คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อยกเว้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 405 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความคุ้มครองประกันภัยบุคคลภายนอก: การตีความข้อยกเว้นความรับผิดต่อผู้โดยสารและผู้ขับขี่
กรมธรรม์ประกันภัยหมวด 2 การคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ 2.2 มีข้อความว่า "ความรับผิดต่อผู้โดยสาร บริษัทจะใช้ค่าสินไหม-ทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์หรือกำลังขึ้นหรือกำลังลงจากรถยนต์เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย..." ข้อ 2.8 มีข้อความว่า "การคุ้มครองผู้ขับขี่ บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง..." ข้อ 2.11 มีข้อความว่า "การยกเว้นผู้โดยสารการประกันภัยตามข้อ 2.2 ไม่คุ้มครองความบาดเจ็บหรือมรณะของ 2.11.1ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย..." ตามข้อความในข้อ 2.2 และ ข้อ 2.8 ข้างต้น เป็นข้อกำหนดความรับผิดโดยทั่วไปของจำเลย ส่วนข้อ 2.11 เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยจำต้องตีความโดยเคร่งครัด จะแปลความในทำนองเดียวกันกับกรณีความรับผิดของจำเลยตามข้อ 2.2 ประกอบข้อ 2.8 หาได้ไม่ ซึ่งเมื่อพิเคราะห์กรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.3 ทั้งฉบับประกอบกับเจตนารมณ์ของคู่สัญญาแล้ว ข้อ 2.11 มีความหมายว่าการประกันภัยตามข้อ 2.2 ไม่คุ้มครองความบาดเจ็บหรือมรณะของผู้เอาประกันภัยโดยแท้จริงคือ ณ.หรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับ ณ.เท่านั้น น.ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุจึงมิใช่ผู้เอาประกันภัยและ ร.ก็ไม่ใช่บุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัยตามข้อ 2.11 น.คงเป็นเพียงบุคคลซึ่งขับรถยนต์โดยได้รับความยินยอมจาก ณ.ผู้เอาประกันภัยตามข้อ 2.8 เมื่อ ณ.ยินยอมให้ น.ยืมรถยนต์ของตนไปขับ และ น.ขับโดยประมาทเป็นเหตุให้ ร.ซึ่งโดยสารมาในรถคันดังกล่าวถึงแก่ความตายด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดตามข้อ 2.2 ประกอบข้อ 2.8 จำเลยหาได้รับการยกเว้นความรับผิดตามข้อ 2.11 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย การตีความขอบเขตความคุ้มครอง และความรับผิดของผู้รับประกันภัย
กรมธรรม์ประกันภัยหมวด2การคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอกข้อ2.2มีข้อความว่า"ความรับผิดต่อผู้โดยสารบริษัทจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์หรือกำลังขึ้นหรือกำลังลงจากรถยนต์เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย"ข้อ2.8มีข้อความว่า"การคุ้มครองผู้ขับขี่บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง"ข้อ2.11มีข้อความว่า"การยกเว้นผู้โดยสารการประกันภัยตามข้อ2.2ไม่คุ้มครองความบาดเจ็บหรือมรณะของ2.11.1ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย"ตามข้อความในข้อ2.2และข้อ2.8ข้างต้นเป็นข้อกำหนดความรับผิดโดยทั่วไปของจำเลยส่วนข้อ2.11เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยจำต้องตีความโดยเคร่งครัดจะแปลความในทำนองเดียวกันกับกรณีความรับผิดของจำเลยตามข้อ2.2ประกอบข้อ2.8หาได้ไม่ซึ่งเมื่อพิเคราะห์กรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมายจ.3ทั้งฉบับประกอบกับเจตนารมณ์ของคู่สัญญาแล้วข้อ2.11มีความหมายว่าการประกันภัยตามข้อ2.2ไม่คุ้มครองความบาดเจ็บหรือมรณะของผู้เอาประกันภัยโดยแท้จริงคือณ.หรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับณ. เท่านั้นน. ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุจึงมิใช่ผู้เอาประกันภัยและร. ก็ไม่ใช่บุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัยตามข้อ2.11น. คงเป็นเพียงบุคคลซึ่งขับรถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากณ. ผู้เอาประกันภัยตามข้อ2.8เมื่อณ. ยินยอมให้น. ยืมรถยนต์ของตนไปขับและน. ขับโดยประมาทเป็นเหตุให้ร. ซึ่งโดยสารมาในรถคันดังกล่าวถึงแก่ความตายจำเลยจึงต้องรับผิดตามข้อ2.2ประกอบข้อ2.8จำเลยหาได้รับการยกเว้นความรับผิดตามข้อ2.11ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทุพพลภาพถาวรและการบอกกล่าวเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน การตีความสัญญาประกันภัย และข้อยกเว้นการปฏิบัติตามเงื่อนไข
คำว่า "ทุพพลภาพ" หมายถึง หย่อนกำลังความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติ โจทก์ประกอบอาชีพรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์และจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์ โจทก์ย่อมต้องใช้การฟังเสียงเครื่องยนต์ประกอบในการซ่อมรถจักรยานยนต์ และต้องพูดคุยกับลูกค้ามาซื้ออะไหล่รถจักรยานยนต์ การที่ประสาทหูทั้งสองข้างของโจทก์เสีย ไม่ได้ยินเสียง โจทก์จึงหย่อนความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโดยสิ้นเชิงตลอดไป ถือได้ว่าโจทก์ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงแล้ว กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า "การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการทุพพลภาพดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรยังไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ" ตามข้อความดังกล่าวมิได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณี ในกรณีมีเหตุจำเป็นอันสมควร โจทก์อาจไม่ต้องปฏิบัติตามนั้นได้ โจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตนเองแต่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพราะโจทก์ใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้ ซึ่งจำเลยก็ได้รับคำบอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้ว แสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะให้โจทก์ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน 180 วัน นับแต่วันเริ่มทุพพลภาพตามที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากการสูญเสียการได้ยิน และข้อยกเว้นการแจ้งข้อเรียกร้องเป็นลายลักษณ์อักษร
โจทก์ ประกอบอาชีพรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์และจำหน่ายอะไหล่ต้องอาศัยการฟังเสียงเครื่องยนต์ประกอบการซ่อมรถและพูดคุยกับลูกค้าเมื่อประสบอุบัติเหตุทำให้ประสาทหูทั้งสองข้างของโจทก์เสียไม่ได้ยินเสียงโจทก์จึงหย่อนความสามารถในการประกอบการงานตามปกติโดยสิ้นเชิงตลอดไปถือว่าโจทก์ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงตามสัญญาแล้วหาจำต้องเป็นกรณีขาดกำลังที่จะประกอบการงานถึงขนาดไม่สามารถประกอบอาชีพหน้าที่การงานใดๆในอาชีพประจำหรืออาชีพอื่นได้โดยสิ้นเชิงไม่ ข้อสัญญาตกลงกันว่า"การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันภัยต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการ ทุพพลภาพดังกล่าวเป็น ลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรจึงไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ"มิได้กำหนดโดยเคร่งครัดว่าต้องบอกกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณีโจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตัวเองแต่ ไม่ได้ทำ เป็นหนังสือเพราะใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้และจำเลยได้รับคำ บอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วแสดงว่าไม่ติดใจให้โจทก์แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรตามสัญญา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2383/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทุพพลภาพถาวรและข้อยกเว้นการแจ้งลายลักษณ์อักษรตามสัญญาประกันภัย
คำว่า"ทุพพลภาพ"หมายถึงหย่อนกำลังความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโจทก์ประกอบอาชีพรับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์และจำหน่ายอะไหล่รถจักรยานยนต์โจทก์ย่อมต้องใช้การฟังเสียงเครื่องยนต์ประกอบในการซ่อมรถจักรยานยนต์และต้องพูดคุยกับลูกค้ามาซื้ออะไหล่รถจักรยานยนต์การที่ประสาทหูทั้งสองข้างของโจทก์เสียไม่ได้ยินเสียงโจทก์จึงหย่อนความสามารถที่จะประกอบการงานตามปกติโดยสิ้นเชิงตลอดไปถือได้ว่าโจทก์ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงแล้ว กรมธรรม์ประกันภัยมีข้อความว่า"การบอกกล่าวเรียกร้องผู้เอาประกันต้องบอกกล่าวให้บริษัททราบถึงการทุพพลภาพดังกล่าวเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอันสมควรยังไม่อาจแจ้งให้บริษัททราบ"ตามข้อความดังกล่าวมิได้กำหนดไว้อย่างเคร่งครัดว่าโจทก์ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้จำเลยทราบเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพทุกกรณีในกรณีมีเหตุจำเป็นอันสมควรโจทก์อาจไม่ต้องปฏิบัติตามนั้นได้โจทก์ไปติดต่อจำเลยด้วยตนเองแต่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษรเพราะโจทก์ใช้มือเขียนหนังสือไม่ได้ซึ่งจำเลยก็ได้รับคำบอกกล่าวของโจทก์ไว้พิจารณาแล้วแสดงว่าจำเลยไม่ติดใจที่จะให้โจทก์ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรภายใน180วันนับแต่วันเริ่มทุพพลภาพตามที่กำหนดไว้โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นภาษีการค้าสำหรับกาวและวัตถุดิบอุตสาหกรรม: การตีความคำว่า 'อุตสาหกรรม' และขอบเขตการยกเว้น
ตามบัญชีที่ 1 หมวด 5 เครื่องมือ เครื่องใช้ ของใช้ (26)แห่งบัญชีท้าย พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 บัญญัติว่า "กาวหรือสินค้าอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน นอกจากที่ใช้ในการอุตสาหกรรม" ดังนั้นกาวหรือสินค้าอันมีลักษณะทำนองเดียวกันดังกล่าวจึงหมายถึงสิ่งของที่เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ และของใช้ ดังที่ระบุไว้ในตอนต้นของหมวด 5 เมื่อสินค้าโพลีไวนิล อาซิเตด ลาเท็กซ์ ของโจทก์ เป็นกาวหรือสินค้าอันมีลักษณะทำนองเดียวกับกาว หากโจทก์ขายสินค้าของโจทก์ดังกล่าวเพื่อใช้ในกิจการอย่างอื่นที่มิใช่การอุตสาหกรรม โจทก์ย่อมต้องเสียภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าของโจทก์ตามกฎหมาย เพราะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีการค้าตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.ฎ. ดังกล่าวข้างต้น ส่วนโพลีไวนิล อาซิเตด ลาเท็กซ์ที่โจทก์ผลิตและได้นำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการอุตสาหกรรมนั้นเป็นสินค้าที่มิได้ระบุไว้ในบัญชีท้าย พ.ร.ฎ.ดังกล่าว และเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรทั้งเป็นสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก)ของบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ2 แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าโพลีไวนิลอาซิเตด ลาเท็กซ์ ของโจทก์ตามมาตรา 5 (8) แห่ง พ.ร.ฎ. ดังกล่าว
ตามบัญชีท้าย พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 มิได้ให้ความหมายของคำว่า"อุตสาหกรรม" ไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำดังกล่าว ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายของคำว่า "อุตสาหกรรม" ไว้ว่าการทำสิ่งของเพื่อให้เกิดผลประโยชน์เป็นกำไร,การประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงงานและทุนมากอุตสาหกรรมตามความหมายแรกนั้นจึงไม่จำต้องเป็นกิจการที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมหรือได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมาย นอกจากนี้อุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง ก็อยู่ในความหมายของคำว่าอุตสาหกรรมด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ขายสินค้าโพลีไวนิลอาซิเตด ลาเท็กซ์ ให้แก่ลูกค้าที่ซื้อไปใช้ในการอุตสาหกรรมทั้งสิ้น โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าของโจทก์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรสำหรับสินค้าที่ใช้ในอุตสาหกรรม และข้อยกเว้นภาษีตามกฎหมาย
ตามบัญชีที่1หมวด5เครื่องมือเครื่องใช้ของใช้(26)แห่งบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่54)พ.ศ.2517บัญญัติว่า"กาวหรือสินค้าอันมีลักษณะทำนองเดียวกันนอกจากที่ใช้ในการอุตสาหกรรม"ดังนั้นกาวหรือสินค้าอันมีลักษณะทำนองเดียวกันดังกล่าวจึงหมายถึงสิ่งของที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้และของใช้ดังที่ระบุไว้ในตอนต้นของหมวด5เมื่อสินค้าโพลีไวนิลอาซิเตดลาเท็กซ์ ของโจทก์เป็นกาวหรือสินค้าอันมีลักษณะทำนองเดียวกับกาวหากโจทก์ขายสินค้าของโจทก์ดังกล่าวเพื่อใช้ในกิจการอย่างอื่นที่มิใช่การอุตสาหกรรมโจทก์ย่อมต้องเสียภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าของโจทก์ตามกฎหมายเพราะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีการค้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวข้างต้นส่วนโพลีไวนิลอาซิเตดลาเท็กซ์ ที่โจทก์ผลิตและได้นำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการอุตสาหกรรมนั้นเป็นสินค้าที่มิได้ระบุไว้ในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวและเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรทั้งเป็นสินค้าตามประเภทการค้า1ชนิด1(ก)ของบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด4ลักษณะ2แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าโพลีไวนิลอาซิเตคลาเท็กซ์ ของโจทก์ตามมาตรา5(8)แห่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่54)พ.ศ.2517มิได้ให้ความหมายของคำว่า"อุตสาหกรรม"ไว้จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำดังกล่าวซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ.2525ให้ความหมายของคำว่า"อุตสาหกรรม"ไว้ว่าการทำสิ่งของเพื่อให้เกิดผลประโยชน์เป็นกำไร,การประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงงานและทุนมากอุตสาหกรรมตามความหมายแรกนั้นจึงไม่จำต้องเป็นกิจการที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมหรือได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมายนอกจากนี้อุตสาหกรรมขนาดย่อมอุตสาหกรรมขนาดกลางก็อยู่ในความหมายของคำว่าอุตสาหกรรมด้วยเมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้ขายสินค้าโพลิไวนิลอาซิเตดลาเท็กซ์ให้แก่ลูกค้าที่ซื้อไปใช้ในการอุตสาหกรรมทั้งสิ้นโจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าของโจทก์ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1100/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นภาษีหนังสือ, ค่าใช้จ่ายรถยนต์, และการไม่รับอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
หนังสือนิตยสารของโจทก์มิใช่หนังสือพิมพ์ที่ส่วนใหญ่เป็นข่าวสารแต่กลับมีเนื้อหาที่เป็นนวนิยายมากกว่าข่าวสาร จึงไม่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 79 ตรี (7) โจทก์ต้องนำรายรับจากการจำหน่ายหนังสือดังกล่าวมารวมคำนวณเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท 1 ชนิด 6
หลักฐานทะเบียนรถยนต์หาใช่เอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ของรถยนต์ไม่ แม้ทะเบียนรถยนต์ระบุวันเดือนปีที่โจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองไว้ก็หาต้องฟังเป็นเด็ดขาดตามนั้นเสมอไปไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่ารายจ่ายเกี่ยวกับรถยนต์คันดังกล่าวมิใช่รายจ่ายที่โจทก์กำหนดขึ้นเอง จึงไม่ต้องด้วยประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี
ศาลภาษีอากรกลางสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์บางข้อโดยมิได้สั่งในวันที่โจทก์ยื่นอุทธรณ์และยังไม่แจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ เมื่อศาลฎีกาตรวจอุทธรณ์ของโจทก์ข้อดังกล่าวแล้ว เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 25กรณีจึงไม่มีเหตุต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลภาษีอากรกลางแจ้งคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ให้โจทก์ทราบอีกเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7802/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นปริมาณวัตถุออกฤทธิ์: ผลต่อความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ฯ
ในระหว่างพิจารณา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) ให้ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 85 (พ.ศ.2536) โดยกำหนดการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ประโยชน์ซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 เมื่อคำนวณปริมาณเป็นสารบริสุทธิ์แล้ว สำหรับเมทแอมเฟตามีนต้องไม่เกินปริมาณ 0.500 กรัมเมื่อไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่าวัตถุออกฤทธิ์ที่จำเลยมีไว้ในครอบครองคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ปริมาณเกินกว่าที่รัฐมนตรีกำหนดหรือไม่ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ. วัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 มาตรา 106ทวิ เพราะประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 92 (พ.ศ.2538) เป็นคุณแก่จำเลย ตาม ป.อ. มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6754/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง: คดีทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาคือราคาที่พิพาทจำนวน 162,000บาท และค่าเสียหายอันเกี่ยวเนื่องกับที่พิพาทจนถึงวันฟ้องจำนวน 40,200 บาท รวมเป็นเงิน 202,200 บาท ซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เกิน 200,000 บาท จึงไม่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
of 41