พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,106 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1839/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้จัดการมรดกต้องเป็นไปตามกฎหมาย หากไม่มีอำนาจ ศาลต้องยกคำพิพากษาเดิม และดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับจำเลยที่ 1 ตามคำสั่งศาล มีอำนาจยื่นคำให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1736 วรรคสอง แต่การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การและฟ้องแย้งในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพียงคนเดียวโดยไม่มีจำเลยที่ 1 ร่วมด้วยขัดต่อมาตรา 1726 จำเลยที่ 2 แต่เพียงผู้เดียวจึงไม่มีอำนาจยื่นคำให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้ง
ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องและยื่นคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินกองมรดกครึ่งหนึ่งของผู้ตายในฐานะเป็นเจ้าของร่วมซึ่งจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ยื่นคำให้การต่อสู้ว่าทรัพย์มรดกผู้ตายไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตายที่จะต้องแบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจยื่นคำให้การต่อสู้คดี ศาลชั้นต้นก็ควรต้องฟังพยานโจทก์ให้ได้ความก่อนว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายตามที่โจทก์ฟ้องเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ร่วมกับผู้ตายทำมาหาได้ร่วมกันมาในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันจริงตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่
ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องและยื่นคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
โจทก์ฟ้องขอแบ่งทรัพย์สินกองมรดกครึ่งหนึ่งของผู้ตายในฐานะเป็นเจ้าของร่วมซึ่งจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายก็ยื่นคำให้การต่อสู้ว่าทรัพย์มรดกผู้ตายไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ทำมาหาได้ร่วมกันกับผู้ตายที่จะต้องแบ่งให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง แม้จำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจยื่นคำให้การต่อสู้คดี ศาลชั้นต้นก็ควรต้องฟังพยานโจทก์ให้ได้ความก่อนว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายตามที่โจทก์ฟ้องเป็นทรัพย์สินที่โจทก์ร่วมกับผู้ตายทำมาหาได้ร่วมกันมาในระหว่างที่เป็นสามีภริยากันจริงตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีแทนผู้ตาย: ผู้จัดการมรดกไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง จึงไม่อาจใช้สิทธิแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29
กรณีที่ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาจะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 29 ซึ่งได้บัญญัติเรื่องการเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายไว้ชัดแจ้งแล้ว จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 42 และมาตรา 43 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 มาใช้โดยอนุโลมไม่ได้ การที่ จ. ยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นสามีของ ห. โจทก์ร่วม ขอเข้ารับมรดกความของ ห. ซึ่งถึงแก่ความตาย เมื่อ ห. เข้ามาในคดีในฐานะผู้จัดการแทน ส. ผู้ตาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) จ. ซึ่งเป็นสามีของ ห. หามีสิทธิเข้าดำเนินคดีต่าง ห. ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 29 ไม่ เพราะ ห. เป็นเพียงผู้จัดการแทน ส. ผู้ตาย ไม่ใช่ผู้เสียหายในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1303/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการดำเนินคดีต่างผู้ตาย: ผู้จัดการมรดกไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง
ผู้เสียหายยื่นฟ้องแล้วตายลง ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาจะดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปได้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 29 ซึ่งบัญญัติเรื่องการเข้าดำเนินคดีต่างผู้ตายไว้โดยชัดแจ้งแล้ว จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 42 และมาตรา 43 มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
จ. ยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นสามีของโจทก์ร่วมขอเข้ารับมรดกความของโจทก์ร่วมซึ่งถึงแก่ความตาย เท่ากับ จ. ขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีในฐานะผู้จัดการแทน ส. ผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) จ. ซึ่งเป็นสามีของโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมตาม มาตรา 29 เพราะโจทก์ร่วมเป็นเพียงผู้จัดการแทน ส. ไม่ใช่ผู้เสียหายในคดี
จ. ยื่นคำร้องอ้างว่าเป็นสามีของโจทก์ร่วมขอเข้ารับมรดกความของโจทก์ร่วมซึ่งถึงแก่ความตาย เท่ากับ จ. ขอเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมเข้ามาในคดีในฐานะผู้จัดการแทน ส. ผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) จ. ซึ่งเป็นสามีของโจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิเข้าดำเนินคดีต่างโจทก์ร่วมตาม มาตรา 29 เพราะโจทก์ร่วมเป็นเพียงผู้จัดการแทน ส. ไม่ใช่ผู้เสียหายในคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกโดยผู้จัดการหลายคน หนังสือรับสภาพหนี้มีผลสมบูรณ์แม้ลงชื่อผู้เดียว
แม้ศาลมีคำสั่งตั้งให้โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ร่วมกัน แต่ก็มิได้หมายความว่าการกระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกหลายคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1726 ผู้จัดการมรดกจะต้องร่วมกันทำหรือร่วมกันลงชื่อในนิติกรรมทุกคน การที่โจทก์ที่ 1 ลงชื่อในหนังสือรับสภาพหนี้ในฐานะเจ้าหนี้และผู้จัดการมรดกเพียงผู้เดียวโดยโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกอีกคนหนึ่งรู้เห็นยินยอมก็ต้องถือว่าเป็นการจัดการมรดกร่วมกันแล้ว ประกอบกับการทำหนังสือรับสภาพหนี้ก็มิใช่การทำสัญญาหนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนังสือที่ลูกหนี้ทำขึ้นโดยยอมรับว่าตนเป็นหนี้เจ้าหนี้จริง ส่วนเจ้าหนี้หาจำต้องเป็นคู่สัญญาด้วยไม่ เมื่อหนังสือรับสภาพหนี้เป็นหนังสือที่จำเลยที่ 2 ทำขึ้นโดยยอมรับว่าตนเป็นหนี้กู้ยืมเงิน ส. เจ้ามรดก แม้โจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ส. จะมิได้ลงชื่อด้วยหรือลงชื่อแต่เพียงผู้เดียว หนังสือรับสภาพหนี้ดังกล่าวก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายและใช้บังคับแก่จำเลยที่ 2 ผู้ยอมรับสภาพหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10987/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของกองมรดก ไม่ใช่ประโยชน์ส่วนตัวของผู้มีส่วนได้เสีย
แม้ผู้คัดค้านทั้งสองจะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง ก็เพียงแต่ทำให้ผู้คัดค้านทั้งสองมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ส่วนการตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดก ศาลจะต้องดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าววรรคท้ายซึ่งบัญญัติว่า "การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์" กรณีนี้เป็นกรณีที่ผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ ศาลจึงต้องตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ผู้คัดค้านทั้งสองต้องการเข้ามาเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยอ้างว่าทรัพย์มรดกของผู้ตายบางอย่างเป็นของผู้คัดค้านทั้งสองจึงมีลักษณะเป็นการโต้แย้งเป็นปรปักษ์กับกองมรดกอย่างชัดแจ้ง การขอเป็นผู้จัดการมรดกก็เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้คัดค้านทั้งสองเอง นอกจากนั้นการที่ผู้คัดค้านทั้งสองนำสืบว่า เหตุที่ขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย เพราะไม่ไว้ใจผู้ร้องทั้งสองทำให้เห็นว่าหากให้ผู้คัดค้านทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้ร้องทั้งสอง ก็น่าจะก่อให้เกิดความยุ่งยากในการจัดการมรดกมากกว่าจะเป็นประโยชน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10738/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆะนิติกรรมจำนองจากผู้จัดการมรดกปลอม และการเพิกถอนหมายบังคับคดี
ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ซึ่งเป็นมารดาของผู้ร้องและจำเลยเนื่องจากจำเลยอ้างว่า บ. ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้จำเลย แล้วจำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและนำไปจำนองเป็นประกันหนี้ต่อโจทก์ต่อมาศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์และให้ยึดที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดซึ่งโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีแล้ว แต่ผู้ร้องยื่นคำร้องในคดีที่จำเลยร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกขอให้ถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของ บ. ศาลไต่สวนและมีคำสั่งถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกเนื่องจากพินัยกรรมที่จำเลยอ้างเป็นโมฆะ และตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกแทน คดีถึงที่สุดแล้ว กรณีจึงต้องถือว่าขณะจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกโอนที่ดินพิพาทให้แก่ตนเองในฐานะส่วนตัวทั้งที่ตนไม่มีสิทธิได้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมที่อ้าง เป็นการทำนิติกรรมซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกของ บ. อันเป็นการต้องห้ามโดยชัดแจ้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1722 นิติกรรมการโอนตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 โดยถือเสมือนว่ามิได้มีนิติกรรมการโอนเกิดขึ้นเลยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังเป็นของกองมรดกของ บ. อยู่ตามเดิม สัญญาจำนองที่จำเลยในฐานะส่วนตัวทำกับโจทก์ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่โจทก์ที่จะบังคับเอาแก่ที่ดินพิพาท เพราะผู้จำนองไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์ที่จำนองตาม ป.พ.พ. มาตรา 705 แม้โจทก์จะอ้างว่ารับจำนองโดยสุจริตก็ตาม
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องในคดีที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีโดยอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าว และขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดี จึงเป็นคำร้องที่มีความหมายว่า โจทก์ขอหมายบังคับคดีเอาแก่ที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่กรรมสิทธิ์ของจำเลยที่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และโจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับจำนองไว้โดยชอบ เพราะไม่ได้รับจำนองไว้จากผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ แต่เป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 282 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าผู้ร้องกล่าวอ้างว่าหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ยื่นคำขอเจาะจงว่าให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาท และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ตามขอ ถือได้ว่าเป็นการออกหมายบังคับคดีโดยไม่ชอบตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลชอบที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีดังกล่าวได้
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องในคดีที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเพื่อบังคับคดีโดยอ้างข้อเท็จจริงดังกล่าว และขอให้เพิกถอนหมายบังคับคดี จึงเป็นคำร้องที่มีความหมายว่า โจทก์ขอหมายบังคับคดีเอาแก่ที่ดินพิพาทซึ่งมิใช่กรรมสิทธิ์ของจำเลยที่เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา และโจทก์ไม่ได้เป็นผู้รับจำนองไว้โดยชอบ เพราะไม่ได้รับจำนองไว้จากผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ แต่เป็นการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก อันเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 282 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าผู้ร้องกล่าวอ้างว่าหมายบังคับคดีฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ยื่นคำขอเจาะจงว่าให้ศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาท และศาลชั้นต้นออกหมายบังคับคดีให้ตามขอ ถือได้ว่าเป็นการออกหมายบังคับคดีโดยไม่ชอบตามบทบัญญัติดังกล่าว ศาลชอบที่จะเพิกถอนหมายบังคับคดีดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10484/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทมีอำนาจฟ้องเรียกหนี้จากลูกหนี้ของผู้ตาย แม้มีผู้จัดการมรดก
แม้จำเลยที่ 2 และ ฉ. จะเป็นผู้จัดการมรดกของ อ. แล้ว ก็หาทำให้สิทธิของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของ อ. ที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกคืนจากบุคคลภายนอกหรือลูกหนี้ของ อ. สิ้นไปแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะไม่มีบทกฎหมายบัญญัติห้ามหรือตัดสิทธิไว้ เมื่อ อ. ถึงแก่ความตายทรัพย์มรดกย่อมตกเป็นของทายาทรวมทั้งโจทก์ทั้งสองด้วย หนี้เงินกู้ที่จำเลยที่ 1 กู้ยืมไปจาก อ. ก็ตกเป็นสิทธิของทายาทของ อ. รวมทั้งโจทก์ทั้งสองด้วยเช่นกัน โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ถือว่ามีผลประโยชน์ขัดกับกองมรดกจำเลยที่ 2 เพิกเฉยไม่ฟ้องจำเลยที่ 1 ทั้งไม่ชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 กลับกล่าวอ้างว่ามิได้เป็นหนี้ตามสัญญากู้เงินอีก หากทายาทไม่มีอำนาจฟ้องย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10484/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากลูกหนี้ของผู้ตาย แม้มีผู้จัดการมรดก และห้ามเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญากู้ยืม
การมีผู้จัดการมรดกแล้ว ก็หาตัดสิทธิของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่จะฟ้องเรียกทรัพย์มรดกคืนจากบุคคลภายนอกหรือลูกหนี้ ทั้งนี้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามหรือตัดสิทธิไว้ โดยทรัพย์มรดกย่อมตกเป็นของทายาท โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทจึงมีอำนาจฟ้อง อีกทั้งจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกยังเป็นผู้ค้ำประกันในหนี้ที่โจทก์ฟ้องดังกล่าว ย่อมถือว่าผู้จัดการมรดกมีผลประโยชน์ขัดกับกองมรดก หากทายาทไม่มีอำนาจฟ้องแล้วย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่กองมรดก
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและรับเงินไปจากผู้ตายแล้ว การที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่ามิได้กู้ยืมเงินแต่ผู้ตายยกเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินและรับเงินไปจากผู้ตายแล้ว การที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างว่ามิได้กู้ยืมเงินแต่ผู้ตายยกเงินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญากู้ยืมเงินต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8357/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม/ผู้จัดการมรดก และอำนาจศาลในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายนอกเหนือจากประเด็นที่คู่ความยกขึ้น
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่า ร่วมกับพวกบุกรุกเข้าไปในบ้านพักของโจทก์ร่วมแล้วทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส โจทก์ร่วมและในฐานะมารดาของผู้เสียหายที่ 2 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ โดยได้ความว่า ผู้เสียหายที่ 2 ถึงแก่ความตายด้วยการผูกคอตาย ไม่ได้ตายเพราะถูกจำเลยทั้งสองกับพวกทำร้ายตามฟ้อง ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) ผู้บุพการีจะจัดการแทนผู้เสียหายได้เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ ดังนั้น โจทก์ร่วมจึงไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายที่ 2 ในการเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้เฉพาะความผิดฐานบุกรุกที่โจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มี่โทษหนักสุด เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ โจทก์ร่วมจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในความผิดฐานนี้ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยมาก็เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะพิพากษาแก้คำพิพากษาชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองโดยไม่รอการลงโทษและคุมความประพฤติ ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยทั้งสองที่จะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัย เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 661/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดภูมิลำเนาของพระภิกษุเพื่อการจัดการมรดก และสิทธิของพนักงานอัยการในการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
พระภิกษุ พ. มีถิ่นที่อยู่ 2 แห่ง คือที่วัด ห. และวัดผู้คัดค้าน ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 38 ให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น จึงต้องถือว่าวัด ห. เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุ พ. อีกแห่งหนึ่งด้วย เมื่อพระภิกษุ พ. มีทรัพย์มรดกและมีเหตุขัดข้องในการจัดการมรดก ผู้ร้องในฐานะเป็นพนักงานอัยการย่อมมีสิทธิร้องขอต่อศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลในขณะถึงแก่ความตายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 จัตวา วรรคหนึ่ง ให้แต่งตั้งผู้จัดการมรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713