พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,111 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4751/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่ง ไม่กระทบสิทธิฟ้องคดีอาญา หากไม่มีข้อตกลงระงับความรับผิดทางอาญา
สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งที่ไม่มีข้อตกลงว่าผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดีแก่จำเลยในทางอาญา ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4492/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งไม่เป็นฟ้องซ้ำ คดีอาญาและแรงงานมีประเด็นต่างกัน แม้ข้อเท็จจริงบางส่วนเชื่อมโยง
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย กล่าวหาว่าโจทก์ในคดีนี้ได้ครอบครองดูแลรักษาสินค้าประเภทเครื่องสำอางของผู้เสียหาย (จำเลยคดีนี้) แล้วโจทก์ได้เบียดบังเอาสินค้าดังกล่าวไปเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต และมีคำขอให้โจทก์คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แต่คดีนี้นอกจากจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ร่วมกับบุคคลอื่นยักยอกทรัพย์ของจำเลยไปแล้วจำเลยยังอ้างในฟ้องแย้งด้วยว่า โจทก์ครอบครองทรัพย์สินของจำเลย โจทก์มีหน้าที่จะต้องส่งคืนทรัพย์สินดังกล่าวแก่จำเลยตามระเบียบ แต่โจทก์ไม่นำสินค้าส่งคืนให้แก่จำเลยโดยไปมอบสินค้าให้แก่บุคคลอื่นซึ่งโจทก์อ้างว่าไม่รู้จัก จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำผิดต่อสัญญาจ้างแรงงาน โดยโจทก์ไม่ส่งคืนสินค้าแก่จำเลยตามหน้าที่ และขอให้บังคับโจทก์ชำระเงินพร้อมด้วยดอกเบี้ยแก่จำเลย เห็นได้ว่าข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้นมาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้จำเลยอ้างว่าโจทก์ทำผิดสัญญาจ้างแรงงานเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายรวมอยู่ด้วย และแม้ศาลแขวงพระนครใต้จะพิพากษายกฟ้องคดีอาญา แต่ศาลก็วินิจฉัยเพียงว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่เพียงพอที่จะฟังว่าจำเลยมีส่วนร่วมรู้เห็นกับผู้ที่มารับสินค้า จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้โจทก์ เท่ากับฟังว่าการกระทำของโจทก์ที่ส่งมอบสินค้าให้แก่บุคคลอื่นที่โจทก์ไม่รู้จักนั้นยังไม่เป็นความผิดฐานยักยอก โดยยังมิได้วินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานทำให้จำเลยได้รับความเสียหายหรือไม่การที่จำเลยฟ้องแย้งจึงมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3466/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้รับผิดชอบสอบสวนต้องเป็นพนักงานสอบสวนในท้องที่จับกุม
กรณีเป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสอง ถ้าจับผู้ต้องหาได้แล้วพนักงานสอบสวนที่จะเป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนคดีดังกล่าวคือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้อยู่ในเขตอำนาจตามวรรคสาม (ก) ของมาตราดังกล่าว
คดีนี้ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ชัดแจ้งว่าเหตุเกิดในท้องที่ใดแน่ระหว่างอำเภอบัวใหญ่กับอำเภอแก้งสนามนาง แต่จำเลยถูกจับกุมที่อำเภอแก้งสนามนาง โดยมีเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่หลายคนเป็นผู้ร่วมจับกุม ดังนั้น พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดีนี้คือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอแก้งสนามนาง มิใช่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ เมื่อพันตำรวจตรี ว. สารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ ซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้สรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องจำเลยคดีนี้แล้วส่งไปพร้อมสำนวน เพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 140 และ 141 ก็ถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดนั้นโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คดีนี้ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ชัดแจ้งว่าเหตุเกิดในท้องที่ใดแน่ระหว่างอำเภอบัวใหญ่กับอำเภอแก้งสนามนาง แต่จำเลยถูกจับกุมที่อำเภอแก้งสนามนาง โดยมีเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่หลายคนเป็นผู้ร่วมจับกุม ดังนั้น พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดีนี้คือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอแก้งสนามนาง มิใช่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ เมื่อพันตำรวจตรี ว. สารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ ซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเป็นผู้สรุปสำนวนและทำความเห็นว่าควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องจำเลยคดีนี้แล้วส่งไปพร้อมสำนวน เพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 140 และ 141 ก็ถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดนั้นโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3466/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบตามสถานที่จับกุม
กรณีที่เป็นการไม่แน่ว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ พนักงานสอบสวน ในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงยังฟังไม่ชัดแจ้งว่าเหตุในคดีนี้เกิดในท้องที่ใดแน่ ระหว่างอำเภอบัวใหญ่ กับอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา พนักงานสอบสวนท้องที่หนึ่งท้องที่ใดดังกล่าวย่อมมีอำนาจสอบสวนได้ แต่ตามวรรคสาม (ก) ของมาตรา 19 ดังกล่าวระบุว่า พนักงานสอบสวนที่เป็นผู้รับผิดชอบในการสอบสวนคือพนักงานสอบสวนซึ่งท้องที่ที่จับผู้ต้องหาได้อยู่ในเขตอำนาจ ดังนั้น เมื่อปรากฏว่า จำเลยถูกจับได้ที่อำเภอแก้งสนามนาง โดยมีสารวัตรสืบสวนสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ กับเจ้าพนักงานตำรวจสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่อีกหลายนายเป็นผู้ร่วมจับกุม พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดีนี้ คือพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอแก้งสนามนาง มิใช่พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอบัวใหญ่ซึ่งมิใช่พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ เป็นผู้สรุปสำนวนและ ทำความเห็นว่า ควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องจำเลยคดีนี้ แล้วส่งสำนวนเพื่อให้พนักงานอัยการพิจารณาตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 140 และ 141 ก็ถือไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดนั้นโดยชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแพ่งต้องมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมาย การฟ้องเพื่อทำลายพยานหลักฐานในคดีอาญาจึงไม่ถือว่ามีอำนาจฟ้อง
ผู้ที่จะฟ้องคดีแพ่งต่อศาลจะต้องถูกโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมาย เพื่อรับรองว่าตนมีสิทธิหรือหน้าที่หรือจะต้องใช้สิทธิทางศาล เมื่อโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 110214 การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกคำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงโฉนดดังกล่าวโดยการครอบครองปรปักษ์ก็เพียงเพื่อต้องการทำลายพยานหลักฐานในคดีอาญาที่โจทก์ถูกจำเลยฟ้องข้อหาบุกรุกที่ดินแปลงนี้ ซึ่งในคดีนั้นโจทก์ในฐานะจำเลยย่อมมีสิทธินำพยานหลักฐานมานำสืบต่อสู้คดีได้หากจำเลยนำหลักฐานเท็จมาแสดง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงจากคำสั่งศาลดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายหรือมีเหตุที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่งเกี่ยวเนื่อง และการแก้ไขจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาซึ่งยกฟ้องจำเลยที่ 2 ในข้อหาขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กาย ได้รับอันตรายสาหัส และถึงแก่ความตาย มีประเด็นตรงกับประเด็นในคดีนี้ที่ว่า จำเลยที่ 2 ขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อปราศจากความระมัดระวังตามที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องหรือไม่ เมื่อโจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาจึงต้องฟังว่าจำเลยที่ 2 มิได้ขับรถด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายได้รับอันตรายสาหัสและได้รับอันตรายแก่กายตามฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่โจทก์ที่ 1 ฟ้องด้วย
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินแก่โจทก์ที่ 3 ที่ 8 ที่ 17 ที่ 56 และที่ 63 เกินกว่าจำนวนที่ปรากฏในคำขอท้ายฟ้องโจทก์แต่ละคนดังกล่าวนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 โดยให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินเป็นจำนวนตามคำขอของโจทก์แต่ละคนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไป
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินแก่โจทก์ที่ 3 ที่ 8 ที่ 17 ที่ 56 และที่ 63 เกินกว่าจำนวนที่ปรากฏในคำขอท้ายฟ้องโจทก์แต่ละคนดังกล่าวนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และ 247 โดยให้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 6 ชดใช้เงินเป็นจำนวนตามคำขอของโจทก์แต่ละคนดังกล่าว พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่งเรื่องสิทธิในที่ดิน การครอบครองตามสัญญาเช่า
ในคดีอาญาตามคำพิพากษาศาลฎีกา จำเลยได้ร้องทุกข์กล่าวหาว่าโจทก์บุกรุกที่ดินพิพาทและทำให้เสียทรัพย์ และได้เข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีดังกล่าวด้วย ซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทก็โดยสิทธิตามสัญญาเช่าที่ทำไว้กับจำเลย หาใช่เป็นการยึดถือครอบครองเพื่อตนไม่ ข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว จึงมีผลผูกพันถึงคดีแพ่งซึ่งพิพาทกันภายหลังเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินพิพาท ซึ่งเมื่อจำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ต่อศาลชั้นต้น คู่ความทั้งสองฝ่ายก็รับในข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลย โดยโจทก์ตกลงประนีประนอมยอมความชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่ง เมื่อที่ดินพิพาทมิใช่เป็นที่ดินของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ฟ้องเอง
คดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์มิใช่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ให้ยกฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ถูกกระทำโดยตรง
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้ววินิจฉัยว่า โจทก์มิใช่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ให้ยกฟ้องศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ให้ยกฟ้อง คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาไม่ว่าจะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายตามมาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2349/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้มละลายของโจทก์ไม่ทำให้คดีอาญาที่ฟ้องไว้ระงับ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีแทนได้
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 22 ถึงมาตรา 25 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์แล้ว กฎหมายบัญญัติห้ามมิให้โจทก์กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตน โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์ รวมทั้งการดำเนินคดีฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของโจทก์เท่านั้น และถึงแม้โจทก์สิ้นสภาพบุคคลและเป็นคดีความผิดอันยอมความกันได้ก็ตาม ก็หาได้มีกฎหมายบัญญัติว่าในคดีอาญานั้น เมื่อโจทก์สิ้นสภาพบุคคลหรือตายแล้วให้คดีอาญาระงับไปไม่ คงมีแต่คดีอาญาเลิกกันและสิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37 และมาตรา 39 กับคดีเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 7 เท่านั้น คดีนี้เป็นคดีอาญาอยู่ระหว่างรออ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังอยู่จะนำ ป.วิ.พ. มาตรา 132 (3) มาใช้บังคับมิได้ เมื่อโจทก์มิได้ถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้องหรือยอมความกันหรือมีเหตุทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับ และจำเลยทั้งสองมิได้นำเงินตามจำนวนในเช็คมาชำระภายในสามสิบวัน นับแต่ได้รับหนังสือจากผู้ทรงว่าธนาคารไม่ใช้เงินตามเช็คหรือมูลหนี้ที่ออกเช็คสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด จำเลยทั้งสองจะขอให้ศาลจำหน่ายคดีหาได้ไม่