พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2764/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีล้มละลาย: คำพิพากษาเดิมเป็นหลักฐาน
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษา ศาลแพ่งมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2524 โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายวันที่ 2 พฤศจิกายน 2533 ยังไม่เกินกำหนดเวลา 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168(เดิม)และ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธหนี้หลังได้รับหนังสือทวงหนี้ในคดีล้มละลาย หากพ้นกำหนด 14 วัน ถือว่ายอมรับหนี้ตามกฎหมาย
เมื่อผู้ร้องไม่ได้ปฏิเสธต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับจากวันที่ผู้ร้องได้รับหนังสือทวงหนี้นั้นต้องถือว่าผู้ร้องเป็นหนี้กองทรัพย์สินของจำเลยอยู่ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งไปยังผู้ร้องเป็นการเด็ดขาด ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคแรก ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะมาร้องขอต่อศาลให้วินิจฉัยว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องโดยไม่ชอบเพราะผู้ร้องไม่ได้เป็นหนี้จำเลย หรือจำเลยไม่มีสิทธิเรียกค่าธรรมเนียมสำหรับหนี้ที่ค้างชำระ อันเป็นการคัดค้านว่าผู้ร้องไม่ได้เป็นหนี้กองทรัพย์สินของจำเลยตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งไปยังผู้ร้อง ซึ่งขัดต่อ มาตรา 119 วรรคแรกดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 164/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ขาดอายุความแต่ลูกหนี้รับสภาพหนี้แล้ว เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้
หนี้ที่ลูกหนี้ได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความก่อนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เป็นหนี้ที่ฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เจ้าหนี้จึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาซื้อขายโดยพยานบุคคล และผลกระทบต่อสินสมรสในคดีล้มละลาย
แม้การนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาซื้อขายว่า น. ซื้อบ้านพิพาทแทน ก. จะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 และเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาไม่เห็นสมควร ศาลฎีกาก็ไม่ยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ภาษีอากรค้างในคดีล้มละลาย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจตามกฎหมายที่จะยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรเพื่อให้ได้ชำระภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องได้รับมอบอำนาจจากกรมสรรพากร ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างได้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากกรมสรรพากรเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3901/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การมอบอำนาจให้ทนายความลงลายมือชื่อในคำขอ
ตามหนังสือมอบอำนาจโจทก์ได้มอบอำนาจให้ น. เป็นผู้ยื่นด้วยขอรับชำระหนี้ และดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนี้แทน ฯลฯฉะนั้น น. จึงมีสิทธิที่จะดำเนินคดีเรื่องนี้แทนโจทก์ได้ตลอดทั้งการขอรับชำระหนี้ด้วย เพราะการขอชำระหนี้เป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่โจทก์จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483การที่ น. ลงลายมือชื่อในคำขอรับชำระหนี้หาใช่เป็นการลงลายมือแทนโจทก์ไม่ หากแต่เป็นการกระทำแทนโจทก์ซึ่งเป็นตัวการตามที่ได้รับมอบหมายให้ทำการขอรับชำระหนี้แทนตามหนังสือมอบอำนาจ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3839/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีล้มละลาย อาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษาชั้นที่สุด อายุความสะดุดหยุดลงจากการบังคับคดี
ระยะเวลา 10 ปี ตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 มิใช่อายุความฟ้องร้องคดี เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายโดยมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่ง มูลหนี้ดังกล่าวเป็นสิทธิเรียกร้องอันตั้งหลักฐานขึ้นโดยคำพิพากษาชั้นที่สุดของศาลจึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 168 หลังจากศาลชั้นต้นได้พิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2522 แล้ว โจทก์ก็ได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาจนมีการยึดทรัพย์จำนองขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 19 มีนาคม2523 ได้เงินชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วนในวันดังกล่าว การดำเนินการชั้นบังคับคดีจนถึงวันที่ 19 มีนาคม 2523 จึงเป็นการดำเนินการภายใน10 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีแพ่งซึ่งย่อมเป็นเหตุทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173โจทก์ฟ้องคดีล้มละลายนี้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2533 ยังไม่ล่วงเลยกำหนดเวลา 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2588/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: พิจารณาช่วงเวลาการทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองเพื่อพิจารณาการเพิกถอนตามมาตรา 115
จำนองเป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งมีผลเมื่อมีการจดทะเบียนการจำนองที่พิพาทมีการทำสัญญาและจดทะเบียนจำนองเมื่อวันที่17 กันยายน 2529 จึงเป็นการที่ลูกหนี้ผู้จำนองเอาที่พิพาทตราไว้แก่ผู้คัดค้านในวันดังกล่าว หาใช่ถือเอาวันที่ลูกหนี้และผู้คัดค้านไปแจ้งความจำนงขอจดทะเบียนจำนองที่พิพาทในวันที่ 1 สิงหาคม 2529ไม่ และไม่ว่าจะถือเอาวันแสดงความจำนงขอจดทะเบียนจำนองหรือวันที่จดทะเบียนจำนองดังกล่าวแล้ว นับถึงวันฟ้องคือวันขอให้ล้มละลายวันที่ 31 ตุลาคม 2529 ก็ยังอยู่ในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายเช่นกัน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงขอให้เพิกถอนการจำนองที่พิพาทให้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 115 ข้อที่ผู้คัดค้านฎีกาว่าวันขอให้ล้มละลายคือวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์นั้น เมื่อผู้คัดค้านมิได้ยกขึ้นคัดค้านมาแต่ศาลชั้นต้น จึงไม่เป็นประเด็นและไม่มีสาระควรแก่การยกขึ้นวินิจฉัย ศาลฎีกาย่อมไม่วินิจฉัยให้ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 115 ให้ผู้ร้องเพิกถอนการกระทำได้โดยอาศัยเพียงลูกหนี้ได้กระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น หาได้บัญญัติถึงความสุจริตและมีค่าตอบแทนของผู้ถูกเพิกถอนไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาจำเลยคดีล้มละลาย: การจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนบ้าน ไม่ทำให้สิ้นภูมิลำเนา
เดิมจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร จำเลยย้ายภูมิลำเนาไปอยู่จังหวัดลำพูนแล้วย้ายต่อไปอยู่ที่บ้านเลขที่ 15/8 หมู่ที่ 1ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาอำเภอเมืองเชียงใหม่จำหน่ายชื่อจำเลยออกจากทะเบียนบ้านเดิมแล้วลงชื่อไว้ในทะเบียนคนบ้านกลาง การที่จำเลยย้ายไปอยู่จังหวัดเชียงใหม่ แสดงว่า จำเลยมีถิ่นอันเป็นสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญที่จังหวัดเชียงใหม่ ถือได้ว่าจังหวัดเชียงใหม่เป็นภูมิลำเนาของจำเลย ส่วนที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ได้จำหน่ายชื่อจำเลยออกจากทะเบียนบ้านเดิม แล้วลงชื่อไว้ในทะเบียนคนบ้านกลางก็เนื่องจากไม่มีตัวอยู่ในบ้านและไม่ทราบที่อยู่ใหม่ มิใช่จำเลยได้ย้ายที่อยู่พร้อมด้วยเจตนาจะเปลี่ยนภูมิลำเนา จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้เปลี่ยนภูมิลำเนาไปจากจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ตามระเบียบสำนักงานกลางทะเบียนราษฎร กรมการปกครองว่าด้วยการจัดทำทะเบียนราษฎร สำหรับสำนักทะเบียนในเขตปฏิบัติการตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2528 ข้อ 52 และ 53ที่ให้ถือว่าทะเบียนคนบ้านกลางไม่ใช่ทะเบียนบ้าน และบุคคลซึ่งมีรายการปรากฏอยู่ในทะเบียนคนบ้านกลาง ไม่อาจจะขอคัดหรือรับรองสำเนารายการเพื่อนำไปอ้างอิงหรือใช้สิทธิในกรณีต่าง ๆ ได้เป็นเรื่องเพื่อประโยชน์ในการจัดทำทะเบียนราษฎรตามโครงการจัดทำเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น จะถือว่าจำเลยมิได้มีภูมิลำเนาตามกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการยื่นฟ้องคดีล้มละลายหาได้ไม่ จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ในขณะยื่นฟ้องจึงต้องด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 ที่จะต้องไปยื่นฟ้องจำเลยที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ แต่โจทก์ยื่นฟ้องที่ศาลจังหวัดแพร่ ซึ่งไม่ใช่ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจแม้จะเป็นศาลมูลคดีเกิดก็ตาม ศาลจังหวัดแพร่ก็ไม่อาจรับคดีของโจทก์ไว้พิจารณาได้และกรณีมิใช่เป็นเรื่องจำเลยเป็นบุคคลที่ไม่มีภูมิลำเนาอันจะต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4มาใช้บังคับ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153หรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันเลือกสิทธิได้ระหว่างใช้สิทธิจำนองหรือขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แต่ต้องเลือกเพียงอย่างเดียว และต้องยื่นคำขอภายในกำหนดเวลา
ในการใช้สิทธิเหนือทรัพย์สินใดอันเป็นหลักประกันเจ้าหนี้มีประกันมีสิทธิที่จะเลือกใช้สิทธิตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 95 หรือมาตรา 96 มาตราใดมาตราหนึ่งเพียงมาตราเดียวหากเลือกใช้สิทธิขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 96 แล้ว ก็ย่อมหมดสิทธิที่จะถือสิทธิเหนือทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันนั้นตามมาตรา 95 อีกต่อไป และต้องขอรับชำระหนี้ทั้งหมดของตนที่มีทรัพย์สินนั้นเป็นหลักประกันภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 หากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้วก็ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้อีกต่อไปพระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย มาตรา 101 บัญญัติให้สิทธิแก่บุคคลผู้เป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ในคดีล้มละลาย ผู้ค้ำประกันผู้ค้ำประกันร่วม หรือบุคคลที่อยู่ในลักษณะเดียวกันนี้ ที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับจำนวนที่ตนอาจใช้สิทธิไล่เบี้ยในเวลาภายหน้าได้ ดังนั้น แม้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินที่จำเลยที่ 1 ออกให้แก่บุคคลอื่น ยังมิได้ชำระเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นให้แก่ผู้รับเงินผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำขอรับชำระหนี้สำหรับหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นได้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 91 เมื่อผู้ร้องมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลานั้นผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้สำหรับหนี้ดังกล่าว ฎีกาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย