พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2894/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคิดเวลาราชการต่อเนื่องสำหรับคำนวณบำนาญหลังเปลี่ยนสถานะจากลูกจ้างเป็นข้าราชการพลเรือน
โจทก์เข้ารับราชการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2463 แล้วลาออกเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2477 โดยได้ไปเป็นผู้ช่วยจัดทำตำราและสอนกฎหมายซึ่งเป็นลูกจ้างของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2477 นับแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2477 ถึง พ.ศ. 2502 โจทก์ได้รับบำนาญจากทางราชการตลอดมา แต่ต่อมาได้คืนบำนาญสำหรับปี พ.ศ. 2501 และ 2502 เนื่องจากในวันที่ 1 มกราคม 2500 ได้มีพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2499 ออกใช้บังคับและโดยผลของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัตินี้โจทก์ได้เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนย้อนหลังไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2477 แม้การที่กฎหมายเปลี่ยนฐานะของโจทก์จากการเป็นลูกจ้างมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญจะถือไม่ได้ว่าเป็นการกลับเข้ารับราชการใหม่ตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2494 เพราะไม่มีการกลับเข้ารับราชการใหม่ แต่โดยที่โจทก์เป็นผู้ได้รับบำนาญอยู่ก่อนที่โจทก์จะได้รับการเปลี่ยนฐานะจากลูกจ้างมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เมื่อมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยว่าโจทก์จะคิดเวลาราชการของโจทก์ทั้งสองครั้งติดต่อกันเพื่อคำนวณเงินบำนาญได้หรือไม่ กรณีต้องวินิจฉัยคดีเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 คือเทียบกับมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2494 ซึ่งตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวข้าราชการผู้ประสงค์จะให้คิดเวลาราชการทั้งการรับราชการครั้งเก่าและครั้งใหม่ติดต่อกันสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ จะต้องบอกเลิกรับบำนาญเสียก่อนภายใน 30 วัน นับแต่วันกลับเข้ารับราชการใหม่ สำหรับกรณีของโจทก์เมื่อไม่มีวันกลับเข้ารัชราชการใหม่ก็ควรจะต้องถือว่าหากโจทก์ประสงค์จะให้คิดเวลาราชการทั้งสองครั้งติดต่อกัน โจทก์ก็ต้องบอกเลิกรับบำนาญเสียภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันประกาศใช้บังคับของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2499 เมื่อโจทก์มิได้บอกเลิกรับบำนาญภายในกำหนด จึงไม่มีสิทธิ์ที่จะขอให้จำเลยคิดเวลาราชการสำหรับคำนวณบำนาญทั้งเวลาราชการครั้งก่อนและครั้งหลังติดต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณบำเหน็จบำนาญสำหรับข้าราชการวิสามัญที่เปลี่ยนสถานะเป็นข้าราชการสามัญ ต้องพิจารณาช่วงเวลาที่รับเงินเดือนจากงบประมาณประเภทเงินเดือน
การนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญต้องนับแต่วันรับราชการรับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือน ซึ่งมิใช่อัตราข้าราชการวิสามัญหรือลูกจ้างตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 23
ระหว่างวันที่ 25 เมษายน 2477 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2479 โจทก์เป็นข้าราชการวิสามัญ ต่อมาโจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการสามัญเมื่อ พ.ศ. 2480 โดยเจ้ากระทรวงเห็นสมควรบรรจุในชั้นนั้นเข้าอันดับเงินเดือนเท่าที่ได้รับอยู่ โดยได้รับอนุมัติของก.พ. แล้ว ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2479 มาตรา 74 จึงเห็นได้ว่าการยกฐานะหรือเปลี่ยนฐานะของโจทก์เป็นไปโดยคำสั่งของเจ้ากระทรวงซึ่งเห็นสมควรบรรจุ หาใช่เป็นไปโดยกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่ จึงไม่ชอบที่จะนับระยะเวลาระหว่างที่เป็นข้าราชการวิสามัญดังกล่าวเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 23 วรรค 2
ระหว่างวันที่ 25 เมษายน 2477 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2479 โจทก์เป็นข้าราชการวิสามัญ ต่อมาโจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการสามัญเมื่อ พ.ศ. 2480 โดยเจ้ากระทรวงเห็นสมควรบรรจุในชั้นนั้นเข้าอันดับเงินเดือนเท่าที่ได้รับอยู่ โดยได้รับอนุมัติของก.พ. แล้ว ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2479 มาตรา 74 จึงเห็นได้ว่าการยกฐานะหรือเปลี่ยนฐานะของโจทก์เป็นไปโดยคำสั่งของเจ้ากระทรวงซึ่งเห็นสมควรบรรจุ หาใช่เป็นไปโดยกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่ จึงไม่ชอบที่จะนับระยะเวลาระหว่างที่เป็นข้าราชการวิสามัญดังกล่าวเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 23 วรรค 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณบำเหน็จบำนาญสำหรับข้าราชการที่เปลี่ยนสถานะจากวิสามัญเป็นสามัญ ต้องพิจารณาช่วงเวลารับเงินเดือนจากงบประมาณประเภทเงินเดือน
การนับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญต้องนับแต่วันรับราชการรับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือน. ซึ่งมิใช่อัตราข้าราชการวิสามัญหรือลูกจ้างตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 23.
ระหว่างวันที่ 24 เมษายน 2477 ถึงวันที่ 31 มีนาคม2479 โจทก์เป็นข้าราชการวิสามัญ. ต่อมาโจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการสามัญเมื่อ พ.ศ.2480 โดยเจ้ากระทรวงเห็นสมควรบรรจุในชั้นนั้นเข้าอันดับเงินเดือนเท่าที่ได้รับอยู่. โดยได้รับอนุมัติของ ก.พ.แล้ว ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2479 มาตรา 74. จึงเห็นได้ว่าการยกฐานะหรือเปลี่ยนฐานะของโจทก์เป็นไปโดยคำสั่งของเจ้ากระทรวงซึ่งเห็นสมควรบรรจุ. หาใช่เป็นไปโดยกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่. จึงไม่ชอบที่จะนับระยะเวลาระหว่างที่เป็นข้าราชการวิสามัญดังกล่าวเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 23 วรรคสอง.
ระหว่างวันที่ 24 เมษายน 2477 ถึงวันที่ 31 มีนาคม2479 โจทก์เป็นข้าราชการวิสามัญ. ต่อมาโจทก์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นข้าราชการสามัญเมื่อ พ.ศ.2480 โดยเจ้ากระทรวงเห็นสมควรบรรจุในชั้นนั้นเข้าอันดับเงินเดือนเท่าที่ได้รับอยู่. โดยได้รับอนุมัติของ ก.พ.แล้ว ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2479 มาตรา 74. จึงเห็นได้ว่าการยกฐานะหรือเปลี่ยนฐานะของโจทก์เป็นไปโดยคำสั่งของเจ้ากระทรวงซึ่งเห็นสมควรบรรจุ. หาใช่เป็นไปโดยกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะไม่. จึงไม่ชอบที่จะนับระยะเวลาระหว่างที่เป็นข้าราชการวิสามัญดังกล่าวเป็นเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 มาตรา 23 วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1565/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: คำนวณจากราคาทรัพย์สินจริง ผู้ค้ำประกันต้องชำระครบถ้วนเพื่อถอนการยึด
ตามตาราง 5 ข้อ 3 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินและไม่มีการขายหรือจำหน่าย ให้คิดค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์ที่ยึด จึงต้องคิดค่าธรรมเนียมตามราคาที่แท้จริงของทรัพย์ที่ยึด แม้ทรัพย์นั้นจะติดจำนองอยู่ ก็จะเอาหนี้จำนองมาหักราคาที่แท้จริงของทรัพย์ที่ยึดแล้วตีราคาตามยอดเงินที่เหลือจากเอาหนี้จำนองหักออกแล้วหาได้ไม่
เมื่อผู้ค้ำประกันขอวางเงินชำระหนี้ให้โจทก์เพื่อขอให้ศาลสั่งถอนการยึดทรัพย์ของผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันต้องชำระค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีให้ครบถ้วนด้วย ศาลจึงจะสั่งถอนการยึดได้
(ปัญหาแรก ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2509)
เมื่อผู้ค้ำประกันขอวางเงินชำระหนี้ให้โจทก์เพื่อขอให้ศาลสั่งถอนการยึดทรัพย์ของผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันต้องชำระค่าธรรมเนียมในการบังคับคดีให้ครบถ้วนด้วย ศาลจึงจะสั่งถอนการยึดได้
(ปัญหาแรก ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2509)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1122/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทุนทรัพย์ในการฎีกา: คำนวณจากทุนทรัพย์ที่ฟ้องในศาลชั้นต้น แม้ทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาจะต่ำกว่าเกณฑ์
ทุนทรัพย์ที่จะถือเป็นหลักฎีกาในข้อเท็จจริงได้หรือไม่นั้น ให้ถือทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกร้องในศาลชั้นต้นเป็นเกณฑ์ ไม่ใช่ที่ศาลล่างตัดสินให้
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าที่พิพาทราคา 5,000 บาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ละเมิดเก็บเกี่ยวข้าวในที่พิพาทไปเป็นราคาเงิน 2,000 บาท ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์แม้ว่าค่าเสียหายจะให้เพียง 200 บาทเท่านั้นก็ตาม คู่ความก็ฎีกาข้อเท็จจริงได้
โจทก์ฟ้องขอให้แสดงว่าที่พิพาทราคา 5,000 บาทเป็นของโจทก์ และให้จำเลยใช้ค่าเสียหายที่ละเมิดเก็บเกี่ยวข้าวในที่พิพาทไปเป็นราคาเงิน 2,000 บาท ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า ที่พิพาทเป็นของโจทก์แม้ว่าค่าเสียหายจะให้เพียง 200 บาทเท่านั้นก็ตาม คู่ความก็ฎีกาข้อเท็จจริงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินรางวัลจากของกลางที่ขายได้บางส่วน การคำนวณราคาของกลางทั้งหมดเพื่อจ่ายสินบนและรางวัล
คำว่า "ของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้" ในมาตรา 7 วรรค 2 นั้น หมายความว่า ขายไม่ได้ทั้งหมด ฉะนั้น ถ้าของกลางขายได้เป็นบางอย่างจะเอาค่าปรับมาจ่ายไม่ได้ต้องจ่ายจากเงินที่ขายของกลางได้ โดยคิดคำนวณเอาราคาของกลางทั้งหมดที่ปรากฎในทางพิจารณา ถ้าเงินที่ขายของกลางใดมีไม่พอก็ให้คิดเฉลี่ยตามส่วน
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2504
ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2504
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2504
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินสินบนจากของกลางริบ - ราคาของกลางเป็นฐานคำนวณ
ความหมายของข้อความใน มาตรา 7 วรรคสอง แห่ง พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด 2489 ที่ว่า ของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้นั้น ต้องไม่อาจขายได้ทั้งหมด ถ้าของกลางขายได้บางส่วน การจ่ายเงินสินบนและรางวัลนำจับจึงต้องจ่ายจากราคาของกลางจะจ่ายจากค่าปรับไม่ได้ เพราะขายของกลางได้บ้างแล้ว ส่วนอัตราการจ่ายเงินให้คิดคำนวณเอาจากราคาของกลางทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 789/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าเสียหายกรณีเสียชีวิต และสิทธิเรียกร้องค่าความทุกข์ทางจิตใจ
ผู้ตายมีอายุ 44 ปี มีรายได้เลี้ยงครอบครัว ได้นั่งรถยนต์ของจำเลยไปชนต้นไม้ถึงแก่ความตาย ดังนี้ ถือว่าในปัจจุบันชีวิตของบุคคลทั่ว ๆ ไป ในสังคมที่มีการแพทย์และการสาธารณสุขดี ยาวกว่าแต่ก่อน ผู้ตายมีร่างกายแข็งแรงและไม่มีโรคประจำตัว จึงควรคำนวณได้ว่า ผู้ตายอาจมีชีวิตทำมาหาได้ต่อไปข้างหน้าอีก 10 ปี
สามีไม่มีสิทธิฟ้อง เรียกค่าเสียหายทางจิตใจที่เกิดความว้าเหว่ เพราะสูญเสียภริยาผู้เคยปฏิบัติให้ชีวิตของสามีมีความสุขจากผู้ที่ทำให้ภริยาของตนถึงแก่ความตาย เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เรียกร้องได้ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
สามีไม่มีสิทธิฟ้อง เรียกค่าเสียหายทางจิตใจที่เกิดความว้าเหว่ เพราะสูญเสียภริยาผู้เคยปฏิบัติให้ชีวิตของสามีมีความสุขจากผู้ที่ทำให้ภริยาของตนถึงแก่ความตาย เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้เรียกร้องได้ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าปรับในคดีฝิ่น: เกณฑ์ราคามูลฝิ่นเมื่อรัฐไม่ได้ขาย
พระราชบัญญัติฝิ่น พ.ศ.2472 มาตรา 53ซึ่งได้แก้ไขใหม่ โดยพระราชบัญญัติฝิ่น (ฉบับที่ 4)2481 มาตรา 6 หาได้ประสงค์จะให้ถือเอา 'ราคาฝิ่น' มาตั้งเป็นเกณฑ์คำนวณค่าปรับในคดีเรื่อง'มูลฝิ่น' เหมือนมาตรา 51 ไม่ เพราะความตอนท้าย2 วรรคที่บัญญัติในเรื่อง 'ราคาฝิ่น' และ'ราคามูลฝิ่น'อันจะตั้งเป็นเกณฑ์คำนวณค่าปรับนั้น วรรคหลังบัญญัติว่า'ราคามูลฝิ่น' ให้ถือเอา 'ราคาฝิ่น' ตามวรรคก่อนแต่ 'ราคาฝิ่น' ตามวรรคก่อนนั้นให้ถือเอา'ราคาฝิ่น'หรือ 'ราคามูลฝิ่น' แล้วแต่กรณีฉะนั้นเมื่อกรณีเป็นเรื่อง'มูลฝิ่น' ก็ต้องถือเอาราคามูลฝิ่นตั้งเป็นเกณฑ์ค่าปรับเมื่อรัฐบาลมิได้ขาย 'มูลฝิ่น'จึงไม่มีราคามูลฝิ่นที่รัฐบาลขายมาตั้งเป็นเกณฑ์คำนวณค่าปรับก็ต้องปรับตามขั้นต่ำตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1801/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณค่าปรับจากฝิ่นดิบ โดยใช้ราคาฝิ่นสุกตามกฎหมาย
" ฝิ่น " ตาม พ.ร.บ.ฝิ่น พ.ศ.2472 มาตรา 3 หมายความทั้งฝิ่นดิบและฝิ่นสุก ฉะนั้นแม้จำเลยจะมีฝิ่นดิบไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย ศาลก็ย่อมใช้ราคาฝิ่นสุกของรัฐบาลที่ขายในท้องที่และเวลาเกิดเหตุมาเป็นเกณฑ์คำนวณปรับจำเลย 5 เท่าได้