พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 602/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโต้แย้งข้อเท็จจริงในปัญหาความผิดทางอาญา และข้อจำกัดในการฎีกา
ฎีกาของโจทก์ที่โต้เถียง ข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาที่ว่าจำเลยมีเจตนากระทำผิดตาม ข้อหาที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้องโจทก์ตามศาลชั้นต้นโดย อาศัยข้อเท็จจริง จึงต้องห้าม ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าจากการทำร้ายด้วยอาวุธมีด แม้ไม่สำเร็จผลก็เป็นความผิดพยายามฆ่า
จำเลยแทงผู้เสียหายเนื่องจากจำเลยโกรธผู้เสียหายที่ไม่ยอมรับผิดชอบต่อ จำเลยและไม่ยอมเจรจากับจำเลยโดยดี ถึงเรื่องที่เกิดขึ้นมาก่อนแล้ว กรณีที่เกิดแทงกันขึ้นจึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยถูก ข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วย เหตุอันไม่เป็นธรรม การกระทำของจำเลยจึงไม่ใช่เป็นการบันดาลโทสะ การที่จำเลยใช้ อาวุธมีดปลายแหลม ซึ่ง มีความยาวส่วนใบมีด5 นิ้วครึ่ง ความกว้างตรง ส่วนกลางของใบมีด 1 นิ้วแทงถูก ผู้เสียหายที่ท้องลึก 2 เซนติเมตร ซึ่ง ความลึกส่วนนี้แม้ไม่ถึงอวัยวะภายในที่จะเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายได้ ก็ตาม แต่ เมื่อผู้เสียหายวิ่งหนีจำเลยไปล้มนอนหงาย จำเลยได้ ติดตาม ไปนั่งคร่อมผู้เสียหายแล้วเงื้อมีดจะแทงผู้เสียหายอีก แต่ ผู้เสียหายจับมือของจำเลยไว้ทันแล้วแย่งมีดกัน โดย มีบุคคลอื่นได้ มาช่วย แย่งมีดด้วยซึ่ง หากผู้เสียหายจับมือของจำเลยไม่ได้ จำเลยจะต้อง แทงผู้เสียหายที่บริเวณอก และอาจทะลุถึง อวัยวะภายในซึ่ง เป็นอวัยวะที่สำคัญและอาจเป็นผลให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ แสดงว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย การที่ผู้เสียหายและบุคคลอื่นมาช่วย แย่งเอามีดไปจากจำเลยได้ ทันทำให้การกระทำของจำเลยไม่บรรลุผลดัง เจตนาของจำเลย จำเลยจึงมีความผิดฐาน พยายามฆ่า.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดทางอาญาในความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา: เจตนาวิสาสะและความเข้าใจผิดในสิทธิ
จำเลยกับผู้เสียหายแต่งงานกันตามลัทธิศาสนาอิสลาม มีบุตรด้วยกัน 1 คน ต่อมาจำเลยกับผู้เสียหายแยกกันอยู่แต่มิได้หย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ดังนั้น การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปกักขังเพื่อกระทำอนาจารและข่มขืนกระทำชำเรา จึงอาจเป็นกรณีที่จำเลยกระทำไปโดยเข้าใจว่าจำเลยมีสิทธิกระทำได้กับภริยาซึ่งมีบุตรด้วยกัน และบุตรก็ยังอยู่กับจำเลย อันเสมือนกับทำโดยวิสาสะ ย่อมไม่เข้าลักษณะกระทำโดยมีเจตนาร้ายไม่เป็นความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร หน่วงเหนี่ยวกักขัง และข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย
จำเลยถอดเอาแหวนและตุ้มหูของผู้เสียหาย โดยจำเลยบอกกับผู้เสียหายว่า ถ้ามีแหวนและตุ้มหูติดตัวอาจมีเงินหลบหนีได้แสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาเพียงที่จะป้องกันมิให้ผู้เสียหายหลบหนี หามีเจตนาทุจริตที่จะเอาทรัพย์สินของผู้เสียหายเป็นประโยชน์ส่วนตัวไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์.(ที่มา-ส่งเสริม)
จำเลยถอดเอาแหวนและตุ้มหูของผู้เสียหาย โดยจำเลยบอกกับผู้เสียหายว่า ถ้ามีแหวนและตุ้มหูติดตัวอาจมีเงินหลบหนีได้แสดงให้เห็นว่า จำเลยมีเจตนาเพียงที่จะป้องกันมิให้ผู้เสียหายหลบหนี หามีเจตนาทุจริตที่จะเอาทรัพย์สินของผู้เสียหายเป็นประโยชน์ส่วนตัวไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานชิงทรัพย์.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3837/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ถูกกล่าวหาทางอาญา ศาลแรงงานไม่ผูกพันคำพิพากษาคดีอาญา และการเลิกจ้างเพราะความผิดทางอาญาไม่ใช่คดีแพ่งต่อเนื่อง
โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างถูกจำเลยผู้เป็นนายจ้างร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีอาญาในข้อหาร่วมกับพวกปลอมและใช้เอกสารปลอม ร่วมกันฉ้อโกงและพยายามฉ้อโกง ซึ่งหากจะฟ้องบังคับในทางแพ่งด้วยในกรณีที่ฉ้อโกงได้เงินของจำเลยไปก็ได้แต่ขอให้โจทก์ใช้คืนเงินเท่านั้น จะขอให้ศาลบังคับให้โจทก์พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยไม่ได้ การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะโจทก์ต้องหาว่าร่วมกับพวกกระทำความผิดทางอาญาร่วมกันปลอมและใช้เอกสารปลอม ร่วมกันฉ้อโกงและพยายามฉ้อโกง จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาการวินิจฉัยว่าโจทก์กระทำการทุจริตต่อจำเลยหรือไม่ ศาลแรงงานไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3784/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายข้าวโพดผิดนัด ไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง
จำเลยตกลงจะขายข้าวโพดให้แก่ผู้เสียหายและผู้เสียหายได้จ่ายเงินค่าข้าวโพดให้จำเลยไปแล้ว แต่ครั้นผู้เสียหายจะไปรับมอบข้าวโพด จำเลยบอกว่าไม่ขายข้าวโพดให้ผู้เสียหายและไม่ยอมให้นำข้าวโพดไป ผู้เสียหายทวงเงินคืน จำเลยบอกว่าไม่มีเงินคืนให้เช่นนี้ เป็นเรื่องจำเลยตกลงจะขายข้าวโพดแล้วเปลี่ยนใจไม่ยอมขายให้ผู้เสียหาย ข้าวโพดที่จะขายมีอยู่จริงในขณะที่เจรจาตกลงซื้อขายกัน จึงเป็นกรณีที่จำเลยประพฤติผิดสัญญาทางแพ่งเท่านั้น จำเลยไม่มีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2142/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าของผู้อื่นในสินค้าของตนเองโดยมีเจตนาทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นสินค้าของผู้อื่น เป็นความผิดตามกฎหมายอาญา
จำเลยเอาเครื่องหมายในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมมาใช้กับกางเกงยีนที่จำเลยผลิต โดยไม่ได้ระบุชื่อจำเลยซึ่งเป็นผู้ผลิตไว้ด้วย แม้โจทก์ร่วมจะไม่ได้ผลิตกางเกงยีนออกจำหน่าย แต่ในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมได้ใช้เครื่องหมายดังกล่าวเป็นชื่อห้าง ประทับเครื่องหมายที่สินค้าที่โจทก์ร่วมรับมาจำหน่ายและทำการโฆษณาเครื่องหมายทางหนังสือพิมพ์ตลอดมา เมื่อบุคคลทั่วไปเห็นเครื่องหมายดังกล่าวก็ต้องเข้าใจว่าเป็นสินค้าของโจทก์ร่วม จึงแสดงให้เห็นถึงเจตนาของจำเลยว่าเพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่ากางเกงยีนของจำเลยเป็นสินค้าของโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างวานให้ผู้อื่นกระทำผิดฐานฆ่าโดยเจตนา แม้ยังไม่สำเร็จความผิด ก็เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ฉ. ติดต่อหามือปืนมายิงผู้เสียหายตามที่จำเลยที่ 1 ต้องการฉ. มีพฤติการณ์เป็นผู้ก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิด แต่เมื่อโจทก์ได้กัน ฉ. ไว้ที่พยาน คำเบิกความของ ฉ. รับฟังได้ แต่มีน้ำหนักน้อย ต้องฟังพยานอื่นประกอบจึงจะรับฟังลงโทษจำเลยได้
จำเลยที่ 1 จ้าง วาน ใช้ ให้จำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย แต่จำเลยที่ 2 ยังไม่ได้กระทำความผิดฆ่าผู้อื่นจำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4), 84 วรรคสอง.
จำเลยที่ 1 จ้าง วาน ใช้ ให้จำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหาย แต่จำเลยที่ 2 ยังไม่ได้กระทำความผิดฆ่าผู้อื่นจำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4), 84 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1692/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน และขอบเขตความผิดทางอาญา
จำเลยเข้าไปไถพูนดินปลูกมะพร้าวในที่สาะารณสมบัติของแผ่นดินย่อมเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 108 ทวิ วรรคสองแต่ไม่มีความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362,365เพราะความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาดังกล่าว กฎหมายมุ่งประสงค์จะลงโทษผู้บุกรุกอสังหาริมทรัพย์ที่เอกชนเป็นเจ้าของเท่านั้นไม่ใช่บทบัญญัติที่จะลงโทษผู้บุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดินแต่อย่างใด จึงลงโทษจำเลยในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362,365 ไม่ได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถบรรทุกที่ใช้ในการกระทำความผิด แม้ไม่มีบทบัญญัติริบโดยตรง
แม้ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 จะมิได้บัญญัติถึงการริบของกลางไว้ แต่ก็มิได้บัญญัติถึงเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่นดังนั้น เมื่อจำเลยใช้รถยนต์บรรทุกบรรทุกน้ำหนักเกินอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย รถยนต์บรรทุกจึงเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจริบรถยนต์บรรทุกนั้นได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 33 ประกอบด้วยมาตรา 17 การที่ศาลพิพากษาให้ริบรถยนต์บรรทุกของกลางซึ่งโจทก์ขอให้ริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 นั้น ศาลย่อมเห็นแล้วว่ารถยนต์บรรทุกของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิด แม้จะมิได้ระบุบทกฎหมายก็มิใช่กรณีศาลพิพากษาไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1656/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดทางอาญา: ความขัดแย้งในคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 28980ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 28880 โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้องดังนี้ มีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ พิพากษายกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดตาม มาตรา 28980 โดย อาศัยข้อเท็จจริงโจทก์จึงฎีกาข้อหาดังกล่าวในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ คงฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เฉพาะ ข้อหาความผิดตาม มาตรา 28880 ซึ่งศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษากลับกันมา.