พบผลลัพธ์ทั้งหมด 142 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความร่วมมือในการกระทำความผิดพยายามฆ่า: การกระทำที่แสดงถึงเจตนาและเจตนาในการร่วมกระทำ
จำเลยกับพวกอีกหนึ่งคนมาหาผู้เสียหายที่กระท่อมนาในเวลากลางคืนจำเลยเรียกผู้เสียหายให้ลุกขึ้นแล้วขอน้ำดื่ม พวกของจำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหายถูกที่ท้อง แล้วจำเลยกับพวกก็วิ่งหนีไปด้วยกัน พฤติการณ์ดังนี้แสดงว่าจำเลยกับพวกร่วมกระทำผิดด้วยกัน เมื่อผู้เสียหายไม่ถึงแก่ความตายจำเลยย่อมมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1262/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาในคดีปล้นทรัพย์และการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ
จำเลยทั้งสี่ปล้นบ้านเจ้าทรัพย์ โดยจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ขึ้นไปปล้นบนบ้านส่วนจำเลยที่ 1 คอยเฝ้าระวังเหตุการณ์อยู่ริมรั้วขณะจำเลยกำลังทำการปล้นอยู่บนบ้านส่วนจำเลยที่ 1 ใช้ปืนยิงพวกเจ้าทรัพย์คนหนึ่งถึงแก่ความตาย ดังนี้ จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289, 340 วรรคท้าย จำเลยนอกนั้นไม่รู้เห็นในการที่จำเลยที่ 1 ยิงผู้ตาย จึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคท้าย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ทำนองนั้น มิได้บัญญัติห้ามมิให้ศาลปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องลงโทษจำเลย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 ห้ามมิให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย เว้นแต่โจทก์จะได้อุทธรณ์ทำนองนั้น มิได้บัญญัติห้ามมิให้ศาลปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องลงโทษจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1306/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความร่วมมือในการกระทำผิดฐานพยายามฆ่า: การสนับสนุนด้วยคำพูดและการมีเจตนาทำร้ายร่วมกัน
จำเลยเมาสุรา ถือมีดดายหญ้ามาท้าทายจะทำร้ายผู้เสียหายซึ่งยืนอยู่ห่าง 1 วา คนละฟากรั้วสวน ต่อมา ย. ถือปืนสั้นมายืนอยู่ข้างจำเลย และบอกให้ผู้เสียหายกลับไปนอน พอผู้เสียหายหันตัวจะกลับบ้าน จำเลยพูดว่ายิงมันเลย แล้ว ย. ก็ใช้ปืนยิงผู้เสียหาย 4 นัด ผู้เสียหายถูกกระสุนปืนล้มลง แล้วจำเลยยังพูดต่อไปอีกว่า ตายแล้วยัง มาสู้กันอีก พฤติการณ์ของจำเลยเช่นนี้ถือได้ว่า จำเลยได้ร่วมในการยิงผู้เสียหายกับ ย. ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1261/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมลักทรัพย์หลังเกิดเหตุฆ่า ไม่เข้าข่ายปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย
จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 3 คนมาพบผู้ตายกับพวกกำลังขนบุหรี่ ได้พากันไปพูดจาซื้อขายบุหรี่ แล้วพวกของจำเลยคนหนึ่งได้ใช้ปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตาย และได้ร่วมกันลักเอาบุหรี่ของผู้ตายไป แต่ทางพิจารณาฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้รู้เห็นเป็นใจหรือร่วมด้วยในการที่พวกของจำเลยใช้ปืนยิงผู้ตาย จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คงมีความผิดเพียงฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 382/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมและผู้สนับสนุนการฆ่า: การพิจารณาเจตนาและความร่วมมือในการกระทำผิด
จำเลยที่ 1 ทะเลาะกับผู้ตายอยู่ริมรั้วจำเลยที่2 ถือมีดพร้าวิ่งลงจากบ้านพร้อมกับร้องว่าฟันให้ตายๆการแสดงออกด้วยกิริยาและคำพูดของจำเลยที่ 2 ส่อแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาจะฆ่าผู้ตาย ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 คว้ามีดพร้าจากมือจำเลยที่ 2 แหวกรั้วเข้าไปฟันผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำที่สมเจตนาของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ฟันผู้ตายแล้วได้โยนมีดพร้าข้ามรั้วมาให้จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ก็เป็นผู้พามีดพร้าวิ่งหนีไปการกระทำของจำเลยที่ 2ดังกล่าวแล้วจึงถือได้ว่าเป็นการร่วมมือกับจำเลยที่ 1 ฆ่าผู้ตายจำเลยที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
จำเลยที่ 3 ได้วิ่งมาและพูดยุยงให้จำเลยที่ 1 ฟันผู้ตายให้ตายหลังจากจำเลยที่ 1 ลงมือทำร้ายผู้ตายได้ 1 แผล จึงเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 มิได้เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 1 กระทำผิด เพราะจำเลยที่ 1 ได้เริ่มลงมือกระทำผิดไปแล้ว คำยุยงของจำเลยที่ 3 จึงเป็นเพียงสนับสนุนเร้าใจให้จำเลยที่ 1 มุ่งกระทำร้ายต่อผู้ตายให้ถึงตายหนักแน่นยิ่งขึ้นเท่านั้นการกระทำของจำเลยที่3 จึงฟังได้เพียงว่าเป็นการสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
จำเลยที่ 3 ได้วิ่งมาและพูดยุยงให้จำเลยที่ 1 ฟันผู้ตายให้ตายหลังจากจำเลยที่ 1 ลงมือทำร้ายผู้ตายได้ 1 แผล จึงเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 มิได้เป็นผู้ก่อให้จำเลยที่ 1 กระทำผิด เพราะจำเลยที่ 1 ได้เริ่มลงมือกระทำผิดไปแล้ว คำยุยงของจำเลยที่ 3 จึงเป็นเพียงสนับสนุนเร้าใจให้จำเลยที่ 1 มุ่งกระทำร้ายต่อผู้ตายให้ถึงตายหนักแน่นยิ่งขึ้นเท่านั้นการกระทำของจำเลยที่3 จึงฟังได้เพียงว่าเป็นการสนับสนุนให้จำเลยที่ 1 กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 632/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการกระทำความผิดร่วม การกระทำเกินเลยขอบเขตที่ตกลงร่วมกัน และความรับผิดทางอาญา
จำเลยทั้งสองกับพวกอีก 1 คนสมคบกันไปลักทรัพย์.จำเลยทั้งสองรออยู่ที่ประตูรั้วอีกคนหนึ่งเข้าไปเอาทรัพย์ข้างใน. และได้ใช้ปืนยิงต่อสู้เจ้าทรัพย์อันเป็นการกระทำของคนร้ายคนนี้เอง. ซึ่งอยู่นอกความมุ่งหมายหรือเจตนาของจำเลย. และข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองได้รู้เห็นว่าพรรคพวกคนที่ใช้ปืนยิงเจ้าทรัพย์นั้นได้พกปืนไปด้วย. จำเลยทั้งสองจึงไม่ผิดฐานเป็นตัวการในข้อหาพยายามปล้นทรัพย์และฆ่าเจ้าทรัพย์. คงผิดฐานพยายามลักทรัพย์เท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 883/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความร่วมมือในการกระทำผิดอาญา: การร้องบอกให้ผู้อื่นยิงเป็นการร่วมกระทำผิด
ขณะที่จำเลยที่ 1 กำลังยื้อแย่งปืนกับผู้ตาย จำเลยที่ 1 ได้ร้องบอกจำเลยที่ 2 ว่า เทยิง ๆ นายเทจำเลยที่ 2 ก็ได้ใช้ปืนยิงผู้ตาย การที่จำเลยที่ 1 ร้องบอกให้จำเลยที่ 2 ยิงผู้ตายเช่นนี้เป็นการร้องบอกให้ช่วยกันทำร้ายผู้ตายตามมูลกรณีที่จำเลยที่ 1 มีต่อผู้ตาย การที่จำเลยที่ 2 ได้ใช้ปืนยิงผู้ตายก็เป็นการแสดงว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 จำเลยทั้งสองจึงเป็นตัวการด้วยกัน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความร่วมมือในการพาผู้อื่นไปเพื่ออนาจาร: การกระทำของคนขับรถถือเป็นตัวการร่วม
ขณะจำเลยที่ 1 ลงไปฉุดผู้เสียหายขึ้นรถ จำเลยที่ 2 จอดรถติดเครื่องรอคอยอยู่ในระยะใกล้ ๆ จำเลยที่ 1 ฉุดผู้เสียหายแล้ว จำเลยที่ 2 ได้ออกรถขับไปทันที การกระทำตั้งแต่แรกที่จำเลยที่ 1 ฉุดผู้เสียหายมาขึ้นรถตลอดจนพาผู้เสียหายไปหลังจากผู้เสียหายขึ้นรถแล้ว ยังคงถือว่าเป็นการกระทำผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารอยู่ตลอดเวลา การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ขับรถพาผู้เสียหายกับจำเลยที่ 1 ไป จึงเป็นการกระทำส่วนหนึ่งของการพาผู้เสียหายไป เป็นการร่วมกระทำผิดด้วยกันตามมาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1235/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความร่วมมือในการกระทำผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร การกระทำของคนขับรถถือเป็นการร่วมกระทำผิด
ขณะจำเลยที่ 1 ลงไปฉุดผู้เสียหายขึ้นรถ จำเลยที่ 2 จอดรถติดเครื่องรอคอยอยู่ในระยะใกล้ๆ จำเลยที่ 1 ฉุดผู้เสียหายแล้ว จำเลยที่ 2 ได้ออกรถขับไปทันที การกระทำตั้งแต่แรกที่จำเลยที่ 1 ฉุดผู้เสียหายมาขึ้นรถตลอดจนพาผู้เสียหายไปหลังจากผู้เสียหายขึ้นรถแล้ว ยังคงถือว่าเป็นการกระทำผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารอยู่ตลอดเวลา การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ขับรถพาผู้เสียหายกับจำเลยที่ 1 ไปจึงเป็นการกระทำส่วนหนึ่งของการพาผู้เสียหายไป เป็นการร่วมกระทำผิดกันตามมาตรา 83
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1369-1370/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความร่วมมือในการฆ่า: การกระทำร่วมกันและเจตนาในการกระทำผิด
จำเลยที่ 1 เป็นคนใช้ปืนยิงผู้ตาย จำเลยที่ 2,3 มีอาวุธ โดดจากเรือนไปพร้อมจำเลยที่ 1 แสดงว่าจำเลยที่ 2,3 รู้เห็น มีเจตนาร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2,3 มีอาวุธ แสดงว่าจำเลยที่ 2,3 พร้อมที่จะช่วยจำเลยที่ 1 ได้ทันที เมื่อจำเลยที่ 1 ยิงผู้ตายแล้ว ตอนหนีกลับจำเลยทั้งสามยังหนีกลับมาทางเดียวพร้อมกันอีก จึงนับว่าจำเลยที่ 2,3 ได้ร่วมกันกระทำความผิดด้วยกับจำเลยที่ 1 เป็นตัวการฆ่าผู้ตายด้วยกัน
โทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 249 กับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 กำหนดไว้เท่ากัน การที่จะใช้กฎหมายใหม่ขึ้นบังคับปรับบทก็ไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้กระทำผิดแต่อย่างใด ศาลจึงต้องใช้กฎหมายลักษณะอาญาปรับบทลงโทษจำเลย
(อ้างฎีกาที่ 1630/2500,1814/2500)
โทษตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 249 กับโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 กำหนดไว้เท่ากัน การที่จะใช้กฎหมายใหม่ขึ้นบังคับปรับบทก็ไม่เป็นคุณแก่จำเลยผู้กระทำผิดแต่อย่างใด ศาลจึงต้องใช้กฎหมายลักษณะอาญาปรับบทลงโทษจำเลย
(อ้างฎีกาที่ 1630/2500,1814/2500)