คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขอบเขต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 651 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 353/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับคดีค่าล่วงเวลา ดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดต้องปรากฏในคำฟ้อง
ในส่วนที่เกี่ยวกับเงินค่าล่วงเวลา โจทก์มีคำขอให้จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์พร้อมเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 15 ทุกระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ซึ่งเป็นการขอให้บังคับจำเลยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคสอง ประเด็นในคดีย่อมต้องเกิดจากคำฟ้องและคำให้การ เมื่อโจทก์มิได้กล่าวในฟ้องถึงเรื่องดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี ซึ่งกำหนดไว้ในประกาศดังกล่าวข้อ 31 วรรคหนึ่งแม้ศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่าจำเลยต้องจ่ายค่าล่วงเวลาและดอกเบี้ยหรือไม่เพียงใด ก็เป็นการกำหนดประเด็นที่เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องการกำหนดประเด็นส่วนของดอกเบี้ยจึงเป็นการไม่ชอบ แม้ศาลแรงงานวินิจฉัยให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ ก็ต้องถือว่าวินิจฉัยในเรื่องที่มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลแรงงาน และตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 52 ที่บัญญัติว่า ห้ามมิให้ศาลแรงงานพิพากษาหรือสั่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง เว้นแต่ในกรณีที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จะพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอบังคับก็ได้ จึงเห็นได้ว่าโดยหลักแล้วจะสั่งเช่นนั้นไม่ได้ นอกจากจะเข้าข้อยกเว้น แต่ในคำพิพากษาศาลแรงงานก็มิได้กล่าวว่ามีเหตุสมควรอย่างไรจึงให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยดังกล่าวแก่โจทก์ จึงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1999/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขต 'งานแล้วเสร็จ' ในสัญญาจ้างแรงงานมีกำหนดระยะเวลา
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ46 วรรคสี่ ข้อความที่ว่า "การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสาม.... ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี" ข้อความที่ว่า งานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี ย่อมหมายความว่า เป็นงานทั้งหมดที่นายจ้างต้องกระทำให้แล้วเสร็จใน 2 ปี หาใช่หมายถึงเฉพาะระยะเวลาการจ้างที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างสำหรับลูกจ้างแต่ละคนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการปฏิบัติงานในทางการจ้าง: การเดินทางกลับจากปฏิบัติงานนอกสถานที่ยังถือเป็นช่วงเวลาทำงาน
ผู้บังคับบัญชาของ ก. สั่งให้ ก. ไปรับผลการตรวจน้ำลายของลูกค้าและมอบของชำร่วยแก่ลูกค้าที่อำเภอสบปราบจังหวัดลำปาง ก. จึงได้เดินทางไปตามคำสั่ง ซึ่งถือได้ว่า ก.เดินทางไปปฏิบัติงานในทางการที่จ้างของนายจ้าง และเมื่อก. ออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่เสร็จแล้วก็ย่อมจะต้องเดินทางกลับจากสถานที่ดังกล่าวระหว่างเดินทางกลับก็ยังต้องถือว่าเป็นช่วงเวลาปฏิบัติงานในทางการที่จ้างให้นายจ้างกรณีต่างกับการที่ลูกจ้างปฏิบัติงานในหน้าที่ ณ สถานที่ทำงานปกติเสร็จแล้วเดินทางกลับบ้านซึ่งไม่อาจถือได้ว่าช่วงเวลาเดินทางกลับบ้านเป็นช่วงเวลาปฏิบัติงานในทางการที่จ้างของนายจ้าง การที่ ก. ประสบอุบัติเหตุจนถึงแก่ความตายระหว่างเดินทางกลับจากบ้านลูกค้าของนายจ้างจึงถือได้ว่าถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง ส่วนการที่ ก. ไม่ได้กลับบ้านทันทีที่ปฏิบัติหน้าที่เสร็จ เนื่องจากไปรับประทานอาหารที่บ้านลูกค้าอีกคนหนึ่งในละแวกเดียวกันหาทำให้การปฏิบัติงานในหน้าที่สิ้นสุดลงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการปฏิบัติงานนอกสถานที่: การเดินทางกลับจากงานของลูกจ้างยังอยู่ในขอบเขตของการทำงาน
ผู้บังคับบัญชาของก. สั่งให้ก. ไปรับผลการตรวจน้ำลายของลูกค้าและมอบของชำร่วยแก่ลูกค้าที่อำเภอสบปราบจังหวัดลำปางก. จึงได้เดินทางไปตามคำสั่งซึ่งถือได้ว่าก.เดินทางไปปฏิบัติงานในทางการที่จ้างของนายจ้างและเมื่อก. ออกไปปฏิบัติงานนอกสถานที่เสร็จแล้วก็ย่อมจะต้องเดินทางกลับจากสถานที่ดังกล่าวระหว่างเดินทางกลับก็ยังต้องถือว่าเป็นช่วงเวลาปฏิบัติงานในทางการที่จ้างให้นายจ้างกรณีต่างกับการที่ลูกจ้างปฏิบัติงานในหน้าที่ณสถานที่ทำงานปกติเสร็จแล้วเดินทางกลับบ้านซึ่งไม่อาจถือได้ว่าช่วงเวลาเดินทางกลับบ้านเป็นช่วงเวลาปฏิบัติงานในทางการที่จ้างของนายจ้างการที่ก. ประสบอุบัติเหตุจนถึงแก่ความตายระหว่างเดินทางกลับจากบ้านลูกค้าของนายจ้างจึงถือได้ว่าถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้างส่วนการที่ก. ไม่ได้กลับบ้านทันทีที่ปฏิบัติหน้าที่เสร็จเนื่องจากไปรับประทานอาหารที่บ้านลูกค้าอีกคนหนึ่งในละแวกเดียวกันหาทำให้การปฏิบัติงานในหน้าที่สิ้นสุดลงไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 172/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมเกินขอบเขต และสิทธิในการกีดขวางการใช้สามยทรัพย์
การจดทะเบียนภารจำยอมในที่ดินของโจทก์ระบุไว้ชัดแจ้งว่าเป็นภารจำยอมเรื่องทางเดินทั้งแปลงการวางท่อระบายน้ำระบบประปาไฟฟ้าและระบบสาธารณูปโภคอื่นการที่จำเลยทั้งสี่จ้างรถบรรทุกดินเข้ามาถมที่ดินของจำเลยทั้งสี่ซึ่งมีจำนวนหลายไร่ถือได้ว่าเป็นการใช้ทางภารจำยอมเกินควรกว่าปกติย่อมทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นเจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะทำได้การที่โจทก์นำหลักปักกีดขวางมิให้รถบรรทุกดินแล่นผ่านที่ภารยทรัพย์เข้าไปถมที่ดินของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นการละเมิดต่อจำเลยทั้งสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความและการระงับข้อพิพาทในคดีแรงงาน: ผลผูกพันและการขอบเขต
ศาลแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่า สิทธิของจำเลยที่ 1 ได้ระงับไปเนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ฟ้องและประนีประนอมยอมความกับโจทก์ที่ศาลแรงงานและรับเงินจากโจทก์ไปแล้ว เมื่อสิทธิของจำเลยที่ 1 ในจำนวนค่าเสียหายตามคำสั่งของจำเลยที่ 4 ถึงที่ 16 ที่พึงได้รับจากโจทก์นั้นได้ระงับไปด้วยการประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้ว และด้วยเหตุประนีประนอมยอมความเดียวกันนี้ สิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 4 ถึงที่ 16 ตามที่ฟ้องย่อมระงับไปด้วยเช่นกัน ศาลจึงไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 4 ถึงที่ 16 ในส่วนค่าเสียหายเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์ฟ้องตลอดจนที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด
คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่กำหนดให้โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งภายใน 10 วัน แต่โจทก์ยื่นฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งเมื่อพ้นกำหนดนั้นระยะเวลาที่กำหนดตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวมิใช่อายุความฟ้องร้องคดี ทั้งมิใช่ขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ตามมาตรา 8 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งนั้นก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลแรงงานขอให้เพิกถอนเสียได้
คำสั่งที่กำหนดจำนวนค่าเสียหายกรณีกระทำการอันไม่เป็นธรรมของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีผลก่อให้เกิดหนี้แก่โจทก์ที่จะต้องชำระแก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นสิทธิและหน้าที่ทางแพ่ง ทั้งมิใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน นายจ้างและลูกจ้างซึ่งเป็นคู่กรณีย่อมมีสิทธิที่จะตกลงประนีประนอมยอมความเปลี่ยนแปลงหรือระงับได้ตามใจสมัครโดยชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับ
บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ระบุชัดแจ้งว่า โจทก์ยอมชำระเงินและจำเลยที่ 2 กับที่ 3 ตกลงยอมรับเป็นค่าตอบแทนเนื่องในการที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ติดใจเรียกร้องเงินค่าตอบแทนใด ๆ มากกว่านั้นอีก แสดงชัดว่าเป็นการตกลงเพื่อระงับสิทธิหรือข้อพิพาทที่เนื่องมาจากการเลิกจ้างนั้นทุกประเภท จึงเป็นการประนีประนอมยอมความที่มีผลรวมถึงค่าเสียหายกรณีกระทำการอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดังกล่าวโดยตรงหาได้ติดใจโต้แย้งในปัญหานี้ไม่ จึงเป็นเครื่องชี้ชัดถึงเจตนาของจำเลยที่ 2 และที่ 3ในการทำความตกลงเป็นการประนีประนอมยอมความรวมถึงค่าเสียหายทั้งหมดทุกประเภทที่มีหรืออาจมีขึ้นเนื่องจากการเลิกจ้างอันเป็นมูลแห่งข้อพิพาทนั้นสิ้นเชิง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความระงับสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้าง และขอบเขตของการประนีประนอมยอมความ
ศาลแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่าสิทธิของจำเลยที่1ได้ระงับไปเนื่องจากจำเลยที่1ได้ฟ้องและประนีประนอมยอมความกับโจทก์ที่ศาลแรงงานและรับเงินจากโจทก์ไปแล้วเมื่อสิทธิของจำเลยที่1ในจำนวนค่าเสียหายตามคำสั่งของจำเลยที่4ถึงที่16ที่พึงได้รับจากโจทก์นั้นได้ระงับไปด้วยการประนีประนอมยอมความดังกล่าวแล้วและด้วยเหตุประนีประนอมยอมความเดียวกันนี้สิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่4ถึงที่16ตามที่ฟ้องย่อมระงับไปด้วยเช่นกันศาลจึงไม่จำต้องพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่4ถึงที่16ในส่วนค่าเสียหายเกี่ยวกับจำเลยที่1ตามที่โจทก์ฟ้องตลอดจนที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด คำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่กำหนดให้โจทก์ปฏิบัติตามคำสั่งภายใน10วันแต่โจทก์ยื่นฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งเมื่อพ้นกำหนดนั้นระยะเวลาที่กำหนดตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดังกล่าวมิใช่อายุความฟ้องร้องคดีทั้งมิใช่ขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522ตามมาตรา8วรรคท้ายเมื่อโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งนั้นก็มีสิทธิฟ้องต่อศาลแรงงานขอให้เพิกถอนเสียได้ คำสั่งที่กำหนดจำนวนค่าเสียหายกรณีกระทำการอันไม่เป็นธรรมของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีผลก่อให้เกิดหนี้แก่โจทก์ที่จะต้องชำระแก่จำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นสิทธิและหน้าที่ทางแพ่งทั้งมิใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนนายจ้างและลูกจ้างซึ่งเป็นคู่กรณีย่อมมีสิทธิที่จะตกลงประนีประนอมยอมความเปลี่ยนแปลงหรือระงับได้ตามใจสมัครโดยชอบด้วยกฎหมายและมีผลบังคับ บันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่2และที่3ระบุชัดแจ้งว่าโจทก์ยอมชำระเงินและจำเลยที่2กับที่3ตกลงยอมรับเป็นค่าตอบแทนเนื่องในการที่โจทก์เลิกจ้างจำเลยที่2และที่3โดยจำเลยที่2และที่3ไม่ติดใจเรียกร้องเงินค่าตอบแทนใดๆมากกว่านั้นอีกแสดงชัดว่าเป็นการตกลงเพื่อระงับสิทธิหรือข้อพิพาทที่เนื่องมาจากการเลิกจ้างนั้นทุกประเภทจึงเป็นการประนีประนอมยอมความที่มีผลรวมถึงค่าเสียหายกรณีกระทำการอันไม่เป็นธรรมตามคำสั่งคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งจำเลยที่2และที่3ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิดังกล่าวโดยตรงหาได้ติดใจโต้แย้งในปัญหานี้ไม่จึงเป็นเครื่องชี้ชัดถึงเจตนาของจำเลยที่2และที่3ในการทำความตกลงเป็นการประนีประนอมยอมความรวมถึงค่าเสียหายทั้งหมดทุกประเภทที่มีหรืออาจมีขึ้นเนื่องจากการเลิกจ้างอันเป็นมูลแห่งข้อพิพาทนั้นสิ้นเชิง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะประเด็นทางภารจำยอม ศาลล่างวินิจฉัยสิทธิครอบครองเกินขอบเขต
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางพิพาทซึ่งอยู่ในที่ดินของจำเลยอ้างว่าเป็นทางภารจำยอม จำเลยให้การว่าทางพิพาทดังกล่าวมิใช่ทางภารจำยอมจึงเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยพิพาทกันเฉพาะทางพิพาทว่าเป็นทางภารจำยอมหรือไม่เท่านั้น แม้ฟ้องโจทก์จะอ้างว่าทางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยและจำเลยได้นำชี้อ้างว่าทางพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์และจำเลยมีข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวนอกเหนือจากเรื่องทางภารจำยอมไปด้วยแต่อย่างใดไม่ การที่จำเลยนำชี้เขตที่ดินในการทำแผนที่พิพาทว่าที่ดินตามกรอบสีแดงในแผนที่พิพาทเป็นของตน และจำเลยร่วมคัดค้านว่าที่ดินตามกรอบสีเขียวในแผนที่พิพาทเป็นของจำเลยร่วม ก็เป็นกรณีที่จำเลยร่วมถูกโต้แย้งสิทธิในความเป็นเจ้าของที่ดิน ซึ่งมิได้เป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์และจำเลยในคดีนี้ด้วยโจทก์จึงหามีสิทธิที่จะขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเจ้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ได้ไม่แต่เป็นกรณีที่จำเลยและจำเลยร่วมชอบที่จะต้องนำปัญหาดังกล่าวไปฟ้องร้องเป็นคดีใหม่โดยตั้งประเด็นพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินตามกรอบสีเขียวโดยเฉพาะต่อไป การที่ศาลชั้นต้นหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีและศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามกรอบสีเขียวระหว่างจำเลยทั้งสองกับจำเลยร่วมนอกเหนือจากเรื่องทางภารจำยอมมาด้วยนั้น จึงเป็นการไม่ชอบปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246,247 และให้ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่วินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินตามกรอบสีเขียวในแผนที่พิพาทระหว่างจำเลยทั้งสองกับจำเลยร่วม ยกฎีกาจำเลยร่วม แต่ไม่ตัดสิทธิจำเลยทั้งสองและจำเลยร่วมที่จะไปฟ้องร้องกันใหม่ในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินตามกรอบสีเขียวในแผนที่พิพาทต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9933/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและขอบเขตความรับผิดของสัญญาค้ำประกัน
การที่โจทก์มีหนังสือทวงถามและบอกกล่าวให้ไถ่ถอนจำนองให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามจำนวนเงินในบัญชีเงินฝากกระแสรายวันซึ่งหักทอนบัญชีกัน ณ วันที่ 29 มกราคม 2531 เป็นเงิน 505,379.05 บาท ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ โดยหนังสือของโจทก์ดังกล่าวได้ระบุว่าเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญาด้วย แสดงว่าโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีหักทอนบัญชีและเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ที่คงเหลือแล้ว จึงไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 อีกต่อไป ถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตาม ป.พ.พ.มาตรา 859 ดังนั้นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงสิ้นสุดลงเมื่อครบระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดตามกฎหมายแล้วสัญญาบัญชีเดินสะพัดย่อมสิ้นสุดลงทันที หากจะมีการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัดกันต่อไปอีก ก็จะต้องมีการทำสัญญากันใหม่ และในทางปฏิบัติของธนาคารโจทก์หลังจากที่มีการบอกเลิกสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีแล้ว หากลูกค้าต้องการเดินบัญชีต่อก็ต้องทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีใหม่ เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกันใหม่ การกระทำของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ว่าหลังจากครบกำหนดระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ จำเลยที่ 1 ยังไม่ชำระหนี้และยังสั่งจ่ายเช็คถอนเงินจากบัญชี พร้อมทั้งนำเงินฝากเข้าบัญชีลดยอดหนี้หลายครั้งนั้น ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการต่ออายุสัญญาบัญชีเดินสะพัด โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ครบกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่จำเลยที่ 1ได้รับหนังสือของโจทก์
ตามสัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า เพื่อตอบแทนการที่โจทก์ยอมให้จำเลยกู้เงินจากโจทก์ตามสัญญาเป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท นั้นจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันยอมเข้าค้ำประกันรับผิดร่วมกับจำเลยในการชำระหนี้ตามสัญญาที่กล่าวแล้วจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง ดังนี้ ตามข้อสัญญาดังกล่าวหมายความว่า จำเลยที่ 2 ยอมค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ในการเบิกเงินเกินบัญชีไม่เกินจำนวน 300,000 บาท เท่านั้นหาใช่จำเลยที่ 2 ยอมรับผิดชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนไม่เพราะมิฉะนั้นแล้วในสัญญาค้ำประกันจะต้องระบุไว้โดยชัดเจนให้จำเลยที่ 2รับผิดโดยไม่จำกัดวงเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9695/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจมอบคดีเช็ค & ความผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค: การมอบอำนาจก่อนเกิดความผิด & ขอบเขตอำนาจ
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยออกเช็ครวม 4 ฉบับ ให้แก่โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ครั้นเช็คถึงกำหนดโจทก์ร่วมเรียกเก็บเงิน แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ทั้งนี้เพราะจำเลยออกเช็คโดยเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค คำฟ้องดังกล่าวได้บรรยายข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของจำเลยครบถ้วนเพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนปัญหาที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไรนั้นเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ผู้ใดจะมอบอำนาจไว้ล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเพื่อกระทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแทนตนซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสามารถจะทำได้ การมอบอำนาจให้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีความผิดเกี่ยวกับเช็คแก่พนักงานสอบสวน เป็นการมอบอำนาจให้กระทำกิจการอย่างหนึ่งซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมายแม้ในขณะมอบอำนาจความผิดยังไม่เกิด ผู้มอบอำนาจก็สามารถจะมอบอำนาจไว้ก่อนได้
ในขณะที่มีการมอบอำนาจนั้น โจทก์ร่วมอ้างว่าจำเลยออกเช็คให้แก่โจทก์ร่วมจำนวน 4 ฉบับ และขณะนั้นมีเช็ค 2 ฉบับ ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว โจทก์ร่วมจึงมอบอำนาจให้ ม.แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยแทนโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมก็มิได้เจาะจงให้ผู้รับมอบอำนาจแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนสำหรับเช็คฉบับใดโดยเฉพาะ หากแต่เป็นการมอบอำนาจให้กระทำการแทนสำหรับเช็คฉบับใดก็ได้ที่จำเลยออกให้แก่โจทก์ร่วม หากเช็คฉบับนั้นถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินดังนั้นเมื่อต่อมาปรากฏว่าเช็คที่เหลืออีก 2 ฉบับ ก็ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินม.จึงมีอำนาจที่จะแจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดเกี่ยวกับเช็ค 2 ฉบับหลังได้ด้วย และเมื่อ ม.ได้แจ้งความร้องทุกข์และมอบคดีแก่พนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องได้
คดีนี้เป็นคดีอาญาซึ่งข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ร่วมจริงโดยมีมูลหนี้มาจากค่าก่อสร้าง และต่อมาจำเลยได้ทำสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ร่วมไว้การกู้ยืมเงินระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยนั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วจำเลยได้ออกเช็คพิพาทชำระหนี้ดังกล่าว เช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่จำเลยออกเพื่อชำระหนี้ทีมีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย เมื่อเช็คดังกล่าวถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เนื่องจากจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาจะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4
of 66