พบผลลัพธ์ทั้งหมด 344 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและภาระการพิสูจน์ ศาลวินิจฉัยจากพยานหลักฐานทั้งสองฝ่าย
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นการกำหนดเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นพิพาทของคู่ความส่วนการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นใดก่อนหรือหลังย่อมเป็นไปเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินกระบวนพิจารณาแต่การวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นต้องวินิจฉัยจากถ้อยคำพยานที่คู่ความนำสืบมาประกอบกันโดยพิจารณาตามภาระหน้าที่ในการพิสูจน์ของแต่ละฝ่ายหาใช้ว่าฝ่ายใดมีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนแล้วจะต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของฝ่ายนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ โจทก์ฟ้องว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่1กึ่งหนึ่งอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของสามีโจทก์ที่1ตกได้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยในฐานะทายาทคนละส่วนเท่าๆกันจำเลยต่อสู้ว่าบ้านและที่ดินพิพาทจำเลยครอบครองเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวตามข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์สินและจำเลยครอบครองมาด้วยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากกว่า10ปีแล้วจึงได้สิทธิครอบครองโจทก์มิได้ดำเนินคดีภายในกำหนด1ปีฟ้องโจทก์ขาดอายุความจึงเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างว่าบ้านและที่ดินพิพาทได้มีการแบ่งปันตกเป็นของจำเลยโดยชอบจนกระทั่งจำเลยได้มาซึ่งสิทธิครอบครองตามน.ส.3ก.แม้จำเลยเป็นผู้มีชื่อในน.ส.3กและได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373ว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองแต่จำเลยยังต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์สินตามข้อตกลงของทายาทโดยชอบและได้ครอบครองเพื่อตนและโดยสุจริตอันเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นมาใหม่อีกด้วยดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า"โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยได้ตกลงแบ่งทรัพย์พิพาทตามฟ้องหรือไม่และฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่"แล้วให้จำเลยเป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนทั้งสองประเด็นโดยที่ประเด็นข้อหลังภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4940/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นเองไม่ชอบ และการนำสืบพยานหลักฐานเมื่อโจทก์ไม่ส่งเอกสาร
แม้จำเลยที่ได้ให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่เคยบอกกล่าวทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แต่เมื่อคดีนี้มีการชี้สองสถานและศาลชั้นต้นไม่ได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทโดยโจทก์และจำเลยต่างไม่โต้แย้งคัดค้านเช่นนี้จึงถือได้ว่าคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องนี้ระหว่างคู่ความการที่ศาลชั้นต้นหยิบยกประเด็นข้อนี้ขึ้นวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาและประเด็นข้อพิพาทข้อนี้เป็นคนละประเด็นกับที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าจำเลยต้องชำระหนี้ให้โจทก์หรือไม่เพียงใด โจทก์ได้แจ้งต่อศาลตลอดมาว่าเอกสารต่างๆตามที่จำเลยอ้างมานั้นมีจำนวนมากยังค้นไม่พบต่อมาโจทก์ได้ส่งเอกสารตามคำสั่งเรียกมาให้เป็นบางส่วนแสดงให้เห็นว่าโจทก์ยังค้นหาเอกสารไม่พบจริงไม่มีเจตนาจะบิดพลิ้วไม่ส่งเอกสารแต่อย่างใดกรณีเช่นนี้จำเลยย่อมสามารถนำสืบสำเนาเอกสารหรือพยานบุคคลได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93(2)กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา123ที่จะถือว่าโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงตามเอกสารนั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4525/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดฟังคำพิพากษาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาเพิกถอนกระบวนพิจารณาได้
พนักงานเดินหมายได้นำหมายนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปส่งให้ม. ทนายจำเลยทั้งสองยังภูมิลำเนาแต่ไม่พบเนื่องจากสถานที่ดังกล่าวปิดประตูใส่กุญแจบุคคลข้างเคียงแจ้งว่าม.ย้ายสำนักงานไปอยู่ที่อื่นแล้วพนักงานเดินหมายจึงปิดหมายไว้ตามคำสั่งศาลเห็นได้ชัดว่าม. ไม่อาจทราบนัดได้ถือว่าเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายให้ได้โดยวิธีธรรมดาควรส่งใหม่อีกครั้งหลังจากทราบแน่ชัดว่าภูมิลำเนาของม. ยังมิได้ย้ายไปอยู่ที่อื่นหรือควรสั่งให้ประกาศหนังสือพิมพ์แทนการส่งหมายธรรมดาประกอบกับยังมีตัวจำเลยทั้งสองคนศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะส่งหมายนัดให้แก่ตัวความทั้งสองทราบอีกชั้นหนึ่งด้วยดังนั้นการที่จำเลยทั้งสองไม่มาศาลย่อมไม่อาจถือว่าได้ทราบคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในวันดังกล่าวและถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองฟังโดยชอบแล้วศาลฎีกาชอบที่จะเพิกถอนกระบวนพิจารณาดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา27
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4444/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงท้าทายอำนาจฟ้อง: ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาตามข้อตกลงได้ชอบธรรม
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากโจทก์เบิกความว่าได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้ จำเลยยอมแพ้ แต่หากโจทก์เบิกความว่าไม่ได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้โจทก์ยอมแพ้ โดยคู่ความไม่ติดใจสืบพยานหลักฐานอื่น เมื่อโจทก์ได้เบิกความตอบศาลว่า "ข้าพเจ้าได้มอบอำนาจให้ อ.ฟ้องคดีนี้จริง" ซึ่งตรงตามคำท้ากันแล้วส่วนข้อที่จำเลยยกขึ้นโต้แย้งว่าจำเลยมีสิทธิที่จะถามค้านโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา117 นั้น เป็นข้อที่นอกเหนือไปจากคำท้าไม่อาจดำเนินการให้ได้ ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกรอบที่คู่ความตกลงท้ากันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีตามคำท้า
จำเลยอุทธรณ์และฎีกาแต่เพียงขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ชั้นละ 200 บาทตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอุทธรณ์และชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินแก่จำเลย
จำเลยอุทธรณ์และฎีกาแต่เพียงขอให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ชั้นละ 200 บาทตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. แต่จำเลยเสียค่าขึ้นศาลอุทธรณ์และชั้นฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาส่วนที่เกินแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยเยาวชน: การสอบถามความประสงค์เรื่องทนายก่อนพิจารณาคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา173วรรคสองเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิของจำเลยในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่และเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยเมื่อปรากฎว่าก่อนเริ่มพิจารณาคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาลศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฎิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและเห็นว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบในการดำเนินคดีศาลฎีกาจึงเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1450/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงจากการดำเนินกระบวนพิจารณา หากจำเลยไม่ปฏิเสธกรรมสิทธิ์ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่นั้นจะต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ได้มาจากการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องไว้ว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินมีโฉนดซึ่งมีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดดังกล่าวดังนั้นคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนมารดาโจทก์หรือไม่ การที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์มีชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นเพียงใส่ชื่อแทนมารดาโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้อง จึงเป็นการหยิบยกข้อเท็จจริงนอกประเด็นขึ้นวินิจฉัยเป็นปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 ข้อนี้แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และเมื่อศาลล่างทั้งสองยังมิได้วินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทโดยพิจารณาพยานหลักฐานตามที่คู่ความนำสืบโต้แย้งกันก่อน กรณีมีเหตุสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและมีคำพิพากษาใหม่ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8065/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องยื่นภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นเสียสิทธิ
ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติว่า เมื่อมีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลมีอำนาจที่หยิบยกขึ้นพิจารณาได้เอง หรือเฉพาะคู่ความฝ่ายที่เสียหายเท่านั้นที่มีอำนาจยื่นคำร้องคัดค้านได้ และเมื่อเห็นว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบแล้ว ศาลมีอำนาจที่จะสั่งอย่างไรบ้าง ส่วนวรรคสอง เป็นกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขในการยื่นคำร้องคัดค้าน คำร้องของจำเลยฉบับลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2537 เป็นการคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาล-อุทธรณ์ที่จำเลยอ้างว่าผิดระเบียบ จำเลยจึงต้องยื่นไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทราบข้อเท็จจริงอันเป็นมูลแห่งข้ออ้างว่า กระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบในวันที่ 31 พฤษภาคม 2537 แต่จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2537 คำร้องของจำเลยจึงมิได้ยื่นต่อศาลภายในแปดวันนับแต่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8064/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบต้องยื่นภายในกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด มิฉะนั้นเสียสิทธิ
ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติว่า เมื่อมีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ศาลมีอำนาจที่หยิบยกขึ้นพิจารณาได้เอง หรือเฉพาะคู่ความฝ่ายที่เสียหายเท่านั้นที่มีอำนาจยื่นคำร้องคัดค้านได้ และเมื่อเห็นว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบแล้ว ศาลมีอำนาจที่จะสั่งอย่างไรบ้าง ส่วนวรรคสอง เป็นกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขในการยื่นคำร้องคัดค้าน คำร้องของจำเลยฉบับลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2537 เป็นการคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาล-อุทธรณ์ที่จำเลยอ้างว่าผิดระเบียบ จำเลยจึงต้องยื่นไม่ช้ากว่าแปดวันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยทราบข้อเท็จจริงอันเป็นมูลแห่งข้ออ้างว่า กระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบในวันที่ 31 พฤษภาคม 2537 แต่จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้เพิกถอนต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2537 คำร้องของจำเลยจึงมิได้ยื่นต่อศาลภายในแปดวันนับแต่ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้น จำเลยย่อมไม่มีสิทธิคัดค้านกระบวนพิจารณาของศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7973/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาในคดีที่คู่ความเป็นจำเลยร่วมกัน
คดีที่ธนาคารฟ้องโจทก์กับจำเลยคดีนี้ แม้โจทก์กับจำเลยคดีนี้จะเป็นจำเลยด้วยกันในคดีดังกล่าวก็ตาม ก็ต้องถือว่าโจทก์กับจำเลยเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีก่อนด้วย คำพิพากษาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์กับจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7627/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษา กรณีจำเลยไม่มีภูมิลำเนาในประเทศและไม่ได้แต่งตั้งทนาย
จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมแล้วดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ ดังนี้ หากศาลไต่สวนแล้วได้ความตามคำร้องว่าขณะถูกฟ้องจำเลยที่ 3 มีภูมิลำเนาอยู่ที่ต่างประเทศและจำเลยที่ 3 ไม่ได้แต่งตั้ง น.ให้เป็นทนายความ กระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นดำเนินมานั้นก็ย่อมไม่ชอบมาแต่ต้น กระบวนพิจารณาต่อ ๆ มาจนกระทั่งพิพากษาคดีไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นก็ย่อมไม่ชอบไปด้วย เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยหลงผิดว่าจำเลยที่ 3 มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย และแต่งตั้งให้ น.เป็นทนายความมีอำนาจทำสัญญาประนีประนอมยอมความแทนจำเลยที่ 3 ได้
กรณีเช่นนี้จะอ้างว่าคดีถึงที่สุดแล้วเพราะจำเลยที่ 3 ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาก็ไม่ได้เช่นกันเพราะกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบมาแต่ต้นนั้น ย่อมส่งผลให้คำพิพากษาคดีและการอ่านคำพิพากษาไม่ชอบไปด้วย จำเลยที่ 3 ผู้ได้รับความเสียหายและไม่ได้รับความยุติธรรมจากกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเมื่อได้ทราบถึงข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นเมื่อใด ย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวน-พิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวแล้วเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องได้
การร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในกรณีเช่นนี้ จะบังคับให้จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอเสียก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาโดยที่จำเลยที่ 3 ยังไม่ทราบถึงข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างว่าผิดระเบียบนั้น ย่อมเป็นการพ้นวิสัยที่จำเลยฟ้อง จะกระทำได้ ดังนั้น จำเลยที่ 3จึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นในคดีเดิมเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีผิดระเบียบดังกล่าวเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องได้โดยไม่จำต้องไปฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมมิให้มีผลผูกพันถึงจำเลยที่ 3 เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก
กรณีเช่นนี้จะอ้างว่าคดีถึงที่สุดแล้วเพราะจำเลยที่ 3 ไม่อุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาก็ไม่ได้เช่นกันเพราะกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบมาแต่ต้นนั้น ย่อมส่งผลให้คำพิพากษาคดีและการอ่านคำพิพากษาไม่ชอบไปด้วย จำเลยที่ 3 ผู้ได้รับความเสียหายและไม่ได้รับความยุติธรรมจากกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบเมื่อได้ทราบถึงข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นเมื่อใด ย่อมมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนกระบวน-พิจารณาที่ผิดระเบียบดังกล่าวแล้วเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้องได้
การร้องขอให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบในกรณีเช่นนี้ จะบังคับให้จำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องขอเสียก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาโดยที่จำเลยที่ 3 ยังไม่ทราบถึงข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างว่าผิดระเบียบนั้น ย่อมเป็นการพ้นวิสัยที่จำเลยฟ้อง จะกระทำได้ ดังนั้น จำเลยที่ 3จึงมีสิทธิร้องขอให้ศาลชั้นต้นในคดีเดิมเพิกถอนกระบวนพิจารณาคดีผิดระเบียบดังกล่าวเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องได้โดยไม่จำต้องไปฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมมิให้มีผลผูกพันถึงจำเลยที่ 3 เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก