คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จำกัดสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7439/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความ & อำนาจฟ้อง: ข้อจำกัดในการยกข้อต่อสู้ & สิทธิในการอุทธรณ์
ปัญหาเรื่องอายุความไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความมาตั้งแต่ศาลชั้นต้น อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นมากล่าวในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ จำเลยก็มีสิทธิยกปัญหานี้ขึ้นฎีกาได้ การที่โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทของโจทก์และให้ใช้ค่าเสียหายมาด้วยนั้น ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้โจทก์ต้องบอกกล่าวจำเลยก่อนฟ้องแต่อย่างใด แม้โจทก์มิได้บอกกล่าวจำเลยก่อนฟ้อง โจทก์ก็มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5320/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดในการเถียงข้อเท็จจริงขัดแย้งกับคำพิพากษาเดิมในคดีแรงงาน: หลักการ estoppel
แม้คดีก่อนจำเลยที่ 2 ได้ฟ้องโจทก์คดีนี้ว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรมขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2กับพวกร่วมกันลักทรัพย์ของโจทก์ไป ขอให้จำเลยที่ 2 กับพวกร่วมกันชดใช้ราคาทรัพย์ดังกล่าว แต่เหตุที่จำเลยที่ 2 อ้างในคดีก่อนว่าโจทก์เลิกจ้างไม่เป็นธรรม คือโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 2 กับพวกลักทรัพย์ของโจทก์ไป โดยจำเลยที่ 2 มิได้กระทำผิดซึ่งโจทก์ก็ให้การในคดีดังกล่าวว่า โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยที่ 2 เพราะจำเลยที่ 2ลักทรัพย์ของโจทก์ไป ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้จึงเป็นปัญหาเดียวกันว่า จำเลยที่ 2 ลักทรัพย์ของโจทก์ไปหรือไม่และเมื่อโจทก์จำเลยในคดีทั้งสองเป็นคู่ความเดียวกัน จำเลยที่ 2จึงเถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นไม่ได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4935/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในความผิดพยายามฆ่า เมื่อศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘, ๘๐ และมาตรา ๒๙๗ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๙๗(๘), ๘๓ เป็นกรณีที่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานพยายามฆ่า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๒๘๘, ๘๐ โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ ฎีกาในข้อหานี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๐

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4935/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในความผิดพยายามฆ่า เมื่อศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288,80 และมาตรา 297 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297(8),83 เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานพยายามฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80 โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อหานี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3557/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีมีทุนทรัพย์เกินสองแสนบาท ห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนซื้อขายบ้านและที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสาม ให้จำเลยทั้งสามส่งมอบบ้านและที่ดินให้แก่โจทก์ และชำระค่าเสียหายเดือนละ 1,000 บาท หากส่งมอบไม่ได้ให้ชำระราคา120,000 บาท นั้น เป็นการฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมและเรียกร้องทรัพย์สินมาเป็นของโจทก์ หรือให้ชดใช้ราคาแก่โจทก์ ถือว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้อง-ทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ หรือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อราคาทรัพย์สินที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมก่อนล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิจำกัดเฉพาะส่วนของลูกหนี้
แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลายตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 แต่เมื่อที่ดินพิพาทซึ่งผู้ร้องมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์โดยผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเพียงยึดที่ดินได้เท่าที่จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์อยู่ในที่ดินพิพาทนั้นทั้งระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดี พ.ศ. 2522 ข้อ 32 ได้กำหนดว่า การที่จะยึดทรัพย์ทั้งหมดกรณีที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของรวมกับบุคคลอื่นนั้นต้องเป็นกรณีที่ไม่ปรากฏว่าส่วนใดเป็นของลูกหนี้แต่เมื่อได้มีการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นสัดส่วนแน่นอนแล้ว แม้ยังมิได้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีสิทธิขายทอดตลาดเฉพาะเพียงส่วนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3518/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อนล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิจำกัดเฉพาะส่วนของลูกหนี้
ผู้ร้อง ป. ส. และจำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทรวมกันแต่ได้ตกลงแบ่งแยกเป็นสัดส่วนกันก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2กับพวกเป็นบุคคลล้มละลายและการที่ ป. กับ ส. ขายที่ดินให้แก่ผู้ร้องก็เป็นการขายตามสัดส่วนของตนที่แบ่งแยกไว้แน่นอนแล้ว ผู้ร้องย่อมได้กรรมสิทธิ์ในส่วนที่ดินเป็นเนื้อที่ที่แน่นอนเช่นกัน หาใช่จำเลยที่ 2 ยังคงถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยไม่สามารถระบุโดยชัดแจ้งว่าที่ดินส่วนใดของที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ไม่ ทั้งข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นเป็นสัดส่วนย่อมผูกมัดเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมทุกคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 แต่เมื่อที่ดินพิพาทมีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์โดยผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้ครอบครองเป็นสัดส่วนแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีสิทธิเพียงยึดที่ดินได้เท่าที่จำเลยที่ 2 มีกรรมสิทธิ์อยู่ในที่ดินพิพาทนั้น และระเบียบกระทรวงยุติธรรมวาด้วยการบังคับคดี ฯพ.ศ. 2522 ข้อ 32 กำหนดว่า การที่จะยึดทรัพย์ทั้งหมดกรณีที่ลูกหนี้เป็นเจ้าของรวมกับบุคคลอื่นนั้นต้องเป็นกรณีที่ไม่ปรากฎว่าส่วนใดเป็นของลูกนี้ แต่เมื่อผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ได้มีการแบ่งแยกที่ดินพิพาทเป็นสัดส่วนแน่นอนแล้ว แม้ยังมิได้จดทะเบียนแบ่งแยกโฉนด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีสิทธิขายทอดตลาดเฉพาะเพียงส่วนของจำเลยที่ 2 เท่านั้น ไม่มีสิทธิเอาส่วนของผู้ร้องมาขายทอดตลาดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3492/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และข้อจำกัดเรื่องจำนวนทุนทรัพย์
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ฎีกาว่า โจทก์ได้ทำนิติกรรมขายฝากที่ดินพิพาทโดยการฉ้อฉล และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 แล้ว ซึ่งเป็นข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248 วรรคหนึ่ง ฎีกาของจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3065/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเปิดทางจำเป็น: ต้องเป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกจำกัดสิทธิ
ที่ดินซึ่งโจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นนั้นเป็นของบุคคลภายนอก โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็น ดังกล่าว
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบใน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3018/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อราคาทรัพย์สินต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยและครอบครัวเข้าอยู่ในบ้านพิพาทโดยอาศัยโจทก์ แม้จะอยู่มาเกิน 10 ปี ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในบ้าน-พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ จำเลยฎีกาว่า จำเลยซื้อบ้านพิพาทจากโจทก์ในราคา 8,000 บาท เมื่อปี 2516 จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทแล้วจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อคดีนี้ราคาทรัพย์สินที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคหนึ่ง ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีผลบังคับก่อนที่จำเลยยื่นฎีกา คู่ความจะฎีกาได้หรือไม่เพียงใด ต้องพิเคราะห์ตามบทกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะยื่นฎีกา ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว
of 33