พบผลลัพธ์ทั้งหมด 187 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1432/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากสุขภาพไม่สมบูรณ์และการดำเนินการตามขั้นตอนการฟ้องร้องกรณีการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์มีสุขภาพไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถตรากตรำทำงานในหน้าที่พนักงานเก็บค่าโดยสารและพนักงานขับรถอันเป็นงานหนักให้จำเลย ได้กรณีถือได้ว่าโจทก์เจ็บป่วยจนหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงมีเหตุสมควร มิใช่เป็นการเลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในระหว่างการเจรจาข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งสหภาพแรงงานฯ ที่โจทก์ เป็นสมาชิกได้แจ้งข้อเรียกร้องต่อจำเลยโดยที่โจทก์มิได้กระทำความผิด อันเป็นการอ้างว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทำ อันไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา121 นั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ดำเนินการยื่นคำร้องกล่าวหาจำเลยต่อ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 124 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการกระทำ อันไม่เป็นธรรมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1421/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การอ้างโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเป็นคดีความสงบเรียบร้อย ศาลต้องพิจารณาตามขั้นตอน
การขอแก้ไขคำให้การโดยอ้างว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเป็นคดีเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะยื่น คำร้องในวันชี้สองสถานก็ไม่ต้องห้าม แต่ศาลชั้นต้นยังมิได้ดำเนินการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 181 ศาลฎีกาจึงให้ ยกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลชั้นต้นปฏิบัติ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 181 แล้วดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1159/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ หากไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน แม้จ่ายค่าชดเชยก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
กรณีที่นายจ้างขอเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยกล่าวหาว่ากระทำผิดนั้น การเลิกจ้างจำต้องอยู่ภายใต้บังคับระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างซึ่งเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เมื่อความผิดฐานแจ้งอาการป่วยด้วยความเท็จตามระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของผู้ร้องกำหนดให้ผู้ร้องมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้ก็ต่อเมื่อได้ลงโทษด้วยการเตือนเป็นหนังสือก่อนแล้ว ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องเคยลงโทษผู้คัดค้านซึ่งเป็นลูกจ้างด้วยการเตือนเป็นหนังสือมาก่อน แม้ผู้ร้องจะขอเลิกจ้างโดยยินยอมจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าก็ไม่ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิเลิกจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องรื้ออาคาร: กฎหมายวิธีสบัญญัติมีผลย้อนหลัง เจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องปฏิบัติตามขั้นตอนก่อนสั่งรื้อ
พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 43 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาต และแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่สร้างโดยมิได้รับอนุญาตและขัดต่อข้อบัญญัติท้องถิ่นเสียก่อนที่จะมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารอย่างกฎหมายเดิมพ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ในส่วนซึ่งบัญญัติถึงการรื้อถอนและแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารที่สร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนกฎหมายเป็นวิธีการบังคับคดีในส่วนแพ่ง เป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติ จึงมีผลย้อนหลังไปใช้บังคับถึงการปลูกสร้างอาคารของจำเลยในปี พ.ศ. 2521 ด้วย ไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานท้องถิ่นปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว กลับมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทอันเป็นการปฏิบัติข้ามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดและฟ้องคดีนี้ภายหลังจากประกาศใช้ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ถึง 3 ปี โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารพิพาทคดีนี้ได้ แม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 144/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาและการปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลต้องสั่งขาดนัดก่อนชี้ขาดคดี
กรณีจำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบก่อนและไม่มีเหตุผลให้ศาลเห็นเป็นอย่างอื่น ศาลจะต้องสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาเสียก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 202 แล้วจึงจะทำการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวได้ การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบตามข้ออ้างและข้อต่อสู้ ให้นัดสืบพยานโจทก์โดยไม่ชี้ลงไปว่าเป็นเรื่องขาดนัดพิจารณา จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ปัญหานี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ฎีกาได้แม้จะไม่ได้โต้แย้งการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นไว้ และศาลฎีกาย่อมให้มีการพิจารณาใหม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มาศาลตามนัดและการยกฟ้องคดีอาญา: ศาลมิได้ข้ามขั้นตอน
ศาลสั่งนัดไต่สวนมูลฟ้องโดยให้โจทก์นำส่งหมายนัดภายใน 7วันทนายโจทก์ทราบนัดแล้ว ครั้นถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ไม่มาศาลโดยมิได้แจ้งเหตุขัดข้องหรือขอเลื่อนคดี ศาลจึงสั่งให้ยกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 166ต่อมาในวันเดียวกันนั้นเจ้าพนักงานศาลรายงานให้ศาลทราบว่า โจทก์มิได้ดำเนินการส่งหมายนัดให้จำเลยตามคำสั่งศาลขั้นตอนของการดำเนินกระบวนพิจารณาได้ล่วงเลยมาถึงวันนัดไต่สวนมูลฟ้องแล้ว จึงไม่มีกรณีที่ศาลจะต้องย้อนไปสั่งจำหน่ายคดีโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 อีก กรณีมิได้เป็นการข้ามขั้นตอนและมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิกรรมการสหภาพแรงงาน: การโต้แย้งสิทธิ, ขั้นตอนการจดทะเบียน, และอำนาจในการลงโทษ
โจทก์ได้รับเลือกตั้งให้เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน แต่จำเลยที่ 2 อธิบดีกรมแรงงานปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนแสดงว่าโจทก์เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน แม้สหภาพแรงงานนั้นจะเป็นผู้ขอจดทะเบียนและจำเลยที่ 2 ปฏิเสธไปยังสหภาพแรงงานก็ตาม ย่อมมีผลโดยตรงต่อโจทก์ เพราะโจทก์ไม่ได้เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน ทำให้ไม่ได้สิทธิและประโยชน์อันจะพึงได้รับจากการเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน โจทก์จึงถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 91 ที่บัญญัติให้ผู้ขอจดทะเบียนอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อนมาฟ้องศาลนั้น เป็นเรื่องของร่างข้อบังคับเมื่อแรกจัดตั้งสหภาพแรงงาน และกรณีตามมาตรา 94 ซึ่งเป็นเรื่องของการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับโดยให้นำมาตรา 91มาใช้บังคับโดยอนุโลม ก็เป็นเรื่องของข้อบังคับเช่นเดียวกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงตัวกรรมการซึ่งพ้นตำแหน่งไปตามวาระหรือตามข้อบังคับ เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยบุคคลไม่ใช่ข้อบังคับจะนำบทบัญญัติมาตรา 91 และ 94 มาใช้ไม่ได้ กรณีนี้ไม่มีบทมาตราใดกำหนดขั้นตอนไว้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางโดยไม่ต้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน
ระเบียบปฏิบัติงานว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยกำหนดโทษผิดวินัยมีเพียง 6 สถานคือ ไล่ออก ปลดออก ให้ออก ลดขั้นเงินเดือนตัดเงินเดือน และภาคทัณฑ์ ดังนี้การว่ากล่าวตักเตือนจึงไม่เป็นโทษทางวินัย ส่วนทัณฑ์บนเป็นถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำถึงผู้บังคับบัญชา มิใช่เป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวเอาแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ต่างกับการภาคทัณฑ์ จึงไม่ใช่โทษทางวินัย การที่โจทก์มีอำนาจว่ากล่าวตักเตือนหรือมีอำนาจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทำทัณฑ์บน แม้จะมีผลนำไปประกอบการพิจารณาความดีความชอบของลูกจ้างก็หาใช่เป็นอำนาจในการลงโทษตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 95 วรรคสองไม่ เพราะอำนาจลงโทษตามมาตรานี้จะต้องเป็นอำนาจโดยตรง มิใช่ถือเอาแต่ผลหรือถือเอาแต่เพียงมีอำนาจรายงานหรือเสนอต่อผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไป ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาตามมาตราดังกล่าว และไม่ขาดคุณสมบัติในการเป็นกรรมการสหภาพแรงงานตามมาตรา 101 (1)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1677 - 1678/2526 และ 2471/2527)
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 91 ที่บัญญัติให้ผู้ขอจดทะเบียนอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อนมาฟ้องศาลนั้น เป็นเรื่องของร่างข้อบังคับเมื่อแรกจัดตั้งสหภาพแรงงาน และกรณีตามมาตรา 94 ซึ่งเป็นเรื่องของการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับโดยให้นำมาตรา 91มาใช้บังคับโดยอนุโลม ก็เป็นเรื่องของข้อบังคับเช่นเดียวกัน ส่วนการเปลี่ยนแปลงตัวกรรมการซึ่งพ้นตำแหน่งไปตามวาระหรือตามข้อบังคับ เป็นเรื่องเกี่ยวด้วยบุคคลไม่ใช่ข้อบังคับจะนำบทบัญญัติมาตรา 91 และ 94 มาใช้ไม่ได้ กรณีนี้ไม่มีบทมาตราใดกำหนดขั้นตอนไว้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางโดยไม่ต้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ 2 ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อน
ระเบียบปฏิบัติงานว่าด้วยวินัยและโทษทางวินัยกำหนดโทษผิดวินัยมีเพียง 6 สถานคือ ไล่ออก ปลดออก ให้ออก ลดขั้นเงินเดือนตัดเงินเดือน และภาคทัณฑ์ ดังนี้การว่ากล่าวตักเตือนจึงไม่เป็นโทษทางวินัย ส่วนทัณฑ์บนเป็นถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาที่ผู้ใต้บังคับบัญชาทำถึงผู้บังคับบัญชา มิใช่เป็นคำสั่งของผู้บังคับบัญชาว่ากล่าวเอาแก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ต่างกับการภาคทัณฑ์ จึงไม่ใช่โทษทางวินัย การที่โจทก์มีอำนาจว่ากล่าวตักเตือนหรือมีอำนาจให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทำทัณฑ์บน แม้จะมีผลนำไปประกอบการพิจารณาความดีความชอบของลูกจ้างก็หาใช่เป็นอำนาจในการลงโทษตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 95 วรรคสองไม่ เพราะอำนาจลงโทษตามมาตรานี้จะต้องเป็นอำนาจโดยตรง มิใช่ถือเอาแต่ผลหรือถือเอาแต่เพียงมีอำนาจรายงานหรือเสนอต่อผู้บังคับบัญชาระดับเหนือขึ้นไป ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาตามมาตราดังกล่าว และไม่ขาดคุณสมบัติในการเป็นกรรมการสหภาพแรงงานตามมาตรา 101 (1)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1677 - 1678/2526 และ 2471/2527)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3607/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดี: การดำเนินการตามขั้นตอนครบถ้วนภายใน 10 ปี มิได้เพียงแค่การร้องขอ
การร้องขอให้บังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆของการบังคับคดีให้ครบถ้วนภายในกำหนด10ปีคือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีขั้นต่อไปต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้วจากนั้นเจ้าหนี้ต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำแถลงการที่ผู้ร้องเพียงแต่ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีอย่างเดียวเท่านั้นโดยมิได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปอีกจนพ้นกำหนดเวลา10ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาผู้ร้องจึงหมดสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยเพราะขาดอายุการบังคับคดีและผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอเฉลี่ยทรัพย์จากทรัพย์สินของจำเลยเพราะการขอเฉลี่ยทรัพย์เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่ง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีก่อนมีคำสั่งยกฟ้อง: ความถูกต้องของขั้นตอนกระบวนพิจารณา
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องโจทก์เมื่อเวลา 9.05 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีเมื่อเวลา 9.00 นาฬิกา ศาลชั้นต้นจะอ้างว่าโจท์ไม่แจ้งเหตุขัดข้องให้ทราบหาได้ไม่ ชอบที่จะพิจารณาคำร้องของโจทก์เสียก่อนว่าสมควรจะให้เลื่อนคดีหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องโจทก์โดยไม่พิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีที่ได้ยื่นไว้ก่อนที่จะมีคำสั่ง โดยอ้างว่าโจทก์ไม่มาศาลตามนัด เป็นการมีคำสั่งผิดขั้นตอนไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จึงต้องดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2984/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามขั้นตอนอุทธรณ์คำสั่งพนักงานเงินทดแทน หากไม่ปฏิบัติตาม จะไม่มีสิทธิโต้แย้งคำสั่งในศาล
เมื่ออธิบดีกรมแรงงานมีคำสั่งยกอุทธรณ์ของจำเลย และให้จำเลยจ่ายเงินทดแทนตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนแล้ว จำเลยหาได้นำคดีไปสู่ศาลไม่ คำสั่งของอธิบดีกรมแรงงานจึงเป็นที่สุด จำเลยจะดำเนินการใด ๆ ในศาลแรงงานอีกไม่ได้รวมทั้งให้การต่อสู้คดี ทั้งนี้โดยต้องห้ามตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 8 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเงินทดแทน จำเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้ว่าคำสั่งของพนักงานเงินทดแทนไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหมายความรวมถึงพนักงานเงินทดแทนกระทำโดยปราศจากอำนาจด้วย