พบผลลัพธ์ทั้งหมด 299 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉลไม่เป็นเหตุให้ถูกกำจัดมรดก การกระทำตามสิทธิย่อมไม่ถือเป็นการฉ้อฉล
จำเลยและทายาททุกคนทราบดีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของเจ้ามรดกตามคำพิพากษาตามยอมที่ตกลงแบ่งที่ดินพิพาทให้เจ้ามรดกในคดีที่เจ้ามรดกฟ้องโจทก์ทั้งสี่เป็นจำเลยขอถอนคืนการให้ เจ้ามรดกได้ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินไว้ยังไม่เสร็จก็ถึงแก่กรรม ไม่มีทายาทเจ้าดำเนินการต่อ การที่โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทได้ยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินขอยกเลิกคำขอแบ่งแยกที่ดินพิพาทไม่มีผลเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นมรดกจึงหาใช่การยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉลไม่ และเมื่อจำเลยร้องขอเข้าเป็นผู้จัดการมรดกและศาลมีคำสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทของเจ้ามรดกแล้ว จำเลยได้ขอเข้ารับมรดกความและบังคับคดีจนดำเนินการเปลี่ยนชื่อในโฉนดที่ดินพิพาทเป็นชื่อจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกเช่นนี้ แม้โจทก์ทั้งสี่จะเคยคัดค้านต่อศาลในชั้นบังคับคดีอ้างว่าจำเลยขอบังคับคดีเกินกำหนดอายุความแล้ว ก็เป็นการที่โจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิทางศาลตามที่ตนเป็นทายาทโดยชอบหาใช่ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกโดยฉ้อฉลไม่เช่นเดียวกันจึงไม่เป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสี่ถูกกำจัดมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลทำสัญญาประนีประนอมยอมความ: สัญญาเป็นโมฆะเมื่อคู่สัญญาถูกฉ้อฉลขณะวิกลจริต
คดีปรากฏตามฟ้องของโจทก์เองว่า จำเลยล้มป่วยเป็นโรคผิดปกติทางประสาทและจิต และแพทย์ลงความเห็นว่า จำเลยมีอาการโรคจิตอย่างร้ายแรงไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ และในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นเวลาภายหลัง โจทก์ยื่นฟ้องเพียงเดือนเดียว จำเลยก็ไม่มีทนายความ ตามคำแก้อุทธรณ์และฎีกาโจทก์ก็ไม่ได้โต้เถียงว่ามิได้ปิดบังลอบพาจำเลยไปศาล ได้แต่โต้แย้งว่า ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยมีความรู้สึกผิดชอบดีทุกประการ ซึ่งก็ขัดกับข้ออ้างที่โจทก์ยกขึ้นเป็นเหตุฟ้องหย่าดังกล่าว พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุผลให้รับฟังได้ว่า โจทก์ฟ้องแล้วใช้อุบายพาจำเลยซึ่งวิกลจริตไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นกรณีที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความไปเพราะถูกโจทก์ฉ้อฉลจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนสัญญานั้นและคำพิพากษาตามยอมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินโดยฉ้อฉลต้องมีหนี้เกิดขึ้นก่อนหรือขณะทำนิติกรรม และเจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบโดยตรง
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ลูกหนี้โอนให้แก่ผู้คัดค้าน โดยไม่มีค่าตอบแทนและเป็นการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 โดย มิได้บรรยายคำร้องว่า ลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็น ทางให้เจ้าหนี้รายใดเสียเปรียบ ต้องถือว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขอให้เพิกถอนการโอนซึ่งทำให้โจทก์ต้องเสียเปรียบรายเดียวเท่านั้น และต้องได้ความว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก่อนหรือขณะที่ลูกหนี้ ทำนิติกรรมอันจะเป็นการให้เจ้าหนี้เสียเปรียบด้วยเมื่อลูกหนี้ โอนที่ดินให้ผู้คัดค้านแล้ว ถึง3 ปี จึงจะมาเป็นลูกหนี้โจทก์ ขณะโอนโจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของลูกหนี้ ดังนั้น แม้ลูกหนี้ จะโอนที่ดินไปโดยไม่มีค่าตอบแทนก็ตามผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิร้องขอให้ เพิกถอน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินจากการฉ้อฉล ต้องเกิดก่อนหรือขณะที่ลูกหนี้มีหนี้เจ้าหนี้
คำร้องของ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องได้ร้องขอให้เพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยที่ 3 โอนให้แก่ผู้คัดค้านโดยไม่มีค่าตอบแทนและเป็นการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 แต่ตามคำร้องมิได้บรรยายว่าลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้รายใดเสียเปรียบ จึงต้องถือว่าผู้ร้องขอให้เพิกถอนการโอนซึ่งทำให้โจทก์ต้องเสียเปรียบรายเดียวเท่านั้น ซึ่งการร้องขอตามบทกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้ความว่าลูกหนี้ต้องเป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก่อนหรือขณะที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบจำเลยที่ 3 จดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้านไป เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2525 แต่จำเลยที่ 3 เพิ่งเป็นลูกหนี้โจทก์เมื่อปี 2528 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่จำเลยที่ 3 โอนที่ดินให้ผู้คัดค้านแล้วถึง 3 ปี ขณะที่จำเลยที่ 3 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นโจทก์จึงยังไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 3ผู้ร้องไม่มีสิทธิจะร้องขอให้เพิกถอนการโอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินเนื่องจากการฉ้อฉลต้องเกิดขณะที่มีหนี้สินอยู่ก่อน มิเช่นนั้นขาดสิทธิเรียกร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยที่ 3 โอนให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรชายโดยไม่มีค่าตอบแทนและเป็นการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 แต่ตามคำร้องมิได้บรรยายว่าลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้รายใดเสียเปรียบ จึงต้องถือว่าผู้ร้องขอให้เพิกถอนการโอนซึ่งจะทำให้โจทก์เสียเปรียบรายเดียวเท่านั้น และการร้องขอตามบทกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้ความว่าลูกหนี้ต้องเป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก่อน หรือขณะที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เพิ่งเป็นหนี้โจทก์หลังจากได้จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านไปแล้วถึง 3 ปี ขณะที่จำเลยที่ 3 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 3 ผู้ร้องไม่มีสิทธิจะร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าสร้างและการฉ้อฉล: ศาลฎีกาพิพากษาเพิกถอนการโอนสิทธิและยืนยันอำนาจจำเลยในการอนุมัติการโอน
คำฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้ว แต่จำเลยที่ 1 สมคบกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่สุจริต โอนสิทธิดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 โดยไม่มีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารดังกล่าว ทำให้โจทก์เสียสิทธินั้น เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องโดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1ขอให้ศาลเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 3 โดยจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าการโอนดังกล่าวเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 และการโอนสิทธิดังกล่าวจะสำเร็จบริบูรณ์ได้ก็โดยผู้รับโอนซึ่งได้สิทธินั้นต้องทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 2 การเพิกถอนการฉ้อฉลดังกล่าวจึงต้องเพิกถอนนิติกรรมสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสามตามฟ้องโจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนในสิทธิการเช่าสร้างนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ได้
จำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 ได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอระงับการโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่โจทก์และขอโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่ง เรียกให้ชำระเงินตามเช็ค โดยได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินในคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2527 ในคำร้องดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิการเช่าสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ขอโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่โจทก์ ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 ขายหรือจำหน่ายสิทธิดังกล่าวและขอให้ศาลสั่งอายัดสิทธิดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 งดเว้นการจำหน่ายสิทธิดังกล่าวแก่โจทก์หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วก็ฟังข้อเท็จจริงได้ตามนั้น และจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่4 กรกฎาคม 2527 อันเป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นได้มีหนังสือถอนหมายห้ามชั่วคราว จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสามได้ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่โจทก์ก่อนแล้ว การโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 ในพฤติการณ์เช่นนี้จึงถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยทั้งสามได้กระทำไปโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ต้องเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ และเมื่อโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดังได้วินิจฉัยมาแล้วโจทก์ก็มีอำนาจขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะจำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างมาจากจำเลยที่ 1 โดยการฉ้อฉล โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงเป็นคู่สัญญาเช่าที่จะกระทำกันกับผู้ได้สิทธิภายหลังจากสร้างอาคารเสร็จเป็นผู้พิจารณาโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าว
สัญญาเช่าสร้างอาคารระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 มีข้อความระบุว่า"...ผู้เช่าสัญญาว่าจะไม่โอนสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆ ให้บุคคลภายนอกจัดการแทนตามความผูกพันที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติต่อผู้ให้เช่าตามสัญญานี้... เว้นแต่ผู้ให้เช่าจะอนุญาตให้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร"ข้อสัญญาตามหนังสือสัญญาดังกล่าวแสดงว่าแม้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าสร้างอาคารจากจำเลยที่ 2มีสิทธิขอโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็มีอำนาจพิจารณาว่าจะอนุมัติให้โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวได้หรือไม่ มิใช่ต้องยินยอมให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่ผู้รับโอนเสมอไป สัญญาเช่าสร้างอาคารดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาที่จำเลยที่ 1ตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารตามสัญญาเช่าสร้างตามฟ้องได้ โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องไปดำเนินการขอโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างกันต่อจำเลยที่ 2 และการที่จำเลยที่ 2 จะอนุมัติให้โจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1และให้โจทก์เช่าที่ดินและอาคารหรือไม่นั้น ก็เป็นสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ
จำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 ได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว ต่อมาจำเลยที่ 1 ขอระงับการโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่โจทก์และขอโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ได้ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีแพ่ง เรียกให้ชำระเงินตามเช็ค โดยได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา และขอคุ้มครองชั่วคราวในกรณีฉุกเฉินในคดีดังกล่าวเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2527 ในคำร้องดังกล่าวระบุว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิการเช่าสร้างตึกแถวในที่ดินของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 2 ขอโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่โจทก์ ขอให้ห้ามจำเลยที่ 1 ขายหรือจำหน่ายสิทธิดังกล่าวและขอให้ศาลสั่งอายัดสิทธิดังกล่าวต่อจำเลยที่ 2 ให้จำเลยที่ 2 งดเว้นการจำหน่ายสิทธิดังกล่าวแก่โจทก์หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใดไว้ชั่วคราวก่อนพิพากษา ซึ่งเมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วก็ฟังข้อเท็จจริงได้ตามนั้น และจำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่4 กรกฎาคม 2527 อันเป็นเวลาภายหลังจากศาลชั้นต้นได้มีหนังสือถอนหมายห้ามชั่วคราว จึงเป็นกรณีที่จำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสามได้ทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่โจทก์ก่อนแล้ว การโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 ในพฤติการณ์เช่นนี้จึงถือได้ว่าเป็นการที่จำเลยทั้งสามได้กระทำไปโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ต้องเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ และเมื่อโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ดังได้วินิจฉัยมาแล้วโจทก์ก็มีอำนาจขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะจำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างมาจากจำเลยที่ 1 โดยการฉ้อฉล โดยมีจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงเป็นคู่สัญญาเช่าที่จะกระทำกันกับผู้ได้สิทธิภายหลังจากสร้างอาคารเสร็จเป็นผู้พิจารณาโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าว
สัญญาเช่าสร้างอาคารระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 มีข้อความระบุว่า"...ผู้เช่าสัญญาว่าจะไม่โอนสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆ ให้บุคคลภายนอกจัดการแทนตามความผูกพันที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติต่อผู้ให้เช่าตามสัญญานี้... เว้นแต่ผู้ให้เช่าจะอนุญาตให้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษร"ข้อสัญญาตามหนังสือสัญญาดังกล่าวแสดงว่าแม้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าสร้างอาคารจากจำเลยที่ 2มีสิทธิขอโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็มีอำนาจพิจารณาว่าจะอนุมัติให้โอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าวได้หรือไม่ มิใช่ต้องยินยอมให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่ผู้รับโอนเสมอไป สัญญาเช่าสร้างอาคารดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาที่จำเลยที่ 1ตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารตามสัญญาเช่าสร้างตามฟ้องได้ โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องไปดำเนินการขอโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างกันต่อจำเลยที่ 2 และการที่จำเลยที่ 2 จะอนุมัติให้โจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1และให้โจทก์เช่าที่ดินและอาคารหรือไม่นั้น ก็เป็นสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3467/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าสร้างและการฉ้อฉล โจทก์มีสิทธิขอเพิกถอนการโอนได้ หากการโอนนั้นกระทำโดยไม่สุจริต
คำฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสามทราบดีอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้โอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่โจทก์แล้วแต่จำเลยทั้งสาม โดยไม่สุจริต โอนสิทธิดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3โดยไม่มีค่าตอบแทน และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารดังกล่าว ทำให้โจทก์เสียสิทธินั้น เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องโดยอ้างว่าเป็นเจ้าหนี้จำเลยที่ 1 ให้ศาลเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1ลูกหนี้ได้โอนให้แก่จำเลยที่ 3 โดยจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างนั้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 และการโอนสิทธิดังกล่าวจะสำเร็จบริบูรณ์ได้ก็โดยผู้รับโอนซึ่งได้สิทธินั้นต้องทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 2 การเพิกถอนการฉ้อฉลดังกล่าวจึงต้องเพิกถอนนิติกรรมสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนในสิทธิการเช่าสร้างนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 และเพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ได้ จำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 1 ได้ยื่นเรื่องราวขอโอนสิทธิการเช่าสร้างต่อจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้วต่อมาจำเลยที่ 1 ขอระงับการโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่โจทก์และขอโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่จำเลยที่ 3 โดยจำเลยทั้งสามได้ทราบอยู่แล้วว่าจำเลยที่ 1 ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่โจทก์ก่อนแล้ว จึงถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้กระทำไปโดยไม่สุจริตเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1ต้องเสียเปรียบ โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ และเมื่อโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 3 แล้วโจทก์ก็มีอำนาจขอให้เพิกถอนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 3 ด้วย เพราะจำเลยที่ 3 รับโอนสิทธิการเช่าสร้างมาจากจำเลยที่ 1 โดยการฉ้อฉล โดยมีจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าของที่แท้จริงเป็นคู่สัญญาเช่าที่จะกระทำกันกับผู้ได้สิทธิภายหลังจากสร้างอาคารสร้างเป็นผู้พิจารณาโอนสิทธิการเช่าสร้างดังกล่าว สัญญาเช่าสร้างอาคารระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2ระบุว่าผู้เช่าสัญญาว่าจะไม่โอนสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆ ให้บุคคลภายนอกจัดการแทนตามความผูกพันที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติต่อผู้ให้เช่าตามสัญญานี้ เว้นแต่ผู้ให้เช่าจะอนุญาตให้ไว้เป็นลายลักษณ์อักษรข้อสัญญาดังกล่าวแสดงว่าแม้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าสร้างอาคารจากจำเลยที่ 2 มีสิทธิขอโอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่ผู้อื่นก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 ก็มีอำนาจพิจารณาว่าจะอนุมัติให้โอนสิทธิการเช่าสร้างได้หรือไม่ มิใช่ต้องยินยอมให้จำเลยที่ 1 โอนสิทธิการเช่าสร้างให้แก่ผู้รับโอนเสมอไป สัญญาเช่าสร้างอาคารจึงมิใช่สัญญาที่จำเลยที่ 1 ตกลงว่าจะชำระหนี้แก่บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับให้จำเลยที่ 2 ทำสัญญาให้โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารตามสัญญาเช่าสร้างตามฟ้องได้ โจทก์และจำเลยที่ 1 จะต้องไปดำเนินการขอโอนสิทธิการเช่าสร้างระหว่างกันต่อจำเลยที่ 2และการที่จำเลยที่ 2 จะอนุมัติให้โจทก์ได้รับโอนสิทธิการเช่าสร้างจากจำเลยที่ 1 และให้โจทก์เช่าที่ดินและอาคารหรือไม่นั้นก็เป็นสิทธิของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายมรดกในราคาต่ำกว่าราคาตลาด และความสัมพันธ์ของผู้ขายกับผู้ซื้อ อาจเข้าข่ายเป็นการฉ้อฉล
ราคาที่ดินและบ้านพิพาทรวมกันประมาณ 70,000-100,000 บาทการที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกขายที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 2 ในราคา 15,000 บาท จึงเป็นราคาที่ต่ำไม่เหมาะสมนอกจากนี้จำเลยที่ 1 ขอจำเลยที่ 2 มาเลี้ยงดูอย่างลูกและอยู่บ้านเดียวกัน ทายาทโดยธรรมของผู้ตายไม่มีโอกาสรู้เห็นการขายที่ดินและบ้านพิพาท มีวี่แววให้น่าสงสัยถึงความไม่สุจริตของจำเลยทั้งสองจึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทโดยเป็นการฉ้อฉลทำให้โจทก์ทั้งสองและทายาทโดยธรรมเสียเปรียบ ศาลเพิกถอนเสียได้ จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทกันในราคา 60,000 บาท แต่จดทะเบียนเพียง 15,000 บาท นั้น จำเลยทั้งสองไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ในศาลชั้นต้น จึงไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ จำเลยที่ 1 มิใช่ผู้จัดการมรดกที่ผู้ตายตั้งใจจัดการทำศพทายาทผู้ตายก็ไม่ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการศพจำเลยกระทำตามอำเภอใจ ใช้จ่ายค่าจัดการศพผู้ตายไปเองค่าใช้จ่ายดังกล่าวจึงมิใช่หนี้ที่เจ้ามรดกต้องชดใช้ให้แก่จำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1649 จำเลยจึงหามีสิทธิที่จะหักหนี้ค่าจัดการศพผู้ตายไว้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและการอุทธรณ์ตามมาตรา 138 วรรคสอง ป.วิ.พ.
ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยใช้ราคารถยนต์ตามฟ้องกับค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์ว่า หลังจากมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว จำเลยติดต่อขอสมุดคู่มือการจดทะเบียนรถยนต์เพื่อนำไปดำเนินการต่อทะเบียนรถยนต์ โจทก์ไม่ยอมให้ อ้างว่าต้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก่อน เมื่อถึงกำหนดต่อทะเบียน จำเลยจึงไม่สามารถต่อทะเบียนรถยนต์คันพิพาทได้ ทำให้จำเลยประสบความยุ่งยากในการใช้รถยนต์ การที่โจทก์บอกปัดไม่ยอมส่งมอบคู่มือการจดทะเบีนรถยนต์ให้จำเลยเป็นการแสดงให้เห็นถึงการที่โจทก์ทำการฉ้อฉลให้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้ออ้างในอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวนี้ไม่มีข้ออ้างใดที่แสดงให้เห็นว่าโจทก์หลอกลวงหรือปิดบังข้อเท็จจริงใดเพื่อให้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะทำให้เห็นว่าสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเกิดโดยการฉ้อฉลของโจทก์ อันเป็นเหตุที่จะอุทธรณ์ได้ตามมาตรา 138 วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยมาจึงเป็นการไม่ชอบ และจำเลยไม่อาจจะฎีกาต่อมาได้ตามนัยของมาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1725/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาตามยอมต้องมีเหตุฉ้อฉลที่ชัดเจน หากไม่มีเหตุ ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาตามยอมที่คู่ความมีสิทธิอุทธรณ์นั้นต้องเป็นไปตามป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง เมื่อข้ออ้างในอุทธรณ์ของจำเลยไม่มีข้อความใด ๆ ที่แสดงให้เห็นว่า ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวการที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์จึงไม่ชอบและจำเลยไม่อาจฎีกาได้ตามมาตรา 249 วรรคแรก.