คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
กู้ยืมเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 347 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาปลอมและการพิสูจน์ข้อเท็จจริง การกู้ยืมเงินและค้ำประกันที่ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์กรอกข้อความและจำนวนเงินลงในสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกัน ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 เพียงแต่ลงลายมือชื่อให้โจทก์ไว้เกินไปจากความจริงโดยจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอมแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยอมรับว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์15,000 บาท และจำเลยที่ 2 ค้ำประกันโจทก์ไว้ 15,000 บาท โจทก์ไม่อาจอาศัยสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวมาเป็นพยานหลักฐานฟ้องร้องบังคับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้ใช้เงินตามจำนวนที่กู้ยืมและค้ำประกันจริงได้ ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและค้ำประกันคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระเงิน 15,000 บาทด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอำพรางเพื่อกู้ยืมเงิน เมื่อชำระหนี้แล้ว สัญญาซื้อขายไม่มีผลบังคับใช้
จำเลยได้กู้เงินโจทก์ไปจำนวนหนึ่งโดยมีบ้านของจำเลยเป็นหลักประกัน แต่ทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาซื้อขายบ้านอำพรางไว้ต่อมาจำเลยได้ชำระหนี้จำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว สัญญาซื้อขายบ้าน จึงใช้บังคับแก่คู่กรณีไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามสัญญาที่ถูกอำพรางไว้ภายใต้สัญญาเช่าซื้อ
ก่อนรถยนต์และสัมปทานทางวิ่งรถยนต์พิพาทจะโอนมาเป็นกรรมสิทธิ์โจทก์ในปี 2527 จำเลยเป็นผู้เช่าซื้อรถยนต์และเจ้าของสัมปทานทางวิ่งรถยนต์พิพาทมาก่อน แต่ต่อมาจำเลยใส่ชื่อโจทก์ในทะเบียนรถแทนด้วยการทำสัญญาเช่าจากโจทก์แทนสัญญากู้ยืมเงินกันจริง กรณีจำต้องบังคับกันตามสัญญากู้ยืมที่อำพรางกันไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 118 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงิน: ข้อแตกต่างในการรับเงินก่อนหรือหลังทำสัญญากู้ ไม่ทำให้สัญญากู้เป็นโมฆะ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินโจทก์และทำหนังสือสัญญากู้เงินไว้ แม้ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยที่ 1กู้ยืมเงินไปสี่ห้าครั้งก่อนแล้วจึงได้ทำสัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย ล.1 ก็ไม่เป็นพิรุธหรือข้อแตกต่างอันจะทำให้สัญญากู้เงินเสียไป เพราะข้อสาระสำคัญอยู่ที่ว่าจำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินและได้รับเงินจำนวนตามฟ้องจากโจทก์ไปแล้วก่อนทำสัญญากู้เงินหรือไม่ การที่จำเลยที่ 1 จะได้รับเงินจำนวนตามฟ้องจากโจทก์ในวันทำสัญญากู้เงินหรือก่อนวันทำสัญญาและรับเงินดังกล่าวครั้งเดียวหรือหลายครั้ง ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อแตกต่างกับฟ้องถึงรับฟังไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินเพื่อฉ้อโกง: อำนาจฟ้องล้มละลายแม้ยังไม่สิ้นสุดคดีอาญา
บริษัทจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เป็นกรรมการจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 สองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1 มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 5 ได้ประกาศชักชวนบุคคลทั่วไปให้ร่วมลงทุนกับจำเลยที่ 1 จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนคิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 8 ต่อเดือน หรือร้อยละ 96 ต่อปี ซึ่งมากกว่าที่สถาบันการเงินจะพึงให้ได้การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 6 รับเงินจากผู้ร่วมลงทุนแล้วนำไปมอบให้จำเลยที่ 1 รับผลประโยชน์จากจำเลยที่ 1 มามอบให้กับผู้ร่วมลงทุน โดยจำเลยที่ 4ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน1 เปอร์เซ็นต์ ชักชวนให้บุคคลทั่วไปร่วมลงทุนเป็นการที่จำเลยที่ 4 และที่ 6 กู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 แล้วไม่ใช่เป็นตัวแทนของผู้ร่วมลงทุน ตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 3 บัญญัติว่า "ผู้กู้ยืมเงิน"หมายความว่า บุคคลผู้ทำการกู้ยืมเงินและในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นด้วย" แม้พระราชกำหนดจะได้บัญญัติไว้ดังกล่าว แต่การที่จำเลยที่ 4 และที่ 6 ได้ร่วมดำเนินกิจการกับจำเลยที่ 1และได้รับผลประโยชน์ตอบแทน ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 และที่ 6ร่วมกับจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ยืมเงินด้วย ทั้งนี้เพราะบุคคลธรรมดาอาจร่วมกับนิติบุคคลประกอบกิจการก็ได้แม้จำเลยที่ 4เป็นผู้เสียหายได้ร่วมกับพวกฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีอาญาต่อศาลในข้อหาฉ้อโกงประชาชน และความผิดตามพระราชกำหนดว่าด้วยการกู้ยืมเงิน อันเป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และเป็นโจทก์ ฟ้องคดีล้มละลายก็ตาม ก็ยังถือว่าจำเลยที่ 4 และที่ 6 ร่วมดำเนินกิจการกับจำเลยที่ 1 อยู่นั่นเอง พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 6ในข้อหาฉ้อโกงประชาชนและผิดต่อพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ต่อศาลอาญาแม้ศาลอาญาจะพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 6แต่พนักงานอัยการโจทก์ยังได้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด จึงฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าจำเลยที่ 6 ไม่ได้กระทำผิดตามพระราชกำหนดดังกล่าวก็ตาม แต่ตามเจตนารมย์ของพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 10 นั้นแม้ผู้กระทำผิดอยู่ในฐานะผู้ต้องหาและหากเข้าหลักเกณฑ์ที่จะเป็นบุคคลล้มละลายพนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องผู้กระทำผิดดังกล่าวให้เป็นบุคคลล้มละลายได้ ทั้ง ๆ ที่ในขณะฟ้องยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าผู้กระทำผิดได้กระทำผิดหรือไม่ พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6ให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงินฉ้อโกงประชาชน: กรรมการบริษัทร่วมรับผลประโยชน์ถือเป็นผู้กู้ยืมเงินด้วย แม้คดีอาญาไม่ถึงที่สุด
การที่จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1ร่วมกับจำเลยที่ 6 รับเงินจากผู้ร่วมลงทุนแล้วนำไปมอบให้จำเลยที่ 1รับผลประโยชน์จากจำเลยที่ 1 มามอบให้กับผู้ร่วมลงทุน โดยจำเลยที่ 4ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 1 เปอร์เซ็นต์ชักชวนให้บุคคลทั่วไปร่วมลงทุน เป็นการที่จำเลยที่ 4 และที่ 6กู้ยืมเงินตามพระราชกฤษฎีกาการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ. 2527 แล้ว แม้พระราชกฤษฎีกาการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯมาตรา 3 จะบัญญัติว่า ผู้กู้ยืมเงินหมายความว่าบุคคลผู้ทำการกู้ยืมเงินและในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งลงนามในสัญญาหรือตราสารการกู้ยืมเงินในฐานะผู้แทนของนิติบุคคลนั้นด้วย แต่การที่จำเลยที่ 4 และที่ 6 ได้ร่วมดำเนินกิจการกับจำเลยที่ 1 และได้รับผลประโยชน์ตอบแทนถือได้ว่าจำเลยที่ 4และที่ 6 ร่วมกับจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ยืมเงินด้วย เพราะบุคคลธรรมดาอาจร่วมกับนิติบุคคลประกอบกิจการก็ได้ แม้จำเลยที่ 4 จะได้ฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 5 เป็นคดีอาญาข้อหาฉ้อโกงประชาชนและความผิดตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ และเป็นโจทก์ฟ้องคดีล้มละลายก็ตาม ก็ยังถือว่าจำเลยที่ 4 และที่ 6 ร่วมดำเนินกิจการกับจำเลยที่ 1 อยู่นั่นเอง แม้ศาลอาญาจะพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 6 ในข้อหาฉ้อโกงและความผิดต่อพระราชกฤษฎีกาการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯแต่พนักงานอัยการโจทก์ยังอุทธรณ์คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จึงฟังเป็นยุติไม่ได้ว่าจำเลยที่ 6 ไม่ได้กระทำผิดตามพระราชกฤษฎีกา ดังกล่าวก็ตาม แต่ตามเจตนารมณ์ ของพระราชกฤษฎีกาการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มาตรา 10 นั้น แม้ผู้กระทำผิดอยู่ในฐานะผู้ต้องหาและหากเข้าหลักเกณฑ์ที่จะเป็นบุคคลล้มละลาย พนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องผู้กระทำผิดดังกล่าวให้เป็นบุคคลล้มละลายได้ ทั้ง ๆ ที่ในขณะฟ้องยังไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าผู้กระทำผิดได้กระทำผิดหรือไม่ พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6 ให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4696/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: การกู้ยืมเงินที่แสดงเป็นสัญญาซื้อขาย ศาลยกฟ้องเรื่องผิดสัญญาซื้อขาย
การที่จำเลยกู้เงินโจทก์โดยมอบรถยนต์ให้โจทก์ยึดไว้เป็นประกันนิติกรรมการซื้อขายรถยนต์ซึ่งมีหนังสือหลักฐานการรับเงินขายรถยนต์จึงเป็นนิติกรรมอำพรางนิติกรรมการกู้เงิน นิติกรรมการซื้อขายจึงเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118วรรคแรก เดิม (มาตรา 155 วรรคแรกใหม่) และต้องบังคับตามนิติกรรมการกู้ยืมซึ่งเป็นนิติกรรมที่ถูกอำพรางไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 118 วรรคสอง เดิม (มาตรา 155วรรคสองใหม่) และแม้ในกรณีเช่นนี้จะมิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อจำเลยเป็นสำคัญต่างหากจากสัญญาซื้อขายก็ตาม ย่อมถือได้ว่าหนังสือหลักฐานการรับเงินขายรถยนต์เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินที่ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรระหว่างจำเลยกับโจทก์จึงมีผลบังคับกันได้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายขอเรียกเงินคืน จำเลยให้การต่อสู้ว่า ความจริงเป็นเรื่องการกู้ยืมเงินกัน เมื่อข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ตามที่จำเลยต่อสู้ ย่อมไม่อาจพิพากษาให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ได้ เพราะเป็นเรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์มูลหนี้จากการให้กู้ยืมเงิน การเบิกความลอยๆ และหลักฐานการชำระหนี้ที่ไม่เพียงพอ
เจ้าหนี้มีรายได้น้อยกว่าจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมไป เจ้าหนี้อ้างว่าได้กู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นมาให้ลูกหนี้กู้ยืม ก็ไม่ได้นำบุคคลดังกล่าวมานำสืบสนับสนุน การที่เจ้าหนี้ให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินไปก็ไม่ได้ทำหลักฐานการกู้ยืมหรือมีหลักประกันอย่างอื่นนอกจากให้ลูกหนี้สั่งจ่ายเช็คไว้เป็นประกันเท่านั้นทั้ง ๆ ที่เป็นเงินจำนวนมาก การจ่ายเงินให้ลูกหนี้จ่ายเป็นเงินสดแต่ไม่มีหลักฐานการรับเงิน คำเบิกความของเจ้าหนี้เป็นการเบิกความลอย ๆ ขาดเหตุผล และไม่มีพยานอื่นสนับสนุน ฟังไม่ได้ว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้จริง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3871/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารไม่ใช่ตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน ฟ้องไม่ขาดอายุความ
เอกสารซึ่งไม่มีข้อความระบุว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินคงมีแต่ข้อความว่าเป็น "ตั๋ว" จึงขาดสาระสำคัญของตั๋วสัญญาใช้เงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 983(1) เอกสารดังกล่าวจึงไม่ใช่ตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้ในเอกสารจะไม่มีข้อความว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ แต่มีข้อความว่าจำเลยจะจ่ายเงินตามคำสั่งของโจทก์รวม 25,000 เหรียญสหรัฐแสดงว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ในจำนวนเงินดังกล่าว และจำเลยลงชื่อไว้เอกสารดังกล่าว จึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ตามหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164(เดิม)(มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2826/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลงหนี้จากสัญญาสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นหนี้กู้ยืมเงินและจำนอง รวมถึงดอกเบี้ยผิดนัด
ภายหลังจากโจทก์ จำเลย และว.ทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลย และว. ยอมรับผิดร่วมกันชดใช้เงินค่าใช้จ่ายในการส่งคนงานไปทำงานต่างประเทศจำนวน 293,813 บาท ให้แก่โจทก์แล้ว โจทก์จำเลยได้ตกลงกันใหม่ว่าจำเลยรับว่าได้กู้ยืมเงินโจทก์ 293,813 บาท และจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้เงินกู้ดังกล่าว ดังนี้ถือได้ว่าโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาแปลงหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นหนี้เงินกู้และจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้เงินกู้ที่ปรากฏข้อความในหนังสือสัญญาจำนอง สัญญาจำนองจึงมีผลบังคับตามกฎหมาย การที่โจทก์จะรับชำระหนี้จำนองไว้บางส่วนตามหนังสือสัญญาชำระหนี้ซึ่งมีข้อความสงวนสิทธิในการจะฟ้องบังคับจำนองหากจำเลยชำระหนี้จำนองไม่ครบ ภายหลังจากที่โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยแล้วก็ตาม ไม่ถือว่าโจทก์สละเจตนาที่จะบังคับจำนองกับจำเลยยังถือเป็นหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองอยู่ การบอกกล่าวบังคับจำนองชอบแล้ว แม้ในหนังสือสัญญาจำนองมีข้อความระบุว่าไม่มีดอกเบี้ยก็ตามแต่หนังสือสัญญาจำนองนี้เป็นทั้งสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาจำนองข้อความที่ว่าไม่มีดอกเบี้ยจึงหมายความว่าที่จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์293,813 บาท นั้นไม่ต้องเสียดอกเบี้ยและสัญญาจำนองก็ไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินแต่เมื่อจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามกำหนดเวลาในหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนอง จำเลยย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 244
of 35