คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าปรับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 401 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลและการหมดอายุสิทธิบังคับคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันและอนุญาตให้ผ่อนชำระค่าปรับเดือนละ 3,000 บาท แต่ผู้ประกันมิได้ชำระค่าปรับต่อศาลตั้งแต่เดือนแรกและตลอดมา การที่ผู้ประกันไม่ชำระค่าปรับตามที่ศาลมีคำสั่งให้ผ่อนชำระแม้แต่เพียงเดือนแรก ผู้ประกันย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลทั้งหมด พนักงานอัยการจึงมีอำนาจที่จะดำเนินการในการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประกัน โดยขอให้ศาลบังคับให้ผู้ประกันชำระค่าปรับทั้งหมดได้ทันทีนับแต่วันที่ผู้ประกันผิดนัด แต่ทั้งนี้ก็จะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลที่สั่งปรับผู้ประกันภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำสั่ง เมื่อพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ออกหมายบังคับคดีเกินกว่า 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีค่าปรับจากสัญญาประกันตัว: กำหนดระยะเวลาและการผิดนัดชำระ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปรับผู้ประกันตัวจำเลยในคดีอาญาจำนวน70,000 บาท ในวันที่ 22 ตุลาคม 2525 ผู้ประกันยื่นคำร้องต่อศาลในวันที่ 29 ตุลาคม 2525 ขอผ่อนชำระค่าปรับต่อศาลเดือนละ 300 บาทจนกว่าจะครบตามจำนวนที่ศาลสั่งปรับ ศาลมีคำสั่งในวันเดียวกันว่าอนุญาตให้ผ่อนเดือนละ 3,000 บาท เมื่อคำสั่งดังกล่าวถึงที่สุดแต่ผู้ประกันมิได้ชำระค่าปรับต่อศาลตั้งแต่เดือนแรกและตลอดมาย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลทั้งหมด พนักงานอัยการจึงมีอำนาจตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11(8)ที่จะดำเนินการในการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประกัน โดยขอให้ศาลบังคับให้ผู้ประกันชำระหนี้ค่าปรับทั้งหมดได้ทันทีนับแต่วันที่ผู้ประกันผิดนัดคือวันที่ 29 พฤศจิกายน 2525 แต่ทั้งนี้ก็ต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลที่สั่งปรับผู้ประกันภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำสั่ง เมื่อพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ออกหมายบังคับคดี ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2536 ซึ่งเกินกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งบังคับตามสัญญาประกัน สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2838/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลและการสิ้นสิทธิเรียกร้องบังคับคดีเกิน 10 ปี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันและอนุญาตให้ผ่อนชำระค่าปรับเดือนละ 3,000 บาท แต่ผู้ประกันมิได้ชำระค่าปรับต่อศาลตั้งแต่เดือนแรกและตลอดมา การที่ผู้ประกันไม่ชำระค่าปรับตามที่ศาลมีคำสั่งให้ผ่อนชำระแม้แต่เพียงเดือนแรกผู้ประกันย่อมตกเป็นผู้ผิดนัดชำระค่าปรับตามคำสั่งศาลทั้งหมดพนักงานอัยการจึงมีอำนาจที่จะดำเนินการในการบังคับคดีให้เป็นไปตามสัญญาประกัน โดยขอให้ศาลบังคับให้ผู้ประกันชำระค่าปรับทั้งหมดได้ทันทีนับแต่วันที่ผู้ประกันผิดนัด แต่ทั้งนี้ก็จะต้องร้องขอให้บังคับคดีตามคำสั่งศาลที่สั่งปรับผู้ประกันภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำสั่ง เมื่อพนักงานอัยการร้องขอต่อศาลให้ออกหมายบังคับคดีเกินกว่า10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งปรับผู้ประกัน สิทธิในการบังคับคดีของพนักงานอัยการย่อมเป็นอันสิ้นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2530/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, การบอกเลิกสัญญา, ค่าปรับ, การลดค่าปรับตามมาตรา 383
สัญญาซื้อขายชุดเครื่องมือซ่อมเครื่องเรดาร์ข้อ 7 วรรคแรกระบุว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญา ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อหรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้องหรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้วรรคสองระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกัน หรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 6 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร ฯลฯ และตามสัญญาข้อ 8 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 7 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน วรรคสองระบุว่าในกรณีที่เป็นการซื้อสิ่งของที่ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้ทั้งชุด ถึงแม้ผู้ขายจะส่งมอบสิ่งของภายในกำหนดสัญญาแต่ยังขาดส่วนประกอบบางส่วน ต่อมาได้ส่งมอบส่วนประกอบที่ยังขาดนั้นเกินกำหนดสัญญา ให้ถือว่าไม่ได้ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย และผู้ขายยินยอมให้ปรับเต็มราคาของทั้งชุดและวรรคสามระบุว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 6 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 7 วรรคสอง นอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ส่งมอบสิ่งของตามสัญญาได้ภายในกำหนดโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและยอมให้จำเลยส่งมอบสิ่งของเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้ว โดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ปรับตามสัญญา แต่ในระหว่างที่มีการปรับจำเลยได้ส่งมอบสิ่งของให้โจทก์แต่ไม่ครบถ้วนและโจทก์ได้ยอมรับไว้ แต่โจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จึงใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันและเรียกร้องค่าปรับเต็มราคาของทั้งชุด โดยถือว่าไม่ได้ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 8 วรรคสามโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกค่าปรับรายวันได้ สินค้าที่ซื้อขายกันเป็นเงิน 341,500 บาท โจทก์ใช้สิทธิริบหลักประกันเป็นเงินสด 34,150 บาท แล้ว โจทก์เพิ่งบอกเลิกสัญญาภายหลังเป็นเวลานานถึง 607 วัน ค่าปรับรายวันเป็นจำนวนสูงถึง414,481 บาท นับว่าสูงเกินส่วน สมควรลดลงตามจำนวนพอสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคแรก เห็นสมควรกำหนดให้30,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเลิกสัญญาซื้อขายและการใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับ: ข้อจำกัดในการเลือกใช้สิทธิ
ตามวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับโดยสภาพหรือโดยเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่อาจระบุได้ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดตาม ป.พ.พ. มาตรา 388 เนื่องจากสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับมิได้ระบุให้ชัดแจ้งและเด็ดขาดว่าหากจำเลยที่ 1 ไม่ส่งสินค้าให้โจทก์ภายในกำหนด สัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับเป็นอันเลิกกันทันที ฉะนั้น การที่โจทก์จะใช้สิทธิเลิกสัญญาก็ต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 387 ซึ่งบัญญัติเป็นหลักทั่วไปว่าถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้ อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาซื้อขายโดยไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ให้ถูกต้อง โจทก์ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 วรรคแรก และทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเงินหลักประกันจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 และถ้าโจทก์จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญานี้ด้วยตามสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกจากสิทธิตามสัญญาข้อ 8 โจทก์ยังอาจใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 9 วรรคแรก กล่าวคือ ในกรณีที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันที่ถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยที่ 1 ผู้ขายได้นำสินค้ามาส่งให้แก่โจทก์ผู้ซื้อและตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง ระบุว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ โจทก์จะใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 8ทั้งสองวรรคนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ ดังนี้ เมื่อข้อความตามหนังสือทวงหนี้ และหนังสือบอกเลิกสัญญาทั้งสองฉบับแสดงว่าโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาทั้งสองฉบับข้อ 8 วรรคแรก โจทก์ก็ต้องรับผลของสัญญาข้อ 8 วรรคสอง โจทก์จะเลือกรับผลคนละเหตุโดยอาศัยสัญญาข้อ 9 วรรคแรกกับวรรคสองตามที่โจทก์ต้องการนั้นไม่ได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเลิกสัญญาซื้อขายและการเลือกใช้สิทธิเรียกร้องค่าปรับหรือค่าชดใช้ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นตามสัญญา
ตามวัตถุที่ประสงค์แห่งสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับโดยสภาพหรือโดยเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ไม่อาจระบุได้ว่าจะเป็นผลสำเร็จได้ก็แต่ด้วยการชำระหนี้ ณ เวลาที่กำหนดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 388 เนื่องจากสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับมิได้ระบุให้ชัดแจ้งและเด็ดขาดว่าหากจำเลยที่ 1ไม่ส่งสินค้าให้โจทก์ภายในกำหนด สัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับเป็นอันเลิกกันทันที ฉะนั้น การที่โจทก์จะใช้สิทธิเลิกสัญญาก็ต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 ซึ่งบัญญัติเป็นหลักทั่วไปว่าถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้ อีกฝ่ายหนึ่งจะกำหนดระยะเวลาพอสมควร แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายนั้นชำระหนี้ภายในระยะเวลานั้นก็ได้ ถ้าและฝ่ายนั้นไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ไซร้อีกฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาเสียก็ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำผิดสัญญาซื้อขายโดยไม่ส่งมอบสินค้าให้โจทก์ให้ถูกต้อง โจทก์ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 วรรคแรก และทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเงินหลักประกันจากธนาคารผู้ออกหนังสือค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 และถ้าโจทก์จัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญานี้ด้วยตามสัญญาข้อ 8 วรรคสอง นอกจากสิทธิตามสัญญาข้อ 8 โจทก์ยังอาจใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 9 วรรคแรก กล่าวคือในกรณีที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับจากจำเลยที่ 1 เป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันที่ถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่จำเลยที่ 1 ผู้ขายได้นำสินค้ามาส่งให้แก่โจทก์ผู้ซื้อและตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง ระบุว่า ในระหว่างที่มีการปรับนั้นถ้าโจทก์เห็นว่าจำเลยที่ 1 ไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้โจทก์จะใช้สิทธิตามสัญญาข้อ 8 ทั้งสองวรรคนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ ดังนี้ เมื่อข้อความตามหนังสือทวงหนี้ และหนังสือบอกเลิกสัญญาทั้งสองฉบับแสดงว่าโจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาทั้งสองฉบับข้อ 8 วรรคแรก โจทก์ก็ต้องรับผลของสัญญาข้อ 8 วรรคสอง โจทก์จะเลือกรับผลคนละเหตุโดยอาศัยสัญญาข้อ 9 วรรคแรกกับวรรคสองตามที่โจทก์ต้องการนั้นไม่ได้โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาซื้อขายทั้งสองฉบับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับผิดในสัญญาประกันตัว: เจตนาในการทำสัญญาและดุลพินิจศาลในการลดค่าปรับ
ในการประกันตัว ต. ผู้ต้องหานั้น มีผู้ค้ำประกัน2 คน คือ จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลค้ำประกัน กับจำเลยที่ 1นำที่ดินมาวางเป็นประกันโดยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มาดำเนินการแทน จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาประกัน 2 ฐานะคือในฐานะนายประกันและในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 เหตุที่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 ประกันตัว ต. ผู้ต้องหาไปเพราะเชื่อถือตัวบุคคลที่ขอประกันคือจำเลยที่ 2 และเชื่อถือหลักทรัพย์ที่นำมาวางเป็นประกันของจำเลยที่ 1 ตามคำร้องขอประกันก็ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ยื่นคำร้อง โดยได้รับความยินยอมจาก ร. ภริยาของจำเลยที่ 2ด้วย ทั้งตามสัญญาประกันตอนท้ายจำเลยที่ 2 ก็ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้ประกัน มีรายละเอียดระบุว่าจำเลยที่ 2 ได้นำที่ดินโฉนดเลขที่ 20738 มาเป็นหลักประกันโดยจำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 นำที่ดินโฉนดดังกล่าวมาเป็นหลักประกันได้เมื่อถึงกำหนดส่งตัว ต. ผู้ต้องหา จำเลยที่ 2 ก็ได้มีหนังสือขอเลื่อนส่งตัวผู้ต้องหา แสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 2มีเจตนาเข้าทำสัญญาประกันตัว ต. ผู้ต้องหาในนามของจำเลยที่ 2 เองด้วย หาใช่เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1 เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าปรับสัญญาจ้างก่อสร้างสูงเกินส่วน ศาลลดค่าปรับตามหลักความเป็นธรรม
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้รับจ้างทำงานไม่แล้วเสร็จตามกำหนดงวดงานในสัญญาจ้างโดยผิดนัดตั้งแต่ งวดที่ 2ถึงงวดที่ 4 และได้เสียค่าปรับให้โจทก์ไปแล้ว 110 วันวันละ 797 บาท สำหรับงวดที่ 5 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้ลงมือก่อสร้างเลย ตามพฤติการณ์การทำงานของจำเลยโจทก์น่าจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่สามารถทำงานให้เสร็จภายในกำหนดและคงทิ้งงานงวดสุดท้าย ซึ่งโจทก์ควรจะใช้สิทธิยกเลิกสัญญาเสียภายในหนึ่งถึงสองเดือน อันเป็นระยะเวลาพอสมควร แต่โจทก์กลับปล่อยให้เวลาล่วงเลย ไปกว่า 6 เดือน จึงบอกเลิกสัญญา เป็นความล่าช้าในการ ดำเนินงานของโจทก์เองด้วยส่วนหนึ่งประกอบกับจำเลยได้ชำระ ค่าปรับแก่โจทก์ไปแล้วถึง 110 วัน วันละ 797 บาท ทั้งโจทก์ ก็ไม่ได้นำสืบว่าการที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ทำงาน งวดสุดท้ายทำให้โจทก์เสียหายมากเพียงใด ดังนี้พิเคราะห์ ทางได้เสียของโจทก์แล้ว ค่าปรับ 196 วัน วันละ 797 บาท ตามข้อตกลงในสัญญานั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอ สมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 การที่ ศาลลดค่าปรับลงเหลือวันละ 500 บาท เป็นเวลา 196 วัน เป็นเงิน 98,000 บาท นั้นเป็นการเหมาะสม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4899/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าปรับทางศุลกากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย และการจ่ายรางวัลเจ้าพนักงานจับกุม
ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ กำหนดระวางโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว คำว่า "ค่าอากร" ตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่ได้หมายความรวมถึงภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วยศาลอุทธรณ์นำภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มมารวมเป็นค่าอากรเพื่อคำนวณโทษปรับจึงไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ที่จับกุมร้อยละสิบห้าของค่าปรับแต่คดีนี้เป็นกรณีที่ศาลมีคำสั่งริบของกลางและไม่ปรากฏว่าของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางตาม พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 8 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3143/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรู้รายได้จากค่าปรับทางบัญชีและการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยใช้หลักเกณฑ์สิทธิ์
ในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2519 โจทก์ทำสัญญาจะซื้อที่ดินและอาคารจากบริษัท ส. ในราคา 36,000,000 บาท ชำระราคาครบถ้วนแล้วและโจทก์ได้ลงบัญชีที่ดินและอาคารดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของโจทก์ ต่อมาบริษัท ส. ผิดสัญญาไม่จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ จึงตกลงใช้ค่าปรับให้โจทก์เป็นเงิน 15,000,000 บาท โดยจะชำระให้เสร็จภายใน 5 ปี และโจทก์ได้ลงบัญชีในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันว่าบริษัท ส. เป็นลูกหนี้โจทก์ในเงินค่าปรับจำนวนดังกล่าวนอกจากนี้ยังได้หมายเหตุไว้ในงบกำไรขาดทุนและขาดทุนสะสมของรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกันว่าโจทก์จะได้รับชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวจากบริษัท ส.ภายใน5ปีและบริษัทส. ก็หมายเหตุไว้ในงบกำไรขาดทุนของตนว่า บริษัทจะชำระค่าปรับจำนวนดังกล่าวให้โจทก์ภายใน 5 ปี ดังนั้น การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินของจำเลยและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ว่าโจทก์มีเงินได้เป็นค่าปรับจากบริษัท ส. จำนวน 15,000,000 บาทในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2519 นั้น จึงชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ซึ่งใช้ระบบบัญชีเกณฑ์สิทธิ์มีหน้าที่ต้องนำค่าปรับดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยมาคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย
of 41