พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,243 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5559/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกง: ผู้เสียหายคือใคร และศาลฎีกาสามารถรับฟังข้อเท็จจริงใหม่จากพยานหลักฐานได้
คดีนี้จำเลยที่ 1 ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2553 ต่อมาวันที่ 20 พฤศจิกายน 2555 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 1 ในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งจำเลยที่ 1 อาจฎีกาเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 224 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 แม้ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ทราบ ซึ่งเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและยังคงให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไม่เกินห้าปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 จำเลยที่ 1ฎีกาในข้อที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาว่า พยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดตามฟ้อง เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 4 อันเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาจำเลยที่ 1 ในข้อนี้ และเมื่อฎีกาของจำเลยที่ 1 ในข้อนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามที่วินิจฉัยมาแล้ว จึงไม่เป็นการจำเป็นที่ศาลฎีกาจะสั่งให้ส่งสำนวนคืนศาลชั้นต้นเพื่อแจ้งคำสั่งไม่รับฎีกาในข้อดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 ทราบ
แม้ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 222 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฟังข้อเท็จจริงว่า ป. เป็นผู้เสียหายคดีนี้ก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยังฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 1 ชักชวน ป. กรรมการผู้จัดการบริษัท ป. ให้ลงทุนซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารเรือ กองการบินทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยบอกว่าจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือนของเงินที่นำไปลงทุน ต่อมา ป. สั่งจ่ายเช็คของบริษัท ป. ให้แก่จำเลยที่ 1 ไป 16 ฉบับ รวมเป็นเงิน 11,537,000 บาท และได้รับเงินจากจำเลยที่ 1 คืนมารวม 3,132,000 บาท ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฟังข้อเท็จจริงว่า ป. เป็นผู้เสียหาย จึงขัดกับข้อเท็จจริงเรื่องพฤติการณ์ในการกระทำความผิดที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับฟังเป็นยุติอันเป็นการผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวน ซึ่งศาลฎีกาสามารถฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับฟังมาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) (ก) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ได้ความจากคำเบิกความของ ป. ว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 จำเลยทั้งสองไปหา ป. ที่สถานีบริการน้ำมันของบริษัทโจทก์ร่วม ชักชวนให้เอาเงินไปลงทุนซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารเรือ ที่กองการบินทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือนของเงินที่นำไปลงทุน หลังจากนั้น ป. ได้สั่งจ่ายเช็คซึ่งเป็นเช็คของโจทก์ร่วมให้จำเลยทั้งสองรวม 16 ฉบับ เพื่อนำไปร่วมลงทุนซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารเรือ โดยมีการหักค่าตอบแทนไว้ก่อน ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็เบิกความเจือสมว่า ได้ชักชวน ป. ให้ลงทุนซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารเรือ โดย ป. สั่งจ่ายเช็คของโจทก์ร่วมให้จำเลยที่ 1 เป็นเงินลงทุน เมื่อได้รับเช็คดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ก็จะนำไปเรียกเก็บเงิน เห็นว่า ป. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วม การที่จำเลยที่ 1 ไปหลอกลวง ป. จน ป. หลงเชื่อและสั่งจ่ายเช็คของโจทก์ร่วมให้จำเลยที่ 1 ไป เท่ากับเป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมด้วยเพราะการไปหลอกลวงนิติบุคคลย่อมต้องหลอกลวงผู้แทนนิติบุคคล ทั้งจำเลยที่ 1 ย่อมไม่สนใจว่าจะหลอกลวง ป. ในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะผู้ทำการแทนโจทก์ร่วม ขอให้ได้รับเงินมาจากการหลอกลวงเท่านั้น และจำเลยที่ 1 ได้เงินมาจากการนำเช็คของโจทก์ร่วมทุกฉบับไปเรียกเก็บเงิน เงินที่จำเลยที่ 1 รับไปย่อมเป็นเงินของโจทก์ร่วมทั้งสิ้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหลอกลวงโจทก์ร่วมด้วย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย เมื่อได้ความจากคำเบิกความของพันตำรวจตรี ต. พนักงานสอบสวน ประกอบรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมาย จ.5 ว่า ป. กรรมการผู้จัดการของบริษัท ป. มาแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง โดยกล่าวหาว่าบุคคลทั้งสองร่วมกันฉ้อโกง โดย ป. ได้ลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราของบริษัท ป. ไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าว ดังนี้ ป. จึงร้องทุกข์ในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ป. อันเป็นการกระทำแทนบริษัท ป. การร้องทุกข์จึงชอบด้วยกฎหมาย พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของโจทก์ร่วม และยกคำขอให้จำเลยที่ 1 คืนเงิน 8,405,000 บาท จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์ร่วมจะไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
แม้ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามฎีกาของจำเลยที่ 1 ศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 222 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฟังข้อเท็จจริงว่า ป. เป็นผู้เสียหายคดีนี้ก็ตาม แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยังฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า จำเลยที่ 1 ชักชวน ป. กรรมการผู้จัดการบริษัท ป. ให้ลงทุนซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารเรือ กองการบินทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี โดยบอกว่าจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือนของเงินที่นำไปลงทุน ต่อมา ป. สั่งจ่ายเช็คของบริษัท ป. ให้แก่จำเลยที่ 1 ไป 16 ฉบับ รวมเป็นเงิน 11,537,000 บาท และได้รับเงินจากจำเลยที่ 1 คืนมารวม 3,132,000 บาท ดังนี้การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ฟังข้อเท็จจริงว่า ป. เป็นผู้เสียหาย จึงขัดกับข้อเท็จจริงเรื่องพฤติการณ์ในการกระทำความผิดที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับฟังเป็นยุติอันเป็นการผิดไปจากพยานหลักฐานในสำนวน ซึ่งศาลฎีกาสามารถฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 รับฟังมาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (3) (ก) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ได้ความจากคำเบิกความของ ป. ว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม 2546 จำเลยทั้งสองไปหา ป. ที่สถานีบริการน้ำมันของบริษัทโจทก์ร่วม ชักชวนให้เอาเงินไปลงทุนซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารเรือ ที่กองการบินทหารเรือ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งจะได้รับผลตอบแทนเป็นเงินอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือนของเงินที่นำไปลงทุน หลังจากนั้น ป. ได้สั่งจ่ายเช็คซึ่งเป็นเช็คของโจทก์ร่วมให้จำเลยทั้งสองรวม 16 ฉบับ เพื่อนำไปร่วมลงทุนซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารเรือ โดยมีการหักค่าตอบแทนไว้ก่อน ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็เบิกความเจือสมว่า ได้ชักชวน ป. ให้ลงทุนซื้อเบี้ยเลี้ยงทหารเรือ โดย ป. สั่งจ่ายเช็คของโจทก์ร่วมให้จำเลยที่ 1 เป็นเงินลงทุน เมื่อได้รับเช็คดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 ก็จะนำไปเรียกเก็บเงิน เห็นว่า ป. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วม การที่จำเลยที่ 1 ไปหลอกลวง ป. จน ป. หลงเชื่อและสั่งจ่ายเช็คของโจทก์ร่วมให้จำเลยที่ 1 ไป เท่ากับเป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมด้วยเพราะการไปหลอกลวงนิติบุคคลย่อมต้องหลอกลวงผู้แทนนิติบุคคล ทั้งจำเลยที่ 1 ย่อมไม่สนใจว่าจะหลอกลวง ป. ในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะผู้ทำการแทนโจทก์ร่วม ขอให้ได้รับเงินมาจากการหลอกลวงเท่านั้น และจำเลยที่ 1 ได้เงินมาจากการนำเช็คของโจทก์ร่วมทุกฉบับไปเรียกเก็บเงิน เงินที่จำเลยที่ 1 รับไปย่อมเป็นเงินของโจทก์ร่วมทั้งสิ้น พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวย่อมถือได้ว่าเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหลอกลวงโจทก์ร่วมด้วย โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้เสียหาย เมื่อได้ความจากคำเบิกความของพันตำรวจตรี ต. พนักงานสอบสวน ประกอบรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเอกสารหมาย จ.5 ว่า ป. กรรมการผู้จัดการของบริษัท ป. มาแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสอง โดยกล่าวหาว่าบุคคลทั้งสองร่วมกันฉ้อโกง โดย ป. ได้ลงลายมือชื่อพร้อมประทับตราของบริษัท ป. ไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าว ดังนี้ ป. จึงร้องทุกข์ในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ป. อันเป็นการกระทำแทนบริษัท ป. การร้องทุกข์จึงชอบด้วยกฎหมาย พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง และเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหาย การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของโจทก์ร่วม และยกคำขอให้จำเลยที่ 1 คืนเงิน 8,405,000 บาท จึงเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้โจทก์ร่วมจะไม่ได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4788/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมการบริษัทมีหน้าที่จัดทำงบดุล หากปฏิเสธการร่วมงาน อาจไม่เป็นผู้เสียหาย
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่าจำเลยทั้งสามไม่จัดทำบัญชีงบดุลและเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติภายในกำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1196, 1197 ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ.2499 มาตรา 18, 25 แต่ได้ความว่าโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือเชิญพิจารณารับรองงบดุล - งบการเงินแล้วแจ้งเหตุขัดข้องปฏิเสธการเข้าร่วมประชุมกรรมการ เช่นนี้ ย่อมเป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 ไม่สามารถจัดทำบัญชีงบดุลและเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอนุมัติตามที่กฎหมายกำหนดได้ โจทก์ทั้งสองในฐานะผู้ถือหุ้นจึงมีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดการกระทำความผิด จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาแทนผู้เสียหาย: ผู้สืบสันดานและผู้แทนโดยชอบธรรม
โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบโดยชัดแจ้งว่า บ. อยู่กินฉันสามีภริยากับ ว. ผู้ตายโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน มีบุตรด้วยกัน คือ ค. ผู้เยาว์ ดังนั้น ค. บุตรของ ว. ผู้ที่ถูกทำร้ายถึงตายถือเป็นผู้สืบสันดาน เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้ตายได้ ไม่ว่าบิดามารดาจะได้จดทะเบียนสมรสหรือไม่ก็ตาม และเห็นว่า คดีนี้ ค. ผู้เยาว์ เป็นผู้มีมารดาเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามกฎหมาย บ. มารดาผู้แทนโดยชอบธรรมจึงมีอำนาจจัดการแทน ค. ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ดังนั้น บ. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของ ค. ผู้เยาว์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4132/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน: การเบิกความของผู้เสียหายที่ได้ฟังพยานก่อนหน้า ศาลต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือและผลกระทบต่อคำวินิจฉัย
แม้ก่อนสืบพยานโจทก์ปากผู้เสียหาย ทนายจำเลยแถลงว่า ขณะสืบพยานโจทก์ปาก ว. ผู้เสียหายนั่งอยู่ในห้องพิจารณา ทำให้ฝ่ายจำเลยเสียเปรียบ ขอคัดค้านการสืบพยานปากผู้เสียหาย ตามที่ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณา และศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์นำพยานปากผู้เสียหายเข้าสืบโดยยังไม่ได้จดรายงานกระบวนพิจารณาดังที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่ก็มิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 เพราะกรณีดังกล่าวเท่ากับศาลชั้นต้นได้พิจารณาข้อคัดค้านของทนายจำเลยแล้วจึงอนุญาตให้โจทก์นำพยานปากผู้เสียหายเข้าสืบและบันทึกเหตุผลในการอนุญาตไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาหลังจากที่ดำเนินกระบวนพิจารณาในวันนั้นเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งเมื่อยังไม่ปรากฏว่าพยานปากผู้เสียหายเบิกความเป็นที่เชื่อฟังได้หรือไม่ ก็ต้องให้ผู้เสียหายเบิกความไปก่อนเพื่อศาลจะได้ใช้ดุลพินิจในการรับฟังคำเบิกความดังกล่าวว่าเป็นการผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 114 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 หรือไม่ต่อไป แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวมิได้เป็นการบังคับมิให้ศาลรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหายซึ่งได้ฟังคำเบิกความของ ว. แล้วก็ตาม แต่หากปรากฏว่าคำเบิกความของผู้เสียหายอาจเปลี่ยนแปลงไปโดยฟังคำเบิกความของ ว. พยานคนก่อนหรือสามารถทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไปได้ คำเบิกความของผู้เสียหายก็เป็นการผิดระเบียบไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2969/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบปากคำผู้เสียหายในคดีอาญา: ผลกระทบของกฎหมายที่แก้ไขต่อความชอบด้วยกฎหมายของพยานหลักฐาน
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2550 มาตรา 5 ที่ใช้บังคับขณะที่มีการสอบสวนผู้เสียหายทั้งสอง แตกต่างจาก ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง (เดิม) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2542 เมื่อไม่ปรากฏว่า ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งเป็นวันที่ผู้เสียหายทั้งสองเข้าให้การตามบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนเอกสารหมาย จ.3 และ จ.4 อันเป็นวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับแล้ว และคดีนี้ไม่ใช่คดีความผิดที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ เป็นเพียงคดีความผิดอื่นที่มีอัตราโทษจำคุก ซึ่งผู้เสียหายทั้งสองมิได้มีการร้องขอให้พนักงานสอบสวนทำการสอบปากคำดังที่บัญญัติตาม ป.วิ.อ. มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไข) แต่อย่างใด การที่พนักงานสอบสวน ถามปากคำผู้เสียหายทั้งสองและบันทึกไว้จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2367/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจโจทก์ร่วม: ผู้ตายเป็นผู้กระทำผิดก่อน จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในฐานะผู้เสียหาย
ป. ผู้ตายเป็นฝ่ายก่อเหตุทำร้ายจำเลยก่อน การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำเพราะถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม อันเป็นการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ เมื่อผู้ตายเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยสำหรับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 290 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นบิดาและมารดาของผู้ตายย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2 ) และไม่มีอำนาจเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 และยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21814/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดีอาญา: ผู้ตายมีส่วนก่อเหตุย่อมไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยฆ่า น. ผู้ตาย โดยบันดาลโทสะ ผู้ตายจึงมีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดทางอาญาด้วย ดังนั้น ตามคำฟ้องของโจทก์ถือว่าผู้ตายมิใช่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นบิดาและมารดาผู้ตายจึงไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการแทนผู้ตายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) และไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ บ. และ อ. เข้ามาเป็นโจทก์ร่วม จึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ดังนี้ บ. และ อ. จึงไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์และฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 21329/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาซ้อนและอำนาจฟ้องของพนักงานอัยการและผู้เสียหาย
การที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นอีกคดีหนึ่งก่อน แล้วต่อมาพนักงานอัยการฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ในภายหลัง เมื่อไม่มีกฎหมายจำกัดอำนาจของพนักงานอัยการมิให้ฟ้องคดีอาญาที่ผู้เสียหายได้ฟ้องจำเลยไว้แล้ว และบทบัญญัติมาตรา 33 แห่ง ป.วิ.อ. ก็ได้บัญญัติถึงการพิจารณาคดีซึ่งทั้งพนักงานอัยการและผู้เสียหายต่างฟ้องคดีอาญาเรื่องเดียวกันไว้ แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายและพนักงานอัยการต่างฟ้องคดีอาญาเรื่องเดียวกันได้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อนกับคดีที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลย แต่การที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการในคดีนี้ โดยถือเอาคำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องของตนเอง เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตจึงมีผลเท่ากับโจทก์ร่วมฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ด้วย การที่โจทก์ร่วมยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์จึงมีสถานะเสมือนหนึ่งเป็นการฟ้องจำเลยซ้อนกับคดีที่โจทก์ร่วมฟ้องจำเลยไว้ก่อน เป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมเข้าร่วมเป็นโจทก์คดีนี้จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20936/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องได้รับความเสียหายโดยตรงจากการกระทำผิด
ผู้เสียหายในคดีอาญา หมายถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถยนต์กระบะด้วยความเร็วสูงเสียหลักลื่นไถลออกนอกเส้นทางพุ่งชนรถยนต์คันที่โจทก์ร่วมที่ 1 ขับสวนทางมา โดยมีโจทก์ร่วมที่ 2 นั่งโดยสารมาด้วย ทำให้โจทก์ร่วมที่ 1 ได้รับอันตรายสาหัส การกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องมิได้ทำให้โจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับความเสียหาย แม้จำเลยไม่คัดค้านในการที่โจทก์ร่วมที่ 2 ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ แต่การพิจารณาว่าโจทก์ร่วมที่ 2 เป็นผู้เสียหายหรือไม่ ต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในฟ้องว่าโจทก์ร่วมที่ 2 ได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดของจำเลยหรือไม่ มิใช่พิจารณาว่าจำเลยจะคัดค้านหรือไม่ดังนี้ โจทก์ร่วมที่ 2 จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา (4) และไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 30 ทั้ง ป.วิ.อ. มาตรา 44/1 บัญญัติให้ผู้เสียหายตามบทบัญญัติดังกล่าว ต้องเป็นผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) หรือมาตรา 5 เมื่อโจทก์ร่วมที่ 2 มิใช่ผู้เสียหายจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ และเมื่อการกระทำความผิดของจำเลยตามฟ้องมิได้เกี่ยวข้องกับบุตรของโจทก์ร่วมที่ 1 โจทก์ร่วมที่ 1 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะและค่ารักษาพยาบาลของบุตรโจทก์ร่วมที่ 1 ก่อนถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20400/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องทุกข์ในคดีอาญา: ผู้เสียหายจากการลงทุนร่วมที่เสียหายจากยักยอก
คดีนี้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า โจทก์ร่วมเข้าร่วมลงทุนกับจำเลยในการประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ศาลชั้นต้น โดยนำเงินของ ว. มาทยอยมอบให้จำเลยเพื่อนำไปใช้เป็นหลักประกัน และตกลงกันว่าจำเลยจะแบ่งผลประโยชน์ที่ได้รับจากเงินที่จำเลยนำมาลงทุนเป็น 3 ส่วน จำเลยได้ 1 ส่วน โจทก์ร่วมและ ว. ได้คนละส่วน โดยโจทก์ร่วมต้องนำเงินที่ลงทุนดังกล่าวไปคืนให้แก่ ว. ด้วย เห็นว่า แม้เงินที่โจทก์ร่วมนำไปลงทุนกับจำเลยเป็นเงินของ ว. ก็ตาม แต่โจทก์ร่วมก็ต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมผลประโยชน์ไปคืนให้แก่ ว. ดังนี้ โจทก์ร่วมจึงเป็นผู้นำเงินของ ว. ไปหาผลประโยชน์จากการร่วมลงทุนกับจำเลยและต้องรับผิดชอบต่อ ว. ในจำนวนเงินดังกล่าว โจทก์ร่วมจึงมิใช่เป็นตัวแทนของ ว. ที่มีหน้าที่นำเงินของ ว. ไปมอบให้แก่จำเลย ซึ่งเมื่อมอบเงินแล้วความรับผิดชอบในเงินจำนวนดังกล่าวของโจทก์ร่วมในฐานะตัวแทนก็หมดไป ดังนี้ เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นในจำนวนเงินที่ ว. มอบให้โจทก์ร่วมไปหาผลประโยชน์เพราะการกระทำผิดยักยอกของจำเลย โจทก์ร่วมในฐานะที่เป็นผู้นำเงินของ ว. ไปหาผลประโยชน์ย่อมได้รับความเสียหายจึงเป็นผู้เสียหายโดยตรง โจทก์ร่วมจึงมีอำนาจร้องทุกข์ พนักงานสอบสวนมีอำนาจสอบสวน และโจทก์มีอำนาจฟ้อง