พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,104 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4516/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะนายจ้าง-ลูกจ้างซ้อน: การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างขัดเจตนารมณ์กฎหมายแรงงานสัมพันธ์
โจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลยมีหน้าที่สอบสวนลงโทษลูกจ้าง มีอำนาจออกหนังสือเตือนลูกจ้างที่กระทำความผิด จึงเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนจำเลยเกี่ยวกับการลงโทษและจ้างลูกจ้างของจำเลยแทนจำเลย โจทก์จึงมีฐานะเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 5 แม้ว่าโจทก์จะเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่ฐานะนายจ้างและลูกจ้างนั้นมีผลประโยชน์บางส่วนที่ขัดกัน การที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างจึงขัดต่อเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างตามมาตรา 50 จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีฐานะเป็นกรรมการลูกจ้างและไม่ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 52 จำเลยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานในการเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4516/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฐานะนายจ้างที่ซ้อนทับ: การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างขัดเจตนารมณ์กฎหมายแรงงานสัมพันธ์
โจทก์เป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคลของจำเลย มีหน้าที่สอบสวนลงโทษลูกจ้างมีอำนาจออกหนังสือเตือนลูกจ้างที่กระทำความผิด อันเป็นอำนาจหน้าที่ในการลงโทษลูกจ้างของจำเลย อีกทั้งตามสัญญาจ้างแรงงานโจทก์ลงนามแทนจำเลย โจทก์เป็นผู้รับมอบอำนาจให้ทำสัญญาจ้างลูกจ้างเข้าทำงานกับจำเลยแทนจำเลย อันเป็นอำนาจหน้าที่ในการจ้างลูกจ้างของจำเลย โจทก์จึงเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ทำการแทนจำเลยในส่วนที่เกี่ยวกับการลงโทษ และจ้างลูกจ้างของจำเลยแทนจำเลย โจทก์จึงมีฐานะเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 5 แม้ว่าโจทก์จะเป็นลูกจ้างของจำเลย แต่ฐานะนายจ้างและลูกจ้างนั้นมีผลประโยชน์บางส่วนที่ขัดกัน การที่สหภาพแรงงาน อ. แต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างจึงขัดต่อเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของการประชุมระหว่างนายจ้างกับคณะกรรมการลูกจ้างตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 50 ที่บัญญัติให้นายจ้างต้องจัดให้มีการประชุมหารือกับคณะกรรมการลูกจ้างเพื่อจัดสวัสดิการแก่ลูกจ้าง กำหนดข้อบังคับในการทำงาน พิจารณาคำร้องทุกข์ของลูกจ้าง หาทางปรองดองและระงับข้อขัดแย้งในสถานประกอบกิจการ ร้องขอให้ศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยในกรณีที่เห็นว่าการกระทำของนายจ้างจะทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือได้รับความเดือดร้อนเกินสมควร การแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ไม่มีฐานะเป็นกรรมการลูกจ้างและไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 52 จำเลยไม่จำต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานในการเลิกจ้างโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดนายจ้างในฐานะผู้รับผิดชอบการกระทำของลูกจ้าง ต้องเริ่มนับจากวันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องชดใช้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 นายจ้างร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 1 ได้กระทำไปในทางการที่จ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 โดยโจทก์นำคดีนี้มาฟ้องในวันที่ 22 เมษายน 2545 และบรรยายคำฟ้องว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2542 แม้การกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 มีมูลอันเป็นความผิดที่มีโทษตาม ป.อ. โดยศาลจังหวัดสงขลามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและได้รับอันตรายสาหัสก็ตาม แต่การเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตาม ป.อ. ซึ่งให้นับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง นั้น หมายความเฉพาะการเรียกร้องจากตัวผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมในการกระทำผิดโดยเฉพาะ มิได้หมายความถึงผู้อื่นที่ไม่ได้ร่วมในการกระทำผิดด้วย ดังนี้ การเรียกร้องค่าเสียหายเอาแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้าง จึงต้องใช้อายุความตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง คือภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือภายใน 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า เหตุคดีนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2542 แต่โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีละเมิด เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2545 หลังเกิดเหตุเป็นเวลา 3 ปีเศษ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ย่อมเป็นการแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้เป็นที่เข้าใจแล้วว่า นับแต่วันเกิดเหตุละเมิดถึงวันฟ้อง คดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ไปแล้ว คำให้การของจำเลยที่ 2 ซึ่งต่อสู้เรื่องอายุความจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงมีประเด็นเรื่องอายุความ แต่การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดเมื่อเกิน 1 ปี โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เพิ่งรู้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ที่จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ย่อมขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดนายจ้างจากเหตุลูกจ้างกระทำละเมิด: ใช้อายุความ 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิด
การเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งให้นับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสอง นั้นหมายความเฉพาะการเรียกร้องจากตัวผู้กระทำผิดหรือผู้ร่วมในการกระทำผิดโดยเฉพาะ มิได้หมายถึงผู้อื่นที่ไม่ได้ร่วมในการกระทำความผิดด้วย การเรียกร้องค่าเสียหายเอาแก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้าง จึงต้องใช้อายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 วรรคหนึ่ง เมื่อจำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่า เหตุคดีนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2542 แต่โจทก์มาฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีละเมิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2545 หลังเกิดเหตุเป็นเวลา 3 ปีเศษ ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ย่อมเป็นการแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความให้เป็นที่เข้าใจแล้วว่า นับแต่วันเกิดเหตุละเมิดถึงวันฟ้องคดีโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ไปแล้ว คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง คดีสำหรับจำเลยที่ 2 จึงมีประเด็นเรื่องอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3039/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินค่าจ้างเป็นเงินประกันโดยไม่ได้รับความยินยอม เป็นการฝ่าฝืนกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นายจ้างต้องคืนเงินให้ลูกจ้าง
จำเลยที่ 2 เป็นช่างซ่อมบำรุง ไม่ได้รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินของโจทก์ ที่โจทก์หักค่าจ้างร้อยละ 5 ไว้เป็นเงินประกันหรือเงินสะสมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 2 เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 10, 76 ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยที่ 2 จะดำเนินธุรกิจแข่งขันกับโจทก์ในขณะที่ยังเป็นลูกจ้างของโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหาย และจำเลยที่ 2 ใช้เวลาทำงานไปทำกิจการส่วนตัวอันเป็นการทุจริตเวลาทำงานของโจทก์ซึ่งเป็นการผิดระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ข้อ 10.2 หรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมไม่อาจอ้างระเบียบข้อบังคับการทำงานของโจทก์เพื่อปฏิเสธที่จะคืนเงินค่าจ้างของจำเลยที่ 2 ที่โจทก์หักไว้ หากจำเลยที่ 2 กระทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในระหว่างที่จำเลยที่ 2 ยังเป็นลูกจ้างโจทก์ก็ชอบที่โจทก์จะดำเนินคดีฟ้องร้องให้จำเลยที่ 2 ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ดังที่ได้ดำเนินคดีไว้แล้ว เมื่อจำเลยที่ 2 ลาออกจากการเป็นลูกจ้าง โจทก์ต้องคืนเงินค่าจ้างที่หักไว้แก่จำเลยที่ 2 คดีไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งให้โจทก์คืนเงินที่โจทก์หักจากค่าจ้างของจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10267-10271/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหลังโอนกิจการ นายจ้างเดิมและผู้รับโอนมีหน้าที่รับผิดร่วมกัน
ปรากฏตามสัญญาการโอนกิจการว่า โดยที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐและเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ในกิจการของจำเลยทั้งสอง มีนโยบายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพของบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินถือหุ้นเพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันและสะดวกต่อการกำกับดูแลรวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยการลดหรือใช้ต้นทุนร่วมกัน กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจึงเห็นควรให้มีการโอนกิจการจำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 2 รับโอนสินทรัพย์ทุกชนิด หนี้สินและภาระผูกพันทั้งหมด ยกเว้นลูกหนี้ที่ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมทั้งรับพนักงานของจำเลยที่ 1 ที่สมัครใจทำงานกับจำเลยที่ 2 ภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ในโครงการโอนกิจการที่เสนอต่อธนาคารแห่งประเทศไทย และปรากฏตามโครงการโอนกิจการที่จำเลยที่ 1 จัดทำเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทและที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติและนำเสนอธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อทราบว่า จำเลยที่ 2 จะรับโอนพนักงานของจำเลยที่ 1 ประมาณ 200 คน ตามความสมัครใจ ซึ่งผู้บริหารของจำเลยทั้งสองจะได้พิจารณาร่วมกันต่อไป ดังนั้น การโอนกิจการดังกล่าวจึงเป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 99.99 ในกิจการของจำเลยทั้งสองให้การบริหารหนี้ด้อยคุณภาพมีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้นโดยมีข้อตกลงรับโอนพนักงานของจำเลยที่ 1 ไปทำงานกับจำเลยที่ 2 ด้วย การที่จำเลยที่ 2 มีหนังสือแจ้งแก่โจทก์ทั้งห้าว่าไม่มีตำแหน่งงานที่เหมาะสมกับโจทก์ทั้งห้าและไม่สามารถรับโจทก์ทั้งห้าเข้าเป็นพนักงานของจำเลยที่ 2 ได้ และต่อมาจำเลยที่ 1 ได้เลิกจ้างโจทก์ทั้งห้า จึงเป็นการเลิกจ้างโดยจำเลยที่ 1 ผู้โอนกิจการและจำเลยที่ 2 ผู้รับโอนกิจการมิได้ประสบภาวะความจำเป็นหรือขาดทุนจนถึงกับต้องเลิกจ้างพนักงาน ทั้งมิใช่เกิดจากการกระทำความผิดของโจทก์ทั้งห้าจนถึงกับต้องถูกเลิกจ้าง ส่วนการจัดหาตำแหน่งงานให้โจทก์ทั้งห้าก็เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะต้องพิจารณาร่วมกันให้โจทก์ทั้งห้าไปปฏิบัติหน้าที่ที่เหมาะสมต่อไป เมื่อจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ทั้งห้าจึงเป็นการเลิกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรและเพียงพอ เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4197/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดต่อละเมิดจากลูกจ้างที่ขับรถปฏิบัติงาน แม้มีการเบิกถอนเงินส่วนตัวช่วงปฏิบัติงาน
ม. ใช้รถกระบะคันเกิดเหตุไปปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับคำสั่ง โดยให้จำเลยที่ 1 นั่งรถไปที่ป่าบุห้าร้อยบริเวณที่จะออกตรวจลาดตระเวนพร้อมกับเจ้าหน้าที่อื่นด้วยและขอร้องให้จำเลยที่ 1 ขับรถกลับไปที่หน่วยห้วยคำภู ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ขับรถกระบะคันเกิดเหตุไปและอยู่ที่หน่วยดังกล่าวคนเดียวจนถึงวันเกิดเหตุ ทั้งที่ ม. เบิกความว่า ขณะนั้นจำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 แล้ว แต่กลับยินยอมให้จำเลยที่ 1 นั่งรถไปคันเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงความผูกพันในหน้าที่เดิมอย่างไม่ขาดตอน พฤติการณ์แห่งคดีจึงบ่งชี้ชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ยังมีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 อยู่อย่างไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนจำเลยที่ 1 จะมีสัญญาหรือข้อตกลงในการทำงานกับจำเลยที่ 2 อย่างไร เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 หาได้มีผลผูกพันบุคคลภายนอกซึ่งรวมถึงโจทก์ทั้งสองด้วยไม่ เพราะการว่าจ้างจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างชั่วคราวอันถือเป็นการจ้างแรงงานนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 มิได้บัญญัติว่าต้องทำเป็นหนังสือ คำเบิกความของ ม. ที่เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นพิจารณาว่า จำเลยที่ 1 อยู่ที่หน่วยห้วยคำภูเพื่อรอขนย้ายสิ่งของเท่านั้น จึงขัดต่อพฤติการณ์ที่ ม. สั่งให้จำเลยที่ 1 นั่งรถกระบะคันเกิดเหตุไปยังบริเวณที่จะออกตรวจลาดตระเวน กับสั่งให้ขับรถกระบะคันเกิดเหตุกลับไปที่หน่วย พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 2 นำสืบยังไม่อาจฟังหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งสองซึ่งมีน้ำหนักมากกว่า ข้อเท็จจริงแห่งคดีจึงรับฟังได้ว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ยังเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ส่วนข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ขับรถกระบะคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 หรือไม่นั้น ตามคำสั่ง 96/2557 เป็นกรณีที่จำเลยที่ 2 อนุญาตให้ ม. ใช้รถกระบะคันเกิดเหตุได้ตลอดเวลาที่ต้องปฏิบัติงาน ม. จึงมีอำนาจใช้และมีหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบรถกระบะคันเกิดเหตุ การที่ ม. ใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถกระบะดังกล่าวไปที่หน่วยห้วยคำภู และอยู่ประจำที่หน่วยดังกล่าวเพื่อรอรับ ม. กับเจ้าหน้าที่อื่นพร้อมกับผู้ต้องหาที่ถูกจับ การขับรถกระบะคันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 จึงอยู่ในระหว่างการปฏิบัติงานตามหน้าที่ของจำเลยที่ 2 หาได้เป็นการกระทำนอกอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ไม่ การที่จำเลยที่ 1 ขับรถกระบะคันเกิดเหตุไปเบิกถอนเงินแม้เป็นธุระส่วนตัว และบริเวณที่เกิดเหตุไม่ได้อยู่ในเขตทำการที่จำเลยที่ 2 รับผิดชอบ แต่การที่จำเลยที่ 1 ขับรถไปกลับเป็นช่วงเวลาต่อเนื่องคาบเกี่ยวกับงานที่จำเลยที่ 2 มอบหมาย ถือได้ว่าขณะนั้นจำเลยที่ 1 ยังอยู่ในระหว่างปฏิบัติงานให้จำเลยที่ 2 นายจ้าง จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดร่วมในเหตุละเมิดที่เกิดขึ้นด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 425
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3115-3126/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชุมนุมประท้วงในพื้นที่ส่วนบุคคลและการละเมิดสิทธิของนายจ้างต่อกรรมการลูกจ้าง
จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 กับพวกนัดหยุดงานโดยชอบตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 34 แต่โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 กับพวกเข้าไปใช้พื้นที่ดังกล่าวในการนัดหยุดงานนั้น ย่อมมีสิทธิใช้สอยพื้นที่ของตน รวมทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับพื้นที่นั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เข้าไปร่วมชุมนุมนัดหยุดงานในพื้นที่ของโจทก์ที่ 1 แม้ว่าจะมีสาเหตุสืบเนื่องมาจากการนัดหยุดงานโดยชอบก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ไม่ได้รับอนุญาตหรือได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 หรือมีกฎหมายบัญญัติให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 กระทำได้ การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 จึงเป็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินของโจทก์ที่ 1 นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 ศาลแรงงานภาค 2 มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามคำร้องของโจทก์ทั้งสอง โดยให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ออกจากที่ดินของโจทก์ที่ 1 รวมทั้งรื้อถอนเต็นท์ เคลื่อนย้ายรถยนต์ สุขาเคลื่อนที่ พร้อมสิ่งกีดขวางอื่น ๆ ออกไป แสดงว่าโจทก์ที่ 1 ได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่าไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 ใช้พื้นที่ของโจทก์ที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 จึงเป็นการจงใจทำให้โจทก์ที่ 1 ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เข้าไปชุมนุมนัดหยุดงานในพื้นที่ของโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นทางเข้าโรงงานของโจทก์ที่ 2 โดยนำเต็นท์ขนาดใหญ่ เครื่องขยายเสียงและรถยนต์สุขาเคลื่อนที่เข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว จากนั้นทำการชุมนุมปราศรัยห่างจากโรงงานของโจทก์ที่ 2 ประมาณ 100 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ใกล้ชิดกับโรงงานของโจทก์ที่ 2 ย่อมทำให้โจทก์ที่ 2 และลูกจ้างที่ทำงานอยู่ในโรงงานได้รับความเดือดร้อนรำคาญจากการใช้เครื่องขยายเสียงดังกล่าว การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2การพิจารณาว่ากรณีมีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้เลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหรือไม่ เป็นคนละกรณีกับการพิจารณาว่าการเลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างหรือไม่ ประกอบกับโจทก์ทั้งสองยังไม่ได้เลิกจ้างจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ที่ 8 ที่ 9 และที่ 11 ถึงที่ 13 ศาลแรงงานภาค 2 จึงไม่จำต้องพิพากษาถึงค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และเงินอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเลิกจ้างในการพิจารณาคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างนั้น ต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 52 ว่ากรณีมีเหตุสมควรที่นายจ้างจะเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหรือไม่ คดีนี้ศาลแรงงานภาค 2 รับฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 3 กล่าวปราศรัยด่า ด. ส. และ พ. ว่า "ไอ้เหี้ย ไอ้สัตว์ ไอ้ผู้หญิงขายตัว ไอ้พวกขายตัว" และจำเลยที่ 8 แต่งภาพของ ส. ซึ่งเป็นผู้บริหารโดยใส่จมูกเป็นจมูกสุนัข มีการแต่งหน้าใส่รูปจมูกสุนัข ดังนี้ เมื่อพิจารณาคำกล่าวปราศรัยของจำเลยที่ 3 และการกระทำของจำเลยที่ 8 แล้ว เป็นการดูหมิ่นผู้บริหารของโจทก์ทั้งสองโดยเปรียบเทียบว่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานชั้นต่ำ เป็นคนขายตัว เป็นคนไม่มีคุณค่า และเปรียบเทียบ ส. ว่าเป็นสัตว์ประเภทสุนัข การกระทำของจำเลยที่ 3 และที่ 8 เป็นการก้าวร้าวไม่เคารพยำเกรงผู้บังคับบัญชา มิใช่เป็นเพียงวาจาไม่สุภาพ และเมื่อศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า การชุมนุมนัดหยุดงานของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 9 เป็นการเข้าไปในพื้นที่ของโจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 1 ไม่ยินยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6260/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดเมื่อลูกจ้างบรรทุกน้ำหนักเกินเพราะปล่อยปละละเลยในการควบคุม แม้กำชับแล้ว
ผู้ร้องมีรถบรรทุกของกลางไว้เพื่อประกอบกิจการขนส่งสินค้าทางการเกษตร การที่ผู้ร้องกำชับจำเลยมิให้นำรถไปใช้ผิดกฎหมายหรือบรรทุกน้ำหนักเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดเป็นเพียงวิธีการควบคุมเบื้องต้นและเป็นเรื่องภายในระหว่างผู้ร้องกับจำเลยเท่านั้น แต่ผู้ร้องยังมีหน้าที่ตรวจตราโดยหาวิธีอื่นมาควบคุมมิให้จำเลยบรรทุกน้ำหนักเกินอีกด้วย และแม้จะฟังได้ว่ามีการนำรถบรรทุกของกลางไปตรวจชั่งน้ำหนักจริงก็ตาม แต่การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างให้จำเลยไปตรวจชั่งน้ำหนักที่สถานที่ตรวจชั่งน้ำหนักของเอกชนซึ่งมีมาตรฐานแตกต่างกับทางราชการจนทำให้มีการบรรทุกน้ำหนักเกินไปถึง 800 กิโลกรัมนั้น ส่อแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องปล่อยปละละเลยจนจำเลยขับรถบรรทุกของกลางบรรทุกมันสำปะหลังน้ำหนักเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด อันถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5985/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลละเมิด แม้จะมีการว่าจ้างผู้รับเหมาช่วง การแสดงออกว่าลูกจ้างเป็นผู้ปฏิบัติงานตามหน้าที่ของนายจ้าง
โจทก์ทั้งสามบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล มี ช. เป็นนายกเทศมนตรีนครนครศรีธรรมราช และเป็นเจ้าของผู้ครอบครองรถบรรทุกคันเกิดเหตุ ในวันเกิดเหตุ ร. ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุเพื่อปฏิบัติหน้าที่เก็บขนถ่ายขยะตามคำสั่งของจำเลยทั้งสอง แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวในคำฟ้องว่า ที่ข้างรถบรรทุกคันเกิดเหตุมีข้อความว่า เทศบาลนครนครศรีธรรมราช แต่จำเลยที่ 1 ให้การว่า จำเลยที่ 1 เป็นเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้ว่าจ้างจำเลยที่ 2 เป็นผู้ดำเนินการเก็บขนขยะมูลฝอยเทศบาลนครนครศรีธรรมราชแทนจำเลยที่ 1 ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 รับว่า ร. ทำหน้าที่ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุเพื่อเก็บขนขยะในนามของจำเลยที่ 1 ตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 เมื่อการเก็บขนขยะเป็นภารกิจของเทศบาล การขับรถเก็บขนขยะของ ร. จึงเป็นการทำไปตามหน้าที่ในภารกิจของจำเลยที่ 1 พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมเป็นการแสดงออกแก่บุคคลทั่วไปว่า ร. เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และรถบรรทุกคันเกิดเหตุเป็นของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 ว่าจ้างจำเลยที่ 2 ดำเนินการเก็บขนขยะในนามของจำเลยที่ 1 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างของ ร. ด้วย ส่วนจำเลยที่ 1 จะมีสัญญาหรือข้อตกลงกับจำเลยที่ 2 อย่างไร ก็เป็นเรื่องที่จะบังคับกันระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เท่านั้น หาได้มีผลผูกพันกับบุคคลภายนอกซึ่งรวมถึงโจทก์ทั้งสามด้วยไม่ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ร. ขับรถบรรทุกคันเกิดเหตุไปในทางการที่จ้างของจำเลยทั้งสองและกระทำละเมิด จำเลยทั้งสองจึงต้องร่วมกับ ร. รับผิดในผลแห่งละเมิดที่ ร. กระทำด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 425