พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,220 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีอาญา และผลกระทบต่อคำพิพากษาในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันบุกรุก ตาม ป.อ. มาตรา 365 และร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ ตาม ป.อ. มาตรา 359 ซึ่งต่างมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่การที่จะเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามมาตรา 359 (4) นั้น ต้องได้ความว่าเจ้าของทรัพย์นั้นเป็นกสิกร เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ข้าวนาปรังที่จำเลยทั้งสามร่วมกันทำให้เสียหายเป็นพืชหรือพืชผลของกสิกร จึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 359 ได้ เท่ากับความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามแต่เพียงมาตรา 358 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และโจทก์อุทธรณ์เฉพาะความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังข้อเท็จจริงใหม่ จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยให้นั้น เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3
คดีในส่วนแพ่งนั้น แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์จะไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แต่ในการวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งที่เป็นการฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาเกี่ยวเนื่องกันมานี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีอาญาฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามไม่เป็นความผิดตามฟ้องคดีในส่วนแพ่ง ศาลจึงไม่อาจบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ได้
คดีในส่วนแพ่งนั้น แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์จะไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แต่ในการวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งที่เป็นการฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาเกี่ยวเนื่องกันมานี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีอาญาฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า การกระทำของจำเลยทั้งสามไม่เป็นความผิดตามฟ้องคดีในส่วนแพ่ง ศาลจึงไม่อาจบังคับให้ตามคำขอของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3119/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามในคดีอาญาและผลกระทบต่อคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวข้อง
การที่จะเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามมาตรา 359 (4) นั้น ต้องได้ความว่าเจ้าของทรัพย์นั้นเป็นกสิกร เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ข้าวนาปรังที่จำเลยทั้งสามร่วมกันทำให้เสียหายเป็นพืชหรือพืชผลของกสิกร จึงไม่อาจลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 359 ได้ เท่ากับความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามแต่เพียงมาตรา 358 ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง และโจทก์อุทธรณ์เฉพาะความผิดฐานร่วมกันทำให้เสียทรัพย์ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังข้อเท็จจริงใหม่ จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ประกอบ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 การที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยให้นั้น เป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง, 225 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 และ พ.ร.บ.ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้ในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 3 สำหรับคดีในส่วนแพ่งนั้น แม้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ของโจทก์จะไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แต่ในการวินิจฉัยคดีส่วนแพ่งที่เป็นการฟ้องคดีแพ่งและคดีอาญาเกี่ยวเนื่องกัน ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3106/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเข้าว่าคดีแพ่งของลูกหนี้ที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ซึ่งบัญญัติว่า เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้ (1) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป (2) เก็บรวบรวมและรับเงิน หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น และ (3) ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ อันเป็นบทบัญญัติที่มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการจัดการและเก็บรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มาให้ได้มากที่สุด เพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ในการขอรับชำระหนี้และมาตรา 25 ซึ่งบัญญัติว่า ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีแพ่งทั้งปวงอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ และเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ศาลมีอำนาจงดการพิจารณาคดีแพ่งนั้นไว้ หรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ ในกรณีที่มีคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งกฎหมายบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องเข้าว่าคดีแทนลูกหนี้ผู้ถูกฟ้องนั้น ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่าการที่จะให้มีการพิจารณาคดีต่อไปจะยังประโยชน์แก่การจัดการและเก็บรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้มากยิ่งกว่าและมิได้ร้องขอให้งดการพิจารณาคดีไว้แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจที่จะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้ หาใช่ว่าศาลจะต้องงดการพิจารณาคดีและจำหน่ายคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ทั้งหมดออกจากสารบบความได้เพียงสถานเดียว ซึ่งข้อเท็จจริงในคดีนี้ก็ได้ความว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประสงค์ที่จะให้ศาลพิจารณาคดีต่อไป โดยยื่นคำร้องขอเข้าว่าความแทนจำเลยร่วมที่ 1 และขอให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีต่อไปกับยื่นคำให้การมาพร้อมด้วยเช่นนี้ จึงต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้เข้าว่าความแทนจำเลยร่วมที่ 1 ลูกหนี้ตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ครบถ้วนแล้ว แม้ผลของคดีอาจทำให้ที่ดินทั้ง 5 แปลง ต้องกลับไปเป็นของจำเลยร่วมที่ 1 ก็เรียกไม่ได้ว่าเป็นเรื่องที่โจทก์จัดการและเก็บรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือฟ้องร้องคดีอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ อันเป็นการก้าวก่ายอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 (2) (3) แต่อย่างใด เพราะคดีนี้ โจทก์ได้มีการดำเนินคดีฟ้องร้องก่อนที่จำเลยร่วมที่ 1 จะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การที่ศาลชั้นต้นมิได้จำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความ จึงหาเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2678/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีแพ่ง: การฟ้องผิดตัวบุคคลและการขยายอายุความตามมาตรา 193/17 วรรคสอง
เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำสั่งศาลเป็นที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง ต้องเป็นคดีที่เจ้าหนี้ฟ้องลูกหนี้ต่อศาลที่ไม่มีเขตอำนาจพิจารณา และไม่รวมถึงการฟ้องบุคคลที่ไม่ใช่ลูกหนี้อันเป็นการฟ้องผิดตัวด้วย เพราะมีผลเป็นการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเรื่องพินัยกรรมปลอม ศาลต้องใช้ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญา
การพิจารณาว่าคดีแพ่งใดเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาหรือไม่นั้นย่อมต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงในคดีแพ่งนั้นเองว่าอาศัยเหตุจากการกระทำที่เป็นองค์ประกอบความผิดในคดีอาญาหรือไม่ เมื่อโจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องจำเลยในคดีแพ่งขอให้ศาลพิพากษาว่าพินัยกรรมของเจ้ามรดกเป็นพินัยกรรมปลอมและให้จำเลยเป็นผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกของเจ้ามรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรเนื่องจากจำเลยเป็นผู้ปลอมและใช้พินัยกรรมปลอมก็โดยอาศัยเหตุมาจากการที่โจทก์ทั้งเจ็ดร้องทุกข์ให้พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในคดีอาญาข้อหาปลอมพินัยกรรมและใช้พินัยกรรมปลอม ซึ่งในที่สุดศาลฎีกาพิพากษายกฟ้องโจทก์ คดีถึงที่สุดในคดีอาญาแล้วว่าพินัยกรรมที่โจทก์ทั้งเจ็ดอ้างว่าเป็นพินัยกรรมปลอมไม่ใช่พินัยกรรมปลอม นับได้ว่าทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญาต่างมีประเด็นสำคัญโดยตรงเป็นอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดคดีนี้จึงเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิจารณาคดีส่วนแพ่งในปัญหาที่ว่าจำเลยปลอมพินัยกรรม อันจะเป็นเหตุให้จำเลยเป็นผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกเจ้ามรดกผู้ตายหรือไม่ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาที่ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่า ส. เจ้ามรดกได้ลงลายมือชื่อในพินัยกรรมต่อหน้า พยานจริง และพยานได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมรับรองลายมือชื่อของ ส. ในขณะเดียวกันด้วย ลายมือชื่อ ส. ในพินัยกรรมดังกล่าวมิใช่ลายมือชื่อปลอม อันมีความหมายในตัวโดยปริยายว่าจำเลยไม่ได้ปลอมพินัยกรรมดังกล่าว จึงไม่เป็นเหตุให้จำเลยเป็นผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร ตามฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ด
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ หากปลอมจำเลยเป็นผู้ปลอมพินัยกรรมดังกล่าวหรือไม่ ไม่ได้กำหนดประเด็นว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะหรือไม่ และโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้บรรยายฟ้องมาด้วยว่าพยานในพินัยกรรมไม่ได้รู้เห็นขณะที่ทำพินัยกรรมและขณะเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อในช่องผู้ทำพินัยกรรม อันเป็นการหยิบยกเรื่องแบบพินัยกรรมขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้ด้วย ประกอบกับคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งศาลฎีกาในคดีอาญาฟังข้อเท็จจริงยุติแล้ว ข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงต้องถือเป็นยุติตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 หยิบยกเรื่องแบบพินัยกรรมขึ้นมาวินิจฉัยเพิ่มเติมทำนองว่า พินัยกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 ประกอบมาตรา 1705 ทรัพย์มรดกของ ส. ทั้งหมดและตามพินัยกรรมจำต้องนำไปแบ่งให้ทายาทโดยธรรมทุกคนของ ส. ตามกฎหมายต่อไปนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าพินัยกรรมฉบับพิพาทเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ หากปลอมจำเลยเป็นผู้ปลอมพินัยกรรมดังกล่าวหรือไม่ ไม่ได้กำหนดประเด็นว่าพินัยกรรมเป็นโมฆะหรือไม่ และโจทก์ทั้งเจ็ดไม่ได้บรรยายฟ้องมาด้วยว่าพยานในพินัยกรรมไม่ได้รู้เห็นขณะที่ทำพินัยกรรมและขณะเจ้ามรดกผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อในช่องผู้ทำพินัยกรรม อันเป็นการหยิบยกเรื่องแบบพินัยกรรมขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้ด้วย ประกอบกับคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ซึ่งศาลฎีกาในคดีอาญาฟังข้อเท็จจริงยุติแล้ว ข้อเท็จจริงในคดีนี้จึงต้องถือเป็นยุติตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 หยิบยกเรื่องแบบพินัยกรรมขึ้นมาวินิจฉัยเพิ่มเติมทำนองว่า พินัยกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 ประกอบมาตรา 1705 ทรัพย์มรดกของ ส. ทั้งหมดและตามพินัยกรรมจำต้องนำไปแบ่งให้ทายาทโดยธรรมทุกคนของ ส. ตามกฎหมายต่อไปนั้น จึงเป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13361/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับคดีอาญาและการจำหน่ายคดีแพ่งเมื่อจำเลยถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณา
คดีอาญา จำเลยถึงแก่ความตายระหว่างพิจารณาคดีของศาลฎีกา สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (1) จึงให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ สำหรับคดีส่วนแพ่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 หากครบกำหนดหนึ่งปีนับแต่จำเลยถึงแก่ความตาย ไม่มีบุคคลใดร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความแทน หรือเข้ามาตามหมายเรียกของศาลก็ให้ศาลชั้นต้นจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12714/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีอาญา: ข้อจำกัดการฟ้อง, ความผิดฐานฟอกเงิน, และการไม่รับฟ้องคดีแพ่ง
จำเลยให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจ การที่จำเลยทั้งสองขอแก้คำให้การเป็นให้การปฏิเสธ โดยอ้างเหตุเพียงว่าบุคคลภายนอกที่ตกลงชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยทั้งสองไม่ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ และอ้างว่าจำเลยทั้งสองมีพยานหลักฐานที่จะแสดงได้ว่ามิได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุอันควรที่จะอนุญาตให้จำเลยทั้งสองแก้คำให้การได้
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัท ช. แจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารของบริษัทดังกล่าว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดหรือร่วมกระทำความผิด อันเป็นการประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดตามคำฟ้องข้อนี้ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามคำฟ้องข้อนี้ด้วยและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง อันเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 กับฐานแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน แม้การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ถูกถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แต่ที่โจทก์เรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเท่ากับราคาหุ้นต่อหน่วยรวมเป็นเงิน 8,000,000 บาท ไม่ใช่ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำอันเป็นความผิดทั้งสองฐานตามฟ้อง จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์จะขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ให้ในคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องอันเป็นการรับฟ้องในคดีส่วนแพ่งด้วยจึงเป็นการมิชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัท ช. แจ้งความเท็จต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทและเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารของบริษัทดังกล่าว ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิดหรือร่วมกระทำความผิด อันเป็นการประสงค์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดตามคำฟ้องข้อนี้ด้วย การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามคำฟ้องข้อนี้ด้วยและศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง อันเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดตามพระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 กับฐานแจ้งความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน แม้การกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้โจทก์ถูกถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น แต่ที่โจทก์เรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเท่ากับราคาหุ้นต่อหน่วยรวมเป็นเงิน 8,000,000 บาท ไม่ใช่ความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำอันเป็นความผิดทั้งสองฐานตามฟ้อง จึงมิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่โจทก์จะขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ให้ในคดีนี้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องอันเป็นการรับฟ้องในคดีส่วนแพ่งด้วยจึงเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12437/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: ค่าเสียหายจากภาระจำยอมที่ไม่จดทะเบียน แม้ฟ้องเพิ่มเติมหลังคดีเดิมดำเนินอยู่ ก็เป็นฟ้องซ้อน
คดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.129/2554 ของศาลชั้นต้น โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และ ฉ. เป็นผู้จัดสรรที่ดินมีหน้าที่ต้องดูแลและบำรุงรักษาสาธารณูปโภคให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานเพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อที่ดินจัดสรร ต้องสร้างถนนบนที่ดินพิพาทเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสูงเทียบเท่าถนนสาธารณะ และจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาอย่างเดียวกัน แต่อ้างเพิ่มเติมว่า การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และ ฉ. เพิกเฉยไม่ไปจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ เป็นเหตุให้สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อในการก่อสร้างอาคารที่พักอาศัยเพื่อเป็นสวัสดิการที่พักให้แก่พนักงานของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายต้องจ่ายเงินชดเชยค่าเช่าที่พักให้แก่พนักงานของโจทก์และขอเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งเจ็ด ซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้สืบเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 และ ฉ. ไม่ไปจดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ตามฟ้องในคดีก่อน อันเป็นค่าเสียหายที่โจทก์สามารถฟ้องเรียกได้ในคดีก่อนอยู่แล้ว
เดิมโจทก์ฟ้องคดีก่อนเป็นคดีผู้บริโภค คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ผบ.1543/2552 ของศาลชั้นต้น ต่อมาประธานศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า ไม่เป็นคดีผู้บริโภค และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคดีไว้พิจารณาเป็นคดีแพ่งสามัญ คดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.129/2554 ให้งดชี้สองสถานและกำหนดวันนัดพิจารณาต่อเนื่อง แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกิดจากสถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อซึ่งได้แจ้งให้โจทก์ทราบตามหนังสือแจ้งอนุมัติสินเชื่อ โจทก์จึงชอบที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ในคดีก่อน ซึ่งเป็นการขอเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและมีความเกี่ยวข้องกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และ 180 การที่โจทก์กลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้อันเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.129/2554 ของศาลชั้นต้น ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
เดิมโจทก์ฟ้องคดีก่อนเป็นคดีผู้บริโภค คดีแพ่งหมายเลขดำที่ ผบ.1543/2552 ของศาลชั้นต้น ต่อมาประธานศาลอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า ไม่เป็นคดีผู้บริโภค และศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคดีไว้พิจารณาเป็นคดีแพ่งสามัญ คดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.129/2554 ให้งดชี้สองสถานและกำหนดวันนัดพิจารณาต่อเนื่อง แต่ค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เกิดจากสถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อซึ่งได้แจ้งให้โจทก์ทราบตามหนังสือแจ้งอนุมัติสินเชื่อ โจทก์จึงชอบที่จะขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องได้ในคดีก่อน ซึ่งเป็นการขอเพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ในฟ้องเดิมที่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาและมีความเกี่ยวข้องกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และ 180 การที่โจทก์กลับมาฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีนี้อันเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาล ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ พ.129/2554 ของศาลชั้นต้น ซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11066/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิ่มเติมฟ้องคดีแพ่งในคดีอาญาต้องฟ้องพร้อมกันตั้งแต่แรก การเพิ่มเติมฟ้องภายหลังไม่ชอบ
คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญานั้นหมายถึงคดีที่การกระทำผิดอาญานั้นก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องทางแพ่งติดตามมาด้วย เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องคดีส่วนอาญาแล้วมีคำสั่งให้ประทับฟ้องและหมายเรียกจำเลยแก้คดีย่อมเป็นการสั่งรับฟ้องคดีส่วนอาญาและคำฟ้องคดีส่วนแพ่งด้วยโดยไม่จำต้องสั่งรับฟ้องคดีส่วนแพ่งอีก ดังนี้ ในการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาโจทก์จึงต้องฟ้องคดีแพ่งมาพร้อมกับคดีอาญาตั้งแต่แรก แต่คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องเฉพาะคดีในส่วนอาญาจนศาลชั้นต้นมีคำสั่งประทับฟ้องและจำเลยให้การต่อสู้คดีแล้วโจทก์จึงมายื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องให้จำเลยรับผิดคดีในส่วนแพ่ง ซึ่งการขอเพิ่มเติมฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 164 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 นั้น ฟ้องเดิมจะต้องสมบูรณ์อยู่แล้ว เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเฉพาะคดีอาญาแล้วต่อมาได้ยื่นคำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องโดยขอให้จำเลยรับผิดในทางแพ่งโดยอ้างว่าโจทก์ต้องจ่ายเงินให้แก่บริษัท บ. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห. และนาย ท. จำเลยจึงต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ ดังนี้คำร้องขอเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างความรับผิดทางแพ่งของจำเลยขึ้นมาใหม่ โจทก์จะมาขอเพิ่มเติมฟ้องเช่นนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10816/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาในคดีอาญาและแพ่งควบคู่กัน ผู้ร้องมีสิทธิฎีกาเฉพาะส่วนแพ่งเมื่อมิได้เข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีอาญา
ผู้ร้องเพียงแต่ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน คำร้องของผู้ร้องเป็นคำฟ้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและผู้ร้องอยู่ในฐานะโจทก์ในคดีส่วนแพ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 วรรคสอง เท่านั้น เมื่อผู้ร้องมิได้ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ ผู้ร้องย่อมไม่มีฐานะเป็นคู่ความอันจะมีสิทธิฎีกาในคดีส่วนอาญาได้ ส่วนที่ผู้ร้องฎีกาขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 เมื่อคดีส่วนอาญาฟังไม่ได้ว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายแล้ว จึงต้องฟังว่าจำเลยมิได้ทำละเมิดอันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้อง