พบผลลัพธ์ทั้งหมด 105 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 18948/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคดีอาญาเป็นสาระสำคัญของคำท้า หากศาลไม่วินิจฉัยความผิดจำเลย สิทธิเรียกร้องตามคำท้าไม่เกิด
จำเลยแถลงต่อศาลแรงงานภาค 9 ว่าติดใจเพียงประเด็นเดียวว่าโจทก์ทุจริตและกระทำความผิดอาญายักยอกทรัพย์ของจำเลยเท่านั้น และจำเลยสละประเด็นอื่น แล้วโจทก์จำเลยตกลงท้ากันโดยถือเอาข้อแพ้ชนะในคดีอาญาที่โจทก์ถูกฟ้องด้วยข้อหายักยอกทรัพย์ว่า "ถ้าหากศาลพิพากษายกฟ้อง" ให้ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายชนะ จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์ แต่ถ้าศาลในคดีอาญาพิพากษาว่าโจทก์ "มีความผิดและพิพากษาลงโทษในคดีดังกล่าว (คดีอาญา) ไม่ว่าจะลงโทษจำคุก หรือลงโทษปรับ หรือแม้กระทั่งรอการลงโทษ หรือรอการกำหนดโทษ" ให้ถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายแพ้คดี ให้ศาลพิพากษายกฟ้อง
การที่จำเลยสละประเด็นตามคำให้การอื่น ยังคงติดใจเพียงประเด็นโจทก์ทุจริตและกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างหรือไม่ ส่วนหนึ่งของคำท้าคือหากโจทก์ถูกศาลในคดีอาญาพิพากษาว่ามีความผิดถือว่าโจทก์แพ้คดี การที่โจทก์กระทำผิดฐานยักยอกทรัพย์ของจำเลยหรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญของคำท้า การที่ศาลในคดีอาญาพิพากษายกฟ้องเนื่องจากคดีขาดอายุความ และศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนด้วยเหตุเดียวกัน คดีอาญาถึงที่สุด ศาลในคดีอาญาไม่ได้พิพากษาว่าโจทก์กระทำผิดอาญาหรือไม่ดังความมุ่งหมายของคำท้า จึงไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะหรือแพ้ตามคำท้าได้
การที่จำเลยสละประเด็นตามคำให้การอื่น ยังคงติดใจเพียงประเด็นโจทก์ทุจริตและกระทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่จำเลยผู้เป็นนายจ้างหรือไม่ ส่วนหนึ่งของคำท้าคือหากโจทก์ถูกศาลในคดีอาญาพิพากษาว่ามีความผิดถือว่าโจทก์แพ้คดี การที่โจทก์กระทำผิดฐานยักยอกทรัพย์ของจำเลยหรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญของคำท้า การที่ศาลในคดีอาญาพิพากษายกฟ้องเนื่องจากคดีขาดอายุความ และศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษายืนด้วยเหตุเดียวกัน คดีอาญาถึงที่สุด ศาลในคดีอาญาไม่ได้พิพากษาว่าโจทก์กระทำผิดอาญาหรือไม่ดังความมุ่งหมายของคำท้า จึงไม่อาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดชนะหรือแพ้ตามคำท้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมแพ้คดีตามคำท้า โดยคำเบิกความของพยานตรงกับข้อตกลงเดิม แม้รายละเอียดบางส่วนไม่ครบถ้วน
คู่ความแถลงขอท้ากันโดยให้ถือเอาคำเบิกความของ ก. เป็นยุติ โดยหาก ก. เบิกความได้ข้อเท็จจริงว่า ก. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ได้รับเงินจากจำเลยทั้งสองจำนวน 1,000,000 บาท โดยโจทก์และจำเลยทั้งสองออกฝ่ายละครึ่ง ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวในส่วนของโจทก์ จำเลยทั้งสองสำรองจ่ายและให้หักออกจากเงินค้ำประกันที่จำเลยทั้งสองจะต้องคืนแก่โจทก์ โจทก์ยอมแพ้คดี แต่หาก ก. เบิกความได้ข้อเท็จจริงไม่ตรงคำท้า จำเลยทั้งสองยอมแพ้ ปรากฏว่า ก. แถลงว่า ก. เป็นผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ได้รับเงินจำนวน 1,000,000 บาท จากจำเลยที่ 2 จริง แต่โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่ได้ตกลงกันออกเงินจำนวนดังกล่าวฝ่ายละครึ่ง และไม่ได้ตกลงเรื่องจำเลยทั้งสองทดรองจ่ายในส่วนของโจทก์ครึ่งหนึ่ง และให้หักออกจากเงินค้ำประกันที่จำเลยทั้งสองจะต้องคืนแก่โจทก์ ดังนี้ คำเบิกความของ ก. ได้นัยข้อเท็จจริงตามคำท้าแล้วและไม่เป็นเหตุให้จำเลยทั้งสองไม่ต้องรับผิดตามข้อโต้เถียง จำเลยทั้งสองจึงต้องแพ้คดีตามที่ท้ากันไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5196/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำท้าทางกฎหมาย: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม แม้เครื่องมือมีความไม่มั่นคงเล็กน้อย หากสามารถตั้งระยะตามที่ตกลงได้
คู่ความท้ากันว่าหากโจทก์สามารถใช้เครื่องมือกระบอกตั้งระยะชุดป้อนกระดาษของเครื่องพิมพ์ขนาด 102 เซนติเมตร ในการตั้งระยะเครื่องซีดี 74 ตามใบสั่งซ่อมได้ระยะ 45.5 เซนติเมตร หรือ 455 มิลลิเมตร แล้ว จำเลยทั้งสองยอมแพ้ ยอมจ่ายเงินตามฟ้องให้โจทก์ หากโจทก์ไม่สามารถตั้งได้ โจทก์ขอยอมแพ้ ดังนั้น ประเด็นในการท้ากันจึงเป็นกรณีที่โจทก์สามารถใช้เครื่องมือกระบอกตั้งระยะในการตั้งระยะดังกล่าวได้หรือไม่เท่านั้น โดยมิได้มีเงื่อนไขว่าห้ามมีตัวนอตหรือสกรูขยับได้หรือต้องตรงตามมาตรฐานของเครื่องเพื่อตรงตามความต้องการของลูกค้าตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์สามารถใช้เครื่องมือกระบอกตั้งระยะในการตั้งระยะดังกล่าวได้ตรงตามคำท้าแล้ว จึงเป็นกรณีที่โจทก์สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในคำท้าได้ จำเลยทั้งสองจึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีและจ่ายเงินตามฟ้องแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 308/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำท้าทางกฎหมาย: ศาลผูกพันตามคำพิพากษาในคดีที่เกี่ยวข้อง แม้คำพิพากษาศาลชั้นต้นยังไม่ถึงที่สุด
คู่ความตกลงท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาในคดีที่ ส. สามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ฟ้องบรรษัทบริหารสินทรัพย์ ท. บริษัทบริหารสินทรัพย์ ก. และโจทก์ทั้งสองเป็นจำเลยร่วมกันขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาท หากผลคดีดังกล่าวเป็นอย่างไร ให้ถือตามผลคดีนั้น คู่ความมิได้ตกลงกันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นข้อวินิจฉัยตามคำท้า คำท้าดังกล่าวต้องถือว่าคู่ความมีเจตนาถือเอาผลของคำพิพากษาที่ถึงที่สุดเป็นข้อวินิจฉัยในประเด็นที่ได้ท้ากัน เมื่อระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาปรากฏว่าในคดีที่ท้ากันศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่า บรรษัทบริหารสินทรัพย์ ท. รับโอนทรัพย์พิพาทมาโดยชอบ ถือว่าศาลฎีกาได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทตรงตามคำท้าที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยตกลงท้ากันแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 โจทก์ทั้งสองและจำเลยจึงต้องผูกพันตามคำท้าที่ตกลงกันตามผลของคำพิพากษาศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 โจทก์ทั้งสองย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาท มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4011/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำท้าทางคดีต้องชัดเจน ผลจากคำท้าต้องเป็นที่ยอมรับโดยไม่ต้องตีความเพิ่มเติม
การแพ้หรือชนะคดีกันตามคำท้านั้น ผลที่ได้จากเงื่อนไขที่ท้ากันจะต้องชัดเจนตรงกับประเด็นตามคำท้าโดยที่ศาลไม่ต้องตีความผลดังกล่าวให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายใดอีก เพราะมิฉะนั้นจะเป็นการถือเอาคำวินิจฉัยของศาลเป็นผลแพ้หรือชนะคดีแทนผลที่ได้จากคำท้า คดีนี้ประเด็นตามคำท้าคือ ลายมือชื่อของจำเลยในหนังสือสัญญากู้เงินและตัวอย่างลายมือชื่อของจำเลยเอกสารหมาย จ.2 ล.1 ถึง ล.4 เมื่อเปรียบเทียบกับลายมือชื่อผู้กู้ในหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 แล้วเป็นลายมือชื่อของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ โจทก์และจำเลยไม่ได้ท้ากันว่า ลายมือชื่อในหนังสือสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.1 เกิดจากการพิมพ์หรือการลงชื่อ ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญจึงไม่ได้เป็นไปตามคำท้า หากจะให้รับฟังว่าลายมือชื่อที่เกิดจากการพิมพ์ย่อมไม่ใช่การลงชื่ออันแสดงว่าลายมือชื่อดังกล่าวไม่ใช่ของบุคคลคนเดียวกัน เท่ากับว่าศาลจะต้องตีความต่อความเห็นของผู้เชี่ยวชาญอีกชั้นหนึ่ง การตีความเช่นนี้จึงเป็นคำวินิจฉัยของศาล หาใช่ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในประเด็นที่ตกลงท้ากันไม่ ซึ่งในชั้นท้ากันคู่ความก็ไม่ได้ตกลงยอมให้ศาลตีความต่อความเห็นของผู้เชี่ยวชาญไว้ด้วย ศาลจึงไม่อาจวินิจฉัยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญในชั้นนี้ได้ เป็นเรื่องที่ต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานอันได้จากการสืบพยานของคู่ความซึ่งย่อมประกอบด้วยพยานหลักฐานอื่นเพิ่มเติมจากรายงานการตรวจพิสูจน์ดังกล่าว