คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คัดค้าน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 361 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 23/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การฎีกาต้องคัดค้านข้อเท็จจริงและเหตุผลคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อย่างชัดแจ้ง
ฎีกาต้องมีลักษณะคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ซึ่งจะต้องอ้างเหตุว่า การที่ศาลอุทธรณ์รับฟังข้อเท็จจริงหรือไม่รับฟังข้อเท็จจริงดังนั้นชอบหรือไม่ เพราะเหตุใด ดังนั้นที่โจทก์ฎีกาว่าข้อเท็จจริงฟังยุติได้ตามที่โจทก์นำสืบ แต่ไม่ได้อ้างเหตุว่าทำไมจึงต้องฟังข้อเท็จจริงเช่นนั้น และไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพียงแต่กล่าวว่าโจทก์ร่วมไม่เห็นด้วยโดยไม่ได้อ้างเหตุและขอให้ศาลฎีกาหยิบยกขึ้นพิจารณาอีกครั้ง จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5431/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้ซื้อจากการขายทอดตลาด vs. สิทธิครอบครองเดิม ผู้ซื้อย่อมได้สิทธิเหนือกว่าหากผู้ครอบครองไม่คัดค้าน
กรณีการยึดทรัพย์ขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330 ผู้ครอบครองทรัพย์จะรู้หรือไม่ว่ามีการขายทอดตลาดก็หาเป็นเหตุที่จะยกขึ้นต่อสู้สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์ได้ไม่ แม้จำเลยจะอ้างว่าเป็นผู้ครอบครองที่ดิน-พิพาทมาโดยตลอด แต่จำเลยมิได้ร้องคัดค้านเสียตั้งแต่ต้น กลับปล่อยให้มีการขายทอดตลาดจนสำเร็จบริบูรณ์โดยโจทก์เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทดังกล่าวไปแล้ว สิทธิครอบ-ครองของจำเลยจึงไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้
จำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า โจทก์บกพร่องซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สืบเรื่องราวก่อนว่ามีสิทธิหรือไม่ โดยมิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องนำสืบว่าที่ดินพิพาทโจทก์ได้มาโดยสุจริตหรือไม่เพียงใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4910/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการบังคับคดีหลังเสร็จสิ้นกระบวนการ และผลของการไม่ยื่นคำคัดค้านก่อนศาลมีคำสั่ง
เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2531 ศาลชั้นต้นมีหนังสือให้เจ้าพนักงานที่ดินจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2531และโจทก์ได้รับเงินค่าขายทรัพย์ดังกล่าวไปแล้วเมื่อวันที่ 11 มกราคม2532 การบังคับคดีสำหรับที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้เสร็จสิ้นลงแล้วการที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำคัดค้านการบังคับคดีเมื่อวันที่ 29พฤศจิกายน 2532 จึงเป็นการคัดค้านภายหลังการบังคับคดีเสร็จสิ้นลงแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดได้ และกระบวนพิจารณาในชั้นนี้มีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา296 วรรคสอง บัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้วจึงไม่ต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27มาวินิจฉัยประกอบด้วยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4737/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการขายทอดตลาดต้องยื่นต่อศาลก่อนการบังคับคดีเสร็จสิ้น หากเห็นว่าราคาต่ำกว่าตลาด
เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด และศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขายแล้ว แม้เมื่อจำเลยเห็นว่าราคาที่ขายต่ำกว่าราคาในท้องตลาดมากและได้คัดค้านต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งเท่ากับเป็นการอ้างว่าการบังคับคดีกระทำโดยไม่ชอบเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายแล้วก็ตาม จำเลยก็จะต้องยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดต่อศาลชั้นต้นก่อนการบังคับคดีได้เสร็จสิ้นลงแต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วันนับแต่ทราบการฝ่าฝืนนั้น จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาโดยไม่ยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้นเสียก่อนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย หากราคาต่ำกว่าท้องตลาด จำเลยมีสิทธิคัดค้านได้
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมถือว่า การขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 คือผู้ล้มละลายย่อมมีอำนาจร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146 กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตาม มาตรา 22
คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและทำการขายทอดตลาดใหม่ โดยอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ผิดพลาดทำให้ขายทอดตลาดได้ในราคาต่ำแม้จะมิได้บรรยายว่าตนได้รับความเสียหายอย่างไรมาในคำร้องก็ถือเป็นคำร้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146แล้ว กรณีมิใช่เรื่องการดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.จึงไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายนี้ได้
แม้การขายทอดตลาดทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดราคาที่เจ้าพนักงานบังนับคับคดีตกลงขายให้ผู้ซื้อทรัพย์ แม้จะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะยึด แต่ก็ต่ำกว่าราคาที่สำนักงานวางทรัพย์กรมบังคับคดีประเมินไว้ ย่อมแสดงว่า ราคาขายทอดตลาดดังกล่าวตำกว่าราคาขายในท้องตลาดมาก เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งนี้ เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้คัดค้านว่าราคาต่ำไป กรณีจึงไม่ควรด่วนขาย สมควรเลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน เพื่อให้ผู้มีส่วได้เสียและประชาชนจะได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาได้อีก หากได้ราคาสูงกว่าเดิมก็จะเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และเจ้าหนี้ทั้งปวงที่จะได้รับชำระหนี้โดยทั่วกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4584/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ล้มละลายคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สิน หากราคาต่ำกว่าราคาตลาด และการเพิกถอนการขายทอดตลาด
การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมถือว่าการขายทอดตลาดทรัพย์ดังกล่าวเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 คือผู้ล้มละลายย่อมมีอำนาจร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ หากการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้รับความเสียหายตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 146 กรณีนี้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับการจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 ที่ 2ตาม มาตรา 22 คำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและทำการขายทอดตลาดใหม่ โดยอ้างเหตุว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ผิดพลาดทำให้ขายทอดตลาดได้ในราคาต่ำแม้จะมิได้บรรยายว่าตนได้รับความเสียหายอย่างไรมาในคำร้องก็ถือเป็นคำร้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 146 แล้ว กรณีมิใช่เรื่องการดำเนินการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลายนี้ได้ แม้การขายทอดตลาดทรัพย์เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการตามขั้นตอนโดยชอบแล้ว แต่เมื่อพิจารณาถึงที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ขายทอดตลาดราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตกลงขายให้ผู้ซื้อทรัพย์แม้จะสูงกว่าราคาประเมินของเจ้าพนักงานบังคับคดีในขณะยึด แต่ก็ต่ำกว่าราคาที่สำนักงานวางทรัพย์กรมบังคับคดีประเมินไว้ ย่อมแสดงว่าราคาขายทอดตลาดดังกล่าวต่ำกว่าราคาขายในท้องตลาดมาก เมื่อการขายทอดตลาดทรัพย์ครั้งนี้ เป็นการขายทอดตลาดครั้งแรกและจำเลยที่ 1ที่ 2 ได้คัดค้านว่าราคาต่ำไป กรณีจึงไม่ควรด่วนขาย สมควรเลื่อนการขายทอดตลาดไปก่อน เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนจะได้มีโอกาสเข้าสู้ราคาได้อีก หากได้ราคาสูงกว่าเดิมก็จะเป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และเจ้าหนี้ทั้งปวงที่จะได้รับชำระหนี้โดยทั่วกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4431/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการรังวัดที่ดินโดยสุจริตไม่มีความผิด
จำเลยกับพวกร่วมกันทำหนังสือคัดค้านไม่ให้เจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดที่ดินเพื่อออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แก่โจทก์ โดยจำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่าตนเป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าวมีอำนาจที่จะยื่นคำร้องคัดค้านได้คดีโจทก์จึงไม่มีมูลที่จะว่ากล่าวเอาผิดแก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4388/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดบังคับคดี: การคัดค้านการรวมขายและการซื้อโดยธนาคาร
ในวันขายทอดตลาดจำเลยได้มาดูแลการขายและได้คัดค้าน การรวมขายที่ดินแล้ว แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่บันทึกไว้และบอกให้ไปร้องขอต่อศาลเอง เท่ากับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำคัดค้านของจำเลย จำเลยจะต้องไปยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งชี้ขาดเสียภายใน 2 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิเสธคำคัดค้านของจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 วรรคท้ายเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำร้องต่อศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าวจำเลยจะยกเป็นเหตุคัดค้านภายหลังไม่ได้ โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ย่อมมีสิทธิซื้อที่ดินซึ่ง จำนองเป็นประกันหนี้ไว้ต่อโจทก์จากการขายทอดตลาดโดย คำสั่งศาลเพื่อชำระหนี้โจทก์ได้ ตามพระราชบัญญัติ การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 12(4)(ข) การที่โจทก์ ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดเป็นการซื้อทรัพย์จำนองเป็นประกัน หนี้ที่จำเลยมีต่อโจทก์ และเป็นการขายทอดตลาดโดยคำสั่งศาลจึงเป็นการซื้อโดยชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4388/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการคัดค้านการขายทอดตลาด: การไม่ปฏิบัติตามคำคัดค้านของจำเลยและการไม่ยื่นคำร้องต่อศาลภายในกำหนด
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ฎีกาว่า เจ้าพนักงานบังคับคดี ไม่ควรขายที่ดินที่ถูกยึดแปลงที่ 8 และแปลงที่ 9 กับแปลงที่ 10และแปลงที่ 11 รวมกัน เพราะถ้าแยกขายแปลงที่ 8 และแปลงที่ 9 จะทำให้รายได้ในการขายเพิ่มขึ้นกว่าการขายรวมกัน และการขายแปลงที่ 10 กับแปลงที่ 11 รวมกันทำให้ ไม่สามารถแยกแยะได้ว่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ที่ขายเป็นเงินของจำเลยที่ 2 และที่ 3 คนละเท่าไร เพราะที่ดินแปลงที่ 10 มีชื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน แต่แปลงที่ 11 จำเลยที่ 3มีกรรมสิทธิ์เพียงคนเดียว เมื่อปรากฏว่า ในวันขายทอดตลาดนั้นจำเลยที่ 2 ที่ 3 มาดูแลการขายด้วย และยังได้คัดค้านการรวมขายที่ดินแปลง ที่ 8 และแปลงที่ 9 กับแปลงที่ 10และแปลงที่ 11 แล้ว แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่บันทึกไว้และบอกให้ไปร้องต่อศาลเอง กรณีเท่ากับว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ยอมปฏิบัติตามคำคัดค้านของจำเลยที่ 2ที่ 3 จำเลยที่ 2 ที่ 3 ก็ชอบที่จะต้องไปยื่นคำร้องขอต่อศาลขอให้มีคำสั่งชี้ขาดเสียภายในสองวัน นับแต่วันที่ เจ้าพนักงานบังคับคดีปฏิเสธคำคัดค้านของจำเลยที่ 2 ที่ 3ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309 วรรคท้ายเมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยื่นคำร้องต่อศาล เสีย ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 2 ที่ 3 จะยกเป็นเหตุคัดค้านภายหลังไม่ได้ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์เป็นธนาคารพาณิชย์ ย่อมมีสิทธิซื้อที่ดินที่จำนองเป็นประกันไว้แก่โจทก์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลเพื่อชำระหนี้โจทก์ได้ตามพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505มาตรา 12(4)(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4297/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีขายทอดตลาด: การคัดค้านวิธีการขายต้องกระทำก่อนการขายสำเร็จ
การที่โจทก์ยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินแปลงที่ 8 ถึงที่ 10 โดยวิธีขายรวมกัน การขายแยกเฉพาะที่ดินแปลงที่ 8 อันเป็นแปลงเดียวที่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ย่อมทำให้ที่ดินแปลงที่ 9 และที่ 10 ที่จะขายมีราคาต่ำลงนั้น เป็นเรื่องที่โจทก์คัดค้านวิธีการขายของเจ้าพนักงานบังคับคดี โจทก์ต้องคัดค้านเสียก่อนการขายทอดตลาดสำเร็จบริบูรณ์ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ยื่นคำแถลงคัดค้านภายหลังการขายทอดตลาดสำเร็จบริบูรณ์แล้วการขายทอดตลาดจึงเป็นไปโดยชอบและไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 309(1)(ข) ไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนการขายได้
of 37