พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,182 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9976/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกล้างโมฆียะกรรมสัญญาประกันชีวิต ต้องนับระยะเวลาจากวันที่ตัวแทนจำเลยทราบมูลเหตุ ไม่ใช่ผู้มีอำนาจ
ช. เป็นพนักงานของจำเลยได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ตรวจสอบและรวบรวมประวัติการรักษาพยาบาลของ ล. ถือได้ว่า ช. เป็นตัวแทนของจำเลยแล้ว ในการตรวจสอบประวัติการเข้ารับการรักษาพยาบาลของ ล. นั้น ช. เป็นผู้ติดตามประวัติ ทำบันทึกข้อความรายงานว่า พบประวัติการรักษาที่โรงพยาบาล อ. และโรงพยาบาล ส. ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่า ล. เป็นโรคถุงลมโป่งพอง และในส่วนของเอกสารประวัติการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล ส. มีรายการครั้งสุดท้ายระบุว่า วันที่ 26 มกราคม 2541 ธนาคาร อ. ขอประวัติ เช่นนี้ไม่ว่า ช. จะได้รับประวัติการตรวจรักษาในวันดังกล่าว หรือได้รับในวันที่ 31 มกราคม 2541 กำหนดระยะเวลาหนึ่งเดือนในการใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม ป.พ.พ. มาตรา 865 วรรคสอง ก็ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ช. ได้รับประวัติการตรวจรักษาของ ล. ซึ่งเป็นการทราบมูลอันจำเลยจะบอกล้างโมฆียะกรรมได้ มิใช่ต้องมีการเสนอเรื่องให้ผู้มีอำนาจของจำเลยพิจารณาหรือรับทราบเสียก่อน เพราะการบอกล้างโมฆียะกรรมเพียงแต่ทราบเค้าเรื่องที่ตกเป็นโมฆียะกรรมก็เป็นการทราบมูลอันจะบอกล้างแล้ว เมื่อจำเลยได้รับประวัติการตรวจรักษาของ ล. จากโรงพยาบาล ข้อเท็จจริงที่ ล. ปกปิดไว้ได้ปรากฏขึ้นจำเลยจึงต้องแสดงเจตนาใช้สิทธิบอกล้างสัญญาประกันชีวิตไปยังผู้รับประโยชน์ภายในหนึ่งเดือนนับแต่เวลานั้น อีกทั้งหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมที่ผู้รับประกันภัยมีถึงผู้รับประโยชน์นั้นย่อมมีผลนับแต่เวลาที่ผู้รับประโยชน์ได้รับหนังสือดังกล่าว ซึ่งโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 ได้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2541 โดยจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้าน ดังนี้ การแสดงเจตนาบอกล้างโมฆียะกรรมของจำเลยจึงไปถึงโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่จำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างโมฆียะกรรมได้ ไม่ว่าจะถือว่าจำเลยทราบมูลอันจะบอกล้างโมฆียะกรรมได้ในวันที่ 26 มกราคม 2541 หรือวันที่ 31 มกราคม 2541 ก็ตาม การใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมของจำเลยจึงไม่ชอบตามมาตรา 865 วรรคสอง
ที่โจทก์ที่ 1 ขอให้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นว่า โจทก์ที่ 1 มีอำนาจฟ้องมาในคำแก้ฎีกานั้น โจทก์ที่ 1 ชอบที่จะยื่นคำฟ้องฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 เพราะโจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้อง จะยื่นมาในคำแก้ฎีกามิได้
ที่โจทก์ที่ 1 ขอให้พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นว่า โจทก์ที่ 1 มีอำนาจฟ้องมาในคำแก้ฎีกานั้น โจทก์ที่ 1 ชอบที่จะยื่นคำฟ้องฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 เพราะโจทก์ที่ 1 ไม่มีอำนาจฟ้อง จะยื่นมาในคำแก้ฎีกามิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7019/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นิติสัมพันธ์ซื้อขาย vs. ตัวแทน สัญญาค้ำประกันขอบเขตความรับผิดชอบ
โจทก์มอบอำนาจให้จำเลยที่ 1 รับสลากกินแบ่งรัฐบาลตามสิทธิของโจทก์จากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกรมสามัญศึกษาจังหวัดเลย จำกัด เพื่อนำไปขายต่อให้บุคคลภายนอก มีลักษณะเป็นสัญญาตัวแทน โจทก์ผูกพันที่จะต้องชำระค่าสลากกินแบ่งแก่สหกรณ์ฯ แต่ในส่วนที่โจทก์มอบสลากกินแบ่งรัฐบาลของตนให้จำเลยที่ 1 นำไปขายต่อให้บุคคลอื่นแล้วนำกำไรหรือส่วนต่างจากการขายมาแบ่งปันระหว่างกันนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า เมื่อจำเลยที่ 1 นำสลากกินแบ่งรัฐบาลของโจทก์ไปจำหน่ายแล้ว จำเลยที่ 1 ต้องนำเงินต้นทุนค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลไปชำระให้แก่สหกรณ์ฯ เพื่อที่โจทก์จะมีสิทธิได้รับสลากกินแบ่งรัฐบาลงวดถัดไปจากสหกรณ์ฯ นำไปจำหน่ายต่อ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์จะมีนิติสัมพันธ์บังคับเอาแก่จำเลยที่ 1 ให้ชำระค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลคืนแก่โจทก์ทุกงวดนอกเหนือจากการแบ่งกำไรส่วนหนึ่งที่โจทก์จะได้รับจากการจำหน่ายสลาก ทั้งปรากฏว่ามีสมาชิกสหกรณ์อีกหลายคนมอบหมายให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการในลักษณะเดียวกันเป็นกิจจะลักษณะเหมือนเป็นผู้อยู่ในวงการซื้อขายโดยตรง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้สร้างกิจการขึ้นมาโดยหวังกำไรจำนวนมากจากส่วนต่างของราคาขายในแต่ละงวดหลังจากแบ่งปันกำไรบางส่วนให้โจทก์และผู้มอบหมายคนอื่นแล้ว เมื่อสภาพการขายสลากกินแบ่งรัฐบาลมีนัยการกำหนดราคาขายไม่ต่ำกว่าต้นทุน การตั้งราคาขายเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้กำหนดและตกลงกับผู้ซื้อโดยอาศัยอำนาจของตนเอง เมื่อพิจารณาประกอบกับจำเลยที่ 1 ทำหนังสือยินยอมรับสภาพหนี้ค่าสลากกินแบ่งรัฐบาลให้แก่สหกรณ์แล้ว ตามพฤติการณ์แห่งคดีจำเลยที่ 1 จึงไม่ใช่ตัวแทนขายในนามโจทก์
หนังสือสัญญากู้ที่จำเลยที่ 1 ทำให้ไว้แก่โจทก์ จึงมีที่มาจากมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้ และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน
หนังสือสัญญากู้ที่จำเลยที่ 1 ทำให้ไว้แก่โจทก์ จึงมีที่มาจากมูลหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อโจทก์จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้ และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3983/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของตัวการและตัวแทนจากการประมาททางรถยนต์
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ในฐานะลูกจ้าง หรือตัวแทน หรือผู้ถูกจ้างวานใช้ของจำเลยที่ 2 ซึ่งขับรถโดยประมาทเฉี่ยวชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยในขณะกระทำการในทางที่จ้างให้จำเลยที่ 2 หรือกระทำการตามที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายให้กระทำการแทน และจำเลยที่ 2 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้เพียงว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 โดยไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า จำเลยที่ 1 มิใช่ตัวแทนของจำเลยที่ 2 ซึ่งกระทำการตามที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวการมอบหมายแต่อย่างใด ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าตนเป็นตัวการมอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนขับรถยนต์ไปตามที่จำเลยที่ 2 มอบหมายให้กระทำ และถือเป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบในข้อนี้ เช่นนี้แล้ว เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 2 ขับรถโดยประมาท จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยรถยนต์คู่กรณี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425 และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่อีกต่อไป เพราะไม่ทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ในฐานะตัวการเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาบริการสรรหาตัวแทนประกันภัยที่มีการจ่ายเงินล่วงหน้าขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันชีวิต และเป็นโมฆะ
พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 33 (7) บัญญัติห้ามมิให้บริษัทกระทำการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จะทำให้แก่บริษัทนั้น ก็ด้วยประสงค์มิให้นายหน้าแสวงหาลูกค้าเข้ามาทำสัญญาประกันชีวิตเพื่อมุ่งหวังค่าตอบแทนจากผลงานเบี้ยประกันภัย โดยมิได้คำนึงถึงผลประโยชน์อันแท้จริงของลูกค้าที่จะได้รับจากการทำสัญญาประกันชีวิตที่อาศัยเหตุความทรงชีพหรือมรณะของลูกค้าผู้เอาประกันภัยเป็นสำคัญ เพราะมิฉะนั้นแล้วจะเป็นการให้บริษัทผู้รับประกันภัยไปสร้างแรงจูงใจแก่นายหน้าประกันชีวิตเพื่อมุ่งหวังค่าตอบแทน โดยมีเป้าหมายเพียงให้บริษัทได้รับเบี้ยประกันภัยเป็นจำนวนมากเท่านั้น ซึ่งขัดกับเจตนารมณ์ของการทำสัญญาประกันชีวิตตามกฎหมาย เมื่อสัญญาบริการที่จำเลยที่ 1 รับจ้างให้บริการสรรหา ฝึกอบรมบุคคลเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทน ผู้บริหารงานขายให้เป็นตัวแทนของโจทก์ทำหน้าที่หาลูกค้าที่สนใจเข้ามาทำประกันภัยกับโจทก์ โดยมีเป้าหมายสำหรับเบี้ยประกันภัยรับปีแรกหลังหักเบี้ยประกันภัยรับที่มีการยกเลิกกรมธรรม์และอื่น ๆ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องทำให้ได้ตามเป้าหมายจำนวน 5,000,000 บาท และโจทก์ได้จ่ายเงินล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 1 จำนวน 1,000,000 บาท โดยได้ระบุค่าตอบแทนในการจัดสรรหาตัวแทนและผู้บริหารงานขายในรอบระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2553 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2554 จำนวนตัวแทนและผู้บริหารงานขาย เป้าหมายผลงานประจำปี ระยะเวลาในการคำนวณผลงาน ค่าตอบแทนเพิ่มเติมจะได้รับภายหลังล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าว รวมทั้งเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรณีที่ตัวแทน และผู้บริหารงานขายไม่สามารถบรรลุเป้าหมายผลงานที่โจทก์จะเรียกคืนค่าตอบแทนในอัตราส่วนต่างที่โจทก์ยังคงให้จำเลยที่ 1 ดำเนินงานตามสัญญาบริการต่อไปหรือไม่ ตามเอกสารแนบท้ายสัญญาบริการ สอดคล้องกับที่ ศ. ผู้จัดการอาวุโสแผนกปฏิบัติการตัวแทน ซึ่งมีหน้าที่ดูแลบริหารงานตัวแทนของโจทก์เบิกความว่า ตามสัญญาบริการ โจทก์จะให้เงินค่าตอบแทนจำเลยเป็นการล่วงหน้าเพื่อให้จำเลยสามารถทำผลงานให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในสัญญา หากไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด โจทก์ก็จะคำนวณให้ผลตอบแทนตามสัดส่วนที่ได้ตกลงไว้ในสัญญา และจำเลยที่ 1 จะต้องคืนผลตอบแทนบางส่วนที่ได้รับล่วงหน้าไปแล้ว การที่โจทก์จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงมีลักษณะเป็นการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าเป็นค่านายหน้า หรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จำเลยที่ 1 จะต้องทำให้แก่โจทก์ หาใช่เป็นการจ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ไม่ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวแต่อย่างใด สัญญาบริการ จึงเป็นสัญญาที่ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 33 (7) เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 การที่โจทก์จ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 1 ไปตามสัญญาดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี โจทก์หาอาจจะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 คืนเงินนั้นได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 411 จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349-3350/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย, การให้สัตยาบัน, ตัวแทน, อนุญาโตตุลาการ: ศาลยืนคำพิพากษาตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า พฤติการณ์ที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ผู้ร้อง และผู้คัดค้านปฏิบัติต่อกันมีลักษณะเป็นการตกลงกันโดยปริยายระหว่างคู่สัญญาสามฝ่ายให้ผู้คัดค้านเข้ามาเป็นคู่สัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้า เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้โดยทำเป็นสัญญาระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านโดยชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์อ้างว่า น. กระทำในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มิได้กระทำในฐานะกรรมการบริษัทผู้คัดค้าน เป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานของศาล และไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นกรณีใดกรณีหนึ่งที่ให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1) ถึง (5) ผู้คัดค้านอุทธรณ์อ้างว่า ผู้คัดค้านมิได้รับโอนสิทธิเรียกร้องหรือความรับผิดมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. และหากมีการโอนสิทธิเรียกร้องแต่การโอนมิได้ทำเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง จึงไม่ผูกพันผู้คัดค้านนั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านมีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ได้
สัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้า ระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. กับผู้ร้อง คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มิได้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องปฏิบัติตามสัญญาได้แต่ฝ่ายเดียว การโอนหนี้ตามสัญญาดังกล่าวย่อมไม่อาจกระทำได้แต่โดยโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง หากกระทำได้แต่ด้วยวิธีแปลงหนี้ใหม่ การแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้น ป.พ.พ. มาตรา 350 บัญญัติเพียงจะทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ก็ได้ แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมหาได้ไม่ ดังนี้ การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มาเป็นผู้คัดค้าน แม้มิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือระหว่างผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่ แต่ก็มิได้เป็นการทำขึ้นโดยขืนใจห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้เดิมแล้ว จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้โดยชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว มีผลให้ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการซึ่งเป็นข้อหนึ่งของสัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้า ย่อมผูกพันผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 13 ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า สัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้าระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านยังไม่เกิด เป็นอุทธรณ์นอกเหนือไปจากที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างในคำคัดค้าน ทั้งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นกรณีใดกรณีหนึ่งที่ให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1) ถึง (5)
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า อ. กรรมการผู้ร้องลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้า โดยไม่ประทับตราสำคัญของบริษัทผู้ร้อง จึงไม่มีผลผูกพันคู่สัญญา ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านมีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ได้ แม้ อ. กรรมการผู้ร้องลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้าโดยมิได้ประทับตราสำคัญของผู้ร้อง เป็นการไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัทผู้ร้องอันได้จดทะเบียนไว้ก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติให้ความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัท และบุคคลภายนอกนั้น ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน กรณีจึงเป็นเรื่อง อ.ในฐานะตัวแทนลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวแทนผู้ร้องซึ่งเป็นตัวการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนือขอบอำนาจ การที่ผู้ร้องได้ยอมรับและปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวมาโดยตลอด จึงเป็นข้อแสดงว่าผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแก่การนั้นแล้ว สัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้าย่อมมีผลผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นตัวการ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการตามข้อสัญญาดังกล่าวได้
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า การตั้ง ส. เป็นอนุญาโตตุลาการเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 โดยผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ในวันนัดสืบพยานนัดสุดท้าย เมื่อความปรากฏเหตุที่ผู้คัดค้านแถลงคัดค้าน ส. อนุญาโตตุลาการถึงเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระ คณะอนุญาโตตุลาการจดบันทึกในรายงานการประชุมเป็นภาษาอังกฤษและแทรกข้อความไว้ในรายงานดังกล่าวว่าสอบถามคู่กรณีแล้วไม่คัดค้านถึงความเป็นกลางและความเป็นอิสระของอนุญาโตตุลาการ โดยผู้คัดค้านไม่ได้สังเกตเห็นข้อความดังกล่าว กรณีนับเป็นความบกพร่องของผู้คัดค้านเอง ทั้งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นกรณีใดกรณีหนึ่งที่ให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1) ถึง (5)
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการให้ผู้คัดค้านชำระเงินในส่วนที่เป็นค่าซื้อกิจการของผู้ร้องในราคา 238,303,046 บาท ทั้ง ๆ ที่ตามสัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้า ข้อ 10 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีสิทธิซื้อกิจการของผู้ร้องได้ในราคา 30,000,000 บาท จึงไม่ตรงตามสัญญานั้น อุทธรณ์ของผู้คัดค้านในข้อนี้ปรากฏว่า คณะอนุญาโตตุลาการกำหนดราคาประเมินกิจการของผู้ร้องตามสัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้า โดยราคาค่าซื้อ/ซื้อกิจการประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน คือเงินที่ต้องชำระตามข้อ 10 และข้อ 14.3 เมื่อผู้คัดค้านมิได้กล่าวอ้างว่า การกำหนดราคาดังกล่าวของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตรงไหน อย่างไร จึงเป็นอุทธรณ์ยกข้อเท็จจริงบางส่วนขึ้นกล่าวอ้างว่าการกำหนดค่าซื้อกิจการของคณะอนุญาโตตุลาการเกินขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ มีผลเท่ากับเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนจากการซื้อกิจการตามข้อ 14.3 ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นกรณีใดกรณีหนึ่งที่ให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 45 (1) ถึง (5)
สัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้า ระหว่างห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. กับผู้ร้อง คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต่างมีหนี้ที่จะต้องปฏิบัติต่อกันตามสัญญา ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มิได้อยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องปฏิบัติตามสัญญาได้แต่ฝ่ายเดียว การโอนหนี้ตามสัญญาดังกล่าวย่อมไม่อาจกระทำได้แต่โดยโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 วรรคหนึ่ง หากกระทำได้แต่ด้วยวิธีแปลงหนี้ใหม่ การแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้น ป.พ.พ. มาตรา 350 บัญญัติเพียงจะทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ก็ได้ แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมหาได้ไม่ ดังนี้ การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มาเป็นผู้คัดค้าน แม้มิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือระหว่างผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่ แต่ก็มิได้เป็นการทำขึ้นโดยขืนใจห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ซึ่งเป็นลูกหนี้เดิมแล้ว จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้โดยชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว มีผลให้ข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการซึ่งเป็นข้อหนึ่งของสัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้า ย่อมผูกพันผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 13 ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า สัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้าระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านยังไม่เกิด เป็นอุทธรณ์นอกเหนือไปจากที่ผู้คัดค้านยกขึ้นอ้างในคำคัดค้าน ทั้งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นกรณีใดกรณีหนึ่งที่ให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1) ถึง (5)
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า อ. กรรมการผู้ร้องลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้า โดยไม่ประทับตราสำคัญของบริษัทผู้ร้อง จึงไม่มีผลผูกพันคู่สัญญา ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้คัดค้านมีสิทธิยกขึ้นอุทธรณ์ได้ แม้ อ. กรรมการผู้ร้องลงลายมือชื่อในสัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้าโดยมิได้ประทับตราสำคัญของผู้ร้อง เป็นการไม่ถูกต้องตามข้อบังคับของบริษัทผู้ร้องอันได้จดทะเบียนไว้ก็ตาม แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติให้ความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัท และบุคคลภายนอกนั้น ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน กรณีจึงเป็นเรื่อง อ.ในฐานะตัวแทนลงลายมือชื่อในสัญญาดังกล่าวแทนผู้ร้องซึ่งเป็นตัวการโดยปราศจากอำนาจหรือนอกเหนือขอบอำนาจ การที่ผู้ร้องได้ยอมรับและปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวมาโดยตลอด จึงเป็นข้อแสดงว่าผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแก่การนั้นแล้ว สัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้าย่อมมีผลผูกพันผู้ร้องซึ่งเป็นตัวการ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการตามข้อสัญญาดังกล่าวได้
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า การตั้ง ส. เป็นอนุญาโตตุลาการเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 โดยผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ในวันนัดสืบพยานนัดสุดท้าย เมื่อความปรากฏเหตุที่ผู้คัดค้านแถลงคัดค้าน ส. อนุญาโตตุลาการถึงเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระ คณะอนุญาโตตุลาการจดบันทึกในรายงานการประชุมเป็นภาษาอังกฤษและแทรกข้อความไว้ในรายงานดังกล่าวว่าสอบถามคู่กรณีแล้วไม่คัดค้านถึงความเป็นกลางและความเป็นอิสระของอนุญาโตตุลาการ โดยผู้คัดค้านไม่ได้สังเกตเห็นข้อความดังกล่าว กรณีนับเป็นความบกพร่องของผู้คัดค้านเอง ทั้งไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นกรณีใดกรณีหนึ่งที่ให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 45 (1) ถึง (5)
อุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่ว่า ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้บังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการให้ผู้คัดค้านชำระเงินในส่วนที่เป็นค่าซื้อกิจการของผู้ร้องในราคา 238,303,046 บาท ทั้ง ๆ ที่ตามสัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้า ข้อ 10 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. มีสิทธิซื้อกิจการของผู้ร้องได้ในราคา 30,000,000 บาท จึงไม่ตรงตามสัญญานั้น อุทธรณ์ของผู้คัดค้านในข้อนี้ปรากฏว่า คณะอนุญาโตตุลาการกำหนดราคาประเมินกิจการของผู้ร้องตามสัญญาซื้อขายไอน้ำและไฟฟ้า โดยราคาค่าซื้อ/ซื้อกิจการประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน คือเงินที่ต้องชำระตามข้อ 10 และข้อ 14.3 เมื่อผู้คัดค้านมิได้กล่าวอ้างว่า การกำหนดราคาดังกล่าวของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตรงไหน อย่างไร จึงเป็นอุทธรณ์ยกข้อเท็จจริงบางส่วนขึ้นกล่าวอ้างว่าการกำหนดค่าซื้อกิจการของคณะอนุญาโตตุลาการเกินขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ มีผลเท่ากับเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในการกำหนดค่าสินไหมทดแทนจากการซื้อกิจการตามข้อ 14.3 ไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นกรณีใดกรณีหนึ่งที่ให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 45 (1) ถึง (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2462/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจตัวแทนเรียกร้องค่าเสียหายจากบริษัทประกันภัย และสิทธิของเจ้าหนี้เมื่อบริษัทไม่จ่ายเงิน
จำเลยเป็นผู้ประสบภัยจากรถ เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นแก่จำเลย บริษัท พ. ผู้รับประกันภัยรถของจำเลยมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่จำเลยเมื่อได้รับคำร้องขอจากจำเลยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 20 โดยโจทก์หามีนิติสัมพันธ์ใดต่อบริษัท พ. ไม่ เว้นแต่โจทก์จะได้รับสิทธิดังกล่าวจากจำเลย เช่น จำเลยตั้งแต่งโจทก์ให้เป็นตัวแทนไปเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัท พ. ให้แก่จำเลย หรือจำเลยแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้โดยโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่โจทก์
จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนดำเนินการเบิกและรับค่ารักษาพยาบาลจากบริษัท พ. กับมีเอกสารคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น บต.4 โดยโจทก์เป็นผู้ขอรับจากบริษัท พ. ซึ่งเป็นแบบพิมพ์ที่ทางราชการจัดทำขึ้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เพื่อใช้ประกอบการใช้สิทธิของจำเลยโดยการตั้งแต่งโจทก์ให้เป็นตัวแทนแนบด้วย นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ในการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัท พ. เป็นการใช้สิทธิในฐานะตัวแทนของจำเลย ตามข้อความที่ปรากฏในหนังสือมอบอำนาจ มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้อันจะพึงต้องใช้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303, 306 และมาตรา 349 วรรคสาม ซึ่งจะเป็นเหตุให้สิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับสิ้นไป ส่วนข้อความที่ปรากฏในเอกสาร บต.4 ว่า "เนื่องจากข้าพเจ้าเป็นหนี้ค้างชำระค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้รับมอบอำนาจ..." ก็เป็นเพียงการให้ข้อเท็จจริงเพื่อให้บริษัท พ. รับทราบประกอบการพิจารณาจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือไม่ ดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากบริษัท พ. โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่ารักษาพยาบาลแก่โจทก์ได้
จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์เป็นตัวแทนดำเนินการเบิกและรับค่ารักษาพยาบาลจากบริษัท พ. กับมีเอกสารคำร้องขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น บต.4 โดยโจทก์เป็นผู้ขอรับจากบริษัท พ. ซึ่งเป็นแบบพิมพ์ที่ทางราชการจัดทำขึ้น ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เพื่อใช้ประกอบการใช้สิทธิของจำเลยโดยการตั้งแต่งโจทก์ให้เป็นตัวแทนแนบด้วย นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิของโจทก์ในการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัท พ. เป็นการใช้สิทธิในฐานะตัวแทนของจำเลย ตามข้อความที่ปรากฏในหนังสือมอบอำนาจ มิใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้อันจะพึงต้องใช้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303, 306 และมาตรา 349 วรรคสาม ซึ่งจะเป็นเหตุให้สิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับสิ้นไป ส่วนข้อความที่ปรากฏในเอกสาร บต.4 ว่า "เนื่องจากข้าพเจ้าเป็นหนี้ค้างชำระค่ารักษาพยาบาลแก่ผู้รับมอบอำนาจ..." ก็เป็นเพียงการให้ข้อเท็จจริงเพื่อให้บริษัท พ. รับทราบประกอบการพิจารณาจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นหรือไม่ ดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากบริษัท พ. โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยจึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้ค่ารักษาพยาบาลแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1873/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องจำเลยในฐานะตัวแทนที่เกินเลยจากคำฟ้อง และความชอบด้วยกฎหมายในการพิพากษาของศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องโดยมีสาระสำคัญว่า จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจ้างโจทก์ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารตึกแถวโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงนามในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแทน แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ว่าจ้างและควบคุมดูแลการปรับปรุงซ่อมแซมและเป็นผู้ออกแบบ เลือกวัสดุ เปลี่ยนแปลงแก้ไขด้วยจำเลยที่ 1 เอง นอกจากโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ต้องรับผิดในฐานะตัวการตามสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างแล้ว ยังฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ต้องรับผิดในฐานะตัวแทนด้วย ซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 820 ตัวการมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันตัวแทนหรือตัวแทนช่วงได้ทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานตัวแทนซึ่งมีความหมายว่าหากจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ในฐานะตัวแทนไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์ฟ้องด้วย จำเลยที่ 2 ให้การและนำสืบว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง แต่โจทก์มิได้ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดฐานะตัวการ คงฟ้องจำเลยที่ 2 ว่าเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้าง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดในสัญญาจ้างเหมาก่อสร้างในฐานะตัวการ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง การที่ศาลพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15572/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือครองกรรมสิทธิ์แทนกัน: โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ จำเลยถือครองแทน สิทธิคืนแก่เจ้าของ
ปัญหาว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำหรือไม่ แม้จำเลยมิได้ยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แต่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง
โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพร้อมเพื่อให้โจทก์หาเงินมาชำระค่าขึ้นศาล เป็นการทิ้งฟ้องและศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์โดยที่ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้อง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์ให้จำเลยเป็นตัวแทนมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และฟ้องบังคับให้จำเลยคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคหนึ่ง แม้ไม่ได้ทำหนังสือตั้งให้เป็นตัวแทนก็ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง
โจทก์สืบพยานบุคคลว่าผู้มีชื่อในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและในโฉนดเป็นตัวแทนของโจทก์นั้น หาได้สืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือตามความหมายใน ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) นั้นไม่ แต่เป็นการสืบพยานในข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง จึงหาใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือแต่ประการใด
โจทก์ไม่มาศาลในวันนัดพร้อมเพื่อให้โจทก์หาเงินมาชำระค่าขึ้นศาล เป็นการทิ้งฟ้องและศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์โดยที่ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้อง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
โจทก์ให้จำเลยเป็นตัวแทนมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และฟ้องบังคับให้จำเลยคืนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ เป็นเรื่องตัวการฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากจำเลยซึ่งเป็นตัวแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 810 วรรคหนึ่ง แม้ไม่ได้ทำหนังสือตั้งให้เป็นตัวแทนก็ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง
โจทก์สืบพยานบุคคลว่าผู้มีชื่อในหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและในโฉนดเป็นตัวแทนของโจทก์นั้น หาได้สืบในข้อพิพาทระหว่างคู่สัญญาซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือตามความหมายใน ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) นั้นไม่ แต่เป็นการสืบพยานในข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยในกรณีตัวแทนอีกส่วนหนึ่ง จึงหาใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารที่กฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15116/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจช่วงฟ้องคดี: อำนาจของผู้รับมอบอำนาจช่วงต้องชัดเจนตามขอบเขตที่ได้รับมอบหมาย
หนังสือมอบอำนาจของโจทก์โดยผู้อำนวยการได้มอบอำนาจให้ ธ. รองผู้อำนวยการ มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ในบรรดากิจการต่าง ๆ ซึ่งรวมทั้งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งด้วย โดยความตอนท้ายระบุว่า "ในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจแต่งตั้งทนายความเพื่อว่าต่างแก้ต่างคดีหรือมอบอำนาจให้ตัวแทนช่วงดำเนินการแทนได้ในทุกกรณีแห่งกิจการที่มอบอำนาจ" ธ. จึงมอบอำนาจช่วงให้ ร. ผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมายมีอำนาจกระทำการแทนรวมทั้งเป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งได้ เพราะเป็นการมอบอำนาจช่วงที่มีการให้อำนาจไว้ แต่การที่ ร. มอบอำนาจช่วงต่อให้ อ. ฟ้องจำเลยทั้งห้าแทนโจทก์อีกต่อหนึ่งนั้น เป็นการกระทำนอกขอบเขตของหนังสือมอบอำนาจเพราะหนังสือมอบอำนาจดังกล่าว มิได้ระบุให้อำนาจผู้ที่ได้รับมอบอำนาจช่วงจาก ธ. มีอำนาจมอบอำนาจช่วงให้บุคคลอื่นต่อไปอีกช่วงหนึ่งได้ด้วย อ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ (ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1116 - 1117/2495 (ประชุมใหญ่) แม้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 จะมิได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ แต่คำพิพากษาคดีนี้เกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้คำวินิจฉัยในปัญหานี้มีผลไปถึงจำเลยอื่นซึ่งเป็นคู่ความในคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกาตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14778/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผูกพันจำเลยจากการสั่งจ่ายเช็คโดยกรรมการ แม้ไม่มีตราประทับ เช็คถือเป็นเอกสารที่จำเลยเชิดให้กรรมการทำนแทน
จำเลยเปิดบัญชีเดินสะพัดไว้กับธนาคารและระบุเงื่อนไขการสั่งจ่ายเช็คว่า ว. กรรมการของจำเลยจะลงลายมือชื่อในเช็คและประทับตราสำคัญของจำเลย ซึ่งตรงกับการกระทำของผู้แทนนิติบุคคลที่จะผูกพันจำเลยได้จะต้องลงลายมือชื่อ ว. กรรมการกับประทับตราสำคัญตามหนังสือรับรองบริษัท แต่ ว. ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทโดยไม่ประทับตราสำคัญ เมื่อเช็คพิพาทสั่งจ่ายเงินจากบัญชีของจำเลยและด้านหน้าก็พิมพ์ชื่อจำเลยไว้ บุคคลที่รับเช็คย่อมเข้าใจว่าเป็นเช็คของจำเลย การที่ ว. กรรมการจำเลยสั่งจ่ายเช็คพิพาท ถือได้ว่าจำเลยเชิด ว. แสดงออกเป็นตัวแทนของตน จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 ที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า ว. สั่งจ่ายเช็คพิพาทในนามของตนเอง จึงรับฟังไม่ได้