คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าทนายความ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 111 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12104/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อมิได้วางค่าทนายความตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนด แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาไว้
ค่าทนายความที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ชำระแก่จำเลยที่ 1 เป็นความรับผิดในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมที่โจทก์ผู้ฎีกาจะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 หาใช่หนี้ตามคำพิพากษาในเนื้อหาคดี อันโจทก์จะพึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 วรรคหนึ่ง ได้ไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นฎีกาโดยจงใจนำเพียงค่าธรรมเนียม (ค่าขึ้นศาล) ตามที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์มาวางศาลตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พร้อมกับฎีกาโดยมิได้วางค่าทนายความที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ชำระแก่จำเลยที่ 1 จึงเป็นการยื่นฎีกาโดยมิชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งจะมีคำสั่งไม่รับฎีกาได้ทันที เพราะมิใช่กรณีที่โจทก์ชำระให้ครบถ้วนภายในกำหนดระยะเวลาตามที่เห็นสมควรเสียก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12104/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบ หากไม่ชำระค่าทนายความตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์พร้อมฎีกา แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกาไว้ก็ไม่สมบูรณ์
ค่าทนายความเป็นค่าธรรมเนียมอย่างหนึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ชำระค่าทนายความจำนวน 150,000 บาท แก่จำเลยที่ 1 จึงเป็นหลักเกณฑ์เคร่งครัดที่โจทก์ผู้ยื่นฎีกาจะต้องปฏิบัติตาม เพราะมิใช่หนี้ตามคำพิพากษาในเนื้อหาแห่งคดี ที่โจทก์จะพึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอทุเลาการบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 231 วรรคหนึ่ง
โจทก์ยื่นฎีกาโดยจงใจนำเพียงค่าขึ้นศาลตามที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์มาวางศาลพร้อมกับฎีกา เป็นการฝ่าฝืนต่อหลักเกณฑ์ที่บทบัญญัติมาตรา 229 กำหนดไว้ จึงเป็นการยื่นฎีกาโดยมิชอบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับฎีกาได้ทันที เพราะมิใช่กรณีโจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาไม่ครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 วรรคสอง ที่ศาลชั้นต้นซึ่งมีหน้าที่ตรวจคำคู่ความจะต้องมีคำสั่งให้โจทก์ชำระให้ครบถ้วนเสียก่อนที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ แม้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของโจทก์ไว้แล้วก็ไม่ถือว่าเป็นฎีกาที่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 746/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: การแจ้งครอบครองแทนกัน, การครอบครองปรปักษ์, และการกำหนดค่าทนายความที่เหมาะสม
จำเลยให้การปฏิเสธว่า ล. ได้ให้ ข. กับ ป. และ ห. บรรพบุรุษของโจทก์และบริวารซึ่งเป็นญาติเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาท โดยอาศัยปลูกบ้านอยู่และปลูกพืชผักสวนครัว อันเป็นการยึดที่ดินพิพาทแทน ล. เมื่อ ล. ตายที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลยจำเลยก็อนุญาตให้ ป. กับ ห. และบริวารอาศัยอยู่ต่อมา เมื่อ ป. เป็นผู้นำที่ดินของ ล. ที่ตนอาศัยไปแจ้งการครอบครอง จึงถือว่าเป็นการแจ้งการครอบครองแทน ล. ไม่ก่อให้เกิดสิทธิในที่ดินที่พิพาท คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้เพียงว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ โดยจำเลยได้ยกข้อต่อสู้เป็นประเด็นว่า ป. แจ้งสิทธิครอบครอง ตาม ส.ค.1 ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของ ล. มารดาจำเลยแทน ล. มารดาจำเลยเท่านั้น การที่จำเลยฎีกาปัญหาอื่นนอกจากนี้ แม้จำเลยจะได้นำสืบด้วย ก็ถือว่าเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาทและเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ถือได้ว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง
ตามตาราง 6 อัตราค่าทนายความ ท้าย ป.วิ.พ. ให้ศาลกำหนดค่าทนายความให้แก่ผู้ชนะคดีโดยพิจารณาตามความยากง่ายแห่งคดี กับเทียบเวลาและงานที่ทนายความต้องปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนั้น โดยศาลต้องกำหนดค่าทนายความระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูง เมื่อปรากฏว่าทนายโจทก์ก็ได้เรียงพิมพ์คำแก้อุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นแล้ว ถือว่าทนายโจทก์ได้ว่าคดีในชั้นอุทธรณ์แล้ว โดยจำเลยได้อุทธรณ์มาทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายซึ่งฟังไม่ขึ้นแม้แต่ข้อเดียว จนศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นสมดังที่ทนายโจทก์ได้แก้อุทธรณ์ไว้ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ได้ เมื่อทุนทรัพย์ในคดีมีจำนวน 960,000 บาท ส่วนค่าทนายความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดให้จำเลยใช้แทนโจทก์นั้นมีจำนวน 25,000 บาท คิดเป็นเพียงร้อยละ 2.6 ของจำนวนทุนทรัพย์ ทั้ง ๆ ที่อาจกำหนดค่าทนายความให้ในอัตราขั้นสูงได้ถึงร้อยละ 3 ของจำนวนทุนทรัพย์ ค่าทนายความดังกล่าวไม่สูงเกินส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3012/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญาจ้างก่อสร้าง, ค่าเสาเข็ม, เบี้ยปรับ, ค่าทนายความ: ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
นอกจากงานก่อสร้างตามสัญญา จำเลยที่ 1 ให้โจทก์ทำงานเพิ่มเติมไปจากสัญญา ซึ่งโจทก์ต้องใช้เวลาในการดำเนินการเพิ่มขึ้น ประกอบกับการส่งงานงวดที่ 14 และที่ 15 โจทก์ส่งมอบพร้อมกันภายหลังล่วงพ้นระยะเวลาก่อสร้างสิ้นสุดแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินค่างวดทั้งสองงวดให้โจทก์โดยไม่ปรากฏว่าในขณะรับมอบงานจำเลยที่ 1 ได้อิดเอื้อนหรือสงวดสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับไว้ การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าจำเลยที่ 2 ได้บอกโจทก์แล้วว่าจะมีคนมาใช้ประโยชน์ในอาคารที่ก่อสร้างก็เป็นเพียงคำปรารภหาใช่เป็นการสงวนสิทธิที่จะเรียกเอาเบี้ยปรับไม่
การที่จำเลยที่ 1 รับมอบงานงวดที่ 14 และที่ 15 ทั้งที่ระยะเวลาก่อสร้างสิ้นสุดแล้วและให้โจทก์ก่อสร้างงานงวดที่ 16 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายต่อไป ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มิได้ถือเอาระยะเวลาตามสัญญาเป็นสำคัญ ทั้งมีงานที่จำเลยที่ 1 ให้โจทก์ทำนอกเหนือสัญญาด้วย จึงเป็นพฤติการณ์ที่บ่งชี้ว่าข้อสัญญาที่เกี่ยวกับการส่งมอบงานล่าช้าไม่แล้วเสร็จตามสัญญานี้ โจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีเจตนาให้ระงับกันไปไม่ถือเป็นการผิดสัญญา จึงทำให้จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิเรียกเบี้ยปรับที่โจทก์ส่งมอบงานพ้นกำหนดเวลาสิ้นสุดตามสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 381 วรรคสาม และมาตรา 597

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดค่าจ้างและค่าทนายความเหมาะสมตามพฤติการณ์คดี ศาลฎีกามีอำนาจปรับแก้ค่าฤชาธรรมเนียมได้
บทบัญญัติตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. อัตราค่าทนายความกำหนดตามทุนทรัพย์แห่งคดีหาใช่กำหนดตามทุนทรัพย์ที่ชนะคดีไม่ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความจำนวน 30,000 บาท ซึ่งเป็นอัตราร้อยละ 0.43 โดยประมาณ จากทุนทรัพย์ 7,000,000 บาท และอยู่ในเกณฑ์ระหว่างอัตราขั้นต่ำ 600 บาท ถึงอัตราขั้นสูง 350,000 บาท ตามกฎหมาย จึงถือมิได้ว่าศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความโดยมิชอบด้วยกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม การที่ศาลจะกำหนดความรับผิดชั้นที่สุดของคู่ความในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งโดยหลักต้องตกแก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง นั้น บทบัญญัติวรรคดังกล่าวให้ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจได้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง และเมื่อค่าทนายความเป็นค่าฤชาธรรมเนียมประเภทหนึ่งตามที่บัญญัติในวรรคสองของมาตราเดียวกัน แม้ค่าทนายความจำนวน 30,000 บาท ที่ศาลชั้นต้นกำหนดจะไม่ขัดต่อกฎหมาย แต่ศาลฎีกาพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีตลอดถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการดำเนินคดีของคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้ว เห็นว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้แก่โจทก์สูงมากเกินควร ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดเสียใหม่ให้เหมาะสมแก่รูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5569/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ซื้อในการยึดหน่วงราคาเมื่อทรัพย์สินชำรุด และขอบเขตการแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าทนายความ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยขนย้ายทรัพย์สินพร้อมบริวารและส่งมอบทาวน์เฮ้าส์พิพาทคืนให้โจทก์กับให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าออกไปจากทาวน์เฮ้าส์ของโจทก์ เป็นคดีต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง การวินิจฉัยข้อกฎหมายศาลฎีกาจำต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247
โจทก์มอบอำนาจให้ ข. ทำสัญญาจะซื้อจะขายทาวน์เฮาส์ 3 ชั้น พร้อมที่ดินกับจำเลยในราคา 1,900,000 บาท จำเลยได้ชำระเงินให้แก่โจทก์ในวันทำสัญญาจำนวน 100,000 บาท ส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็น 6 งวด โดยจำเลยได้เข้าอยู่อาศัยในบ้านดังกล่าวและจำเลยชำระเงินให้โจทก์เป็นเวลา 5 งวด เมื่อทาวน์เฮ้าส์ที่โจทก์ส่งมอบให้แก่จำเลยมีความชำรุดบกพร่องหลายแห่ง จำเลยจึงมีสิทธิให้โจทก์แก้ไขความชำรุดบกพร่องและยึดหน่วงยังไม่ต้องชำระราคาค่าซื้อในงวดสุดท้ายได้ การที่จำเลยยังไม่ชำระราคาค่าซื้องวดสุดท้าย เพราะโจทก์ยังมิได้แก้ไขความชำรุดบกพร่องจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยผิดสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา 472 และมาตรา 488

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5564/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องแทนผู้บริโภค, สัญญาจัดสรร, การชำระเงิน, เหตุสุดวิสัย, ค่าทนายความ
การอ้างสำเนาแทนต้นฉบับเอกสารนั้น ถ้าคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างสำเนาเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตนไม่คัดค้านการอ้างเอกสารดังกล่าวเสียก่อนการสืบพยานเอกสารนั้นเสร็จ คู่ความฝ่ายนั้นก็ต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงของเอกสารนั้น หรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ข้อเท็จจริงปรากฏว่า โจทก์อ้างหนังสือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 เอกสารหมาย จ.20 เป็นพยานโดยส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันสืบพยานแล้ว แต่จำเลยมิได้คัดค้านว่าไม่มีต้นฉบับ หรือสำเนาเอกสารนั้นไม่ถูกต้องตรงกับต้นฉบับก่อนวันสืบพยาน และหลังจากที่ ศ. พยานโจทก์เบิกความอ้างถึงสำเนาหนังสือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคจนถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นเวลากว่าสองปี จำเลยก็มิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตคัดค้านการอ้างเอกสารดังกล่าวต่อศาล โดยไม่ปรากฏว่ามีเหตุผลอันสมควรประการใดที่ไม่อาจยกข้อคัดค้านนั้นได้ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงตามสำเนาเอกสารหมาย จ.20 ประกอบคำเบิกความของพยานบุคคลว่า คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีหนังสือแต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้ทำละเมิดสิทธิของผู้บริโภคต่อศาลแล้ว จำเลยจึงไม่อาจคัดค้านการรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้อีก กรณีฟังได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องโดยชอบ
จำเลยเป็นผู้ลงทุนในโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่นำมาจัดสรรขายให้แก่ประชาชนโดยคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนสูง ซึ่งก็ต้องใช้เงินลงทุนสูงด้วย จึงต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุมในเรื่องการเงิน การตลาด รวมทั้งการคาดการณ์ล่วงหน้า เพื่อให้สามารถรับความเสี่ยงได้สูง แม้จะเกิดภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจและนโยบายการแก้ปัญหาของรัฐบาลจะมีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจทั่วไป รวมทั้งของจำเลยด้วยก็ตาม แต่ก็มิใช่ภาวะที่จำเลยไม่อาจคาดการณ์ได้ หรือไม่อาจแก้ไขได้ ดังนั้น การที่จำเลยปลูกสร้างบ้านไม่เสร็จจึงไม่อาจฟังได้ว่าเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญา ผู้บริโภคชอบที่จะบอกเลิกสัญญาได้
สัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยกับ ส. เป็นสัญญาต่างตอบแทน โดย ส. มีหน้าที่ชำระราคาตามงวด ส่วนจำเลยมีหน้าที่ก่อสร้างบ้านให้เสร็จและส่งมอบแก่ ส. ได้ภายในกำหนดเวลาที่ประมาณการไว้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ส. ได้ชำระเงินค่างวดแก่จำเลยมาโดยตลอดถึง 17 งวด คงค้างชำระเพียง 3 งวดสุดท้าย แต่จำเลยกลับก่อสร้างบ้านเพียงบางส่วนแล้วหยุดก่อสร้างเป็นเวลานาน จึงถือว่าจำเลยไม่ดำเนินการก่อสร้างบ้านให้เสร็จเรียบร้อยตามที่คู่สัญญาพึงคาดหมายจากกันได้ ทำให้มีเหตุที่ ส. จะหยุดชำระค่างวด โดยไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาจะซื้อจะขาย
การที่จำเลยเป็นเจ้าของโครงการจัดสรรที่ดินและปลูกสร้างบ้านเพื่อขายแก่ผู้ซื้อ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องปลูกสร้างบ้านให้เสร็จสมบูรณ์ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง และเหมาะสมแก่การอยู่อาศัย การกำจัดปลวกจึงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการเพื่อให้บ้านแข็งแรงทนทานยิ่งขึ้น แม้ในตอนแรกจำเลยกับผู้บริโภคจะไม่ได้กำหนดเรื่องการกำจัดปลวกไว้ในสัญญา แต่ทั้งสองฝ่ายก็สามารถตกลงเพิ่มเติมกันในภายหลังได้ โดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือ และเห็นว่าเมื่อมีการตกลงกันเช่นว่านี้แล้ว การกำจัดปลวกย่อมเป็นการบริการอย่างหนึ่งซึ่งเป็นหน้าที่ของจำเลยผู้ก่อสร้างบ้านขายโดยตรง เพราะการฉีดยากำจัดปลวกจะต้องสัมพันธ์กับการก่อสร้าง จำเลยจึงต้องส่งมอบบ้านที่มีการกำจัดปลวกเรียบร้อยแก่ผู้บริโภค เมื่อจำเลยไม่ส่งมอบบ้านให้ ก็ต้องรับผิดต่อผู้บริโภคตามข้อตกลงเพิ่มเติมนั้น และจำเลยยังอยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมดูแลของคณะกรรมการคุ้มครองบริโภคตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกคืนเงินค่ากำจัดปลวกหรือเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้แทนผู้บริโภคได้
ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2532 มาตรา 39 บัญญัติว่า การดำเนินคดีในศาลแทนผู้บริโภคของเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคนั้นให้ได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวง และข้อเท็จจริงปรากฏว่าคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคมีคำสั่งแต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้มีหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาแก่ผู้กระทำการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคในศาล จึงมีผลให้พนักงานอัยการมีอำนาจดำเนินคดีได้เองโดยตรงในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค หาใช่เข้ามาทำหน้าที่ในฐานะเป็นทนายแผ่นดินในคดีนี้ไม่ จึงไม่ชอบที่ศาลจะสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งชดใช้ค่าทนายความแก่ฝ่ายที่ชนะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6620/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินสาธารณสมบัติ การครอบครองปรปักษ์ และค่าทนายความที่ศาลสั่งให้ชดใช้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ทางราชการได้สงวนไว้ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (3) จำเลยจึงไม่อาจอ้างการครอบครองใช้ยันกระทรวงการคลังโจทก์ได้
จำเลยมิได้ยกเรื่องอายุความขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็นเหตุยกฟ้องไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/29 และอายุความในคดีแพ่งไม่เป็นกรณีเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
ตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (2) พนักงานอัยการมีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาลในศาลทั้งปวง ในกรณีเช่นนี้พนักงานอัยการจึงมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 ที่มีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีในศาลให้แก่ผู้อื่น เมื่อกระทรวงการคลังโจทก์ได้แต่งตั้งพนักงานอัยการเป็นทนายความจึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งในคำพิพากษาให้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีชดใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5634/2562

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจเป็นคู่ความ การให้ใช้ค่าทนายความแก่เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ชอบ
เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเจ้าพนักงานที่ต้องปฏิบัติในการที่จะบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลเท่านั้น ไม่มีอำนาจเข้ามาเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือเป็นคู่ความในคดี ศาลจึงกำหนดให้คู่ความใช้ค่าทนายความให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7787/2560

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบเนื่องจากไม่วางเงินค่าทนายความตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก่อนยื่นฎีกา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกคำร้องขอขัดทรัพย์ของผู้ร้อง ค่าฤชาธรรมเนียมในศาลชั้นต้นให้เป็นพับ ให้ผู้ร้องขัดทรัพย์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์จำนวน 3,000 บาท เมื่อผู้ร้องขัดทรัพย์ฎีกา ผู้ร้องขัดทรัพย์จะต้องนำเงินค่าธรรมเนียม (ค่าทนายความดังกล่าว) ซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์มาวางศาลพร้อมกับฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ประกอบมาตรา 247 และประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณา คดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 แต่ผู้ร้องขัดทรัพย์ไม่นำเงินค่าทนายความ 3,000 บาท มาวางศาลพร้อมฎีกา จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ แม้ศาลชั้นต้นจะรับฎีกาของผู้ร้องขัดทรัพย์มาก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 12