คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สิทธิครอบครอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,083 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1967/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การขัดแย้งในคำให้การ การรับมอบที่ดินโดยเด็ดขาด และผลของคำพิพากษาเดิมที่มีผลผูกพันบุคคลภายนอก
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ฟ้องขับไล่ ท.และศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5379/2544 คำให้การและคำร้องแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยระบุว่า ที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 อยู่ในเขตที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ซึ่งเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินที่จำเลยครอบครองและใช้ประโยชน์ และยังได้ระบุว่า จำเลยเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 โดยรับมอบการครอบครองมาจาก ท. โดยชอบ จนได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาทกับมีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 เนื่องจากจำเลยยังไม่ได้รับชำระคืนเงินกู้และดอกเบี้ยจาก ท. คำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงขัดแย้งกันไม่ก่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทกับที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นที่ดินคนละแปลงหรือไม่ และจำเลยเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 หรือไม่ กรณีจึงรับฟังได้ตามคำฟ้องโจทก์ว่า ที่ดินพิพาทกับที่ดินที่จำเลยครอบครองเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน และโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5379/2544 แม้จำเลยไม่ใช่คู่ความในคดีที่ศาลฎีกาพิพากษาก็ตาม แต่คำพิพากษาในคดีดังกล่าวก็ใช้ยันจำเลยผู้เป็นบุคคลภายนอกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคสอง (2) ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การรับว่า ได้รับที่ดินพิพาทมาจาก ท. ซึ่งไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่จำเลยได้ อันเป็นการรับมอบที่ดินโดยเด็ดขาด มิใช่เพื่อประกันการชำระหนี้ดังที่กล่าวไว้ในคำให้การครั้งแรก แล้วได้ครอบครองโดยสงบ เปิดเผย เจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 1 ปี ทำให้ได้สิทธิครอบครอง โดยไม่ได้ให้การว่า จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์ด้วยเหตุประการอื่น จำเลยจึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทตามบทบัญญัติข้างต้น โจทก์ย่อมเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยไม่มีสิทธิยึดหน่วงหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 2266 ไว้แม้ว่า ท.ยังไม่ได้ชำระเงินยืมและดอกเบี้ยแก่จำเลยก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1062/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน – ข้อโต้แย้งสิทธิ – ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีได้ แม้ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ต่อมาจำเลยได้ยื่นเรื่องราวขอรังวัดออกโฉนดที่พิพาท อ้างว่าเป็นของจำเลย ขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง ห้ามจำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้อง เป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์ ถือว่ามีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงชอบที่จะเสนอคดีต่อศาลได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 แม้ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ไม่มีหลักฐานแสดงสิทธิก็ตาม ประกอบกับโจทก์ขอให้บังคับจำเลยและบริวารมิให้เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทด้วย หากโจทก์ชนะคดีศาลย่อมมีอำนาจบังคับตามคำขอของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9131/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้ที่ดินโดยมีค่าภาระติดพัน vs. สิทธิครอบครองจากสัญญาประนีประนอม ผู้รับสิทธิไม่มีผลผูกพันสัญญาเดิม
แม้สัญญาให้ระหว่างโจทก์ผู้ให้กับจำเลยผู้รับได้กำหนดเงื่อนไขรายละเอียดไว้ในสัญญาโดยให้จำเลยปลูกบ้านและกรีดยางพาราในที่ดินของโจทก์พร้อมทั้งให้ส่งรายได้ส่วนแบ่งให้โจทก์อันเป็นการให้โดยมีค่าภาระติดพันก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงบุคคลสิทธิคงมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาคือโจทก์กับจำเลยเท่านั้นไม่มีผลผูกพันผู้ร้องทั้งสามซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับสิทธิในที่ดินจากจำเลย เพราะไม่ปรากฏว่าผู้ร้องทั้งสามได้ตกลงยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวไว้และอยู่รู้เห็นด้วยขณะทำสัญญาให้ดังกล่าวแต่อย่างใด เมื่อขณะจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับผู้ร้องที่ 3 จำเลยยังเป็นเจ้าของผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินย่อมมีสิทธิต่าง ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 บัญญัติไว้ และไม่ใช่กรณีผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยในฐานะผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินจึงมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความยกที่ดินให้แก่ผู้ร้องที่ 1 และที่ 2 โดยให้ผู้ร้องที่ 3 เข้าครอบครองเก็บเกี่ยวทำประโยชน์ในที่ดินได้ ดังนั้น ผู้ร้องทั้งสามจึงได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายว่ายึดถือเพื่อตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1369 เมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบหักล้าง ผู้ร้องทั้งสามจึงได้สิทธิครอบครองที่ดิน การครอบครองที่ดินของผู้ร้องทั้งสามจึงไม่ใช่ครอบครองที่ดินในฐานะบริวารของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8713/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การออก น.ส.3ก. ตามข้อเท็จจริงที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าของสิทธิ การโอนสิทธิที่ดินคืน
การที่ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) โดยระบุว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทด้วยนั้น เป็นการออกตามข้อเท็จจริงที่จำเลยซึ่งได้รับมอบหมายจากโจทก์ให้ไปแจ้งต่อทางราชการเพื่อดำเนินการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) กรณีจึงมิใช่เป็นการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนชื่อจำเลยออกจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ในส่วนที่ดินพิพาทนั้นจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ได้แก้ไข เมื่อตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินส่วนของโจทก์คืน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8487/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การพิสูจน์สิทธิและอำนาจฟ้องที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทน ก. มาตั้งแต่ปี 2532 จนถึงวันฟ้อง ส่วนโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจาก ฮ. เมื่อปี 2537 โจทก์จึงไม่เคยเข้าครอบครองที่ดินพิพาทเลยและจำเลยก็มิได้ครอบครองที่ดินพิพาทแทนโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367, 1368 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจึงเป็นการวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงไม่ถูกต้องตามพยานหลักฐานในสำนวน แม้จะเป็นคดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ก็ตาม ศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238, 243 (3) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8093/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากโมฆะ สิทธิครอบครองยังเป็นของจำเลย โจทก์ผู้รับโอนไม่มีสิทธิ
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ร่วมทั้งสองมีสิทธิครอบครองที่ดินพาทก่อนขายให้แก่โจทก์หรือไม่ โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ และจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์และต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่เพียงใด โดยประเด็นทั้งสองข้อนี้เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองเป็นฝ่ายกล่าวอ้างภาระการพิสูจน์ย่อมตกแก่โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสอง และที่ดินพิพาทเป็นที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) แต่แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เป็นหลักฐานที่รับฟังได้แต่เพียงว่า ขณะแจ้งการครอบครองผู้แจ้งอ้างว่าที่ดินเป็นของผู้แจ้งที่ดินตามแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) หาใช่อสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดินตามนัยที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1373 อันจะทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองแต่อย่างใดไม่ จำเลยเป็นฝ่ายยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 1369 ว่า จำเลยยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตน จึงตกเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว ประกอบทั้งได้พิจารณาพยานหลักฐานในประเด็นทั้งสองนี้แล้ว เห็นว่า เป็นเรื่องที่อยู่ในความรู้เห็นของโจทก์ โจทก์ร่วมทั้งสองและจำเลยร่วมกัน แม้โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองนำสืบก่อน จำเลยก็ถามค้านให้พยานโจทก์มีโอกาสอธิบายและนำสืบถึงข้อความเหล่านั้นโดยบริบูรณ์แล้ว โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งสองหาเสียเปรียบไม่ ศาลล่างทั้งสองหาได้ดำเนินกระบวนพิจารณาขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 84 ไม่ และไม่เป็นการพิจารณาผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 แต่อย่างใด
สัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ร่วมทั้งสองกับจำเลยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สัญญาขายฝากดังกล่าวจึกตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 ถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการขายฝากเกิดขึ้นเลย เมื่อสัญญาขายฝากนี้เป็นโมฆะแล้ว โจทก์ร่วมทั้งสองย่อมจะอ้างสิทธิการได้มาโดยการครอบครองโดยนิติกรรมการขายฝากนั้นไม่ได้ เพราะการขายฝากมิใช่ว่าผู้ขายฝากสละเจตนาครอบครองโดยเด็ดขาดให้แก่ผู้ซื้อฝาก แต่ผู้ขายฝากมอบที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่าวันหลังจะเอาคืน ฉะนั้น แม้จะฟังว่าโจทก์ร่วมทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากครบกำหนดไถ่ก็ตาม แต่ก็เป็นการครอบครองโดยอาศัยอำนาจของจำเลยเพื่อทำการตัดไม้โกงกางไปเป็นประโยชน์เท่านั้น โจทก์ร่วมทั้งสองจึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่พิพาท โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนที่ดินพิพาทจากโจทก์ร่วมทั้งสองย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าโจทก์ร่วมทั้งสองผู้โอน ไม่ว่าโจทก์จะรับโอนโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8093/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดิน ส.ค.1 สัญญาขายฝากโมฆะ สิทธิครอบครองยังเป็นของจำเลย
ศาลชั้นต้นชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์ร่วมมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทก่อนขายให้แก่โจทก์หรือไม่ โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ และจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์และต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ โดยประเด็นทั้งสองข้อนี้เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นฝ่ายกล่าวอ้างภาระการพิสูจน์ย่อมตกแก่โจทก์และโจทก์ร่วม แต่แบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เป็นหลักฐานที่รับฟังได้แต่เพียงว่า ขณะแจ้งการครอบครองผู้แจ้งอ้างว่าที่ดินเป็นของผู้แจ้งมิใช่อสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 อันจะทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง จำเลยเป็นฝ่ายยึดถือครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามมาตรา 1369 ว่าจำเลยยึดถือที่ดินพิพาทเพื่อตน จึงตกเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
โจทก์ร่วมทั้งสองกับจำเลยทำสัญญาขายฝากที่พิพาทโดยไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 491 ประกอบมาตรา 456 ถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการขายฝากเกิดขึ้นเลย โจทก์ร่วมทั้งสองย่อมจะอ้างสิทธิการได้มาโดยการครอบครองโดยนิติกรรมการขายฝากนั้นไม่ได้ เพราะการขายฝากมิใช่ว่าผู้ขายฝากสละเจตนาครอบครองโดยเด็ดขาดให้แก่ผู้ซื้อฝาก แต่ผู้ขายฝากมอบที่ดินโดยมีเงื่อนไขว่าวันหลังจะเอาคืน การที่โจทก์ร่วมทั้งสองครอบครองที่ดินพิพาทหลังจากครบกำหนดไถ่เป็นการครอบครองโดยอาศัยอำนาจของจำเลยเพื่อทำการตัดไม้โกงกางไปเป็นประโยชน์เท่านั้น โจทก์ร่วมทั้งสองจึงไม่ได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 717/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การซื้อขายที่ดินจากผู้ครอบครองเดิม และการจดทะเบียนสิทธิครอบครอง
โจทก์เข้าไปทำสวนลำไยในที่ดินพิพาท โดยอาศัยสิทธิของ น. โจทก์จึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ส่วนจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทมาจาก น. และจดทะเบียนในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ทั้ง น. ได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้เข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองแล้วโดยจ้างให้คนดายหญ้าปีละ 2 ครั้ง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 703/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแย่งการครอบครองที่ดินต้องเกิดจากการครอบครองที่ดินของผู้อื่น มิใช่การแย่งจากที่ดินของตนเอง การวินิจฉัยอายุความจึงไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า บิดาจำเลยซื้อที่ดินพิพาทให้จำเลย แม้จำเลยจะต่อสู้ด้วยว่าโจทก์ฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่เวลาถูกรบกวนและถูกแย่งการครอบครองคำให้การของจำเลยก็ไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องแย่งการครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 เพราะการแย่งการครอบครองจะมีขึ้นได้แต่เฉพาะที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ยอมรับว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์แต่จำเลยแย่งการครอบครองมา จำเลยก็ไม่อาจอ้างสิทธิตามมาตรา 1375 มาเป็นข้อตัดฟ้องได้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่ถูกจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 วรรคสอง แล้วพิพากษายกฟ้องโดยไม่วินิจฉัยในเนื้อหาที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ คดีมีเหตุให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 652/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท – การพิสูจน์สิทธิก่อน ป.ที่ดินใช้บังคับ – ที่ดินของรัฐ
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ โจทก์จึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แต่อาจมีสิทธิครอบครองโดยการครอบครองที่ดินมาก่อนวันที่ ป.ที่ดินใช้บังคับ เมื่อโจทก์ยอมรับว่าโจทก์เข้ายึดถือที่ดินพิพาทภายหลัง ป.ที่ดินใช้บังคับแล้ว โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบแสดงให้เห็นว่าผู้ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์มีสิทธิครอบครองมาก่อน ป.ที่ดินใช้บังคับ จึงจะได้รับความคุ้มครองตาม ป.ที่ดิน มาตรา 4 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าผู้ซึ่งขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองมาก่อน ป.ที่ดินใช้บังคับจึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐ แม้โจทก์จะเข้ายึดถือเป็นเวลาเกิน 1 ปี และคงอยู่ในที่ดินพิพาทตลอดมาก็เป็นการยึดถือที่ดินของรัฐโดยไม่มีสิทธิครอบครองและโดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใดๆ ใช้ยันรัฐได้
of 109