พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 193/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้กองมรดกยึดทรัพย์มรดกได้ แม้โอนกรรมสิทธิ์ให้ทายาทแล้ว หากยังมิได้แบ่งมรดก
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระเงินกู้ตามฟ้องให้โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นภริยาผู้รับมรดก บ. โดยทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาต้องรับผิดร่วมด้วย แต่ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยนั้น ยังไม่ได้แบ่งมรดกกันระหว่างทายาท โฉนดยังเป็นชื่อของ บ. เจ้ามรดกเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ผู้ร้องเพิ่งโอนรับมรดกในขณะคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ฉะนั้น ถึงแม้ที่ดินพิพาทโอนใส่ชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนนายแบนเจ้ามรดกก็ตาม ทีJพิพาทก็ยังเป็นทรัพย์ในกองมรดกของ บ. ซึ่งยังมิได้แบ่งอยู่นั่นเอง โจทก์จึงชอบที่จะยึดที่ดินพิพาทมาบังคับคดีได้ โดยไม่ต้องฟ้องทายาทผู้รับมรดกคนอื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1166/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบำเหน็จข้าราชการเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดก สามารถทำพินัยกรรมยกให้ผู้อื่นได้
พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 6 วรรคสองที่ว่า 'สิทธิในบำเหน็จฯลฯ เป็นสิทธิเฉพาะตัวจะโอนไม่ได้' นั้น หมายถึงห้ามการโอนสิทธิในบำเหน็จให้ผู้อื่นในขณะที่ผู้โอนยังมีชีวิตอยู่เท่านั้นหาได้มีความหมายห้ามเลยไปถึงการทำพินัยกรรมอันจะมีผลในเมื่อผู้นั้นได้ถึงแก่ความตายแล้วไม่
ขอลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2507 และทางราชการอนุญาตให้ออกได้ตั้งแต่วันนั้น แม้คำสั่งอนุญาตนั้นจะออกเมื่อหลังจากที่ผู้นั้นตายไปแล้ว สิทธิที่ผู้นั้นจะได้รับบำเหน็จก็มีมาตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการแล้ว เมื่อผู้นั้นตาย สิทธิในการได้รับบำเหน็จจึงเป็นสิทธิอย่างหนึ่งในกองมรดกซึ่งผู้นั้นมีอยู่ขณะถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 จึงแสดงเจตนาโดยพินัยกรรม โอนสิทธิในบำเหน็จนั้นให้แก่ผู้รับพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646
ขอลาออกจากราชการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2507 และทางราชการอนุญาตให้ออกได้ตั้งแต่วันนั้น แม้คำสั่งอนุญาตนั้นจะออกเมื่อหลังจากที่ผู้นั้นตายไปแล้ว สิทธิที่ผู้นั้นจะได้รับบำเหน็จก็มีมาตั้งแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ออกจากราชการแล้ว เมื่อผู้นั้นตาย สิทธิในการได้รับบำเหน็จจึงเป็นสิทธิอย่างหนึ่งในกองมรดกซึ่งผู้นั้นมีอยู่ขณะถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 จึงแสดงเจตนาโดยพินัยกรรม โอนสิทธิในบำเหน็จนั้นให้แก่ผู้รับพินัยกรรมได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเป็นทรัพย์มรดก: ที่ดินสินสมรสที่อ้างเป็นกองมรดก
ฟ้องขอแบ่งมรดกซึ่งประกอบด้วยที่ดิน 3 แปลง โดยอ้างว่ามีส่วนได้ราคา 4,000 บาท ศาลชั้นต้นฟังว่าที่ดินทั้ง 3 แปลงไม่ใช่ทรัพย์มรดก พิพากษายกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าที่ดิน 2 แปลงเป็นทรัพย์มรดกพิพากษาให้แบ่งที่ดินทั้งสองให้โจทก์
จำเลยฎีกาว่าที่ดินทั้งสองแปลงนี้ไม่ใช่ทรัพย์มรดกศาลฎีการับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ (คงถือว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาก)
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าที่ดิน 2 แปลงเป็นทรัพย์มรดกพิพากษาให้แบ่งที่ดินทั้งสองให้โจทก์
จำเลยฎีกาว่าที่ดินทั้งสองแปลงนี้ไม่ใช่ทรัพย์มรดกศาลฎีการับวินิจฉัยประเด็นข้อนี้ (คงถือว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงิน ช.พ.ค. ไม่ใช่กองมรดก สิทธิในการจัดการเป็นของ ช.พ.ค. พินัยกรรมยกให้ผู้อื่นจึงไม่สมบูรณ์
เงินช่วยเพื่อนครู (ช.พ.ค.) ซึ่งสมาชิกช่วยกันบริจาคเพื่ออนุเคราะห์ช่วยเหลืองานศพและครอบครัวของสมาชิกคนใดคนหนึ่งซึ่งถึงแก่กรรมลงนั้นไม่ใช่กองมรดกของผู้ตายผู้ตายจึงทำพินัยกรรมยกให้ใครไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินก่อนสมรส & ค่าใช้จ่ายระหว่างอยู่กินฉันสามีภรรยา: ไม่ถือเป็นสิทธิในกองมรดก
จำเลยเป็นภรรยาของเจ้ามรดกโดยมิได้จดทะเบียนสมรสเจ้ามรดกมีที่ไร่มาก่อนได้จำเลยเป็นภรรยา การที่จำเลยช่วยเจ้ามรดกทำไร่และต่อมาดัดแปลงเป็นนา จะถือว่าเจ้ามรดกให้จำเลยมีส่วนเป็นเจ้าของร่วมด้วยไม่ได้นานี้ยังต้องถือว่าเป็นทรัพย์เดิมของเจ้ามรดก เมื่อเจ้ามรดกตายแล้วจำเลยไม่มีส่วนได้ด้วย
จำเลยอยู่กินกับเจ้ามรดกฉันสามีภรรยา หากจำเลยออกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเมื่อเจ้ามรดกเจ็บป่วย ค่าใช้จ่ายนั้นย่อมไม่ใช่หนี้ที่เจ้ามรดกหรือกองมรดกจะต้องชดใช้ให้
เมื่อจำเลยไม่ใช่ภรรยายโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่จัดการทำศพของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1649 ถ้าจำเลยออกเงินของจำเลยทำศพเจ้ามรดกไป ก็จะขอให้หักทรัพย์มรดกชดใช้ให้ในคดีที่ทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยมิได้
จำเลยอยู่กินกับเจ้ามรดกฉันสามีภรรยา หากจำเลยออกค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเมื่อเจ้ามรดกเจ็บป่วย ค่าใช้จ่ายนั้นย่อมไม่ใช่หนี้ที่เจ้ามรดกหรือกองมรดกจะต้องชดใช้ให้
เมื่อจำเลยไม่ใช่ภรรยายโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่เป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่จัดการทำศพของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1649 ถ้าจำเลยออกเงินของจำเลยทำศพเจ้ามรดกไป ก็จะขอให้หักทรัพย์มรดกชดใช้ให้ในคดีที่ทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 316-320/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกต้องทำร่วมกัน ผู้จัดการมรดกคนเดียวไม่มีอำนาจดำเนินคดีแทนกองมรดก
ผู้จัดการทรัพย์มรดกต้องจัดการร่วมกัน ผู้จัดการแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อศาลตั้งให้โจทก์ทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ที่ 2 จะลงชื่อฎีกาแต่ผู้เดียวย่อมไม่ได้ เพราะการดำเนินคดีเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการมรดก
หนังสือมอบอำนาจยึดทรัพย์นั้น รูปลักษณะและความประสงค์มุ่งไปในทางมอบอำนาจจัดการทางธุระการจึงไม่มีผลเป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีที่เกิดข้อพิพาทขึ้นในศาลแต่อย่างใด
หนังสือมอบอำนาจยึดทรัพย์นั้น รูปลักษณะและความประสงค์มุ่งไปในทางมอบอำนาจจัดการทางธุระการจึงไม่มีผลเป็นการมอบอำนาจให้ดำเนินคดีที่เกิดข้อพิพาทขึ้นในศาลแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินทุนสงเคราะห์ (ท.ส.ค.) เป็นทรัพย์สินในกองมรดก ผู้ตายทำพินัยกรรมยกให้ผู้ใดก็ได้ แม้จะระบุไว้ในสมุดประวัติก่อนหน้า
เมื่อปรากฎว่าเงินทุนสงเคราะห์ (ท.ส.+.) ของผู้ปฏิบัติงานในการรถไฟ เป็นเงินที่เก็บจากผู้ปฎิบัติงานร้อยละ 5 ของเงินเดือนทุกเดือน และการรถไฟจ่ายสมทบอีกมีจำนวนร้อยละ 10 ถ้าผู้ปฏิบัติงานต้องออกจากงาน นอกจากถูกไล่ออกก็ให้จ่ายให้แก่ผู้ปฏิบัติงานรวมทั้งดอกเบี้ยและกองทุนจ่ายเพิ่มให้อีกเป็นจำนวนเท่ากันนั้น เห็นได้ว่าเงินทุนสงเคราะห์นี้เป็นเงินที่ผู้ปฎิบัติงานมีสิทธิได้รับอยู่ก่อนแล้ว หากผู้นั้นตายลงก็ย่อมตกเป็นมรดก
แม้จะระบุในสมุดประวัติ (ท.ส.ค) ให้จำเลยเป็นผู้รับเงินทุนสงเคราะห์ก็ดี แต่หากต่อมาภายหลังเจ้าของเงินทุนสงเคราะห์ทำพินัยกรรมระบุยกให้โจทก์เป็นผู้รับ ก็เป็นการตัดจำเลยไปตามพินัยกรรมนั้น
แม้จะระบุในสมุดประวัติ (ท.ส.ค) ให้จำเลยเป็นผู้รับเงินทุนสงเคราะห์ก็ดี แต่หากต่อมาภายหลังเจ้าของเงินทุนสงเคราะห์ทำพินัยกรรมระบุยกให้โจทก์เป็นผู้รับ ก็เป็นการตัดจำเลยไปตามพินัยกรรมนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบุคคลภายนอกคัดค้านบังคับคดีจากกองมรดก
แม้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะฟ้องขอให้เพิกถอนคำพิพากษาตามยอมของคู่ความอื่นไม่ได้ก็ตาม แต่ถ้าตามฟ้องของโจทก์เห็นได้ว่าโจทก์ประสงค์ให้แสดงว่าคำพิพากษาตามยอมนั้นจะบังคับเอาจากกองมรดกซึ่งโจทก์เป็นผู้รับมรดกด้วยไม่ได้แล้ว ก็ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลแสดงว่าคำพิพากษาตามยอมไม่อาจบังคับเอาจากกองมรดกนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1543/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในบำนาญตกทอดภาคภรรยา แม้มีสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว โจทก์ยังฟ้องยืนยันสิทธิได้ หากมิใช่การเรียกร้องจากกองมรดก
โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นภริยาของขุนนิทเทสสุขกิจ โดยได้สมรสกันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ฝ่ายจำเลยก็อ้างว่าจำเลยเป็นภริยาขุนนิทเทสฯโดยจดทะเบียนสมรส โจทก์มิใช่ภริยา หลังจากขุนนิทเทสฯตายแล้ว จำเลยร้องขอจัดการมรดก โจทก์คัดค้าน ในที่สุดโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความแบ่งทรัพย์มรดกกัน เงินบำนาญตกทอดในภาคภรรยาตกลงกันให้ตกแก่โจทก์ครั้นเมื่อโจทก์ขอรับเงินนี้ จำเลยก็ไปยื่นขอรับบำนาญตกทอดทั้งภาคภริยาและภาคบุตรอีก โดยแสดงทะเบียนสมรส กระทรวงการคลังจึงงดจ่ายเงินไว้จนกว่าศาลจะได้วินิจฉัยว่าใครเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายเสียก่อน แม้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจะมีว่าโจทก์จะไม่เรียกร้องทรัพย์สินสิทธิอย่างใดๆ จากกองมรดกของขุนนิเทสฯ นอกจากที่ได้ตกลงกันแล้วนั้นอีก โจทก์ก็ยังมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าโจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิที่จะได้รับบำนาญตกทอดในภาคภรรยาแต่ผู้เดียวได้ เพราะไม่ใช่เป็นกรณีฟ้องเรียกทรัพย์สินกองมรดกหรือสิทธิในกองมรดก เพราะบำนาญตกทอดไม่ใช่เป็นมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรม 2 ฉบับใช้ได้ ฉบับที่ไม่สมบูรณ์ไม่ทำให้ฉบับสมบูรณ์เสีย
พินัยกรรมทำขึ้น 2 ฉบับ ข้อความเหมือนกัน ฉบับหนึ่งที่คู่ความนำส่งศาลนั้นทำครบถ้วนตามแบบพินัยกรรม อีกฉบับหนึ่งทำไม่ครบถ้วนถูกต้องและคู่ความอีกฝ่ายก็ไม่ได้ปฏิเสธว่าฉบับที่ทำถูกต้องนั้นใช้ไม่ได้ ดังนี้ฉบับที่ทำไม่ถูกต้องไม่ทำให้ฉบับที่สมบูรณ์พลอยเสียไปด้วย.