พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยต้องรับผิดค่าชดเชยและค่าสินจ้าง
จำเลยอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้ฝ่าฝืนคำสั่งของจำเลย คำสั่งของจำเลย เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยมีสิทธิที่จะบอกเลิกการจ้างต่อโจทก์ได้ซึ่งจำเลยก็ได้บอกกล่าวต่อโจทก์เป็นหนังสือแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในเงินค่าชดเชยและค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าต่อโจทก์นั้น คดีนี้ศาลแรงงานวินิจฉัยว่า คำสั่งเลิกจ้างไม่ได้ระบุว่าโจทก์กระทำผิดซ้ำคำเตือนเรื่องใด และจำเลยไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าหลังจากมีหนังสือเตือนแล้ว โจทก์ยังได้กระทำผิดซ้ำในเรื่องที่มีหนังสือเตือนอีก ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลยซึ่งได้เตือนเป็นหนังสือแล้ว และฟังไม่ได้ว่าโจทก์จงใจขัดคำสั่งของจำเลยอันชอบด้วยกฎหมายหรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณ ดังนี้เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยคงกล่าวอ้างเพียงว่าโจทก์ได้ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของจำเลย โดยไม่ได้คัดค้านว่าคำวินิจฉัยของศาลแรงงานที่ว่าโจทก์ไม่ได้กระทำผิดซ้ำในเรื่องที่มีหนังสือเตือนแล้ว และโจทก์ไม่ได้จงใจขัดคำสั่งของจำเลยหรือละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณ เป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องอันจะเป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้โจทก์อย่างไรหรือไม่ อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 279/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดต่อคดีล้มละลายอื่นที่มีโจทก์เดียวกัน
ขณะโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ล้มละลายในคดีนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในอีกคดีหนึ่ง ของศาลชั้นต้นไปก่อนแล้ว แม้โจทก์ในคดีนี้กับโจทก์ในคดี ดังกล่าวจะเป็นคนเดียวกัน คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ดังกล่าวก็ยังมีผลอยู่ และใช้ยันแก่โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 จึงต้องจำหน่ายคดีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ในคดีนี้ออกจากสารบบความตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางวินัยของลูกจ้างสหภาพแรงงาน: การฝ่าฝืนคำสั่งโรงงานและการสิ้นสุดสมาชิกภาพ
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นพิพาทข้อ 2 ว่า มีเหตุที่จะต้องเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 7 ที่ 8 ที่ 3 และที่ 9 ตามฟ้องโจทก์หรือไม่มีข้อต้องวินิจฉัยตามข้ออ้างข้อเถียงในคำฟ้องและคำให้การประการหนึ่งว่า โจทก์ทั้งสองยังเป็นกรรมการสหภาพแรงงานยาสูบหรือไม่ การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานต่าง ๆ ในสำนวนแล้วฟังว่า โจทก์ทั้งสองยังไม่พ้นจากตำแหน่งกรรมการสหภาพแรงงานยาสูบ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคำสั่งของจำเลยที่ให้ลงโทษโจทก์ทั้งสองไม่ชอบ เป็นเหตุให้ศาลแรงงานกลางเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่พิพาทกันได้ จึงเป็นการวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทโดยตรงมิใช่วินิจฉัยนอกประเด็น
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 หมวด 7 บัญญัติวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง วีธีการจดทะเบียน และวิธีการดำเนินกิจการสหภาพแรงงานไว้โดยเฉพาะแตกต่างจากการจัดตั้งบริษัทจำกัด ตาม ป.พ.พ.แม้โจทก์ทั้งสองจะเป็นผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสหภาพแรงงานผู้ใช้แรงงานยาสูบ แต่โจทก์ทั้งสองมิได้เป็นกรรมการบริหารสหภาพแรงงาน จึงไม่มีบัตรอนุญาตผ่านเข้าออกประจำตัวกรรมการบริการสหภาพแรงงานที่จะใช้แทนใบผ่านได้ การที่โจททก์ทั้งสองผ่านเข้าออกโรงงานยาสูบ 5 ในระหว่างที่ไม่ได้เป็นกรรมการ-บริหารสหภาพแรงงานโดยไม่มีใบผ่านเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งผู้อำนวยการยาสูบที่ ท.140/2517 ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ เป็นความผิดวินัย คำสั่งของจำเลยที่ 7 และที่ 8 ที่ลงโทษโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำสั่งที่ชอบไม่มีเหตุที่จะเพิกถอน
จำเลยที่ 7 และที่ 8 ลงโทษให้โจทก์ทั้งสองทำทัณฑ์บนเป็นเวลา 6 เดือน และจำเลยที่ 3 ให้โจทก์ทั้งสองงดทำงานล่วงเวลาเป็นเวลา 1 ปีมิใช่เป็นการลงโทษภาคทัณฑ์ ตามบัญชีกำหนดอำนาจการลงโทษ..ท้ายระเบียบว่าด้วยวินัยการร้องทุกข์และการเลิกจ้าง พ.ศ.2515 ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ถูกจำกัดให้ใช้บังคับเฉพาะปีงบประมาณเดียวตามข้ออ้างของโจทก์ จำเลยที่ 3 ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสองไม่ได้ทำงานล่วงเวลาและไม่ต้องคืนค่าจ้างสำหรับวันที่โจทก์ทั้งสองถูกลงโทษพักงานด้วย.
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 หมวด 7 บัญญัติวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง วีธีการจดทะเบียน และวิธีการดำเนินกิจการสหภาพแรงงานไว้โดยเฉพาะแตกต่างจากการจัดตั้งบริษัทจำกัด ตาม ป.พ.พ.แม้โจทก์ทั้งสองจะเป็นผู้เริ่มก่อการจัดตั้งสหภาพแรงงานผู้ใช้แรงงานยาสูบ แต่โจทก์ทั้งสองมิได้เป็นกรรมการบริหารสหภาพแรงงาน จึงไม่มีบัตรอนุญาตผ่านเข้าออกประจำตัวกรรมการบริการสหภาพแรงงานที่จะใช้แทนใบผ่านได้ การที่โจททก์ทั้งสองผ่านเข้าออกโรงงานยาสูบ 5 ในระหว่างที่ไม่ได้เป็นกรรมการ-บริหารสหภาพแรงงานโดยไม่มีใบผ่านเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งผู้อำนวยการยาสูบที่ ท.140/2517 ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ เป็นความผิดวินัย คำสั่งของจำเลยที่ 7 และที่ 8 ที่ลงโทษโจทก์ทั้งสองจึงเป็นคำสั่งที่ชอบไม่มีเหตุที่จะเพิกถอน
จำเลยที่ 7 และที่ 8 ลงโทษให้โจทก์ทั้งสองทำทัณฑ์บนเป็นเวลา 6 เดือน และจำเลยที่ 3 ให้โจทก์ทั้งสองงดทำงานล่วงเวลาเป็นเวลา 1 ปีมิใช่เป็นการลงโทษภาคทัณฑ์ ตามบัญชีกำหนดอำนาจการลงโทษ..ท้ายระเบียบว่าด้วยวินัยการร้องทุกข์และการเลิกจ้าง พ.ศ.2515 ของจำเลยที่ 2 จึงไม่ถูกจำกัดให้ใช้บังคับเฉพาะปีงบประมาณเดียวตามข้ออ้างของโจทก์ จำเลยที่ 3 ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสองไม่ได้ทำงานล่วงเวลาและไม่ต้องคืนค่าจ้างสำหรับวันที่โจทก์ทั้งสองถูกลงโทษพักงานด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7230/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแต่งตั้งถอดถอนกรรมการมัสยิด: คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมีอำนาจเด็ดขาด คำสั่งคณะกรรมการกลางไม่มีผลผูกพัน
ตาม พ.ร.บ.มัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490 มาตรา 8 ให้การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการมัสยิดเป็นอำนาจเฉพาะของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดที่จะมีคำสั่ง ไม่มีบทบัญญัติใดของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีอำนาจแก้ไขคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดดังนั้น เมื่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดได้ใช้อำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวถอดถอนผู้ร้องที่ 2 จากตำแหน่งอิหม่าม กับถอดถอนบุคคลอีกหกคนจากตำแหน่งกรรมการของมัสยิดผู้ร้องที่ 1 แล้ว แม้คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยจะสั่งแก้ไขคำสั่งถอดถอนดังกล่าวและให้ผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกเข้าดำรงตำแหน่งตามเดิม ก็หามีผลให้ผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกเป็นกรรมการมัสยิดผู้ร้องที่ 1 ไม่และสำหรับผู้ร้องที่ 2 นั้น เนื่องจากมีคำสั่งของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดให้ผู้ดำรงตำแหน่งอิหม่ามรักษาการในตำแหน่งคอเต็บ เมื่อผู้ร้องที่ 2 ถูกถอดถอนจากตำแหน่งอิหม่าม ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีฐานะเป็นผู้รักษาการในตำแหน่งคอเต็บตามคำสั่งดังกล่าว ผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกดังกล่าวจึงมิใช่เป็นกรรมการของมัสยิดผู้ร้องที่ 1 ตามคำร้อง ผู้ร้องที่ 2 และผู้ร้องที่ 1 โดยผู้ร้องที่ 2 กับบุคคลทั้งหกจึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6554/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดัดแปลงอาคารขัดแบบแปลนและคำสั่งรื้อถอน การใช้พื้นที่ผิดวัตถุประสงค์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำการติดตั้งบันใดเลื่อนจากชั้นใต้ดินไปชั้นที่ 1 และใช้บริเวณชั้นใต้ดินเพื่อการอื่นโดยมิได้รับอนุญาตอันเป็นการดัดแปลงต่อเติมอาคารผิดไปจากแบบแปลนโดยมิได้รับอนุญาต ซึ่งโจทก์มีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย โดยโจทก์มีคำขอให้บังคับจำเลยใช้บริเวณชั้นใต้ดินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุญาต เมื่อข้อเท็จจริงฟังยุติว่าบริเวณชั้นใต้ดินของอาคารที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างนั้นต้องทำเป็นลานจอดรถแต่จำเลยได้ใช้ลานจอดรถดังกล่าวเพื่อการอื่น ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบริเวณชั้นใต้ดินดังกล่าวและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5392/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง: ศาลฎีกามีอำนาจเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบ แม้เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกา
โจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงให้ยกคำร้อง แล้วมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ เมื่อปรากฏว่า คดีนี้เป็นคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว จึงเป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย และย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องว่าจะรับรองให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) และ 27 ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5025/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันข้าราชการไปศึกษาต่อ: การผิดสัญญาเกิดจากการไม่กลับเข้ารับราชการตามคำสั่ง ไม่ใช่การถูกสั่งให้ออก
ปัญหาว่าการที่ พ. ไม่สามารถกลับเข้ารับราชการได้เพราะโจทก์มีคำสั่งให้ออกจากราชการ เนื่องจากการกระทำผิดวินัยก่อนจำเลยทำสัญญาค้ำประกันนั้นเมื่อปรากฏตามสัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อภายในประเทศในสัญญาข้อ 5 มีข้อความว่า "เมื่อข้าพเจ้าสำเร็จการศึกษาแล้วก็ดีหรือการศึกษาของข้าพเจ้าต้องยุติลงด้วยประการใด ๆ ก็ดี ข้าพเจ้าสัญญาว่า จะกลับมาปฏิบัติราชการตามคำสั่งของทางราชการทันที ฯลฯ" และ ข้อ 7 มีข้อความว่า "ถ้าข้าพเจ้าผิดสัญญาข้อ 5 ข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินแก่กรมการศึกษานอกโรงเรียน ดังต่อไปนี้ ก.ถ้าข้าพเจ้าไม่กลับเข้าปฏิบัติราชการเลย ข้าพเจ้ายอมชดใช้เงินทุน หรือเงินเดือนทั้งหมด ฯลฯ" เห็นได้ว่า วัตถุประสงค์ของสัญญาข้อ 5 และ 7 มีความมุ่งหมายว่าหาก พ.สำเร็จการศึกษา หรือการศึกษายุติลงด้วยประการใด ๆ แล้ว พ.ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่งจึงจะถือว่าผิดสัญญา เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้สั่งให้ พ.ออกจากราชการ จึงไม่ใช่กรณีที่ พ.ไม่ยอมกลับเข้ารับราชการตามคำสั่ง
ตามสัญญาในข้อ 9 ที่มีข้อความว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ หรือในระหว่างที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ข้าพเจ้าประพฤติผิดวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออก หรือออกจากราชการข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับ" นั้น มุ่งหมายถึง ความประพฤติของ พ.นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป มิได้มุ่งหมายถึงความประพฤติในอดีตแต่อย่างใด การที่โจทก์สั่งให้ พ.ออกจากราชการ ก็เนื่องเพราะความประพฤติผิดวินัยของ พ.ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญา ดังนั้นจึงไม่อาจถือได้ว่า พ.ผิดสัญญาดังกล่าว เมื่อ พ. ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน พ. จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
ตามสัญญาในข้อ 9 ที่มีข้อความว่า "ในระหว่างที่ข้าพเจ้าได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ หรือในระหว่างที่ข้าพเจ้ากลับเข้าปฏิบัติราชการต่อไปตามที่กล่าวในข้อ 5 ข้าพเจ้าประพฤติผิดวินัยจนถึงถูกไล่ออก ปลดออก หรือออกจากราชการข้าพเจ้ายินยอมชดใช้เงินและเบี้ยปรับ" นั้น มุ่งหมายถึง ความประพฤติของ พ.นับแต่วันทำสัญญาเป็นต้นไป มิได้มุ่งหมายถึงความประพฤติในอดีตแต่อย่างใด การที่โจทก์สั่งให้ พ.ออกจากราชการ ก็เนื่องเพราะความประพฤติผิดวินัยของ พ.ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันทำสัญญา ดังนั้นจึงไม่อาจถือได้ว่า พ.ผิดสัญญาดังกล่าว เมื่อ พ. ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาจำเลยซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน พ. จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 466/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนอาคารที่ก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต การล่าช้าในการพิจารณาอนุญาตไม่ทำให้คำสั่งรื้อถอนไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาโจทก์ที่ว่า จำเลยที่ 2 มิได้พิจารณาและออกหนังสืออนุญาตให้โจทก์ที่ 3 แก้ไขแบบแปลนและต่อเติมอาคารจาก 4 ชั้นเป็น 11 ชั้นภายในกำหนดระยะเวลา 30 วัน และกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ คำสั่งของจำเลยที่ 2 ที่ปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์รื้อถอนอาคารที่สร้างโดยไม่รับอนุญาตตั้งแต่ชั้นที่ 5 ถึงชั้นที่ 11 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้นเป็นฎีกาที่ไม่มีประโยชน์ต่อรูปคดีของโจทก์และฟังไม่ขึ้น เพราะแม้กฎหมายจะกำหนดระยะเวลาไว้ แต่กฎหมายดังกล่าวก็มิได้บัญญัติให้คำสั่งหรือคำวินิจฉัยที่ล่าช้าตกเป็นเสียเปล่าหรือก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะก่อสร้างได้โดยไม่ต้องขออนุญาตแต่อย่างใดเหตุล่าช้าจะเป็นจริงหรือไม่ ก็ไม่อาจถือเป็นเหตุถึงขนาดว่าคำสั่งหรือคำวินิจฉัยนั้นตกเป็นไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฎีกาว่าอาคารที่ก่อสร้างมีความมั่นคงแข็งแรง มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ จึงไม่มีเหตุที่จะรับฟังข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2667/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำเลยที่เป็นนิติบุคคลและการกระทำของผู้แทน: กรณีผู้ว่าราชการจังหวัดออกคำสั่ง
ผู้ว่าราชการจังหวัดลงชื่อในคำสั่งของจังหวัดให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์ โดยอ้างว่าออกทับที่สาธารณประโยชน์ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 เป็นคำสั่งของจังหวัดที่กระทำโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งเป็นผู้แทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70(75 เดิม) โจทก์ฟ้องจังหวัดเป็นจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2158/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งงดสืบพยานและการไม่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณา ทำให้ต้องห้ามอุทธรณ์ตามกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นสอบถามข้อเท็จจริงจากคู่ความแล้วสั่งงดสืบพยาน ในวันนัดสืบพยานโจทก์และพิพากษาคดีโดยอาศัยข้อเท็จจริงที่ได้ความ ถือไม่ได้ว่าเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อกฎหมายเบื้องต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อโจทก์เห็นว่าชอบที่จะมีการสืบพยานต่อไปก็ต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ มิฉะนั้นต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2)