คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความยินยอม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 569 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่ากรณีผู้เช่าให้เช่าช่วงโดยไม่ได้รับความยินยอม ผู้ให้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ทันที
กรณีผู้เช่าประพฤติผิดสัญญาเช่าด้วยการนำทรัพย์สินที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงโดยไม่มีข้อตกลงให้ทำได้ไว้ในสัญญาเช่าผู้ให้เช่าชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเช่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา544วรรคสองซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วกรณีดังกล่าวมิได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา387แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นบทบัญญัติทั่วไปว่าด้วยการเลิกสัญญาที่โจทก์จะต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่1ปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาเช่าภายในเวลาอันสมควรแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10228/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพรากเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้มีอำนาจปกครอง ถือเป็นความผิดอาญา
ผู้เสียหายออกจากบ้านโดยหลบหนีมารดาแล้วไปกับจำเลยย. และ ป.เอง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากมารดา ผู้เสียหายขณะเกิดเหตุมีอายุเพียง ๑๓ ปีเศษ อยู่ในอำนาจปกครองของมารดา การที่จำเลยกับ ย.และ ป.ได้พาผู้เสียหายไปโดยมารดาผู้เสียหายมิได้ยินยอมด้วยนั้น ย่อมเป็นการล่วงอำนาจปกครองของมารดาผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายจะสมัครใจยินยอมไปกับจำเลยและพวกก็ถือไม่ได้ว่าได้รับความยินยอมเห็นชอบจากมารดาผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยกับพวกดังกล่าว จึงเป็นการพรากผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปี ไปเสียจากมารดาแล้ว ทั้งเมื่อจำเลย และ ย.ได้หลบหนีออกจากบ้านงานไปก่อนโดยไม่นำผู้เสียหายกลับบ้าน ประกอบกับบ้านงานมีการเลี้ยงสุราและดมกาวซึ่งเป็นสารระเหย ทั้งบ้านงานก็ไม่มีผู้หญิง มีแต่พวกของจำเลยซึ่งเป็นชายทั้งหมด ดังนั้นการที่จำเลยกับพวกได้ร่วมกันพรากผู้เสียหายไป จึงถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยปราศจากเหตุอันสมควร เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา ๓๑๗ วรรคหนึ่ง, ๘๓

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องและอายุความ: ผลของการให้ความยินยอมโดยไม่อิดเอื้อนต่อการยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความ
ขณะที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท ว.คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความฟ้องเรียกเอาค่าจ้างทำของจากจำเลยซึ่งมีกำหนด 5 ปี จำเลยจึงยังไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ ต่อมาจำเลยได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องไป โดยไม่อิดเอื้อน และโจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากคดีขาดอายุความแล้วจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความยินยอมของผู้เยาว์ในความสัมพันธ์ฉันชู้สาวและการกระทำชำเราที่ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยพา จ. ผู้เยาว์อายุ17ปีอยู่ในความปกครองของ ว.ไปค้างคืนนอกบ้านและ จ. ยินยอมให้จำเลยกระทำชำเราด้วยความสมัครใจโดย จ. กับจำเลยรักใคร่ชอบพอกันประสงค์จะเป็นสามีภริยากันเช่นนี้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา319วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8264/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์โดยเจ้าของรวม และความยินยอมของภริยา
จำเลยซึ่งเป็นสามีทำสัญญาจะขายที่พิพาทอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และการขายต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยร่วมผู้เป็นภริยาจึงต้องให้ความยินยอมเป็นหนังสือ โจทก์จะอ้างว่าการนั้นได้รับความยินยอมแล้วโดยไม่มีหลักฐานการให้ความยินยอมเป็นหนังสืออันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเช่นนี้ย่อมฟังไม่ได้
โจทก์นำสืบเพียงว่าพบจำเลยร่วมหลังจากทำสัญญาในขณะไปรังวัดที่ดิน โดยไม่มีพฤติการณ์อื่นใดที่พอจะฟังว่าจำเลยร่วมได้ให้สัตยาบัน ทั้งการพบครั้งสุดท้ายจำเลยร่วมยังบอกให้จำเลยคืนมัดจำโดยจะไม่มีการขาย ซึ่งจำเลยร่วมก็นำสืบหักล้างว่า ไม่ทราบเรื่องจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์และไม่เคยเห็นโจทก์ไปรังวัดที่พิพาทแต่อย่างใด ดังนี้ ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยร่วมให้สัตยาบันแล้ว
จำเลยและจำเลยร่วมร่วมกันครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทในระหว่างอยู่กินกันตั้งแต่ปี 2500 แต่เพิ่งจดทะเบียนสมรสเมื่อปี 2519 การถือครองที่พิพาทในขณะนั้นจึงเป็นลักษณะเจ้าของรวม ที่พิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยและจำเลยร่วมฝ่ายละครึ่งหนึ่ง หาใช่สินสมรสไม่ การที่จำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทแก่โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าของรวม สัญญาดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ผูกพันที่พิพาทเฉพาะส่วนที่เป็นของจำเลย โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาทส่วนที่เป็นของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8264/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสที่เป็นเจ้าของรวม หากไม่ได้รับความยินยอม สัญญาจะมีผลผูกพันเฉพาะส่วนของเจ้าของ
จำเลยซึ่งเป็นสามีทำสัญญาจะขายที่พิพาทอันเป็นอสังหาริมทรัพย์และการขายต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ จำเลยร่วมผู้เป็นภริยาจึงต้องให้ความยินยอมเป็นหนังสือ โจทก์จะอ้างว่าการนั้นได้รับความยินยอมแล้วโดยไม่มีหลักฐานการให้ความยินยอมเป็นหนังสืออันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายเช่นนี้ย่อมฟังไม่ได้ โจทก์นำสืบเพียงว่าพบจำเลยร่วมหลังจากทำสัญญาในขณะไปรังวัดที่ดิน โดยไม่มีพฤติการณ์อื่นใดที่พอจะฟังว่าจำเลยร่วมยังบอกให้จำเลยคืนมัดจำโดยจะไม่มีการขาย ซึ่งจำเลยร่วมก็นำสืบหักล้างว่า ไม่ทราบเรื่องจำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินกับโจทก์และไม่เคยเห็นโจทก์ไปรังวัดที่พิพาทแต่อย่างใด ดังนี้ ไม่อาจรับฟังได้ว่าจำเลยร่วมให้สัตยาบันแล้ว จำเลยและจำเลยร่วมร่วมกันครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทในระหว่างอยู่กินกันตั้งแต่ปี 2500 แต่เพิ่งจดทะเบียนสมรสเมื่อปี 2519 การถือครองที่พิพาทในขณะนั้นจึงเป็นลักษณะเจ้าของรวม ที่พิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลยและจำเลยร่วมฝ่ายละครึ่งหนึ่ง หาใช่สินสมรสไม่ การที่จำเลยทำสัญญาจะขายที่พิพาทแก่โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยร่วมผู้เป็นเจ้าของรวม สัญญาดังกล่าวจึงมีผลสมบูรณ์ผูกพันที่พิพาทเฉพาะส่วนที่เป็นของจำเลย โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาทส่วนที่เป็นของจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8019/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินที่เป็นสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอม และประเด็นเรื่องอายุความ
โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายแต่โจทก์ไม่ได้อยู่ด้วยและไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่ 2 โจทก์จึงขอให้เพิกถอนสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1480(เดิม) ส่วนข้อที่จำเลยที่ 2 ฟ้องจำเลยที่ 1 และศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 นั้นหามีผลกระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้เพียงว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ทราบเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาท ก่อนวันที่19 กุมภาพันธ์ 2533 มิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าเป็นวันที่เท่าใดซึ่งหากโจทก์มิได้ทราบเรื่องการซื้อขายดังกล่าวก่อนวันที่14 กุมภาพันธ์ 2533 ก็ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี อันโจทก์จะขอให้เพิกถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 วรรคสอง(เดิม) เพราะโจทก์ฟ้องคดีวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2534 ดังนี้คำให้การของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ไม่ก่อให้เกิดประเด็นในคดี การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่จึงเป็นการไม่ชอบ และที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น ฎีกาของจำเลยที่ 2 เรื่องอายุความจึงเป็นฎีกานอกประเด็นถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ภริยาโจทก์และจำเลยที่ 2สมคบกันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของโจทก์ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขาย เป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8019/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาซื้อขายที่ดินสินสมรส โดยไม่ได้รับความยินยอม และประเด็นอายุความที่ไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณา
โจทก์และจำเลยที่1เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายแต่โจทก์ไม่ได้อยู่ด้วยและไม่ได้รู้เห็นยินยอมในการที่จำเลยที่1ทำสัญญาจะขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยที่2โจทก์จึงขอให้เพิกถอนสัญญาได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480(เดิม)ส่วนข้อที่จำเลยที่2ฟ้องจำเลยที่1และศาลพิพากษาให้จำเลยที่1โอนที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่2นั้นหามีผลกระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่จะขอให้เพิกถอนสัญญาตามบทบัญญัติดังกล่าวไม่ จำเลยที่2ให้การต่อสู้เพียงว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ทราบเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาทก่อนวันที่19กุมภาพันธ์2533มิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าเป็นวันที่เท่าใดซึ่งหากโจทก์มิได้ทราบเรื่องการซื้อขายดังกล่าวก่อนวันที่14กุมภาพันธ์2533ก็ยังไม่พ้นกำหนด1ปีอันโจทก์จะขอให้เพิกถอนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1480วรรคสอง(เดิม)เพราะโจทก์ฟ้องคดีวันที่14กุมภาพันธ์2534ดังนี้คำให้การของจำเลยที่2ในข้อนี้จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสองไม่ก่อให้เกิดประเด็นในคดีการที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่จึงเป็นการไม่ชอบและที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นฎีกาของจำเลยที่2เรื่องอายุความจึงเป็นฎีกานอกประเด็นถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1ภริยาโจทก์และจำเลยที่2สมคบกันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของโจทก์ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายเป็นคดีฟ้องขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง200บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมและผลของการครอบครองปรปักษ์ในที่ดิน โดยไม่ได้รับความยินยอม
แม้ตามสัญญาซื้อขายจะมีข้อความว่าขายที่ดินทั้งแปลงและอ้างว่าที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของ ก. ก็ตาม แต่ปรากฏตามโฉนดที่ดินว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมอยู่ด้วยโดยไม่ปรากฏว่าใครมีส่วนเท่าใด จึงถือว่าก. และโจทก์ต่างมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันคนละครึ่ง ก. ไม่มีสิทธิที่จะขายที่ดินทั้งแปลงให้ ป. บิดาจำเลยทั้งสองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน เมื่อ ป. ทราบมาแต่ต้นว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินและบ้านพิพาท ประกอบกับโจทก์นำหนังสือสัญญาอาศัยมาให้ ส. ภริยาของ ป. ลงลายมือชื่อเมื่อปี 2531 แสดงว่าที่ดินและบ้านพิพาทในส่วนที่เป็นของโจทก์นั้น ฝ่ายจำเลยเป็นผู้อาศัยสิทธิของโจทก์อันเป็นการครอบครองแทนโจทก์อยู่ เมื่อฝ่ายจำเลยไม่ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ว่าไม่เจตนาจะยึดถือแทนโจทก์ต่อไป แม้ฝ่ายจำเลยจะได้ครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทในส่วนที่เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์มานานเท่าใดก็ตามย่อมถือไม่ได้ว่าได้ครอบครองปรปักษ์อันจะได้กรรมสิทธิ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 และไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิในการฟ้องคดีตามมาตรา 1375วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งทรัพย์มรดก: การแบ่งที่ดินต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมทั้งหมด ไม่สามารถบังคับแบ่งตามข้อตกลงเฉพาะระหว่างบางคนได้
ที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ซึ่งมีทายาทคนอื่นนอกจากโจทก์และจำเลยเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย และโจทก์กับจำเลยถือกรรมสิทธิ์ในมรดกแทนทายาทคนอื่นด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยผู้เดียวแบ่งแยกที่ดินให้แก่โจทก์ตามข้อตกลงซึ่งจำเลยจะต้องแบ่งที่ดินด้านทิศตะวันออกให้แก่โจทก์การกำหนดส่วนแบ่งตามคำขอของโจทก์จึงอาจมีผลกระทบถึงสิทธิ ของทายาทคนอื่นซึ่งมิได้เข้ามาในคดีได้ เพราะที่ดินทุกส่วน ทายาททุกคนต่างมีส่วนเป็นเจ้าของ สมควรให้เจ้าของรวมทุกคน ได้มีส่วนรู้เห็นและตกลงในการแบ่งด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 วรรคสอง เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยคนเดียวให้แบ่งที่ดินตามที่จำเลยตกลงกับโจทก์เพียงสองคน คำขอของโจทก์จึงไม่อาจบังคับได้
of 57