พบผลลัพธ์ทั้งหมด 616 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2013/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งคำฟ้องโดยวิธีประกาศและการขาดนัดพิจารณาคดี กรณีจำเลยไม่ทราบการฟ้องเนื่องจากสถานการณ์พิเศษ
แม้โจทก์จะได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยทราบโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์โดยศาลชั้นต้นอนุญาตซึ่งอาจถือได้ว่าจำเลยทราบหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแล้วตามกฎหมายแต่เมื่อพิจารณาพยานจำเลยที่ว่าในช่วงเวลาที่โจทก์ประกาศหนังสือพิมพ์นั้นจำเลยบวชชีประจำอยู่ที่วัดซึ่งอยู่ในหุบเขาจึงไม่ทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องจึงน่าเชื่อว่าจำเลยยังไม่ทราบหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องจริงจำเลยจึงไม่ยื่นคำให้การต่อสู้คดีและในวันนัดสืบพยานโจทก์นั้นจำเลยก็ไม่ได้มาศาลโดยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณากรณีจึงมีเหตุสมควรให้พิจารณาคดีใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6557/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ การนำเอกสารเข้าสืบเกินสิทธิ และผลกระทบต่อการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การ ประเด็นข้อพิพาทคงเกิดจากข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามคำฟ้องเท่านั้น และจำเลยมีสิทธิเพียงอ้างตนเองเป็นพยานกับซักค้านพยานโจทก์เท่านั้น ไม่มีสิทธินำพยานจำเลยเข้าสืบไม่ว่าพยานบุคคลหรือพยานเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสอง การที่ทนายความจำเลยทั้งสองนำสำเนาหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ให้ตัวโจทก์ดูประกอบการถามค้านตัวโจทก์ตัวโจทก์ไม่ตอบคำถามเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าว แล้วทนายความจำเลยทั้งสองส่งเอกสารนั้นต่อศาลชั้นต้นนั้นตัวโจทก์ไม่ได้เบิกความรับรองเอกสารดังกล่าวเท่ากับจำเลยทั้งสองเรียกพยานหลักฐานของตนเข้าสืบฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายดังกล่าว สำเนาหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน จึงต้องห้ามมิให้รับฟัง ที่ศาลอุทธรณ์นำเอกสารดังกล่าวมาวินิจฉัยประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ว่าหนังสือสัญญากู้ยืมเงินตามฟ้องเป็นเอกสารปลอมจึงเป็นการไม่ชอบ เป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6309/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์พิพาทเกินสองแสนบาท และประเด็นขาดนัดพิจารณา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายเป็นเงิน207,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 57,000 บาท แก่โจทก์จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยฎีกายกเหตุอ้างว่าไม่จงใจขาดนัดพิจารณา อันเป็นข้อเท็จจริงแม้ฎีกาของจำเลยทั้งสองเป็นปัญหาในชั้นดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นไม่ใช่ปัญหาในประเด็นที่พิพาทตามคำฟ้องและคำให้การก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่าจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดพิจารณา ก็ต้องถือทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาเป็นเงิน 57,000 บาท ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเมื่อไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การ: เหตุสมควรอนุญาตยื่นได้ แม้ไม่ปรากฏเจตนาขาดนัด
เมื่อศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จำเลยมีสิทธิที่จะแจ้งต่อศาลถึงเหตุที่มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199ถ้าศาลเห็นว่าการขาดนัดของจำเลยมิได้เป็นไปโดยจงใจ หรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้ และในการวินิจฉัยว่าจะอนุญาตหรือไม่ เมื่อศาลเห็นว่ามีเหตุอันสมควรแล้ว ก็อนุญาตให้ยื่นคำให้การได้โดยไม่จำต้องพิจารณาต่อไปว่าจำเลยจงใจขาดนัดหรือไม่ เพราะมาตรานี้กำหนดว่าขาดนัดโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่น เมื่อเข้าหลักเกณฑ์ประการใดเพียงอย่างเดียว ศาลก็มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ยื่นคำให้การได้
กรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2535 จำเลยต้องยื่นคำให้การในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2535ระหว่างนั้นจำเลยได้ติดต่อทนายความ แต่ยังมิได้แต่งตั้งให้ดำเนินคดีโดยทนายความสั่งให้จำเลยหาหลักฐานมาก่อน ในวันที่ 29 ตุลาคม 2535 จำเลยป่วยได้ผ่าตัดเนื้องอกที่รังไข่ซ้ายที่โรงพยาบาล วันที่ 5 พฤศจิกายน 2535 จึงได้ออกจากโรงพยาบาลและแพทย์ลงความเห็นว่าควรพักผ่อนอีก 30 วัน และคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยเป็นเงิน 89 ล้านบาทเศษ กรณีเช่นนี้นับว่ามีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้
กรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2535 จำเลยต้องยื่นคำให้การในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2535ระหว่างนั้นจำเลยได้ติดต่อทนายความ แต่ยังมิได้แต่งตั้งให้ดำเนินคดีโดยทนายความสั่งให้จำเลยหาหลักฐานมาก่อน ในวันที่ 29 ตุลาคม 2535 จำเลยป่วยได้ผ่าตัดเนื้องอกที่รังไข่ซ้ายที่โรงพยาบาล วันที่ 5 พฤศจิกายน 2535 จึงได้ออกจากโรงพยาบาลและแพทย์ลงความเห็นว่าควรพักผ่อนอีก 30 วัน และคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยเป็นเงิน 89 ล้านบาทเศษ กรณีเช่นนี้นับว่ามีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 468/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การ: เหตุผลสมควรอนุญาตยื่นได้ แม้พ้นกำหนดตามกฎหมาย
เมื่อศาลมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจำเลยมีสิทธิที่จะแจ้งต่อศาลถึงเหตุที่มิได้ยื่นคำให้การภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา199ถ้าศาลเห็นว่าการขาดนัดของจำเลยมิได้เป็นไปโดยจงใจหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้และในการวินิจฉัยว่าจะอนุญาตหรือไม่เมื่อศาลเห็นว่ามีเหตุอันสมควรแล้วก็อนุญาตให้ยื่นคำให้การได้โดยไม่จำต้องพิจารณาต่อไปว่าจำเลยจงใจขาดนัดหรือไม่เพราะมาตรานี้กำหนดว่าขาดนัดโดยมิได้จงใจหรือมีเหตุอันสมควรประการอื่นเมื่อเข้าหลักเกณฑ์ประการใดเพียงอย่างเดียวศาลก็มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ยื่นคำให้การได้ กรณีส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่6ตุลาคม2535จำเลยต้องยื่นคำให้การในวันที่5พฤศจิกายน2535ระหว่างนั้นจำเลยได้ติดต่อทนายความแต่ยังมิได้แต่งตั้งให้ดำเนินคดีโดยทนายความสั่งให้จำเลยหาหลักฐานมาก่อนในวันที่29ตุลาคม2535จำเลยป่วยได้ผ่าตัดเนื้องอกที่รังไข่ซ้ายที่โรงพยาบาลวันที่5พฤศจิกายน2535จึงได้ออกจากโรงพยาบาลและแพทย์ลงความเห็นว่าควรพักผ่อนอีก30วันและคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์สินจากจำเลยเป็นเงิน89ล้านบาทเศษกรณีเช่นนี้นับว่ามีเหตุอันสมควรที่จะอนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4411/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดยื่นคำให้การและการจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
คำสั่งของศาลชั้นต้นในคำแถลงของโจทก์ที่ยื่นเข้ามาคัดค้านคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดที่สั่งว่า "โจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การในกำหนด แต่กลับแถลงคัดค้านตามคำแถลงนี้ ให้รับรวมสำนวน สำเนาให้ผู้ร้อง" สามารถเข้าใจได้ชัดเจนว่า ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำแถลงคัดค้านดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นคำให้การของโจทก์จึงได้แจ้งให้โจทก์ทราบในคำสั่งนั้นว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องยื่นคำให้การในกำหนด ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำแถลงคัดค้านของโจทก์ดังกล่าว ให้รับรวมสำนวนสำเนาให้ผู้ร้อง จึงเป็นการรับไว้เป็นคำแถลงเท่านั้น มิใช่รับไว้เป็นคำให้การของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่ยื่นคำให้การภายในกำหนด โจทก์ย่อมขาดนัดยื่นคำให้การ ผู้ร้องจึงต้องมีคำขอต่อศาลภายในสิบห้าวัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้โจทก์ยื่นคำให้การได้สิ้นสุดลงเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การ เมื่อผู้ร้องไม่ยื่นคำขอต่อศาลภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ศาลชั้นต้นชอบที่จะจำหน่ายคดีของผู้ร้องออกจากสารบบความได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 198 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 431/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การมอบอำนาจ, อากรแสตมป์, สิทธิเบิกจ่ายเงิน, การขาดนัดยื่นคำให้การ
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลฎีกาจะยกขึ้นวินิจฉัยได้ ต้องเกิดจากข้อเท็จจริงในกระบวนพิจารณาโดยชอบ เมื่อจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การจึงเท่ากับจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การในข้อที่เกี่ยวกับการขาดคุณสมบัติเป็นเจ้าอาวาสของพระปลัด ส.คดีจึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในข้อนี้ แม้จำเลยได้นำสืบต่อสู้ไว้ในศาลชั้นต้นและยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์โดยพระปลัด ส.ในฐานะเจ้าอาวาสได้มอบอำนาจให้ ล.และ ว.ในฐานะผู้รับมอบอำนาจร่วมกระทำการด้วยกันโดยเป็นโจทก์ฟ้องคดีแก่จำเลยเกี่ยวกับสมุดบัญชีเงินฝากในธนาคาร มิได้ให้แต่ละคนที่รับมอบอำนาจไปแยกกระทำการต่างหากจากกัน ดังจะเห็นได้จากใบแต่งทนายความที่ผู้รับมอบอำนาจทั้งสองคนก็ได้ลงลายมือชื่อร่วมกันเพื่อแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีนี้ จึงเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียวซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากรข้อ 7 (ข) กำหนดค่าอากรแสตมป์ไว้ 30 บาท
ตามสำเนาบัญชีเงินฝากและสำเนาแบบขอฝากเงินของนิติบุคคลระบุว่าการเปิดบัญชีเงินฝากรายพิพาทนี้ทำในนามวัดโจทก์ จำเลยเป็นเพียงผู้มีสิทธิลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวแทนโจทก์ได้เท่านั้น ดังนี้หากโจทก์ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขลายมือชื่อผู้มีสิทธิเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวอย่างไรโจทก์ก็ย่อมทำได้อยู่แล้ว กรณีไม่มีนิติกรรมอย่างใดให้จำเลยต้องไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเกี่ยวกับตัวบุคคลที่จะลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินให้แก่โจทก์จึงบังคับให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวไม่ได้
หนังสือมอบอำนาจที่โจทก์โดยพระปลัด ส.ในฐานะเจ้าอาวาสได้มอบอำนาจให้ ล.และ ว.ในฐานะผู้รับมอบอำนาจร่วมกระทำการด้วยกันโดยเป็นโจทก์ฟ้องคดีแก่จำเลยเกี่ยวกับสมุดบัญชีเงินฝากในธนาคาร มิได้ให้แต่ละคนที่รับมอบอำนาจไปแยกกระทำการต่างหากจากกัน ดังจะเห็นได้จากใบแต่งทนายความที่ผู้รับมอบอำนาจทั้งสองคนก็ได้ลงลายมือชื่อร่วมกันเพื่อแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีนี้ จึงเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลหลายคนร่วมกระทำการมากกว่าครั้งเดียวซึ่งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากรข้อ 7 (ข) กำหนดค่าอากรแสตมป์ไว้ 30 บาท
ตามสำเนาบัญชีเงินฝากและสำเนาแบบขอฝากเงินของนิติบุคคลระบุว่าการเปิดบัญชีเงินฝากรายพิพาทนี้ทำในนามวัดโจทก์ จำเลยเป็นเพียงผู้มีสิทธิลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวแทนโจทก์ได้เท่านั้น ดังนี้หากโจทก์ประสงค์จะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขลายมือชื่อผู้มีสิทธิเบิกจ่ายเงินตามบัญชีดังกล่าวอย่างไรโจทก์ก็ย่อมทำได้อยู่แล้ว กรณีไม่มีนิติกรรมอย่างใดให้จำเลยต้องไปดำเนินการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเกี่ยวกับตัวบุคคลที่จะลงลายมือชื่อเบิกจ่ายเงินให้แก่โจทก์จึงบังคับให้จำเลยดำเนินการดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4285/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดี: อำนาจไต่สวนและเพิกถอนคำสั่ง กรณีใบมอบฉันทะ
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาโดยอ้างว่าได้ทำใบมอบฉันทะมอบให้เสมียนทนายมาแล้ว แต่เสมียนทนายไม่ได้นำไปแสดงต่อศาลในการขอเลื่อนสืบพยานจำเลยเพราะหลงลืม ทั้งในคำร้องได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไว้ด้วย คำร้องของจำเลยที่ 1 จึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 แล้ว การที่เสมียนทนายไม่ได้นำใบมอบฉันทะมาแสดงต่อศาลก็ดีหรือการที่เสมียนทนายปลอมใบมอบฉันทะก็ดีเป็นการกระทำของเสมียนทนายไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายขาดนัดมาศาลได้หรือไม่ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 209 ศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4285/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีและการไต่สวนคำร้องขอเพิกถอนคำสั่ง ศาลต้องไต่สวนหากจำเลยอ้างเหตุสมควร
จำเลยที่1ยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งไต่สวนและเพิกถอนคำสั่งที่สั่งว่าจำเลยที่1ขาดนัดพิจารณาโดยอ้างว่าได้ทำใบมอบฉันทะมอบให้เสมียนทนายมาแล้วแต่เสมียนทนายไม่ได้นำไปแสดงต่อศาลในการขอเลื่อนสืบพยานจำเลยเพราะหลงลืมทั้งในคำร้องได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นไว้ด้วยคำร้องของจำเลยที่1จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา208แล้วการที่เสมียนทนายไม่ได้นำใบมอบฉันทะมาแสดงต่อศาลก็ดีหรือการที่เสมียนทนายปลอมใบมอบฉันทะก็ดีเป็นการกระทำของเสมียนทนายไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่1ซึ่งเป็นฝ่ายขาดนับมาศาลได้หรือไม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา209ศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4008/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช่าซื้อและค้ำประกัน: การใช้หนังสือมอบอำนาจเดิมหลังคดีจำหน่ายเพราะขาดนัด
++ เรื่อง เช่าซื้อ ค้ำประกัน ++
++ จำเลยฎีกา ++
++ ศาลฎีกาพิพากษา ...
++
++ คำพิพากษาสั่งออก - รอย่อ
++ แจ้งการอ่านแล้ว / โปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
โจทก์มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันจนเสร็จการ ถึงแม้ว่าผู้รับมอบอำนาจจะเคยฟ้องจำเลยในข้อหาผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ ขาดนัดพิจารณา จึงยังไม่เสร็จการตามที่ได้มอบอำนาจไว ดังนั้น ผู้รับมอบอำนาจจึงอาศัยหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมาฟ้องจำเลยใหม่ในมูลหนี้รายเดียวกันได้ ไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจใหม่
++ จำเลยฎีกา ++
++ ศาลฎีกาพิพากษา ...
++
++ คำพิพากษาสั่งออก - รอย่อ
++ แจ้งการอ่านแล้ว / โปรดติดต่อห้องบริการเอกสารสำเนาคำพิพากษา (ห้องสมุด) ชั้น 4, 5 ++
โจทก์มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจฟ้องจำเลยในข้อหาผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันจนเสร็จการ ถึงแม้ว่าผู้รับมอบอำนาจจะเคยฟ้องจำเลยในข้อหาผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีเพราะโจทก์ ขาดนัดพิจารณา จึงยังไม่เสร็จการตามที่ได้มอบอำนาจไว ดังนั้น ผู้รับมอบอำนาจจึงอาศัยหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวมาฟ้องจำเลยใหม่ในมูลหนี้รายเดียวกันได้ ไม่จำต้องทำหนังสือมอบอำนาจใหม่