พบผลลัพธ์ทั้งหมด 938 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงต้องมีเจตนาทำให้ผู้อื่นเสียทรัพย์ การรับสมาชิกสมาคมฌาปนกิจโดยแจ้งข้อมูลเท็จแต่ไม่ได้ทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิด
จำเลยทั้งสองร่วมกันนำ ธ. มาสมัครเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์โจทก์ร่วม โดยแจ้งแก่โจทก์ร่วมว่า ธ. คือ บ. บิดาจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรงเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อจึงรับ บ. เป็นสมาชิก ความจริงแล้วขณะนั้น บ. ป่วยเป็นโรคมะเร็งในลำไส้ ไม่สามารถเดินไปไหนมาไหนได้ การหลอกลวงมีผลเพียงให้โจทก์ร่วมรับ บ. เข้าเป็นสมาชิกเท่านั้น หาได้ทำให้จำเลยทั้งสองได้ทรัพย์สินไปจากโจทก์ร่วมไม่ แม้ต่อมาโจทก์ร่วมจะจ่ายเงินสงเคราะห์ให้จำเลยที่ 1 ไปจำนวน 92,000 บาท แต่ก็เนื่องจาก บ. ถึงแก่กรรมหาใช่เนื่องจากจำเลยทั้งสองหลอกลวงไม่การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง พนักงานอัยการโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43คำขอส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมที่ขอถือเอาตามฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ย่อมตกไปด้วย ศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยทั้งสองคืนเงินจำนวน 92,000 บาท แก่โจทก์ร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3513/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารประมาทเลินเล่อในการอนุมัติถอนเงินจากบัญชีลูกค้า และพนักงานฉ้อโกง ทำให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาระยอง ชักชวนโจทก์ให้เปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ เพื่อเป็นผลงาน โดยนำแบบฟอร์มต่าง ๆ ของธนาคารจำเลยที่ 1 มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อ แล้วดำเนินการนำเงินของโจทก์ไปฝากให้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโจทก์ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ความไว้วางใจในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของธนาคารจำเลยที่ 1 ในการบริการความสะดวกให้แก่โจทก์ตามที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ช่วยธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบหาลูกค้าให้ ธนาคารจำเลยที่ 1 ออกสมุดคู่ฝากแทนสมุดคู่ฝากของโจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 แจ้งว่าหายให้แก่จำเลยที่ 2 ไป โดยไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งความ และหลักฐานดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งความด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แจ้งความไว้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากที่ออกแทนสมุดที่อ้างว่าหายดังกล่าวไปขอเบิกเงินพร้อมกับขอปิดบัญชีของโจทก์โดยโจทก์ไม่รู้เห็นถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อโดยไม่ใช้ความระมัดระวังด้วยฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการของธนาคารอันเป็นอาชีพของตน แม้ลายมือชื่อของใบถอนจะตรงกับตัวอย่างลายมือชื่อในใบตัวอย่างลายมือชื่อ แต่เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 และยังถือสมุดคู่ฝากฉบับเดิมซึ่งยังไม่มีหลักฐานการถอนเงินจากจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินฝากดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3351/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกง vs. ขายของโดยหลอกลวง และข้อยกเว้นใบอนุญาตขายอาหารสัตว์
จำเลยส่งไข่ผงที่เสื่อมคุณภาพแล้วให้โจทก์ร่วม โดยหลอกลวงโจทก์ร่วมด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่าไข่ผงดังกล่าวเป็นนมผงตามที่โจทก์ร่วมสั่งซื้อ เพื่อหวังจะได้เงินจากโจทก์ร่วมอันเป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริต แต่โจทก์ร่วมยังไม่ได้ชำระเงินให้จำเลย การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานพยายามฉ้อโกง แต่ไม่เป็นความผิดฐานขายของโดยหลอกลวงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271
จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายอาหารสัตว์ประเภทไดแคลเซียมฟอสเฟตของบริษัท อ. ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ให้ผลิตอาหารสัตว์ตามใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์ เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 มาตรา 18 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขายอาหารสัตว์สำหรับอาหารสัตว์ที่ตนผลิตด้วย จึงถือได้ว่าบริษัท อ. ได้รับใบอนุญาตให้ขายอาหารสัตว์ที่ตนผลิตได้ตามกฎหมาย และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ใบอนุญาตตามมาตรา 18 ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตด้วยและวรรคสองบัญญัติว่า ให้ถือว่าการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตที่ได้รับการคุ้มกันตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำของผู้รับใบอนุญาตด้วย การที่จำเลยขายอาหารสัตว์ประเภทไดแคลเซียมฟอสเฟตของบริษัท อ. จึงได้รับการคุ้มกันตามมาตรา 19 จำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 มาตรา 15
จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายอาหารสัตว์ประเภทไดแคลเซียมฟอสเฟตของบริษัท อ. ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากกรมปศุสัตว์ให้ผลิตอาหารสัตว์ตามใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์ เมื่อพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 มาตรา 18 วรรคสอง บัญญัติให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตอาหารสัตว์เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตขายอาหารสัตว์สำหรับอาหารสัตว์ที่ตนผลิตด้วย จึงถือได้ว่าบริษัท อ. ได้รับใบอนุญาตให้ขายอาหารสัตว์ที่ตนผลิตได้ตามกฎหมาย และมาตรา 19 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ใบอนุญาตตามมาตรา 18 ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตด้วยและวรรคสองบัญญัติว่า ให้ถือว่าการกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับใบอนุญาตที่ได้รับการคุ้มกันตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำของผู้รับใบอนุญาตด้วย การที่จำเลยขายอาหารสัตว์ประเภทไดแคลเซียมฟอสเฟตของบริษัท อ. จึงได้รับการคุ้มกันตามมาตรา 19 จำเลยไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2525 มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1728/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินผ่านนายหน้า: จำเลยไม่ต้องรับผิดฐานฉ้อโกง หากโจทก์ทราบสถานะนายหน้าและไม่ได้พิสูจน์การหลอกลวง
ขณะตกลงซื้อขายที่ดินกันโจทก์ร่วมรู้อยู่แล้วว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของ แต่เป็นนายหน้าขายที่ดินเท่านั้น แสดงว่า โจทก์ร่วมซึ่งประกอบอาชีพจัดสรรบ้านและที่ดินขายย่อมทราบว่าผู้ทำธุรกิจเป็นนายหน้านำที่ดินของบุคคลอื่นมาเสนอขายย่อมต้องการบำเหน็จเป็นค่าตอบแทนทั้งเมื่อโจทก์ร่วมตกลง ซื้อที่ดินแล้วโจทก์ร่วมก็ไม่ได้พบเจ้าของที่ดินเลยนั้นก็ไม่เป็น การผิดปกติที่จะฟังว่าเป็นการปกปิดหลอกลวงโจทก์ร่วม เพราะจำเลยอาจต้องการผลต่างของราคาที่ดินเป็นกำไร อีกส่วนหนึ่งจากการขายที่ดินก็เป็นได้ ทั้ง ท.และอ. เจ้าของที่ดินก็รับว่าได้รับเงินมัดจำที่โจทก์ร่วมมอบผ่านจำเลย มาให้ตนแล้ว นอกจากนี้ก่อนที่โจทก์ร่วมจะตกลงซื้อที่ดิน โจทก์ร่วมได้ไปดูที่ดินกับจำเลยแล้วด้วย ดังนั้น การที่ โจทก์ร่วมนำหนังสือแจ้งการครอบครองที่ดินไปตรวจแล้ว ปรากฏว่าชื่อผู้ถือสิทธิครอบครองไม่ใช่ ท.กับอ. ก็ดีหรือต่อมาภายหลังเมื่อจำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินได้ตรวจสอบแล้วไม่อาจที่จะออกหนังสือรับรอง การทำประโยชน์เพื่อโอนขายให้แก่โจทก์ร่วมได้ตามที่ตกลงกันก็เป็นเรื่องของเหตุการณ์ที่ไม่สามารถเป็นไปตามที่ตกลงกันเท่านั้น เมื่อพิจารณาถึงการที่จำเลยรับเงินจากโจทก์ร่วมเพื่อนำไปให้เจ้าของที่ดินจำนวน 600,000 บาทนั้นจำเลยได้ทำหลักฐานการรับเงินให้แก่โจทก์ร่วมจนครบถ้วน และเมื่อโจทก์ร่วมขอเงินคืน จำเลยก็รับว่าจะคืนให้ แต่ขอเลื่อนเวลาออกไปก่อน พฤติการณ์เช่นนี้จึงเป็น เรื่องผูกพันกันในทางแพ่งว่าฝ่ายไหนเป็นฝ่ายผิดสัญญาคดีของโจทก์และโจทก์ร่วมยังไม่มีน้ำหนักพอที่จะให้ฟังว่าการกระทำของจำเลยเป็นการหลอกลวงโจทก์ร่วมด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่ง ควรบอกให้แจ้ง อันจะเป็นความผิดอาญาฐานฉ้อโกงตามฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 960/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คโดยเจตนาฉ้อโกง แม้ชำระเงินบางส่วน แต่ยังไม่ครบตามเช็คทั้งสองฉบับ ถือเป็นความผิด 2 กระทง
จำเลยออกเช็ค 2 ฉบับ สั่งจ่ายเงินเพื่อชำระค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ให้แก่ผู้เสียหาย แต่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินทั้งสองฉบับและจำเลยถูกฟ้องในความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ แม้ เงินที่ผู้เสียหายได้รับไปจากจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นจะเป็นจำนวนมากกว่าจำนวนเงินในเช็คฉบับแรกก็ตาม แต่ก็ยังไม่พอเพียงต่อการชำระหนี้ค่าเช่าซื้อรถแทรกเตอร์ ทั้งหมดที่จำเลยออกเช็คทั้ง 2 ฉบับที่พิพาทเพื่อชำระหนี้แก่ ผู้เสียหาย เมื่อหนี้ดังกล่าวยังมีผลผูกพันจำเลย ทั้งตาม ข้อตกลงที่ผู้เสียหายกับจำเลยร่วมกันแถลงต่อศาลชั้นต้นระบุ ว่า จำเลยต้องชำระเงินให้ครบถ้วนตามเช็คทั้ง 2 ฉบับผู้เสียหายจึงจะถอนคำร้องทุกข์ให้ และไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายกับจำเลยได้เปลี่ยนแปลงข้อตกลงให้คดีตามเช็คฉบับหนึ่งฉบับใดเลิกกันไปก่อนได้ คดีตามเช็คฉบับแรกจึงยังไม่เลิกกันตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 การออกเช็คของจำเลยจึงเป็นความผิด 2 กระทง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6869/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงประชาชนร่วมกัน: เจตนาเดียวกันถือเป็นกรรมเดียว แม้ผู้เสียหายหลายราย
จำเลยที่ 3 และที่ 4 กับพวก ได้หลอกลวงโจทก์ทั้งเก้าโดยอ้างว่าได้ร่วมกันประกอบกิจการโรงงานจัดส่งปอกระสาไปจำหน่ายต่างประเทศ ร่วมกันลงทุนทำธุรกิจเกี่ยวกับที่ดิน และธุรกิจให้กู้ยืมเงินซึ่งให้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ร้อยละ 5 ต่อ 15 วันร้อยละ 4 ต่อ 7 วัน ร้อยละ 3 ต่อ 5 วัน จำเลยที่ 3 และที่ 5 กับพวกต้องการกู้ยืมเงินจากโจทก์ทั้งเก้า และประชาชนทั่วไปเพื่อนำไปลงทุนขยายกิจการดังกล่าว โจทก์ทั้งเก้าหลงเชื่อจึงให้กู้ยืมเงินหลายครั้ง การกระทำ ของจำเลยทั้งห้าจึงเป็นการกระทำโดยทุจริต ร่วมกันหลอกลวง โจทก์ทั้งเก้าและประชาชน ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากโจทก์ทั้งเก้า เป็นความผิดฐานร่วม กันฉ้อโกงประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 343,83 การที่โจทก์ทั้งเก้า ร่วมรับดอกเบี้ยเกินอัตรานั้นโจทก์ทั้งเก้ามิได้ฟ้องร้องจำเลยที่ 3 และที่ 4 กับพวกในข้อหาความผิดต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯหากแต่ฟ้องร้องในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ซึ่งข้อหานี้ โจทก์ทั้งเก้ามิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 3 และที่ 4 อันจะทำให้โจทก์ทั้งเก้าไม่เป็นผู้เสียหายโดย นิตินัย โจทก์ทั้งเก้าจึงเป็นผู้เสียหายคดีนี้ การหลอกลวงหรือฉ้อโกงโจทก์ทั้งเก้าและประชาชนโดยสภาพแห่งการกระทำต้องกระทำต่อบุคคลหลายคนในลักษณะ ที่เป็นประชาชนและอาจต่างวาระกันได้แต่เห็นได้ชัดว่า เกิดจากเจตนาอันเดียวกันคือ ฉ้อโกงประชาชน จึงถือได้ว่า การกระทำความผิดของจำเลยทั้งห้าเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6825/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงโดยเจตนาทุจริตตั้งแต่แรกทำสัญญา โอนสิทธิเรียกร้องก่อนทำสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย
จำเลยที่ 2 มีเจตนาทุจริตตั้งแต่ในขณะที่ทำสัญญาร่วมดำเนินการกับโจทก์ โดยไม่เปิดเผยความจริงที่โอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายเครื่องส่งโทรทัศน์สีตามสัญญาดังกล่าวซึ่งควรบอกให้แจ้งให้แก่ผู้ทำการแทนโจทก์ทราบ ก็เพื่อให้ผู้ทำการแทนโจทก์หลงเข้าใจผิดว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิรับเงินค่าขายจากผู้ซื้ออันเป็น กรณีปกติของการค้า อันเป็นอุบายของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นการหลอกลวง และโดยการหลอกลวงดังกล่าวได้ไปซึ่งทรัพย์สินเครื่องส่งโทรทัศน์สีดังกล่าวจากโจทก์ ซึ่งเปลี่ยนสภาพเป็นสิทธิที่จะได้รับชำระเงินจำนวน 13,000,000 บาทเศษอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงมือกระทำต้องรับผิดเป็นตัวการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองโดยทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่โจทก์การที่จำเลยทั้งสองปกปิดมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินที่ได้รับจาก ก. ให้แก่บุคคลที่สามก่อนแล้ว จึงทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ในวันกระทำผิดซึ่งเป็นเวลาในภายหลัง เป็นเหตุได้ไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์คือเครื่องส่งโทรทัศน์และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่โจทก์ซื้อเป็นเงินรวมจำนวน 51,000,000 บาทเศษ ที่โจทก์จะได้ส่วนแบ่งตามสัญญาดังกล่าวพร้อมทั้งระบุสถานที่เกิดเหตุ คำฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) และ (6)
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 1 กับโจทก์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2536 และทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 2 กับโจทก์ในวันที่ 10 เมษายน 2536โดยมีเจตนาฉ้อโกงมาแต่ต้นอันเป็นเจตนาแยกจากกันและต่างวาระกัน การกระทำจึงเป็นกรณีต่างกรรมต่างวาระกันแยกจากกัน 2 กรณี เป็นความผิด 2 กรรม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสองโดยทุจริตแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่โจทก์การที่จำเลยทั้งสองปกปิดมิได้แจ้งให้โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ตกลงทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องการรับเงินที่ได้รับจาก ก. ให้แก่บุคคลที่สามก่อนแล้ว จึงทำสัญญาเป็นหุ้นส่วนกับโจทก์ในวันกระทำผิดซึ่งเป็นเวลาในภายหลัง เป็นเหตุได้ไปซึ่งทรัพย์สินของโจทก์คือเครื่องส่งโทรทัศน์และเครื่องส่งวิทยุกระจายเสียงที่โจทก์ซื้อเป็นเงินรวมจำนวน 51,000,000 บาทเศษ ที่โจทก์จะได้ส่วนแบ่งตามสัญญาดังกล่าวพร้อมทั้งระบุสถานที่เกิดเหตุ คำฟ้องของโจทก์จึงครบองค์ประกอบฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) และ (6)
จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 1 กับโจทก์ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2536 และทำสัญญาร่วมดำเนินการฉบับที่ 2 กับโจทก์ในวันที่ 10 เมษายน 2536โดยมีเจตนาฉ้อโกงมาแต่ต้นอันเป็นเจตนาแยกจากกันและต่างวาระกัน การกระทำจึงเป็นกรณีต่างกรรมต่างวาระกันแยกจากกัน 2 กรณี เป็นความผิด 2 กรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6575/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมเอกสาร ใช้เอกสารปลอม และฉ้อโกง โดยเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดหลายบท
การที่จำเลยได้ปลอมใบรับฝากรวม 6 ฉบับ ของที่ทำการไปรษณีย์ ธ. โดยเพิ่มเติมจำนวนรายการจดหมายลงทะเบียนและพัสดุไปรษณีย์ภัณฑ์กับปลอมใบนำส่งจดหมาย 2 ฉบับ ของบริษัท บ.ผู้เสียหาย โดยแก้ไขจำนวนจดหมายลงทะเบียนและลบแก้ไขจำนวนจดหมายธรรมดาแล้วจากนั้นจำเลยได้ใช้เอกสารที่ตนเองทำปลอมขึ้นทั้งหมดไปหลอกลวงผู้เสียหาย เป็นเหตุให้จำเลยได้เงินไปจำนวน11,218 บาท นั้น เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงจะได้มอบเงินจำนวน 11,218 บาท ให้แก่จำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยเกี่ยวกับเอกสารทั้งสองประเภทดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองซึ่งต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว และเป็นความผิดฐานฉ้อโกงอีกบทหนึ่ง อันเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท แต่ความผิดทั้งสองฐานนี้มีโทษเท่ากัน ศาลฎีกาให้ลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6575/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท ปลอมเอกสาร-ฉ้อโกง ศาลฎีกาให้ลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมกระทงเดียว
การที่จำเลยได้ปลอมใบรับฝากรวม 6 ฉบับของที่ทำการไปรษณีย์ ธ. โดยเพิ่มเติมจำนวนรายการจดหมายลงทะเบียนและพัสดุไปรษณีย์ภัณฑ์กับปลอมใบนำส่งจดหมาย 2 ฉบับ ของบริษัทบ. ผู้เสียหายโดยแก้ไขจำนวนจดหมายลงทะเบียนและลบแก้ไขจำนวนจดหมายธรรมดาแล้วจากนั้นจำเลยได้ใช้เอกสารที่ตนเองทำปลอมขึ้นทั้งหมดไปหลอกลวงผู้เสียหาย เป็นเหตุให้จำเลยได้เงินไปจำนวน 11,218 บาท นั้น เป็นการที่จำเลยได้กระทำการทั้งหลายอย่างต่อเนื่องกัน โดยจำเลยมีเจตนาอย่างเดียวคือให้ผู้เสียหายหลงเชื่อว่าเอกสารต่าง ๆที่จำเลยได้ทำปลอมขึ้นเป็นเอกสารที่แท้จริงจะได้มอบเงินจำนวน 11,218 บาท ให้แก่จำเลยเท่านั้น การกระทำของจำเลยเกี่ยวกับเอกสารทั้งสองประเภทดังกล่าวจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมโดยจำเลยเป็นผู้ปลอมเอกสารเองซึ่งต้องลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว และเป็นความผิดฐานฉ้อโกงอีกบทหนึ่งอันเป็นการกระทำกรรมเดียวแต่ผิดต่อกฎหมายหลายบทแต่ความผิดทั้งสองฐานนี้มีโทษเท่ากัน ศาลฎีกาให้ลงโทษฐานใช้เอกสารปลอมแต่กระทงเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงจากการหลอกลวงรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ โจทก์หลงเชื่อโอนเงินให้จำเลย
จำเลยได้มาหลอกลวงขอรับชำระหนี้เงินกู้จำนวน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์กู้เงินจาก ค. จากโจทก์ โดยจำเลยอ้างว่ารับแทน ค. และโจทก์หลงเชื่อได้มอบเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยจำนวน 216,000 บาท ให้จำเลยไปการกระทำของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จโดยเจตนาทุจริต เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341