พบผลลัพธ์ทั้งหมด 515 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2790/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่วางค่าธรรมเนียม ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมิชอบ ทำให้ไม่มีสิทธิฎีกา
จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาและคำพิพากษาศาลชั้นต้นพร้อมกับยื่นคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง หากจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ประสงค์จะอุทธรณ์ให้นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันอ่านคำสั่ง จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 วางเงินค่าธรรมเนียมศาลจำนวน 200 บาทสำหรับอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง การที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นและให้สืบพยานจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อไป จำเลยที่ 1และที่ 2 จะต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229 เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ดังกล่าว จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงเป็นการมิชอบ และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฎีกาต่อมา ตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่ชอบเมื่อไม่วางค่าธรรมเนียม ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยชอบแล้ว
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นและให้สืบพยานต่อไป เท่ากับให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้สืบพยานต่อไป จึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ต้องปฏิบัติขณะยื่นอุทธรณ์ เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่ให้โอกาสจำเลยเงินค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนโจทก์มาวางจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2030/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสิทธิการเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทน จำเลยต้องชำระค่าธรรมเนียมการโอนและจดทะเบียนเช่าครบถ้วน
โจทก์ทำสัญญาจะซื้อจะขายสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทของกรมศาสนาจากจำเลยโดยตามสัญญาข้อ 3 ระบุว่า "ค่าธรรมเนียมในการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายทั้งหมด ? และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในการโอน ผู้จะขายเป็นฝ่ายออกทั้งสิ้น" สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน เพราะโจทก์มีหน้าที่ต้องชำระเงินสิทธิการเช่าให้แก่จำเลย จำเลยก็มีหน้าที่จดทะเบียนโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ เมื่อถึงวันนัดโอนโจทก์เสนอขอชำระหนี้แก่จำเลยครบถ้วนตามสัญญาด้วยการเตรียมเงินและแคชเชียร์เช็คตามที่ตกลง จำเลยจึงต้องเสนอชำระหนี้ตอบแทนโจทก์ การที่จำเลยจะขอชำระค่าธรรมเนียมการโอนสิทธิการเช่าของกรมการศาสนาบางส่วนแต่ปฏิเสธไม่ยอมรับผิดชำระค่าธรรมเนียม การจดทะเบียนการเช่าของกรมที่ดินให้ครบถ้วนตามสัญญา ถือว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1532/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานเรียกรับเงินเกินกว่าค่าธรรมเนียม และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่รับคำขอต่าง ๆ เกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดินทุกประเภท รวมทั้ง งานในด้านเกี่ยวกับการเงินและบัญชี โดยมีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องการกรอกข้อความในเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ของหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน และนำเสนอผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น ทั้งได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวมาก่อนเกิดเหตุนาน ประมาณ 7 ปี จำเลยย่อมทราบและคำนวณค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนที่ดินในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบเป็นอย่างดี การที่จำเลยเรียกหรือรับเงินจำนวน 7,800 บาท ไว้แล้วนิ่งเฉยเสีย แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาเรียกหรือรับเอาเงินส่วนที่เกินไว้สำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อกระทำการในตำแหน่ง จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 149
จำเลยพร้อมที่จะเสนอเรื่องราวขอจดทะเบียนขายที่ดินระหว่าง น. กับ ส. ต่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินเพื่อดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ แต่จำเลยกลับละเว้นไม่ดำเนินการนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นมา ดังนั้น ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อ. มาตรา 157 จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับหรือยอมจะรับทรัพย์สินสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อกระทำการ หรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งตาม ป.อ. มาตรา 149 เมื่อปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 149 อันเป็น บทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
เมื่อจำเลยได้กรอกข้อความลงในใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ตามความเป็นจริง ตรงตามเจตนาของผู้ซื้อขายที่ดินทุกประการ และตราประทับของกระทรวงมหาดไทยก็ถูกต้อง เพียงแต่ยังไม่มี ลายมือชื่อนายอำเภอและยังมิได้ลงวันที่และเดือนที่ออกใบแทนฯ เท่านั้น เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารที่จำเลยจัดทำขึ้นโดยมีเจตนาจะลอกเลียนแบบหรือปลอมเอกสารต้นฉบับ ๆ หนึ่งฉบับใด เป็นเพียงแต่เอกสารยังลงรายการ ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ตามระเบียบของทางราชการเท่านั้น และการที่นายอำเภอในฐานะเป็นเจ้าพนักงานที่ดินยังมิได้ลงชื่อรับรองเอกสารกับการที่ยังมิได้ลงวันเดือนปีที่ออกเอกสาร ก็ไม่มีเหตุที่จะทำให้ผู้พบเห็นเอกสารจะหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงที่ทางราชการออกให้ไปได้ การกระทำของจำเลยไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานปลอมเอกสาร จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 161 ประกอบด้วยมาตรา 266 (1)
จำเลยพร้อมที่จะเสนอเรื่องราวขอจดทะเบียนขายที่ดินระหว่าง น. กับ ส. ต่อเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินเพื่อดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ แต่จำเลยกลับละเว้นไม่ดำเนินการนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นมา ดังนั้น ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตาม ป.อ. มาตรา 157 จึงเป็นความผิดกรรมเดียวกับความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานเรียกรับหรือยอมจะรับทรัพย์สินสำหรับตนเองโดยมิชอบเพื่อกระทำการ หรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งตาม ป.อ. มาตรา 149 เมื่อปรับบทลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 149 อันเป็น บทเฉพาะแล้ว จึงไม่จำต้องปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 157 อันเป็นบททั่วไปอีก
เมื่อจำเลยได้กรอกข้อความลงในใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส. 3) ตามความเป็นจริง ตรงตามเจตนาของผู้ซื้อขายที่ดินทุกประการ และตราประทับของกระทรวงมหาดไทยก็ถูกต้อง เพียงแต่ยังไม่มี ลายมือชื่อนายอำเภอและยังมิได้ลงวันที่และเดือนที่ออกใบแทนฯ เท่านั้น เอกสารดังกล่าวจึงมิใช่เอกสารที่จำเลยจัดทำขึ้นโดยมีเจตนาจะลอกเลียนแบบหรือปลอมเอกสารต้นฉบับ ๆ หนึ่งฉบับใด เป็นเพียงแต่เอกสารยังลงรายการ ไม่ครบถ้วนบริบูรณ์ตามระเบียบของทางราชการเท่านั้น และการที่นายอำเภอในฐานะเป็นเจ้าพนักงานที่ดินยังมิได้ลงชื่อรับรองเอกสารกับการที่ยังมิได้ลงวันเดือนปีที่ออกเอกสาร ก็ไม่มีเหตุที่จะทำให้ผู้พบเห็นเอกสารจะหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้องแท้จริงที่ทางราชการออกให้ไปได้ การกระทำของจำเลยไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานปลอมเอกสาร จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 161 ประกอบด้วยมาตรา 266 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9593/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการชำระค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินเกินความจำเป็น ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ชำระเฉพาะส่วนของหนี้
แม้จำเลยที่ 1 จะได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 19767 โดยอ้างว่าโจทก์นำยึดเกินความจำเป็นแก่การบังคับคดี และโจทก์ยื่นคำคัดค้านไว้แต่ขณะคดีอยู่ระหว่างไต่สวน จำเลยที่ 1 ได้ถอนคำร้องฉบับดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เกินความจำเป็นแก่การบังคับคดีหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงและมีคำสั่งให้โจทก์ต้องชำระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินทั้งหมดที่ยึด ทั้งที่จำเลยที่ 1 ถอนคำร้องไปแล้วจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา โจทก์คงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 3 ครึ่ง จากราคาทรัพย์สินที่ยึด แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8391/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกเฉยต่อคำสั่งให้นำค่าธรรมเนียมมาวางศาล ถือเป็นการทิ้งอุทธรณ์ตามกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นมีหมายนัดถึงจำเลยให้นำค่าธรรมเนียมที่จะชดใช้ให้แก่โจทก์มาวางต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมาย หากไม่ยื่นภายในกำหนดให้ถือว่าไม่ติดใจที่จะวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมให้กับทางฝ่ายโจทก์ และมิได้ระบุว่าหากไม่นำเงินมาวางถือว่าทิ้งอุทธรณ์ก็ตาม แต่ผลตามกฎหมายของการที่จำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลถือว่าเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 174(2)ประกอบด้วยมาตรา 246 จึงมีผลให้ถือว่าจำเลยทิ้งอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7219/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐาน การไม่ชำระค่าธรรมเนียมอ้างเอกสาร และผลต่อสัญญาประกันชีวิต
จำเลยอ้างและขอคำสั่งศาลเรียกประวัติการตรวจรักษาของผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเป็นพยานเอกสาร เมื่อโรงพยาบาลส่งเอกสารมาแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนการพิจารณาถึง 2 ครั้ง ให้จำเลยชำระค่าอ้างเอกสารเป็นพยาน แต่จำเลยไม่ชำระในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาโจทก์ได้กล่าวแก้อุทธรณ์เป็นประเด็นว่าจำเลยไม่ชำระค่าอ้างเอกสารเป็นพยาน จำเลยมิได้นำค่าอ้างเอกสารเป็นพยานมาชำระต่อศาล ดังนี้แสดงว่าจำเลยจงใจไม่ชำระค่าอ้างเอกสารเป็นพยานตามตาราง 2(5)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เอกสารดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานที่ได้ยื่นฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งศาลชอบที่จะปฏิเสธไม่รับเอกสารนั้นไว้และถ้ารับไว้แล้วก็ไม่ชอบที่จะรับฟังเอกสารนั้น ศาลจึงนำข้อความในเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยไม่ได้
ส. กรอกข้อความหรือตอบคำถามจำเลยไปตามความเป็นจริง สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆียะ จำเลยไม่มีสิทธิบอกล้าง
ส. กรอกข้อความหรือตอบคำถามจำเลยไปตามความเป็นจริง สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆียะ จำเลยไม่มีสิทธิบอกล้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7171/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ การอ้างเหตุผลล่าช้าในการเบิกจ่ายเงินค่าธรรมเนียมเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในคดีแพ่งไปแล้วถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกอ้างว่ายังคัดคำพิพากษาไม่แล้วเสร็จโดยขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน ครั้งที่สองอ้างว่า ค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียมใช้แทนโจทก์จำเลยที่ 2 จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาเบิกจ่ายจึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก30 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาต ซึ่งเท่ากับว่าศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษ และระยะเวลานับแต่จำเลยทราบคำพิพากษาศาลชั้นต้นจนถึงวันครบกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตเป็นเวลานานถึง 64 วัน ซึ่งเป็นเวลาอันสมควรที่จำเลยจะเบิกจ่ายเงินดังกล่าวได้แล้ว แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีกเป็นครั้งที่สามโดยมิได้อ้างเหตุพฤติการณ์พิเศษ คงอ้างแต่เพียงว่าจำเลยที่ 2 ยังมิได้ส่งเงินดังกล่าวมายังพนักงานอัยการทนายจำเลยที่ 2 เท่านั้น ซึ่งมิใช่พฤติการณ์พิเศษ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 2 นั้น ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ควรฟ้องเรียกได้ในคดีก่อน
ข้อหาของโจทก์ทั้งสองคดีเป็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาอันเนื่องมาจากหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำฉบับเดียวกัน แม้ว่าฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ก็ตาม แต่ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็เนื่องมาจากมูลฐานเดียวกัน คือจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทหรือไม่ เมื่อค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำดังกล่าว โจทก์สามารถตรวจสอบจากเจ้าพนักงานที่ดินได้ จึงถือได้ว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน ซึ่งโจทก์อาจฟ้องเรียกจากจำเลยได้ในคดีก่อนได้อยู่แล้ว แต่โจทก์หาฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีผิดสัญญาซื้อขายเดิมกับคดีเรียกค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์
ข้อหาของโจทก์ทั้งสองคดีเป็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาอันเนื่องมาจากหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำฉบับเดียวกัน แม้ว่าฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ก็ตาม แต่ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็เนื่องมาจากมูลฐานเดียวกัน คือจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทหรือไม่ เมื่อค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำดังกล่าว โจทก์สามารถตรวจสอบจากเจ้าพนักงานที่ดินได้ จึงถือได้ว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน ซึ่งโจทก์อาจฟ้องเรียกจากจำเลยได้ในคดีก่อน ได้อยู่แล้ว แต่โจทก์หาฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148