คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
นายจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,104 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4970/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง แม้มีการมอบหมายงานให้บริษัทอื่น แต่ยังคงเป็นลูกจ้างเดิม
จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งวิศวกรซึ่งเป็นงานที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักของจำเลยคือประกอบกิจการออกแบบและเป็นที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างท่อก๊าซโดยจำเลยรับจ้างเป็นวิศวกรที่ปรึกษาออกแบบในโครงการท่อส่งก๊าซมาบตาพุด ให้บริษัท ว. จำเลยส่งโจทก์ไปทำงานในโครงการดังกล่าว โจทก์ไปทำงานที่บริษัท ว. ก็ด้วยคำสั่งของจำเลยและทำงานในโครงการที่จำเลยรับจ้างจากบริษัท ว. นั่นเอง เมื่องานออกแบบเสร็จสิ้นลงบริษัท ว. จึงมีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่าการปฏิบัติงานของโจทก์สิ้นสุดลงในวันที่ 31 สิงหาคม 2548 เป็นกรณีที่บริษัท ว. แจ้งส่งตัวโจทก์คืนให้จำเลยเมื่อการปฏิบัติงานสิ้นสุดลง ไม่ใช่บริษัท ว. บอกเลิกจ้างโจทก์ แสดงว่า อำนาจในการเลิกจ้างโจทก์ยังคงอยู่ที่จำเลย อีกทั้งจำเลยเป็นผู้จ่ายค่าตอบแทนในการที่โจทก์ไปทำงานที่บริษัท ว. ตามคำสั่งของจำเลยให้โจทก์ตลอดมา ค่าตอบแทนนั้นเป็นการจ่ายตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติของโจทก์จึงเป็นค่าจ้าง การที่โจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งและการบังคับบัญชาของบริษัท ว. เป็นกรณีที่จำเลยมอบอำนาจบังคับบัญชาบางส่วนของตนไปให้บริษัท ว. ใช้แทนในระหว่างที่โจทก์ไปปฏิบัติงานตามคำสั่งของจำเลยเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปตามสัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับบริษัท ว. โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย แม้จำเลยยื่นแบบรายการหักภาษี ณ ที่จ่ายของโจทก์ในฐานะผู้มีรายได้อิสระก็ไม่ทำให้นิติสัมพันธ์ความเป็นลูกจ้างนายจ้างระหว่างโจทก์จำเลยเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4970/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง แม้มีการมอบหมายงานให้บริษัทอื่น แต่จำเลยยังคงมีอำนาจบังคับบัญชาและจ่ายค่าจ้าง
จำเลยมีวัตถุประสงค์หลักคือประกอบกิจการออกแบบและเป็นที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างท่อก๊าซ จำเลยรับจ้างเป็นวิศวกรที่ปรึกษาออกแบบในโครงการท่อส่งก๊าซให้บริษัท ว. จำเลยจ้างโจทก์เป็นวิศวกรและส่งโจทก์ไปทำงานในโครงการดังกล่าวของบริษัท ว. จำเลยเป็นผู้จ่ายค่าตอบแทนในการทำงานที่โจทก์ไปทำงานที่บริษัท ว. ให้โจทก์ตลอดมา อันเป็นการจ่ายค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยสำหรับระยะเวลาการทำงานปกติของโจทก์จึงเป็นค่าจ้าง การที่โจทก์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งและการบังคับบัญชาของบริษัท ว. นั้น เป็นกรณีที่จำเลยมอบอำนาจบังคับบัญชาบางส่วนของตนไปให้บริษัท ว. ใช้แทนจำเลยในระหว่างที่โจทก์ไปปฏิบัติงานตามคำสั่งของจำเลยเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปตามสัญญาจ้างระหว่างจำเลยกับบริษัท ว. เมื่องานออกแบบเสร็จสิ้นลง บริษัท ว. มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่าการปฏิบัติงานของโจทก์สิ้นสุดลง เป็นกรณีที่บริษัท ว. แจ้งส่งตัวโจทก์คืนให้จำเลย แสดงว่าอำนาจในการเลิกจ้างโจทก์ยังคงอยู่ที่จำเลย หาได้ทำให้จำเลยไม่มีอำนาจบังคับบัญชาโจทก์แต่อย่างใดไม่ โจทก์จึงเป็นลูกจ้างของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์นายจ้าง: การเคลื่อนย้ายทรัพย์ผ่านจุดตรวจถือเป็นความผิดสำเร็จ แม้ยังไม่ออกจากห้าง
จำเลยยังมิได้พาเตาอบไฟฟ้าของผู้เสียหายออกไปพ้นนอกห้างสรรพสินค้าของผู้เสียหาย แต่ก็ได้เคลื่อนย้ายเตาอบไฟฟ้าออกจากจุดที่ผู้เสียหายเก็บหรือวางทรัพย์นั้นไว้ ทั้งยังผ่านจุดที่ลูกค้าจะต้องชำระค่าสินค้าแก่พนักงานเก็บเงินไปแล้ว จึงถือได้ว่าจำเลยพาทรัพย์ของผู้เสียหายเคลื่อนที่ไปแล้วโดยมีเจตนาทุจริต การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสำเร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649-1664/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ร่วมชุมนุมประท้วง แม้ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรง ย่อมเป็นการจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย
การที่โจทก์บางคนซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นงานหยุดงานเข้าร่วมชุมนุมกับลูกจ้างที่มีหน้าที่ดังกล่าวด้วย เป็นเรื่องที่โจทก์ดังกล่าวสามารถรู้สำนึกและคาดหมายถึงผลของการกระทำของตนกับพวกได้อย่างชัดเจนอยู่แล้วว่าจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อกิจการของจำเลยและทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ต้องถือว่าโจทก์ทั้งหมดร่วมกันจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยโดยภาพรวมว่าโจทก์ทั้งสิบหกคนทั้งที่มีหน้าที่และไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นงานตามแผนการผลิตได้ละทิ้งหน้าที่ไม่ไปปฏิบัติงานอันเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ซึ่งจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบหกได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1607/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้าง และการประเมินสัญญาประนีประนอมยอมความ
บันทึกข้อตกลงระหว่างจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของผู้ขับรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุกับผู้เอาประกันภัยมีข้อความเพียงว่า จำเลยจะซ่อมรถยนต์คันที่ถูกชนให้อยู่ในสภาพเดิม ไม่มีรายละเอียดและข้อตกลงที่แน่นอนเกี่ยวกับจำนวนเงิน วิธีชำระ ตลอดจนระยะเวลาที่แน่นอนอันจะทำให้ปราศจากการโต้แย้งกันอีก และไม่มีข้อความโดยชัดแจ้งว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทโดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้น จึงไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดจึงยังไม่ระงับ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ร้บประกันภัยจึงรับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8923-8927/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหน้าที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย และความเป็นนายจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของบริษัท ก. ลูกหนี้แล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไปเป็นอำนาจของจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 จำเลยจึงเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ก. ลูกหนี้ผู้เป็นนิติบุคคล การที่จำเลยจ้างโจทก์ทั้งห้าหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวโดยจ่ายค่าจ้างจากกองทรัพย์สินของบริษัท ก. ลูกหนี้ โจทก์ทั้งห้าจึงเป็นลูกจ้างของบริษัท ก. ลูกหนี้โดยมีจำเลยเป็นผู้กระทำการแทน จำเลยมีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ทั้งห้าตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 โจทก์ทั้งห้าไม่ใช่ลูกจ้างของกรมบังคับคดีอันเป็นหน่วยงานราชการส่วนกลาง สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยอยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โจทก์ทั้งห้ามีอำนาจฟ้อง
โจทก์ทั้งห้ามีหนังสือขอให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าทำงานในวันหยุด ค่าจ้างในวันลาป่วย พร้อมดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม หรือเสนอเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมเจ้าหนี้ การที่จำเลยทำบันทึกเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นว่าไม่จำเป็นให้ที่ประชุมเจ้าหนี้พิจารณาโดยอ้างเหตุว่าสัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์ทั้งห้ากับจำเลยเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของทางราชการไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จนได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชานั้น เป็นเพียงความเห็นของจำเลยในปัญหาว่าจำเป็นต้องนำเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมเจ้าหนี้หรือไม่ ไม่ใช่จำเลยกระทำหรือวินิจฉัยให้โจทก์ทั้งห้าไม่ได้รับค่าชดเชยและค่าตอบแทนดังกล่าว ไม่ทำให้โจทก์ทั้งห้าได้รับความเสียหาย โจทก์ทั้งห้าจึงไม่จำต้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลล้มละลายกลางเพื่อให้มีคำสั่งกลับหรือแก้ไขคำวินิจฉัยของจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 เมื่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และโจทก์ทั้งห้าฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางได้ส่วนปัญหาว่า จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าตอบแทนดังกล่าวแก่โจทก์ทั้งห้าตามฟ้องหรือไม่ นั้นจำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยจ้างโจทก์ทั้งห้าทำงานที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจหรือไม่ อันเป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของจำเลยตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ประกอบข้อเท็จจริง แต่ศาลแรงงานกลางยังไม่ได้ฟังข้อเท็จจริงและวินิจฉัยมา ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงแล้วพิพากษาคดีใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8589/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย: การกระทำของนายจ้างที่ยังไม่ถึงขั้นเป็นการเลิกจ้างโดยเด็ดขาด
โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างรายวัน ทำหน้าที่เป็นแม่บ้านทำความสะอาดภายในโรงงานจำเลย ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2548 ล. กรรมการบริษัทจำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานหลังสิ้นสุดเวลาทำงานตามปกติ เมื่อโจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งก็ให้พนักงานรักษาความปลอดภัยเก็บบัตรบันทึกเวลาทำงานของโจทก์ไว้และสั่งให้บอกโจทก์รออยู่ที่ป้อมบริเวณหน้าโรงงานในวันที่โจทก์มาทำงาน ต่อมาในวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 โจทก์จะเข้าทำงานในช่วงเช้า แต่พนักงานรักษาความปลอดภัยยังไม่ให้เข้าโรงงานแต่ให้รออยู่จนเวลา 8.40 นาฬิกา โจทก์จึงออกจากโรงงานไปปรึกษาพนักงานตรวจแรงงาน แล้วกลับเข้าไปที่โรงงานอีกครั้งในเวลาประมาณ 16 นาฬิกา พบ ส. หัวหน้าฝ่ายบุคคล ส. ขอให้โจทก์ทำงานต่อไป แต่โจทก์ไม่ตกลง ส. จึงนำใบลาออกมาให้โจทก์แต่โจทก์ไม่ลงลายมือชื่อในใบลาออกให้นั้น การที่ ล. จะแสดงความไม่พอใจต่อโจทก์และมีคำสั่งดังกล่าวซึ่งทำให้โจทก์ไม่สามารถเข้าทำงานในโรงงานตามปกติได้ ก็เพื่อให้โจทก์รออยู่และได้พบกับ ล. ก่อน อันเป็นการใช้อำนาจทางการบริหารที่นายจ้างสามารถกระทำได้ แต่ในระหว่างที่โจทก์รออยู่นั้นโจทก์ได้ออกจากโรงงานไปเองโดยยังไม่ได้พบกับ ล. กรณีดังกล่าวจึงยังถือไม่ได้ว่า ล. ได้บอกเลิกจ้างโจทก์หรือมีการกระทำใดที่จะไม่ให้โจทก์ทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้โดยเด็ดขาด จึงไม่ใช่การเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 118 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8588/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการลงโทษทางวินัยของนายจ้าง: ศาลไม่ก้าวล่วงดุลพินิจหากชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับ
โจทก์ในฐานะผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการพนักงานฯ และคำสั่งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา ซึ่งต้องควบคุมดูแลตรวจสอบการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชา แต่โจทก์กลับไม่ควบคุมดูแลตรวจหลักฐานตามรายงานซีเอ็มเอฟ 15 จนเป็นเหตุให้มีการทุจริตยักยอกเงินไปไม่นำเข้าเป็นรายได้ของจำเลยและปล่อยปละละเลยไม่ควบคุมดูแลการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติตามระเบียบในการขอติดตั้งโทรศัพท์ จนมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของจำเลยจนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหาย
การลงโทษพนักงานที่กระทำผิดวินิจฉัยไม่ร้ายแรงตามข้อบังคับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการพนักงานฯ ข้อ 58 นั้น ผู้บังคับบัญชามีอำนาจสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน หรือลดขั้นเงินเดือน ตามที่พิจารณาเห็นเหมาะสม และเป็นดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาที่จะนำเหตุลดหย่อนโทษมาประกอบการพิจารณาหรือไม่ก็ได้ แม้จะเคยมีการลงโทษผู้กระทำผิดวินัยที่คล้ายคลึงกับการกระทำผิดของโจทก์ด้วยการภาคทัณฑ์ ก็มิได้หมายความว่าผู้บังคับบัญชาจะลงโทษสถานอื่นนอกจากภาคทัณฑ์ไม่ได้ หากผู้บังคับบัญชาเห็นว่าการลงโทษครั้งก่อนๆ ไม่เหมาะสมก็มีอำนาจกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ การที่ผู้บังคับบัญชาลงโทษโจทก์ด้วยการลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น โดยไม่ปรากฏว่ามีการลงโทษโดยไม่สุจริตหรือกลั่นแกล้งโจทก์ หรือการลงโทษที่ไม่เหมาะสม จึงเป็นการลงโทษที่เหมาะสมชอบด้วยข้อบังคับของจำเลยแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7855/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างตัวแทน: การผูกพันนายจ้างจากตัวแทนในการจ้างงานและค่าจ้าง
จำเลยมอบหมายให้ ว. ดูแลงานด้านการตลาดของบริษัทจำเลย และรู้เห็นในการทำงานของ ว. จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยได้เชิด ว. ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยหรือรู้แล้วยอมให้ ว. เชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยในการจ้างโจทก์ทำงานกับจำเลย การที่ ว. รับโจทก์เข้าทำงานกับจำเลยโดยจ่ายค่าจ้างให้และจำเลยได้รับประโยชน์จากการทำงานของโจทก์มาโดยตลอดนั้น จึงมีผลผูกพันจำเลยเสมือนว่า ว. เป็นตัวแทนของจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 จำเลยจึงเป็นนายจ้างโจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 โดยเป็นผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้โดยมี ว. กระทำการเป็นตัวแทนของจำเลยดำเนินการแทน ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะมีฐานะเป็นนายจ้างโจทก์ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 หรือมาตรา 5 (3) จำเลยก็เป็นนายจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7717/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างต่อเนื่องและค่าชดเชย เมื่อสัญญาเดิมหมดอายุแล้วยังคงจ้างงานต่อ นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
กรณีที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 วรรคสาม สัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างต้องเป็นไปตามมาตรา 118 วรรคสี่ โดยต้องเป็นสัญญาจ้างในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานจะต้องแล้วเสร็จในเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ค่าชดเชย หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง เงินที่จำเลยให้โจทก์ก่อนที่จะครบกำหนดระยะเวลา 12 เดือน ตามสัญญาจ้าง จึงมิใช่ค่าชดเชย
สัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยเดิมเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาจ้างที่แน่นอนระหว่างวันที่ 14 เมษายน 2543 ถึงวันที่ 13 เมษายน 2544 แต่เมื่อครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวในวันที่ 13 เมษายน 2544 แล้วจำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ ยังคงให้โจทก์ทำงานต่อไป ทั้งยังยอมจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ จึงต้องถือว่าได้ทำสัญญาจ้างกันใหม่โดยความอย่างเดียวกันกับสัญญาเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 581 กลายเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างกันไว้ ดังนั้นเมื่อจำเลยจะเลิกจ้างโจทก์จำเลยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ทราบเมื่อถึงหรือก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวใดคราวหนึ่ง เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไป
of 111