พบผลลัพธ์ทั้งหมด 541 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คดีเยาวชนและครอบครัว: ข้อจำกัดในการอุทธรณ์การกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ
ศาลเยาวชนและครอบครัวซึ่งเป็นศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(1)(3)(11) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 83ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุ 15 ปีเศษ ลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง ลงโทษจำคุก 2 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปควบคุม เพื่อฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี ขั้นสูง 1 ปี 6 เดือน อันเป็นกรณีที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกำหนดให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดี เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 มิใช่เป็นกรณีที่ ศาลเยาวชนและครอบครัวพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชน ไปเพื่อกักและอบรมมีกำหนดระยะเวลาเกินสามปี ซึ่งต้องห้ามมิให้ อุทธรณ์ในข้อที่ศาลเยาวชนและครอบครัวใช้ดุลพินิจกำหนด วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121 คดีจึงไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์ ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแตกต่างขัดแย้งกันและไม่มีน้ำหนัก ให้ฟังว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด เพราะเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจกำหนด วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตามบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2517/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือนตาม ป.อ.มาตรา 55 และข้อจำกัดการยกเหตุใหม่ในชั้นฎีกา
โทษจำคุกที่ผู้กระทำความผิดจะต้องรับมีกำหนดเวลาเพียง3 เดือน หรือน้อยกว่าดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ.มาตรา 55 ต้องถือเอาโทษจำคุกที่ศาลลงในแต่ละกระทงความผิด จะรวมโทษจำคุกทุกกระทงความผิดในคดีนั้นมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ไม่ เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำเลยในแต่ละกระทงความผิด ให้จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ศาลจึงมีอำนาจใช้ดุลพินิจยกโทษจำคุกจำเลยตาม ป.อ.มาตรา 55 ได้
จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องแล้ว คำแก้ฎีกาของจำเลยเมื่อเป็นการขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้จำเลยยกขึ้นในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามฟ้องแล้ว คำแก้ฎีกาของจำเลยเมื่อเป็นการขัดกับคำรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้จำเลยยกขึ้นในชั้นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและการแก้ไขโทษโดยศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219 ตรีซึ่งในกรณีนี้มาตรา 221 ไม่ได้ให้อำนาจผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาได้
คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219ตรี ฎีกาของจำเลยที่ขอให้ศาลรอการลงโทษหรือลงโทษปรับจำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และการอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ได้
คดีนี้ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 219ตรี ฎีกาของจำเลยที่ขอให้ศาลรอการลงโทษหรือลงโทษปรับจำเลยเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และการอนุญาตให้ฎีกาของผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ชอบ แต่เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา และศาลฎีกาเห็นว่าโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดยังไม่เหมาะสมแก่รูปคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเปลี่ยนแปลงดุลพินิจในการลงโทษที่ศาลอุทธรณ์กำหนดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7117/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์และการฎีกาที่ขัดต่อข้อจำกัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และการบังคับให้จำเลยจ่ายเงินสินบนนำจับที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 29 ทวิ,71 ทวิ ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 6 เดือน และปรับ 5,000 บาทโทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ 1 ปี จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 ทวิ ที่โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษนั้นเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่จำเลยที่จะฎีกาขอให้รอการลงโทษ เพราะแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะรับวินิจฉัยให้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ฎีกาจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเป็นผู้จ่ายเงินสินบนนำจับกึ่งหนึ่งของค่าปรับเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 74 จัตวา ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้จ่ายเงินสินบนนำจับจากค่าปรับหรือจ่ายเงินค่าขายของกลางที่ศาลสั่งริบ หาได้บังคับให้จำเลยต้องจ่ายเงินสินบนนำจับด้วยไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยเป็นผู้จ่ายเงินสินบนนำจับกึ่งหนึ่งของค่าปรับเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ มาตรา 74 จัตวา ซึ่งเป็นบทบัญญัติให้จ่ายเงินสินบนนำจับจากค่าปรับหรือจ่ายเงินค่าขายของกลางที่ศาลสั่งริบ หาได้บังคับให้จำเลยต้องจ่ายเงินสินบนนำจับด้วยไม่ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6611/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 และฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง
จำเลยที่ 2 ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าในส่วนของโจทก์ที่ 1 ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระเงินจำนวน 48,662 บาททุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์สำหรับโจทก์ที่ 1 ไม่เกิน 50,000 บาท จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยในส่วนนี้ให้ก็เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในส่วนของโจทก์ที่ 1 ให้
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุม แต่จำเลยที่ 2ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุมเพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 48,662 บาท และให้โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 195,875 บาทรวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 244,537 บาท จำเลยที่ 2 ฎีกาในทุนทรัพย์ 264,537บาท จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินจำนวน 500 บาท แก่จำเลยที่ 2
จำเลยที่ 2 ฎีกาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุม แต่จำเลยที่ 2ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองเคลือบคลุมเพราะเหตุใด จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 48,662 บาท และให้โจทก์ที่ 2 เป็นเงิน 195,875 บาทรวมเป็นค่าเสียหายทั้งสิ้น 244,537 บาท จำเลยที่ 2 ฎีกาในทุนทรัพย์ 264,537บาท จึงให้คืนค่าขึ้นศาลส่วนที่เกินจำนวน 500 บาท แก่จำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6594/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญา: โทษจำคุกไม่เกินห้าปีและบทบัญญัติมาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับแต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปีห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ในการพิจารณาว่าคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ต้องแยกพิจารณาโทษแต่ละกระทงเป็นเกณฑ์ คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี ฐานจำหน่ายเฮโรอีน จำคุก 5 ปี รวมจำคุก 10 ปี คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 เห็นสมควรลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 6 ปี 8 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปีเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6594/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีอาญา: โทษจำคุกไม่เกินห้าปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ในคดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างหรือเพียงแต่แก้ไขเล็กน้อย และให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่โทษจำคุกไม่เกินห้าปีห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่งในการพิจารณาว่าคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้น ต้องแยกพิจารณาโทษแต่ละกระทงเป็นเกณฑ์ คดีนี้ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 5 ปี ฐานจำหน่ายเฮโรอีน จำคุก 5 ปีรวมจำคุก 10 ปี คำให้การรับสารภาพของจำเลยในชั้นจับกุมและทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 เห็นสมควรลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุก 6 ปี 8 เดือน จึงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละไม่เกิน 5 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5644/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์และผลของการบอกเลิกสัญญาหลังงานเสร็จ
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ร่วมรับผิดชำระค่าเสียหายจำนวน31,500 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 โจทก์อุทธรณ์ ดังนี้ ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์โจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 จึงไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โจทก์อุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224วรรคหนึ่ง การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการไม่ชอบ คดีสำหรับจำเลยที่ 1 จึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิฎีกา แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาของจำเลยที่ 1 ได้
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างฉบับพิพาท ข้อ 20 ระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างริบหลักประกันในสัญญาข้อ 3 ปรากฏว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานแล้วเสร็จเรียบร้อยและโจทก์ได้รับมอบงานจากจำเลยที่ 1ตามสัญญาแล้ว ถือว่าจำเลยที่ 1 ทำงานครบถ้วนตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1 ยังคงต้องรับผิดชอบต่องานที่โจทก์ได้รับมอบไปแล้วถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาข้อ 6วรรคหนึ่ง ซึ่งหากจำเลยที่ 1 บิดพริ้วเพิกเฉย โจทก์มีสิทธิว่าจ้างผู้อื่นทำงานนั้นหรือทำการแก้ไขเองโดยจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อค่าแก้ไขซ่อมแซมเท่านั้น ดังนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 20
สัญญาจ้างเหมาก่อสร้างฉบับพิพาท ข้อ 20 ระบุว่า ถ้าผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาแล้ว ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างริบหลักประกันในสัญญาข้อ 3 ปรากฏว่าเมื่อจำเลยที่ 1 ทำงานแล้วเสร็จเรียบร้อยและโจทก์ได้รับมอบงานจากจำเลยที่ 1ตามสัญญาแล้ว ถือว่าจำเลยที่ 1 ทำงานครบถ้วนตามสัญญาแล้ว โจทก์ย่อมหมดสิทธิบอกเลิกสัญญา จำเลยที่ 1 ยังคงต้องรับผิดชอบต่องานที่โจทก์ได้รับมอบไปแล้วถ้ามีเหตุชำรุดเสียหายนั้นเกิดจากความบกพร่องของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาข้อ 6วรรคหนึ่ง ซึ่งหากจำเลยที่ 1 บิดพริ้วเพิกเฉย โจทก์มีสิทธิว่าจ้างผู้อื่นทำงานนั้นหรือทำการแก้ไขเองโดยจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดต่อค่าแก้ไขซ่อมแซมเท่านั้น ดังนี้โจทก์จึงไม่มีสิทธิริบหลักประกันตามสัญญาข้อ 20
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4936/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการวินิจฉัยประเด็นใหม่ในชั้นฎีกาและการกำหนดค่าทนายความ
โจทก์ฟ้องอ้างว่า จำเลยบุกรุกนำต้นไม้เข้ามาปลูกในที่ดินโจทก์คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 3 ตารางวา จำเลยให้การว่า จำเลยปลูกต้นไม้ในที่ดินของจำเลย ไม่ได้บุกรุกที่ดินโจทก์ โดยมิได้ให้การต่อสู้ในเรื่องการครอบครองตามป.พ.พ.มาตรา 1382 ทั้งมิได้ยกประเด็นเรื่องการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ตามมาตรา1299 วรรคสอง ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ด้วย ดังนั้นการที่ศาลล่างทั้งสองหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาแม้จะเป็นการฎีกาในข้อกฎหมาย แต่ก็เป็นข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่งและวรรคสองศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 6698 เนื้อที่ 11 ตารางวา มีอาณาเขตทางด้านทิศใต้ติดที่ดินของจำเลยจำเลยได้รุกล้ำนำต้นไม้เข้ามาปลูกในที่ดินของโจทก์ตลอดแนวความยาวทางด้านทิศใต้เนื้อที่ประมาณ 3 ตารางวา ขอให้ขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว แม้จะไม่บรรยายว่าจำเลยได้บุกรุกที่ดินของโจทก์กว้าง ยาวและลึกเท่าใดก็ตาม แต่ก็พอเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยบุกรุกที่ดินส่วนไหนของโจทก์อย่างไร อีกทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีในกรณีเช่นนี้จึงต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราขั้นสูงกว่าตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.เป็นหลัก
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความใช้แทนเกินกว่าอัตราขั้นสูงและพิพากษาแก้ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องมานั้น แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าทนายความให้สูงขึ้น ศาลฎีกาก็ไม่อาจกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์ให้สูงขึ้นได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 6698 เนื้อที่ 11 ตารางวา มีอาณาเขตทางด้านทิศใต้ติดที่ดินของจำเลยจำเลยได้รุกล้ำนำต้นไม้เข้ามาปลูกในที่ดินของโจทก์ตลอดแนวความยาวทางด้านทิศใต้เนื้อที่ประมาณ 3 ตารางวา ขอให้ขับไล่จำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์ เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว แม้จะไม่บรรยายว่าจำเลยได้บุกรุกที่ดินของโจทก์กว้าง ยาวและลึกเท่าใดก็ตาม แต่ก็พอเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์กล่าวอ้างว่าจำเลยบุกรุกที่ดินส่วนไหนของโจทก์อย่างไร อีกทั้งจำเลยก็ได้ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีในกรณีเช่นนี้จึงต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราขั้นสูงกว่าตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.เป็นหลัก
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความใช้แทนเกินกว่าอัตราขั้นสูงและพิพากษาแก้ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องมานั้น แต่เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาขอให้จำเลยรับผิดชำระค่าทนายความให้สูงขึ้น ศาลฎีกาก็ไม่อาจกำหนดค่าทนายความให้จำเลยใช้แทนโจทก์ให้สูงขึ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4686/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานเพิ่มเติมในชั้นฎีกาและการนำสืบข้อจำกัดความรับผิดในสัญญา
แม้ในชั้นอุทธรณ์โจทก์จะมิได้ยกข้อกฎหมายเรื่องห้ามนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 (ข)ขึ้นว่ากล่าวไว้ในคำฟ้องอุทธรณ์ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าสัญญากู้ยืมเงินพิพาทไม่มีมูลหนี้เพราะจำเลยไม่ได้รับเงิน จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินต่อโจทก์จำเลยย่อมนำสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคสอง หาต้องห้ามตามกฎหมายไม่
การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่าสัญญากู้ยืมเงินพิพาทไม่มีมูลหนี้เพราะจำเลยไม่ได้รับเงิน จำเลยไม่ต้องรับผิดตามสัญญากู้ยืมเงินต่อโจทก์จำเลยย่อมนำสืบได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคสอง หาต้องห้ามตามกฎหมายไม่