คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ค่าฤชาธรรมเนียม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5272/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นบังคับคดี: ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้ฝ่ายผิดนัดชำระเงินรับผิดชอบได้
ความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมของคู่ความในคดีซึ่งรวมทั้งค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายย่อมตกอยู่แก่คู่ความฝ่ายที่แพ้คดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา161วรรคหนึ่งแต่ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจให้คู่ความฝ่ายใดเป็นผู้เสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงหรือแต่บางส่วนก็ได้โดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการกำหนดค่าฤชาธรรมเนียมและดอกเบี้ยตามพ.ร.บ.เวนคืน รวมถึงการแก้ไขคำพิพากษา
ในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมนั้น ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดใช้อย่างไรก็ได้ตามลักษณะแห่งคดีตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 161 ถึงมาตรา 167 ไม่ว่ามีคำขอหรือไม่นั้น ดังนั้นแม้โจทก์มิได้บรรยายขอไว้ท้ายคำฟ้องอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยกำหนดให้จำเลยรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมเพิ่มขึ้นได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินอาจมีการขึ้นลงไม่คงที่ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 8.5 ต่อปี คงที่ จึงไม่ถูกต้องศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 8.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง, ค่าฤชาธรรมเนียม, และอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่2ตามภูมิลำเนาสองครั้งแต่ไม่สามารถส่งได้โดยได้รับแจ้งว่าจำเลยที่2ไปทำงานต่างจังหวัดและย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่โจทก์จึงบอกกล่าวบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์เพื่อให้มีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา728ถือว่าคำประกาศหนังสือพิมพ์เป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยสัญญาค้ำประกัน และค่าฤชาธรรมเนียมบังคับจำนอง: แก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้องตามสัญญา
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่1ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันหนี้ขายลดตั๋วเงินจำนวน89,051.47บาทนับแต่วันที่7มิถุนายน2529จนกว่าจะชำระเสร็จโดยไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยว่าจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในเงินต้นดังกล่าวในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเท่าใดในเมื่อจำเลยที่1ต้องรับผิดในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ17.5ต่อปีตามสัญญาค้ำประกันแล้วแต่ไม่ได้กำหนดให้ว่าต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดจึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง โจทก์ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่2ตามภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลยที่2สองครั้งแต่ไม่สามารถส่งได้โจทก์จึงบอกกล่าวการบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์เพื่อให้มีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา728ฉะนั้นค่าประกาศหนังสือพิมพ์จึงถือได้ว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองตามมาตรา715(3)โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าประกาศหนังสือพิมพ์400บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ7.5ต่อปีจากจำเลยที่2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ จำเลยต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกัน หากไม่ปฏิบัติตามถือเป็นการทิ้งฟ้อง
ในการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ นอกจากจำเลยจะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลแล้ว ยังจะต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลอีกด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ดังนั้นแม้จำเลยจะได้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงที่ต้องรับผิดแทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลแล้วพร้อมกับการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าว และจำเลยได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล ทั้งเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดเวลาให้จำเลยดำเนินการตามบทบัญญติดังกล่าว และจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยชอบแล้ว แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม จึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้ อันเป็นการทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ที่ไม่รับอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4527/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระเงินตามคำพิพากษา หรือหาประกัน หากไม่ปฏิบัติตามถือเป็นการทิ้งฟ้อง
ในการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์นอกจากจำเลยจะต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลแล้วยังจะต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลอีกด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา234ดังนั้นแม้จำเลยจะได้นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงที่ต้องรับผิดแทนโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลแล้วพร้อมกับการยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ก็ตามแต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวและจำเลยได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลทั้งเมื่อศาลชั้นต้นกำหนดเวลาให้จำเลยดำเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าวและจำเลยได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยชอบแล้วแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามจึงเป็นการเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดไว้อันเป็นการทิ้งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 174(2)ประกอบมาตรา246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีค่ากระแสไฟฟ้า, ความสุจริตในการสู้คดี, และการใช้ดุลพินิจศาลในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าเนื่องจากเครื่องวัดหน่วยกระแสไฟฟ้าแสดงหน่วยการใช้ไฟฟ้าไม่ถูกต้องจึงต้องคำนวณหน่วยการใช้ไฟฟ้าใหม่โดยใช้ค่าตัวประกอบภาระไฟฟ้าในช่วงที่ใช้กระแสไฟฟ้าตามความเป็นจริงคำนวณได้เท่ากับ 0.7369 แล้วใช้ค่าตัวประกอบนี้เป็นฐานในการหาหน่วยกระแสไฟฟ้าที่ใช้ไปแต่ละเดือนคำฟ้องส่วนนี้แม้จะใช้ศัพท์ทางเทคนิคแต่เป็นการบรรยายวิธีคำนวณตามหลักวิชาการไม่ถือว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 3 ได้ทำหนังสือสัญญาค้ำประกันการใช้ไฟฟ้าของจำเลยที่1หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่ากระแสไฟฟ้าแล้วจำเลยที่ 3 ยอมชำระแทนทันทีไม่มีข้อโต้แย้งถึงแม้โจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันฉบับใดแต่จำเลยที่ 3 เป็นผู้ออกหนังสือค้ำประกันเองย่อมจะตรวจสอบสัญญาค้ำประกันแต่ละฉบับและให้การต่อสู้คดีได้อยู่แล้วคำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาครบถ้วนแล้วไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระค่ากระแสไฟฟ้าของจำเลยที่ 1 รวม 3 ฉบับฉบับที่ 1 ค้ำประกันวงเงินไม่เกิน 260,000 บาทมีผลตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2530 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2531 ฉบับที่ 2 ขยายเวลาอีก 1 ปีไปจนถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 และฉบับที่ 3 วงเงินไม่เกิน 400,000 บาท มีผลตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2532 ถึงวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532 แม้หนังสือสัญญาสองฉบับหลังจะสิ้นสุดในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2532พร้อมกันแต่ออกจากธนาคารเดียวกันข้อความฉบับที่ 3 ระบุว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับผิดชำระค่ากระแสไฟฟ้าแทนในจำนวนไม่เกิน 400,000 บาทอันเป็นการจำกัดวงเงินที่ต้องรับผิดไว้ไม่มีข้อความตกลงยอมรับผิดในวงเงินเพิ่มขึ้นจากฉบับอื่นอีกจำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดในต้นเงินเพียง 400,000 บาท เท่านั้น โจทก์มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจมีวัตถุประสงค์จัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชนอันมีลักษณะเป็นกิจการสาธารณูปโภคโจทก์จึงไม่ใช่พ่อค้าที่จะต้องฟ้องคดีภายใน 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165 (1) เดิม แต่ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164 เดิม การฟ้องเรียกค่ากระแสไฟฟ้าส่วนที่ขาดเพราะเหตุเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าคำนวณค่าใช้ไฟฟ้าบกพร่องไปมิใช่ฟ้องเรียกหนี้อันเกิดจากละเมิดจึงฟ้องร้องได้ภายใน 10 ปี ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจในการสั่งค่าฤชาธรรมเนียมโดยคำนึงถึงเหตุสมควรและความสุจริตในการสู้ความหรือการดำเนินคดีของคู่ความทั้งปวงเมื่อโจทก์ชนะคดีบางข้อและแพ้คดีบางข้อศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับแก่ทุกฝ่ายจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1960/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาวางค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียม: จำเลยต้องดำเนินการตรวจสอบและเตรียมเงินด้วยตนเอง
จำเลยที่1และที่3ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ศาลชั้นต้นอนุญาตต่อมาจำเลยที่1และที่3ยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอขยายเวลาวางเงินค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียมในวันสุดท้ายที่จำเลยที่1มีสิทธิยื่นอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่าเป็นความบกพร่องของเจ้าหน้าที่ศาลที่คำนวณค่าธรรมเนียมส่วนที่จำเลยที่1และที่3จะต้องใช้แทนโจทก์ได้ไม่ทันและจำเลยที่1และที่3ไม่ได้เตรียมเงินสดเฉพาะค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์มาจึงไม่สามารถวางค่าขึ้นศาลส่วนนี้ได้ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยที่1และที่3จะต้องขวนขวายดำเนินการทั้งค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์ก็เป็นเรื่องที่ผู้แพ้คดีซึ่งต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาต้องตรวจสอบกับเจ้าหน้าที่ศาลเองหาใช่เรื่องที่เจ้าหน้าที่ศาลจะต้องแจ้งให้ทราบเพื่อจะได้เตรียมเงินมาวางให้ทันแต่อย่างไรไม่กรณีถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23จึงไม่เป็นเหตุที่จะขยายระยะเวลาการวางเงินค่าธรรมเนียมใช้แทนโจทก์และค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาเช่าซื้อ, การให้สัตยาบัน, ดอกเบี้ยสัญญาเช่าซื้อ, ค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์มอบอำนาจให้จ. เป็นผู้ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อต่างๆแทนโจทก์ตามหนังสือมอบอำนาจได้เมื่อวันที่31ธันวาคม2531จำเลยที่1ได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กระบะจากโจทก์สาขาชัยนาทโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมในวันดังกล่าวจำเลยที่1ลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแต่ฝ่ายเดียวต่อมาวันที่2มกราคม2532ป. ผู้จัดการฝ่ายขายของโจทก์สาขาชัยนาทได้จัดส่งสัญญาดังกล่าวไปให้จ. ซึ่งประจำอยู่ที่สำนักงานใหญ่กรุงเทพมหานครลงชื่อเป็นคู่สัญญาแทนโจทก์เรียบร้อยแล้วแม้จ. เพิ่งลงชื่อเป็นคู่สัญญาแทนโจทก์ในสัญญาเช่าซื้อหลังจากวันที่31ธันวาคม2531ก็ตามแต่เมื่อโจทก์และจำเลยที่1ซึ่งเป็นคู่สัญญามิได้ทักท้วงและในการลงชื่อของจ. ก็มีตราบริษัทโจทก์ประทับทั้งยังมีการชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์หลายงวดและโจทก์รับค่าเช่าซื้อดังกล่าวไว้ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การลงชื่อของจ. ในสัญญาเช่าซื้อโดยปริยายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา823วรรคหนึ่งจึงมีผลเสมือนว่าจ. ได้รับมอบหมายให้ลงชื่อแทนโจทก์มาตั้งแต่ต้นดังนี้สัญญาเช่าซื้อจึงมีคู่สัญญาลงชื่อครบถ้วนไม่เป็นโมฆะโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง ราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อนั้นได้รวมค่าเช่ากับราคารถยนต์ที่เช่าซื้อเข้าไว้ด้วยกันการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อดังกล่าวไม่มีกฎหมายห้ามไว้และไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแม้ราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ดังกล่าวโจทก์จะกำหนดโดยวิธีหักเงินชำระล่วงหน้าออกไปก่อนแล้วนำส่วนที่เหลือไปคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15ต่อปีในจำนวน48คือ4ปีคำนวณเป็นดอกเบี้ยเท่าใดบวกเข้ากับเงินที่ค้างชำระจากนั้นเอา4ปีหารเป็นรายปีออกมาเป็นค่างวดก็ตามก็เป็นวิธีการกำหนดราคาค่าเช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์โดยชอบหาตกเป็นโมฆะไม่ โจทก์มิได้แก้อุทธรณ์แต่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายในส่วนที่ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้แทนโจทก์ในชั้นอุทธรณ์ด้วยจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8188/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและการรับผิดร่วมในค่าฤชาธรรมเนียม: สิทธิเฉพาะตัวของจำเลยแต่ละราย
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์ จำเลยที่ 1อุทธรณ์พร้อมกับขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา แต่การยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลรวมทั้งเงินวางศาลในการยื่นฟ้องอุทธรณ์แก่จำเลยที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถานั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยแต่ละคน แม้ศาลจะอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถาก็ไม่มีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย ดังนั้นจำเลยที่ 2 ซึ่งยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ งดสืบพยานจำเลยที่ 2 โดยเสียค่าขึ้นศาล 200 บาท จะขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 งดการวางเงินค่าธรรมเนียมและค่าทนายความซึ่งต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้นจนกว่าศาลจะมีคำสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่าง คนอนาถาของจำเลยที่ 1 แล้วไม่ได้
of 34