พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2,377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12584/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานชิงทรัพย์ที่ไม่ตรงองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันชิงทรัพย์ผู้เสียหาย โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยฉกฉวยเอาเงินของผู้เสียหายหนีไปซึ่งหน้าอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์ คงลงโทษจำเลยได้ในข้อหาลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1) (7) วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่เป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้ายเท่านั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องโจทก์สืบสม แต่อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและการมีอำนาจพิจารณาคดี ศาลต้องพิจารณาว่าการประทับฟ้องก่อนหน้าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
การที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นเป็นศาลแรกไว้แล้ว ต่อมาโจทก์กลับมาฟ้องจำเลยข้อหาเดียวกันต่อศาลจังหวัดปัตตานี ฟ้องคดีหลังของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง(1)ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 อันส่งผลให้คำสั่งประทับฟ้องของศาลจังหวัดปัตตานีไม่ชอบไปด้วย
กรณีที่ห้ามมิให้ศาลใดศาลหนึ่งรับคดีซึ่งศาลอื่นได้รับประทับฟ้องไว้แล้วตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 เดิม ต้องเป็นกรณีที่ศาลอื่นรับประทับฟ้องไว้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น การที่ศาลจังหวัดปัตตานีมีคำสั่งประทับฟ้องไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแรกของศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาคดีแรกต่อไปได้
กรณีที่ห้ามมิให้ศาลใดศาลหนึ่งรับคดีซึ่งศาลอื่นได้รับประทับฟ้องไว้แล้วตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 18 เดิม ต้องเป็นกรณีที่ศาลอื่นรับประทับฟ้องไว้โดยชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น การที่ศาลจังหวัดปัตตานีมีคำสั่งประทับฟ้องไว้โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากเป็นฟ้องซ้อนกับคดีแรกของศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจพิจารณาคดีแรกต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12046/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจที่ประชุมใหญ่ในการถอดถอนกรรมการ แม้มีมติแต่งตั้งตลอดไป ก็ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย
ตามหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัทผู้คัดค้านในข้อ 6 กำหนดว่า คณะกรรมการของบริษัทมีจำนวนไม่ตำกว่า 3 นาย ซึ่งแต่งตั้งโดยที่ประชุมใหญ่ของผู้ถือหุ้น ฯลฯ แม้จะไม่มีข้อความห้ามมิให้เป็นกรรมการตลอดไป แต่ตามข้อบังคับดังกล่าวก็มิได้กำหนดถึงเรื่องการถอดถอนกรรมการไว้ จึงต้องนำข้อบังคับว่าด้วยหลักทั่วไปตามข้อ 1 ซึ่งกำหนดให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. ในส่วนที่ว่าด้วยบริษัทจำกัดมาใช้แก่บริษัทผู้คัดค้านซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1151 กำหนดให้มติที่ประชุมใหญ่เท่านั้นที่จะแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งได้ การที่เคยมีมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 3/2533 ตั้งให้ผู้ร้องเป็นกรรมการของบริษัทผู้คัดค้านตลอดไป ก็มิได้หมายความว่ามติดังกล่าวจะลบล้างบทบัญญัติมาตรา 1151 ได้ การที่บริษัทผู้คัดค้านมีมติที่ประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 37 ให้ถอดถอนผู้ร้องออกจากการเป็นกรรมการบริษัท จึงมีผลเท่ากับว่ามติที่ประชุมใหญ่ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงมติที่ประชุมใหญ่วิสามัญครั้งที่ 3/2533 เมื่อไม่ปรากฏว่า มติครั้งที่ 37 เป็นการลงมติฝ่าฝืนต่อกฎหมายหรือข้อบังคับของบริษัทผู้คัดค้านจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนมติที่ประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 37
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7877/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีไม่มีข้อยุ่งยาก: การขาดนัดพิจารณาและการดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 การดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ศาลต้องออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 ประกอบมาตรา 193 และถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ศาลต้องมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วจึงพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว และพิพากษาโดยเร็วเท่าที่พึงกระทำได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (3) โดยศาลอาจพิพากษาในวันนัดพิจารณานั่นเอง หรืออาจเลื่อนคดีไปพิพากษาในวันอื่นก็ได้ ดังนั้น การพิจารณาคดีไม่มีข้อยุ่งยาก โจทก์จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง จึงไม่ชอบ
การดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (3) บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่า ถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว การที่จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง แล้วให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
การดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (3) บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่า ถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว การที่จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง แล้วให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7636/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย ต้องมีการจดทะเบียนตามขั้นตอนที่ถูกต้อง มิเช่นนั้นไม่ถือเป็นทายาท
เมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 บรรพ 5 และบรรพ 6 แล้ว แม้จะมีบทบัญญัติมาตรา 1586 บัญญัติว่า "บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรม ฯลฯ" และมาตรา 1627 บัญญัติไว้ด้วยว่า "? บุตรบุญธรรมให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้" ก็ตาม แต่บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติดังกล่าวก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1585 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เท่านั้น การที่ผู้ตายรับผู้คัดค้านที่ 1 มาเลี้ยงอย่างบุตรบุญธรรมทั้งไปแจ้งต่อกำนันว่า ผู้คัดค้านที่ 1 เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2498 ว่า เป็นบุตร แม้จะกระทำก่อนพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 แต่ก็ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2477 ทั้งการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมนั้น จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ. 2478 การที่ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 2 แจ้งการเกิดของผู้คัดค้านที่ 1 ว่าเป็นบุตรต่อกำนันตำบลโคกปีบ จึงมิใช่เป็นการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย อันจะถือว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรบุญธรรมของผู้ตาย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงมิใช่ทายาทหรือเป็นผู้มีส่วนได้เสียในการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6513/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วมในคดี พ.ร.บ.อาหาร: ต้องเป็นผู้เสียหายโดยตรงเท่านั้น
ความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 รัฐเท่านั้นที่เป็นผู้เสียหาย โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย แม้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางอนุญาตให้โจทก์ร่วมที่ 1 เข้าร่วมเป็นโจทก์ ก็หมายถึงอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เท่านั้น เมื่อคดีนี้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องในข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 และโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ ความผิดข้อหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง โจทก์ร่วมที่ 1 ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ในข้อหานี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องชัดเจนถึงการสละสิทธิเรียกร้องทั้งหมด มิฉะนั้นไม่ถือเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย
รถบรรทุกของจำเลยที่ 1 ซึ่งเอาประกันภัยไว้กับห้างฯ จำเลยที่ 2 เฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์เป็นเหตุให้มีคนตายถึง 3 คน ภายหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ทำหนังสือตกลงเรื่องค่าปลงศพของผู้ตายให้ไว้แก่ทายาทของผู้ตายทั้งสาม ส่วนค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ตกลงกันไม่ได้จึงนัดตกลงกันอีกครั้งหนึ่ง โดยไม่มีข้อความตอนใดระบุว่าทั้งสองฝ่ายตกลงระงับข้อพิพาทโดยยอมสละสิทธิเรียกร้องอื่น แสดงว่าทั้งสองฝ่ายมีเจตนาตกลงเฉพาะเรื่องค่าปลงศพเท่านั้น หาได้รวมถึงค่าเสียหายอื่นไม่ ข้อความในหนังสือดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5041/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทมาตราผิดในคดีละเมิดลิขสิทธิ์และการแก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537มาตรา 28 และ 69 จำเลยให้การรับสารภาพ แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามมาตรา 31 และ 70 วรรคสองโดยวางโทษก่อนลดโทษให้กึ่งหนึ่งให้จำคุก 3 เดือน และปรับ 50,000 บาท ซึ่งเป็นระวางโทษขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 70 วรรคสอง แต่ความผิดตามมาตรา 31และ 70 วรรคสอง เป็นความผิดต่องานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น อันมิใช่การกระทำที่ผู้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ได้กระทำต่องานอันมีลิขสิทธิ์ตามที่โจทก์ฟ้องซึ่งมีระวางโทษขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 69 วรรคสอง ให้จำคุก 6 เดือน และปรับ 100,000 บาท การพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 31 และ 70 วรรคสองจึงเป็นเพียงการปรับบทมาตราผิดเท่านั้น แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศแก้ไขเสียให้ถูกต้องเป็นพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 28(2) และ 69 วรรคสอง แต่ไม่อาจกำหนดโทษที่จะลงแก่จำเลยตามระวางโทษในมาตรา 69 วรรคสองได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มโทษแก่จำเลย
แผ่นวีซีดีของกลางเป็นแผ่นวีซีดีอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงไม่อาจพิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 75 ซึ่งบัญญัติให้เฉพาะสิ่งที่ได้ทำขึ้นอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้นตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์
แผ่นวีซีดีของกลางเป็นแผ่นวีซีดีอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จึงไม่อาจพิพากษาให้ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์พ.ศ. 2537 มาตรา 75 ซึ่งบัญญัติให้เฉพาะสิ่งที่ได้ทำขึ้นอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เท่านั้นตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีที่ฟ้องบังคับสิทธิแล้ว ชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์
พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ที่ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 218 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นบทยกเว้นหลักการและเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้บังคับในกรณีปกติธรรมดาทั่วไป การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในรายของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาลอันเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว จึงไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และการโอนสิทธิเรียกร้องในรายของจำเลย ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนก็ได้มอบอำนาจให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการมอบหมายให้โจทก์เป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้นตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดนั้น การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับผู้ร้องจึงเป็นอันชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกเช่นกันผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ได้ตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 7
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานนำเข้ายาเสพติดฯ ความร่วมมือแบ่งหน้าที่ และการใช้กฎหมายในขณะกระทำผิด
จำเลยที่ 1 มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นมาหาจำเลยที่ 2 ที่จังหวัดเชียงรายเพื่อติดต่อขอซื้อเมทแอมเฟตามีน โดยให้จำเลยที่ 2 ไปซื้อเมทแอมเฟตามีนที่อำเภอท่าขี้เหล็กประเทศสหภาพพม่า หลังจากนั้นจำเลยที่ 2 นัดจำเลยที่ 1 มารับของที่ตึกแถวเกิดเหตุ จำเลยที่ 3 ก็นำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรตามที่จำเลยที่ 1ต้องการ โดยผ่านทางจำเลยที่ 2 ผู้ติดต่อซื้อ จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 3 นำเมทแอมเฟตามีนเข้ามาในราชอาณาจักรโดยการแบ่งหน้าที่กันทำ ต้องตามคำนิยามคำว่า "นำเข้า"ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษฯ แล้ว ซึ่งการนำหรือสั่งเข้ามานี้ผู้กระทำผิดมิได้มีเฉพาะตัวจำเลยที่ 3 เพราะความผิดฐานนี้มิได้อาศัยสภาพจิตใจหรือคุณสมบัติเฉพาะตัวของบุคคล หรือแนวเขตแดนเป็นสำคัญ มิฉะนั้นแล้ว ผู้ที่ร่วมกันไปซื้อเมทแอมเฟตามีนจากต่างประเทศ แล้วให้ผู้อื่นถือเข้ามาในประเทศโดยผู้ร่วมกระทำผิดนั้นมารอรับเมทแอมเฟตามีนในประเทศจะไม่มีความผิดไปด้วย