พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2586/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องละเมิดจากข้าราชการที่กระทำการโดยมิชอบ ทำให้โจทก์เสียหายจากสัญญาที่ไม่มีผลผูกพัน
จำเลยเป็นข้าราชการสังกัดกรมโจทก์ ตำแหน่งเกษตรอำเภอจำเลยนำปุ๋ยเคมี เครื่องสูบน้ำ และเงินหมุนเวียนของโจทก์ไปให้เกษตรกรเช่าซื้อ ยืม โดยจำเลยลงชื่อแทนเกษตรกร หรือไม่ได้ให้เกษตรกรลงชื่อในสัญญาซื้อขาย สัญญาเช่าซื้อและสัญญายืมเงิน เป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถบังคับตามสัญญาเหล่านั้นได้ โจทก์จึงเสียหายนับแต่วันที่จำเลยมอบสิ่งของหรือเงินให้แก่เกษตรกรไปตั้งแต่วันทำสัญญาจำเลยจึงทำละเมิดต่อโจทก์นับตั้งแต่วันทำสัญญาดังกล่าวแล้วเมื่อนับถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 ส่วนสัญญาที่กำหนดให้ผู้ยืมชำระเงินคืนตามกำหนด จำเลยมีหน้าทีต้องติดตามทวงถามนับแต่วันที่ผู้ยืมผิดสัญญาไม่ชำระเงินคืน เมื่อจำเลยไม่ติดตามทวงถามเงินคืนทำให้โจทก์เสียหาย ถือว่าจำเลยกระทำละเมิดนับแต่วันที่จำเลยไม่ติดตามทวงถามเงินคืนเมื่อถึงกำหนดชำระ แต่เมื่อนับแต่วันถึงกำหนดชำระเงินคืนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 448 เช่นกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องอาญาและการระงับตามกฎหมาย กรณีเคยฟ้องคดีซ้ำ และความรับผิดของข้าราชการ
โจทก์บรรยายฟ้องถึงตำแหน่งและหน้าที่ของจำเลยทั้งห้าตลอดจนการกระทำทั้งหลายว่าเป็นการมิชอบด้วยหน้าที่ไว้โดยละเอียดแสดงถึงการกระทำทั้งหลายซึ่งอ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ที่เกิดการกระทำนั้น ๆ เพียงพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ในชั้นไต่สวนมูลฟ้องได้ความว่า การกระทำของจำเลยที่ 1และที่ 3 ซึ่งเป็นการกระทำเดียวกันกับในคดีนี้ โจทก์เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 เป็นจำเลยในข้อหาแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ศาลพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 3 ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ได้ความเพียงว่า ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ ทั้งโจทก์ไม่ได้ยืนยันว่าจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5ได้กระทำการใดเพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายอันจะเป็นความผิดตามบทกฎหมายที่โจทก์อ้าง คดีของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีมูล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4244/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีข้าราชการถูกลงโทษวินัย: ต้องรอการจัดตั้งศาลปกครอง
จำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาได้มีคำสั่งตั้งกรรมการสอบสวนความผิดของโจทก์ และมีคำสั่งว่าโจทก์กระทำผิดวินัยข้าราชการให้ลงโทษภาคทัณฑ์ไว้ เป็นการปฎิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518ซึ่งเป็นการใช้อำนาจของทางราชการฝ่ายบริการโดยเฉพาะ เมื่อจำเลยมีคำสั่งไปตามหน้าที่อย่างไรแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ ซึ่งโจทก์ก็ได้ใช้สิทธิอุทธรณ์แล้ว ส่วนการที่โจทก์จะนำคดีมาสู่ศาลดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 จะกระทำได้ต่อเมื่อได้มีการจัดตั้งศาลปกครองแล้ว แต่ขณะนี้ยังมิได้มีการจัดตั้งศาลปกครอง สิทธิของโจทก์ที่จำนำคดีมาสู่ศาลจึงยังไม่มี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4216/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการจากการเก็บรักษาเงินผิดระเบียบ ทำให้เงินสูญหาย
จำเลยที่ 1 รับราชการเป็นหัวหน้าฝ่ายการคลังของโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของทางราชการโดยไม่ส่งมอบเงินที่เหลือจ่ายให้แก่คณะกรรมการเก็บรักษาเงิน เพื่อให้เก็บรักษาไว้ในตู้นิรภัยที่โจทก์ได้จัดไว้ให้ซึ่งมีลูกกุญแจ 3 ดอก แต่กลับนำเข้าเก็บไว้ในตู้นิรภัยที่มีลูกกุญแจดอกเดียว ทั้งยังนำลูกกุญแจตู้นิรภัยดังกล่าวไปเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานของจำเลยที่ 1 เมื่อมีคนร้ายมางัดโต๊ะทำงานของจำเลยที่ 1 และนำลูกกุญแจตู้นิรภัยไปไขตู้นิรภัยลักเอาเงินที่เก็บรักษาไว้ไปได้ ถือได้ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นโดยตรงจากการจงใจหรือประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 จะอ้างเหตุในเรื่องหัวหน้าส่วนราชการไม่ทักท้วงสั่งการแก้ไขการปฏิบัติหน้าที่ที่ผิดระเบียบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินให้ถูกต้องมาเป็นเหตุว่าจำเลยที่ 1 ปฏิบัติหน้าที่โดยชอบแล้วไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1573/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเงินบำเหน็จข้าราชการที่ถูกอายัดในคดีล้มละลาย เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จแล้ว
จำเลยเป็นข้าราชการสังกัดหน่วยงานของผู้ร้อง หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และมีคำพิพากษาให้จำเลยล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือขออายัดเงินซึ่งอ้างว่าจำเลยมีสิทธิได้รับบำเหน็จจากผู้ร้อง เพื่อรวบรวมไว้ในกองทรัพย์สิน ตามมาตรา 121 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ดังนั้นแม้ผู้ร้องได้ส่งเงินดังกล่าวให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โดยมิได้ปฏิเสธสิทธิเป็นหนังสือมายังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 119 ก็ไม่ถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินตามจำนวนที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาด เพราะกรณีไม่เข้าข่าย มาตรา 119 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะรวบรวมเงินบำเหน็จ ของจำเลยได้นั้น ต้องได้ความว่าจำเลยมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จ จากผู้ร้อง เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และผู้ร้องได้มีคำสั่งให้ไล่จำเลยออกจากราชการ ซึ่งมีผลให้จำเลย ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ ตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ส่วนท้องถิ่นฯ เงินบำเหน็จที่ผู้ร้องส่งให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงไม่ใช่ทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งให้แก่เจ้าหนี้ได้ตาม มาตรา 109 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ไม่มีอำนาจจัดการเก็บรวบรวมและรับเงินไว้ตาม มาตรา 22 และต้องคืนเงินดังกล่าวให้ผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1436/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของข้าราชการต่อการยักยอกเงินของทางราชการจากความประมาทเลินเล่อและการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล อธิบดีซึ่งเป็นผู้แทนของกรมโจทก์มอบอำนาจให้ผู้หนึ่งผู้ใดฟ้องคดีแทน ดังนี้อากรสำหรับการมอบอำนาจซึ่งกรมโจทก์เป็นฝ่ายที่ต้องเสียจึงเป็นอันไม่ต้องเสียตามประมวลรัษฎากร มาตรา 121 โจทก์มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 3 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 4 ให้มีหน้าที่และรับผิดชอบโดยตรงในด้านการเงินและทะเบียนยานพาหนะ แต่จำเลยที่ 3 ไม่เคยตรวจตราอย่างใกล้ชิดในการเก็บรักษาเงิน และไม่ดูแลในการนำเงินส่งคลังให้เป็นไปตามระเบียบเป็นการประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฉวยโอกาสยักยอกเงินของทางราชการไป จึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 4 มีตำแหน่งเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธร ย่อมต้องมีหน้าที่รับผิดชอบงานในหน่วยราชการที่ตนมีหน้าที่ควบคุมอยู่ แม้จะมอบหมายหน้าที่การเงินให้จำเลยที่ 3 ดูแลแทน จำเลยที่ 4 ก็ยังต้องมีหน้าที่ดูแลมิให้เกิดการเสียหาย เมื่อจำเลยที่ 4 ปล่อยปละละเลยไม่ปฏิบัติตามระเบียบในการรักษาเงินโดยไม่เก็บรักษา กุญแจไว้กับตนกลับมอบให้จำเลยที่ 3 ซึ่งถือกุญแจอยู่อีก 1 ดอก เป็น การเปิดช่องให้มีการยักยอกเงินสะดวกขึ้นเมื่อมอบหมายให้จำเลยที่ 3ปฏิบัติหน้าที่แทนตนก็มิได้ตรวจตราควบคุมดูแลการนำเงินเข้าและออกจากที่เก็บตลอดจนมิได้ตรวจสอบทะเบียนเงินยืมและเร่งรัดให้มีการส่งใบสำคัญหักล้างเงินยืมตามระเบียบจนเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ร่วมกันปลอมใบยืมและเบิกเงินไปโดยผิดระเบียบถึง 29 ครั้ง ถือว่า เป็นความประมาทเลินเล่อ เมื่อเกิดความเสียหายอันเป็นผล ของความประมาทเลินเล่อดังกล่าวจำเลยที่ 4 จึงต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4391/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหน่วยงานราชการจากการกระทำละเมิดของข้าราชการ และการฟ้องคดีเกินอายุความ
จำเลยที่ 1 รับราชการอยู่กรมข่าวทหาร สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุดซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกระทรวงกลาโหม แต่กองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งในสังกัดกระทรวงกลาโหมตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503 เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ กระทรวงกลาโหมและกองบัญชาการทหารสูงสุดต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76
ค่าเสียหายในเรื่องละเมิดนั้นแม้โจทก์นำสืบถึงจำนวนแน่นอนไม่ได้ศาลก็อาจกำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีละเมิดเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์สำหรับจำเลยร่วมจึงขาดอายุความฟ้องร้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
ค่าเสียหายในเรื่องละเมิดนั้นแม้โจทก์นำสืบถึงจำนวนแน่นอนไม่ได้ศาลก็อาจกำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีละเมิดเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์สำหรับจำเลยร่วมจึงขาดอายุความฟ้องร้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4391/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของส่วนราชการต่อละเมิดของข้าราชการ และอายุความฟ้องคดีละเมิด
จำเลยที่ 1 รับราชการอยู่กรมข่าวทหาร สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุดซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างหากจากกระทรวงกลาโหม แต่กองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งในสังกัดกระทรวงกลาโหมตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2503เมื่อการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นจากการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ กระทรวงกลาโหมและกองบัญชาการทหารสูงสุดต้องร่วมกันรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 76
ค่าเสียหายในเรื่องละเมิดนั้นแม้โจทก์นำสืบถึงจำนวนแน่นอนไม่ได้ศาลก็อาจกำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีละเมิดเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์สำหรับจำเลยร่วมจึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา448
ค่าเสียหายในเรื่องละเมิดนั้นแม้โจทก์นำสืบถึงจำนวนแน่นอนไม่ได้ศาลก็อาจกำหนดให้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีละเมิดเมื่อพ้น 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน คดีโจทก์สำหรับจำเลยร่วมจึงขาดอายุความฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา448
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการใช้อำนาจในตำแหน่งเรียกรับเงินจากผู้รับเหมาเพื่อผ่านงานก่อสร้าง
จำเลยเป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดมหาวิทยาลัย ร. มีหน้าที่ปฏิบัติงานช่าง เขียนแบบและปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมายจำเลยได้รับแต่ง ตั้งจากมหาวิทยาลัยให้มีหน้าที่ควบคุมและตรวจงานก่อสร้างที่พักสำหรับนักศึกษา แล้วรายงานผลให้ประธานกรรมการตรวจการจ้างทราบ ซึ่งจำเลยอาจรายงานในทางให้คุณหรือให้โทษโดยเกี่ยงงอน ว่างานงวดสุดท้ายที่จำเลยเรียกร้องเงินจาก พ. ตัวแทนของผู้รับจ้างในการที่จำเลยจะลงนามตรวจผ่านให้นั้นยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ตามสัญญาจ้างก็ได้จึงถือได้ว่า จำเลยใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบจูงใจเพื่อให้ พ. ให้เงินดังกล่าวแก่จำเลย อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 148 แล้ว แม้จำเลยจะอ้างว่าเรียกร้องให้ผู้อื่นและได้มีการส่งมอบเงินให้จำเลยหลังจากที่คณะกรรมการตรวจการจ้างตรวจรับงานไว้แล้วก็ตาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3329/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของข้าราชการต่อทรัพย์สินสูญหาย การประเมินค่าเสียหายตามราคาจริง และการเริ่มต้นนับอายุความ
จำเลยเป็นหัวหน้าแผนกคลัง แม้จำเลยได้ใช้ความระมัดระวังจัดเวรยามเฝ้าดูแลบริเวณรอบนอกคลังพัสดุที่เก็บทรัพย์สินของทางราชการตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว แต่ทรัพย์สินที่หายได้เก็บรักษาไว้ในตู้เหล็กในคลังพัสดุโดยไม่ได้ใส่กุญแจ เพียงแต่ใช้กระดาษเขียนชื่อเจ้าหน้าที่ปิดไว้เท่านั้น ทั้งทรัพย์สินที่หายก็มีขนาดเล็ก สามารถเอาแอบซุกซ่อนไปกับตัวได้โดยสะดวก เมื่อปรากฏว่า คนร้ายที่ลักทรัพย์ดังกล่าวไปเป็นเจ้าหน้าที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยเอง จึงถือได้ว่าจำเลยประมาทเลินเล่อแล้ว เพราะการที่จะป้องกันทรัพย์สินให้พ้นจากการลักขโมยของคนภายในด้วยกันเองนั้น นอกจากจะต้องเก็บรักษาไว้ในสถานที่อันเหมาะสมกับลักษณะของตัวทรัพย์แล้ว ยังจะต้องอยู่ในสภาพที่ยากต่อการที่บุคคลจะหยิบฉวยเอาไปได้โดยง่ายอีกด้วย
กรณีที่พัสดุของทางราชการได้จัดหามาโดยการซื้อขายพอเป็นพิธีเพื่อมิให้ขัดต่อระเบียบของทางราชการ และราคาที่จัดซื้อมาก็ต่ำต่างกับราคาที่แท้จริงมาก การจะให้ผู้ต้องรับผิดชดใช้ราคาของทรัพย์สินนั้น ต้องถือตามราคาที่แท้จริง
ข้าราชการกองทัพเรือประมาทเลินเล่อทำให้ทรัพย์สินของกองทัพเรือสูญหายไป อายุความ 1 ปี เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้บัญชาการทหารเรือได้ลงนามรับทราบรายงานผลการสอบสวนว่าจำเลยจะต้องรับผิด มิใช่เริ่มนับในวันที่รู้ว่าเกิดมีการทำละเมิดขึ้น.
กรณีที่พัสดุของทางราชการได้จัดหามาโดยการซื้อขายพอเป็นพิธีเพื่อมิให้ขัดต่อระเบียบของทางราชการ และราคาที่จัดซื้อมาก็ต่ำต่างกับราคาที่แท้จริงมาก การจะให้ผู้ต้องรับผิดชดใช้ราคาของทรัพย์สินนั้น ต้องถือตามราคาที่แท้จริง
ข้าราชการกองทัพเรือประมาทเลินเล่อทำให้ทรัพย์สินของกองทัพเรือสูญหายไป อายุความ 1 ปี เริ่มนับตั้งแต่วันที่ผู้บัญชาการทหารเรือได้ลงนามรับทราบรายงานผลการสอบสวนว่าจำเลยจะต้องรับผิด มิใช่เริ่มนับในวันที่รู้ว่าเกิดมีการทำละเมิดขึ้น.