การซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (1) ที่มีกำหนดอายุความ 2 ปี และกรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี ตาม มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2071/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: ศาลฎีกาตัดสินยืนยันสิทธิของโจทก์ที่ได้มาจากการซื้อขาย และแก้ไขคำพิพากษาเรื่องการรื้อถอน
ป.วิ.พ. มาตรา 296 ทวิ กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำบังคับในกรณีที่ถูกพิพากษาให้ขับไล่ หรือต้องออกไปหรือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าหากจำเลยไม่รื้อถอนต้นไม้ที่นำเข้าไปปลูก ให้โจทก์ดำเนินการแทน จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1545/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิรุธการซื้อขายที่ดิน, การครอบครองปรปักษ์, และภาระการพิสูจน์ของโจทก์เมื่ออ้างกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า ข้อ 1. จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ข้อ 2. โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนซื้อขาย โดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริต และจดทะเบียนโดยสุจริตหรือไม่ และข้อ 3. ค่าเสียหายของโจทก์มีเพียงไร โดยในชั้นพิพากษาศาลชั้นต้นได้รวมประเด็นข้อพิพาทเป็นข้อเดียวกันว่า โจทก์หรือจำเลยเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทและโจทก์สามารถขอให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้หรือไม่ แต่ศาลชั้นต้นก็ยังคงสาระสำคัญในประเด็นเรื่องกรรมสิทธิ์ไว้เช่นเดิม คงมีแต่ถ้อยคำที่แตกต่างกันไป เพื่อความสะดวกในการวินิจฉัยเท่านั้น จึงไม่เป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทขึ้นใหม่หรือแก้ไขในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญจนถึงกับเป็นเรื่องนอกประเด็นข้อพิพาท
เมื่อศาลชั้นต้นคงสาระสำคัญในประเด็นข้อพิพาทในเรื่องกรรมสิทธิ์ไว้เช่นเดิมดังที่ชี้สองสถานไว้ กรณีจึงยังคงมีประเด็นดังที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยจดทะเบียนซื้อขายโดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริต และจดทะเบียนโดยสุจริตหรือไม่ ซึ่งจำเลยต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต และจดทะเบียนโดยไม่สุจริต แม้ว่าศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจกำหนดให้จำเลยนำพยานหลักฐานเข้าสืบก่อนเพื่อความสะดวกในการพิจารณา ก็ไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะภาระการพิสูจน์นั้นมีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ไว้แล้วว่าจะตกแก่คู่ความฝ่ายใดไม่อาจเปลี่ยนแปลงความถูกต้องตามกฎหมายไปตามคำสั่งศาล
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จำเลยจะพิสูจน์ว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตและจดทะเบียนโดยไม่สุจริตนั้น ข้อเท็จจริงต้องฟังยุติตามที่โจทก์อ้างในคำฟ้องก่อนว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินส่วนเดียวกับที่โจทก์ซื้อหรือมีกรรมสิทธิ์และจำเลยให้การปฏิเสธไว้ ซึ่งปัญหาเรื่องนี้ศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้โดยชัดแจ้ง และจำเลยก็ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านไว้ แต่ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้สละประเด็นข้อพิพาทนี้ดังที่โจทก์ฎีกา เพราะประเด็นว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินส่วนเดียวกับที่ดินที่โจทก์อ้างว่ามีกรรมสิทธิ์หรือไม่นั้น เป็นที่มาซึ่งนำไปสู่การวินิจฉัยประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดในชั้นชี้สองสถานหรือในคำพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลย จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินดังกล่าวดังที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องหรือไม่เพราะถ้าเป็นที่ดินคนละแปลงกัน การแย่งการครอบครองตามคำฟ้องของโจทก์ย่อมไม่เกิดขึ้น ดังนั้นที่ศาลล่างทั้งสองได้หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยเป็นประการแรกชอบแล้ว ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น จึงไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7952/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ: การประเมินราคาซื้อขายต่ำกว่าราคาตลาด และอายุความ
ป.รัษฎากร มาตรา 91/5 (6) กำหนดให้ฐานภาษีสำหรับกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรคือรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น และมาตรา 91/1 (1) บัญญัติว่า "รายรับหมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทนหรือประโยชน์ใดๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักร อันเนื่องมาจากการประกอบกิจการ" นอกจากนี้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจตามมาตรา 91/16 (6) ที่จะกำหนดราคาทรัพย์สินตามราคาตลาดในวันที่มีการโอนทรัพย์สินในกรณีที่โอนทรัพย์สินมีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร และตามมาตรา 91/1 (3) บัญญัติว่า "ราคาตลาด หมายความว่า ราคาที่ซื้อขายกันหรือที่คิดค่าบริการตามความเป็นจริงทั่วไปในขณะใดขณะหนึ่ง" แม้โจทก์ทั้งสองทำสัญญาซื้อขายที่ดินระบุว่าได้รับเงินเพียง 7,000,000 บาท แต่เมื่อราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตาม ป.ที่ดิน ซึ่งเป็นราคาที่ใช้อยู่ในวันที่มีการโอนเป็นจำนวนเงิน 12,629,200 บาท และโจทก์ทั้งสองลงชื่อในบันทึกถ้อยคำการชำระภาษีอากรยอมให้เจ้าพนักงานที่ดินหักภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและอากรแสตมป์ โดยรับรองรายการว่าทุนทรัพย์ที่ถือเป็นเงินได้สำหรับคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและอากรแสตมป์เป็นเงิน 12,629,200 บาท ประกอบกับโจทก์ไม่ได้นำสืบว่าที่ดินแปลงอื่นในบริเวณใกล้เคียงมีราคาต่ำกว่าราคาประเมินดังกล่าว จึงฟังได้ว่าราคาขายที่ดินแปลงพิพาทตามสัญญา 7,000,000 บาท นั้นต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันสมควร การที่เจ้าพนักงานประเมินใช้ราคาประเมินดังกล่าวเป็นฐานภาษีประเมินให้โจทก์ทั้งสองเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การซื้อขายที่ดินจากผู้ครอบครองเดิม และการจดทะเบียนสิทธิครอบครอง
โจทก์เข้าไปทำสวนลำไยในที่ดินพิพาท โดยอาศัยสิทธิของ น. โจทก์จึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ส่วนจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทมาจาก น. และจดทะเบียนในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ทั้ง น. ได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองแล้วโดยจ้างให้คนดายหญ้าปีละ 2 ครั้ง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4672/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายรถยนต์ดัดแปลง ผู้ขายมีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิตเพื่อให้ผู้ซื้อจดทะเบียนได้
จำเลยส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพที่เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน และมีที่นั่ง 7 ที่นั่ง ซึ่งเป็นรถยนต์ดัดแปลงอันจะต้องเสียภาษีสรรสามิตด้วย โดยจำเลยเป็นผู้ดำเนินการดัดแปลง จึงมีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าจากการดัดแปลงตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 มาตรา 144 เบญจ และต้องชำระภาษีดังกล่าวเมื่อการดัดแปลงสิ้นสุดลงตามมาตรา 144 จัตวา แม้หนังสือสัญญาซื้อขายรถยนต์ระบุให้เป็นสิทธิของผู้ซื้อที่จะดำเนินการใด ๆ ในการยื่นคำร้องขอโอนทะเบียนและเปลี่ยนแปลงชื่อในใบคู่มือจดทะเบียนของทางราชการเอง ก็มิได้มีข้อตกลงว่าโจทก์จะเป็นผู้ชำระภาษีสรรพสามิตเอง โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระภาษีดังกล่าว แต่เป็นหน้าที่ของจำเลย ทั้งนี้เพื่อให้โจทก์สามารถจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเจ้าของรถเป็นชื่อโจทก์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยดำเนินการโอนทะเบียนรถยนต์มาเป็นชื่อโจทก์ เพื่อให้โจทก์สามารถใช้รถยนต์ได้ตามวัตถุประสงค์ของการทำสัญญาซื้อขาย มิใช่ฟ้องขอให้บังคับจำเลยรับผิดชำระค่าเสียหายเพราะความชำรุดบกพร่องของรถยนต์ จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 แต่ต้องอยู่ในบังคับอายุความทั่วไปตามมาตรา 193/30 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี
of 104