พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6754/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดินและการครอบครอง: ทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท จึงฎีกาได้
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาคือราคาที่พิพาทจำนวน162,000บาทและค่าเสียหายอันเกี่ยวเนื่องกับที่พิพาทจนถึงวันฟ้องจำนวน40,200บาทรวมเป็นเงิน202,200บาทซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เกิน200,000บาทจึงไม่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6058/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทกับที่ดิน และข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์
โจทก์ฎีกาว่า ห้องพิพาทเป็นส่วนควบกับที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1เช่ามาจาก จ. ไม่ได้ซื้อมาจาก บ. ห้องพิพาทจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ เมื่อศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า ห้องพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ฎีกาโจทก์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อปรากฏว่าห้องพิพาทมีราคาไม่เกิน 15,000 บาท แม้รวมกับค่าเสียหายจำนวน 24,000 บาท ที่โจทก์เรียกร้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของโจทก์ก็ไม่เกินสองแสนบาท ฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสามและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท โดยอ้างว่าสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสามอยู่อาศัยเป็นของโจทก์ จำเลยทั้งสามให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินกับห้องพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสามโดยการครอบครอง-ปรปักษ์ ปัญหาว่าห้องพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสามหรือไม่ จึงเป็นประเด็นในคดีโดยตรง ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยทั้งสามได้กรรมสิทธิ์ในห้องพิพาทโดยให้จำเลยรื้อถอนออกไปได้ตามฟ้องแย้ง ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด
ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยทั้งสามแล้วสั่งว่า จำเลยทั้งสามยังไม่ได้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังโจทก์มิได้คัดค้านอุทธรณ์คำสั่งจึงต้องถือว่ายุติ กรณีมิใช่สั่งอนุญาตขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่จำเลยทั้งสาม ข้อความที่จำเลยทั้งสามฎีกาได้กล่าวโดยละเอียดถึงข้อเท็จจริงที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริต และจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยแจ้งชัดตรงตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ จึงเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่เป็นฎีกาเคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยทั้งสามและบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท โดยอ้างว่าสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยทั้งสามอยู่อาศัยเป็นของโจทก์ จำเลยทั้งสามให้การและฟ้องแย้งว่า ที่ดินกับห้องพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสามโดยการครอบครอง-ปรปักษ์ ปัญหาว่าห้องพิพาทเป็นของจำเลยทั้งสามหรือไม่ จึงเป็นประเด็นในคดีโดยตรง ศาลย่อมพิพากษาให้จำเลยทั้งสามได้กรรมสิทธิ์ในห้องพิพาทโดยให้จำเลยรื้อถอนออกไปได้ตามฟ้องแย้ง ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือนอกฟ้องนอกประเด็นแต่อย่างใด
ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยทั้งสามแล้วสั่งว่า จำเลยทั้งสามยังไม่ได้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังโจทก์มิได้คัดค้านอุทธรณ์คำสั่งจึงต้องถือว่ายุติ กรณีมิใช่สั่งอนุญาตขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่จำเลยทั้งสาม ข้อความที่จำเลยทั้งสามฎีกาได้กล่าวโดยละเอียดถึงข้อเท็จจริงที่โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาโดยไม่สุจริต และจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งเป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยแจ้งชัดตรงตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ จึงเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่เป็นฎีกาเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5795/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเกษตรกรรม: สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับใช้ ยุติข้อพิพาทตามพ.ร.บ.เช่าที่ดิน
การซื้อขายที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งต้องปฏิบัติตามพระราช-บัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น ต้องให้ คชก. รับทราบและวินิจฉัย และต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนตามที่พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเสมอไป หากจะต้องปฏิบัติก็เฉพาะการซื้อขายที่มีข้อพิพาทกันระหว่างเจ้าของที่ดินและผู้เช่าเท่านั้น ถ้าเป็นการซื้อขายที่ไม่มีข้อพิพาทต่อกัน ก็หาต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ จำเลยได้ยื่นเรื่องราวขอขายที่พิพาทให้แก่ผู้อื่นโดยมิได้แจ้งความประสงค์ที่จะขายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าก่อน โจทก์จึงได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อ คชก.ตำบล แต่ คชก.ตำบลไม่ได้วินิจฉัย เพราะประธาน คชก.ตำบลได้นำโจทก์จำเลยไปพบปลัดอำเภอทำการไกล่เกลี่ยและสามารถตกลงกันได้ โดยจำเลยตกลงขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และได้บันทึกข้อตกลงกันไว้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 มีผลบังคับได้ข้ออ้างตามคำคัดค้านของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจึงได้ยุติลงแล้วโดยข้อตกลงดังกล่าวและไม่มีกรณีพิพาทให้ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอีกต่อไป การที่จำเลยไม่ยอมขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้เป็นการผิดสัญญาและโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงทื่ทำกันไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5795/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันบังคับได้ แม้การซื้อขายที่ดินต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ แต่หากไม่มีข้อพิพาทก็ไม่ต้องบังคับ
การซื้อขายที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น ต้องให้ คชก.รับทราบและวินิจฉัย และต้องปฎิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเสมอไป หากจะต้องปฎิบัติก็เฉพาะการซื้อขายที่มีข้อพิพาทระหว่างเจ้าของที่ดินและผู้เช่าเท่านั้น ถ้าเป็นการซื้อขายที่ไม่มีข้อพิพาทต่อกัน ก็หาต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ จำเลยได้ยื่นเรื่องราวขอขายที่พิพาทให้แก่ผู้อื่นโดยมิได้แจ้งความประสงค์ที่จะขายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าก่อน โจทก์จึงได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อ คชก.ตำบล แต่ คชก.ตำบลไม่ได้วินิจฉัย เพราะประธาน คชก.ตำบลได้นำโจทก์จำเลยไปพบปลัดอำเภอทำการไกล่เกลี่ยและสามารถตกลงกันได้ โดยจำเลยตกลงขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และได้บันทึกข้อตกลงกันไว้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 มีผลบังคับได้ ข้ออ้างตามคำคัดค้านของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่ปฎิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจึงได้ยุติลงแล้วโดยข้อตกลงดังกล่าวและไม่มีกรณีพิพาทให้ต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอีกต่อไป การที่จำเลยไม่ยอมขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้เป็นการผิดสัญญาและโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฎิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5795/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเกษตรกรรม: สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับใช้ แม้ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ หากไม่มีข้อพิพาท
การซื้อขายที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้นต้องให้คชก.รับทราบและวินิจฉัยและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนตามที่พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้แต่ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเสมอไปหากจะต้องปฏิบัติก็เฉพาะการซื้อขายที่มีข้อพิพาทกันระหว่างเจ้าของที่ดินและผู้เช่าเท่านั้นถ้าเป็นการซื้อขายที่ไม่มีข้อพิพาทต่อกันก็หาต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่จำเลยได้ยื่นเรื่องราวขอขายที่พิพาทให้แก่ผู้อื่นโดยมิได้แจ้งความประสงค์ที่จะขายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าก่อนโจทก์จึงได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อคชก.ตำบลแต่คชก.ตำบลไม่ได้วินิจฉัยเพราะประธานคชก.ตำบลได้นำโจทก์จำเลยไปพบปลัดอำเภอทำการไกล่เกลี่ยและสามารถตกลงกันได้โดยจำเลยตกลงขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และได้บันทึกข้อตกลงกันไว้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850มีผลบังคับได้ข้ออ้างตามคำคัดค้านของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจึงได้ยุติลงแล้วโดยข้อตกลงดังกล่าวและไม่มีกรณีพิพาทให้ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอีกต่อไปการที่จำเลยไม่ยอมขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้เป็นการผิดสัญญาและโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5709/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทจำนองที่ดินและการโต้แย้งว่าเป็นการอำพรางการซื้อขาย ศาลฎีกาห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงเนื่องจากราคาพิพาทต่ำกว่าเกณฑ์
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำนองที่ดินและเพิ่มวงเงินจำนองไว้แก่จำเลย หลังจากนั้นโจทก์ขอชำระหนี้ทั้งหมดและไถ่ถอนจำนอง จำเลยเพิกเฉยโจทก์จึงนำเงินต้นและดอกเบี้ยไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ ขอให้บังคับจำเลยรับชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองคืนโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า โจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลยจริง แต่การจดทะเบียนเพิ่มเงินจำนองเป็นการแสดงเจตนาลวงเพื่ออำพรางนิติกรรมซื้อขายที่ดิน เพราะที่ดินดังกล่าวตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ห้ามโอนภายในกำหนดเวลา5 ปี จึงจดทะเบียนเป็นเพิ่มเงินจำนองเท่ากับราคาที่ดินที่โจทก์จำเลยตกลงซื้อขายกัน ดังนี้ กรณีเป็นเรื่องโต้แย้งและพิพาทกันด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดิน จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาที่ดินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกามีใจความว่าพยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ฟังได้ว่าโจทก์กู้เงินจากจำเลยและจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกัน ต่อมาโจทก์กู้เงินจากจำเลยอีกหลายครั้ง โจทก์จึงตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยในราคาเท่ากับจำนวนเงินที่โจทก์กู้ไปทั้งหมด แต่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไม่ได้ เพราะที่ดินพิพาทตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ห้ามโอนภายในกำหนด 5 ปี จึงจดทะเบียนเป็นเพิ่มเงินจำนองเพื่ออำพรางนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาท เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยและรับฟังมาว่าการจำนองที่ดินตามฟ้องไม่ได้เป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขายที่ดิน จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
จำเลยฎีกามีใจความว่าพยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ฟังได้ว่าโจทก์กู้เงินจากจำเลยและจำนองที่ดินพิพาทเป็นประกัน ต่อมาโจทก์กู้เงินจากจำเลยอีกหลายครั้ง โจทก์จึงตกลงขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยในราคาเท่ากับจำนวนเงินที่โจทก์กู้ไปทั้งหมด แต่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไม่ได้ เพราะที่ดินพิพาทตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 ห้ามโอนภายในกำหนด 5 ปี จึงจดทะเบียนเป็นเพิ่มเงินจำนองเพื่ออำพรางนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาท เป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าพยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักมากกว่าพยานหลักฐานของจำเลยและรับฟังมาว่าการจำนองที่ดินตามฟ้องไม่ได้เป็นนิติกรรมอำพรางการซื้อขายที่ดิน จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5563/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องค่าจ้างจากการจัดทำโครงการบ้านจัดสรร และความถูกต้องของคำพิพากษาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม
คดีนี้จำเลยที่2อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้โจทก์ใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แทนจำเลยทั้งสอง6,000บาทโดยไม่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา141(5)และ167วรรคหนึ่งศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 548/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีแพ่งเกี่ยวกับข้อพิพาททางกฎหมาย
(อัครวิทย์ สุมาวงศ์ - ยงยุทธ ธารีสาร - สมาน เวทวินิจ)ศาลแพ่ง นายชวเลิศ โสภณวัตศาลอุทธรณ์ นางอรพินท์ เศรษฐมานิต
นายปริญญา ดีผดุง - ย่อ
นายปริญญา ดีผดุง - ย่อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจะซื้อขาย: การเลื่อนโอนกรรมสิทธิ์ & การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดิน
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์โดยกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ในหนังสือสัญญาจะซื้อขายการที่โจทก์นำสืบว่ามีการเลื่อนกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์จากวันที่กำหนดไว้ในสัญญาหาใช่นำสืบว่าวันที่กำหนดโอนไว้ในสัญญาไม่ใช่วันที่ระบุไว้ในสัญญาจึงมิใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4814/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากข้อพิพาทในชั้นฎีกามีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่ารักษาพยาบาลจำนวน 52,531 บาท ค่าขาดรายได้จากการทำงานจำนวน 40,000 บาทค่าพาหนะเดินทางจำนวน 10,000 บาท ค่าผ่าตัดรักษาเท้าจำนวน 15,000บาท และค่าเสียความสามารถในการประกอบการงานจำนวน 200,000 บาทรวมเป็นเงิน 317,531 บาท แก่โจทก์ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันทำละเมิดจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยที่ 2 ฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายอันเป็นข้อเท็จจริงว่า ค่าพาหนะเดินทางไม่ควรเกิน 4,000 บาท ค่าผ่าตัดรักษาเท้าไม่ควรกำหนดให้ และค่าเสียความสามารถในการประกอบการงานไม่ควรเกิน 40,000 บาท ดังนั้นทุนทรัพย์ที่ยังพิพาทกันในชั้นฎีกามีจำนวน 181,000 บาท และเมื่อรวมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันทำละเมิดจนถึงวันฟ้องแล้วรวมเป็นเงิน 194,575 บาท ไม่เกิน200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง