พบผลลัพธ์ทั้งหมด 190 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องร้องหนี้จากการเล่นแชร์ ศาลไม่อาจบังคับตามสัญญาประมูลแชร์ในฐานะการกู้ยืมเงิน
หนังสือสัญญาการประมูลเงินแชร์ มีมูลกรณีเนื่องมาจากการเล่นแชร์อันเป็นมูลหนี้อย่างหนึ่งซึ่งบับคับกันได้ แม้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแต่เมื่อโจทก์ฟ้องเป็นเรื่องกู้เงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 จึงไม่อาจบังคับจำเลยตามมูลหนี้ดังกล่าวได้ เพราะการเล่นแชร์เปียหวย ไม่เป็นการกู้ยืม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1717/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลในคดีกู้ยืมมีประกันจำนอง: ข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
คดีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้จำนวนหนึ่งแสนบาทคืนจากจำเลยและจำเลยให้การว่าได้นำที่ดินตามฟ้องทำจำนองไว้กับโจทก์เพื่อเป็นประกันเงินกู้หนึ่งแสนบาทจริง แต่ได้กู้ยืมและรับเงินกันเพียง 80,000 บาท อีก 20,000 บาทเป็นดอกเบี้ยที่โจทก์คิดรวมเข้าไว้ด้วยนั้น จำเลยมีสิทธินำสืบพยานบุคคลได้ว่าจำเลยได้กู้ยืมเงินและรับเงินไปจากโจทก์เพียง 80,000 บาท แต่โจทก์คิดดอกเบี้ย20,000 บาท รวมไปด้วยเพราะเป็นการนำสืบถึงการชำระดอกเบี้ย ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(อ้างฎีกาที่ 936/2504) แต่จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลว่าได้ชำระเงินต้นบางส่วนให้แก่โจทก์แล้วไม่ได้ เพราะมูลคดีนี้เป็นเรื่องกู้ยืมโดยมีที่ดินจำนองเป็นประกันอันมีหลักฐานเป็นหนังสือ จะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมหรือได้เวนคืน หรือได้แทงเพิกถอนในเอกสารการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยกู้ยืม: เริ่มนับจากวันกู้ ไม่ใช่วันผิดนัด
การกู้ยืมเงินซึ่งหนังสือกู้มีข้อความว่า 'ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยต่อเดือน'ผู้ให้กู้มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันกู้ ไม่ใช่ตั้งแต่วันผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261-1262/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนที่นาที่มอบให้ทำกินต่างดอกเบี้ยเงินกู้ แม้มิมีหลักฐานเป็นหนังสือก็มีอำนาจฟ้องได้
ฟ้องเรียกที่นาพิพาทของโจทก์ที่มอบให้ฝ่ายจำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยเงินกู้คืนโดยขอชำระเงินที่กู้ยืมจากฝ่ายจำเลยไป มิใช่การฟ้องร้องบังคับคดีในเรื่องการกู้เงินตามความหมายในมาตรา 653 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น แม้มิได้ทำหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง และโจทก์มีสิทธินำสืบพยานบุคคลในเรื่องการกู้ยืมเงินเพื่อประกอบข้ออ้างของโจทก์ว่าเหตุใดโจทก์จึงมอบที่นาพิพาทให้ฝ่ายจำเลยทำกินได้ เพราะกรณีมอบที่นาให้ทำกินต่างดอกเบี้ยเงินกู้ไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองเพื่อประกันการเช่าซื้อ: สัญญาจำนองไม่สมบูรณ์หากไม่มีการกู้ยืมเงิน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกู้เงินและจำนองที่ดินไว้กับโจทก์เมื่อครบกำหนดจำเลยไม่ไถ่ถอนจำนอง ขอให้บังคับจำเลยไถ่ถอนจำนองหากไม่ไถ่ถอนก็ขอให้บังคับจำนอง จำเลยให้การต่อสู้ว่า ไม่เคยกู้และรับเงินจำนอง ความจริงเป็นเรื่องการเช่าซื้อรถยนต์ระหว่างสามีจำเลยกับสามีโจทก์ สามีโจทก์เกรงจะไม่ได้เงินค่าเช่าซื้อ จึงให้จำเลยจำนองที่ดินไว้กับโจทก์เป็นประกันดังนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสัญญาจำนองทำขึ้นเพื่อเป็นประกันการเช่าซื้อมิใช่เพื่อประกันการกู้ดังโจทก์ฟ้องขอบังคับแล้วศาลชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการกู้ยืม - การรับสภาพหนี้ - การนำสืบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2505 และ 18 กรกฎาคม 2505จำเลยได้ยืมเงินโจทก์ไป ได้ทำสัญญากู้ไว้โดยไม่ได้ระบุเวลาชำระเงินแต่จำเลยสัญญาว่าจะชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้ภายใน 3 ปีครบกำหนดในพ.ศ. 2508 จำเลยไม่ชำระหนี้ จำเลยให้การรับว่าได้ยืมเงินโจทก์ไปจริงตามฟ้อง แต่ได้หักหนี้กันไปแล้ว และคดีขาดอายุความ เรื่องกำหนดเวลาใช้เงิน 3 ปีก็ดี เรื่องหนี้ถึงกำหนดชำระในพ.ศ. 2508 ก็ดี จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธไว้ ดังนี้ ต้องถือว่าจำเลยรับตามฟ้อง และโจทก์ไม่จำต้องสืบพยานในข้อนี้เพราะฟังได้แล้วว่าครบกำหนดชำระหนี้เมื่อพ.ศ. 2508 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2515 คดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2485/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หลักฐานการกู้ยืม - การลงทุนร่วมทำกิจการ - ใบรับเงิน
ใบรับเงินที่ลูกหนี้ออกให้เจ้าหนี้เป็นการร่วมกันลงทุนทำกิจการหากำไรแบ่งกันนั้นไม่มีข้อความว่าจะใช้เงินคืนไม่เป็นหลักฐานการกู้ยืมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: หลักฐานการกู้ยืม, การเบิกเงิน, และดอกเบี้ยทบต้น
ฟ้องดังกล่าว จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของโจทก์ไป 10,000 บาท สัญญาให้ดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน จำเลยที่ 1 ค้างดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2505 ตลอดมา ดังนี้ พอเป็นที่เข้าใจฟ้องได้ว่า จำเลยที่ 1 รับเงินตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปแล้ว โจทก์จึงได้ฟ้องเรียกทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย เมื่อมีสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหมาย จ.1 เป็นหลักฐานการกู้ยืมอยู่แล้ว การเบิกเงินไปแต่ละคราวภายหลังเป็นเรื่องบัญชีเดินสะพัด หาจำต้องมีหลักฐานการกู้เป็นหนังสือเป็นพิเศษอีกชั้นหนึ่งไม่ เพียงแต่จำเลยที่ 1 ออกเช็คสั่งธนาคารโจทก์ให้จ่ายเงินไปแล้ว จำเลยก็ต้องรับผิด
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่ และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้ไปแล้ว และยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม
คดีมีประเด็นตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานว่า จำเลยที่ 1 ได้กู้รับเงินไปตามสัญญาหรือไม่ และมีการใช้เงินคืนหรือยัง การที่โจทก์อ้างหนังสือรับรองหนี้หมาย จ.4 ก็เพื่อแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้รับเงินกู้ไปแล้ว และยังไม่ได้ใช้คืน จึงเป็นการสืบตรงประเด็น ส่วนการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.4 ให้จำเลยนั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 (2) ศาลมีอำนาจรับฟังได้ ถ้าเห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งยุติธรรม
เมื่อคิดเอาดอกเบี้ยทบเข้าเป็นต้นแล้ว โจทก์ก็ย่อมจะคิดดอกเบี้ยจากดอกเบี้ยที่กลายสภาพเป็นต้นเงินไปแล้วได้อีก ดังนั้น ในกรณีคิดดอกเบี้ยทบต้น จำนวนดอกเบี้ยอาจเกินร้อยละ 15 ต่อปีได้ ถ้าคิดคำนวณเฉพาะจากต้นเงินเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเพื่อประกันการกู้ยืม ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค หากไม่มีเจตนาออกเช็คเพื่อให้ใช้ไม่ได้
จำเลยขอยืมเงินโจทก์ร่วมบอกว่าจะเอาไปทำการค้า แสดงอยู่ในตัวว่าไม่มีเงินจึงต้องยืม ดังนั้น การที่จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินแก่โจทก์ร่วมในวันนั้นเอง ย่อมเป็นที่เข้าใจกันระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยว่าไม่ใช่เป็นเรื่องออกเช็คให้นำไปขึ้นเงินชำระหนี้ในวันนั้น จึงมีผลเท่ากับออกเช็คไว้เป็นหลักประกันการกู้ยืม แม้ต่อมาธนาคารปฏิเสธการใช้เงิน จำเลยก็ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมโดยปริยายในการกู้ยืมและการฉ้อฉลเจ้าหนี้: ผลกระทบต่อการบังคับคดี
ผู้ร้องซึ่งเป็นสามีจำเลย รู้เห็นการกู้ยืมระหว่างโจทก์จำเลยและได้ทำหนังสือยินยอมให้จำเลยขายบ้านพิพาทให้โจทก์เกี่ยวกับการที่จำเลยกู้ยืมจากโจทก์ ดังนี้ ถือเท่ากับว่าผู้ร้องอนุญาตให้จำเลยทำนิติกรรมกู้เงินโจทก์โดยปริยายแล้วนิติกรรมการกู้ที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์จึงผูกพันสินบริคณห์ระหว่างจำเลยและผู้ร้องผู้ร้องไม่มีสิทธิบอกล้างการที่จำเลยร่วมมือกับผู้ร้องแกล้งจำหน่ายบ้านพิพาทให้ตกเป็นของผู้ร้องในการหย่ากันมิให้เป็นสินบริคณห์ต่อไป โดยรู้อยู่ว่าทำให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉลโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327
โจทก์มีสิทธินำยึดบ้านพิพาทมาดำเนินการบังคับคดีเอาชำระหนี้โจทก์ได้
โจทก์มีสิทธินำยึดบ้านพิพาทมาดำเนินการบังคับคดีเอาชำระหนี้โจทก์ได้