คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ชอบด้วยกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 507 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1178/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติคณะกรรมการดำเนินการเพิกถอนการดำเนินคดีโจทก์ ศาลรับฟังได้และพิพากษายกฟ้อง ชอบด้วยกฎหมาย
ในระหว่างพิจารณา คู่ความแถลงยอมรับมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์กับมีมติให้ ส. ไปชี้แจงข้อเท็จจริงต่อศาลและฝ่ายโจทก์ยอมถอนฟ้องคดีนี้ หากศาลมีคำสั่งเรียก ส. มาแถลงเพื่อยืนยันมติคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ดังกล่าว และเนื่องจากมติคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์ดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญในคดีจึงมีเหตุสมควรที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งเรียก ส.กับพวกมาศาลเพื่อแถลงถึงมติที่ประชุมดังกล่าวให้ได้ความชัดเจนในประเด็นว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสามหรือไม่โดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 45 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 เมื่อ ส. กับพวกมาศาลแถลงว่าโจทก์ไม่ได้รบความเสียหายอันเนื่องจากการกระทำของจำเลยทั้งสาม กรณีก็ไม่จำต้องสืบพยานในประเด็นข้อต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1058/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจก่อนทำสัญญาเช่าซื้อเพียงพอให้ฟังได้ว่ามีการมอบอำนาจโดยชอบ แม้ไม่มีหลักฐานอื่นเพิ่มเติม
ตามหนังสือมอบอำนาจซึ่งทำขึ้นก่อนมีการทำสัญญาเช่าซื้อระบุว่า ส. และ ม. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้แม้โจทก์จะไม่มีพยานหลักฐานอื่นอันแสดงว่า ม. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์มานำสืบเพิ่มเติมอีกก็ตามแต่การที่จำเลยที่ 1 เข้าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์โดยถือเอาประโยชน์ตามสัญญาด้วยการรับเอารถยนต์ที่เช่าซื้อไปจากโจทก์และผ่อนชำระค่าเช่าซื้อตลอดมาจนกระทั่งผิดนัด ย่อมเป็นการผูกพันระหว่างโจทก์และ จำเลยที่ 1 แล้ว จึงเป็นการเพียงพอให้ฟังได้ว่ามีการมอบอำนาจโดยชอบแล้ว เมื่อ ว.และร.ได้รับมอบอำนาจจาก ม. จึงมีอำนาจลงชื่อในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์ได้ สัญญาเช่าซื้อจึงไม่ตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9121/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมหนี้กู้ยืมและการออกเช็คชำระหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคหนึ่ง เป็นกรณีที่หนี้เงินจำนวนดังกล่าวไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง แต่สำหรับคดีนี้โจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือคือเอกสารหมาย จ.1 มาแสดง และจำเลยนำสืบรับว่าได้กู้ยืมเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้เสียหายจริง สัญญากู้ยืมเงินอาจจะรวมเงินจำนวนที่กู้ยืมกันในครั้งก่อน ๆ มารวมไว้ในสัญญากู้ยืมเงินฉบับเดียวกันได้ ไม่มีกฎหมายห้ามดังนั้น การที่ผู้เสียหายนำเงินจำนวน 700,000 บาท ที่ให้จำเลยกู้ยืมไปเมื่อวันที่11 เมษายน 2537 มารวมกับเงินจำนวน 800,000 บาท ที่ให้จำเลยกู้ยืมอีกเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2537 รวมเป็นเงิน 1,500,000 บาท จึงชอบที่จะทำได้และเป็นหนี้ที่อาจบังคับได้ตามกฎหมาย หากผู้เสียหายนำหลักฐานการกู้ยืมเงินตามเอกสารหมาย จ.1 มาฟ้องเรียกเงินจำนวนดังกล่าวในทางแพ่ง จำเลยก็อาจจะต้องรับผิดตามจำนวนที่ปรากฏในเอกสารนั้น เมื่อจำเลยทำหลักฐานการกู้ยืมตามเอกสารหมาย จ.1 แล้วในวันเดียวกันจำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเงินจำนวนเดียวกันกับที่กู้ยืมโดยลงวันที่ล่วงหน้าไว้ตรงกับกำหนดที่จะต้องชำระคืนหนี้เงินที่กู้ยืมนั้นจึงเป็นการออกเช็คชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6844/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนคณะกรรมการสมาคมโดยการไม่ไว้วางใจ และการตั้งคณะกรรมการรักษาการชอบด้วยกฎหมาย
การดำเนินกิจการของสมาคมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่โดยคณะกรรมการของสมาคมเป็นผู้ดำเนินกิจการตามกฎหมายและข้อบังคับของสมาคมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 86 เมื่อที่ประชุมใหญ่วิสามัญลงมติไม่ไว้วางใจคณะกรรมการชุดเดิม ทำให้คณะกรรมการชุดเดิมพ้นตำแหน่งไปและตั้งคณะกรรมการรักษาการขึ้นให้มีอำนาจหน้าที่ชั่วคราวในการดำเนินกิจการของผู้คัดค้านตามที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่ การที่คณะกรรมการรักษาการจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีเพื่อลงมติแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ก็เป็นการดำเนินการตามที่รับมอบหมายจากที่ประชุมใหญ่จึงเป็นการดำเนินการที่ชอบด้วยกฎหมายและทำให้การตั้งคณะกรรมการชุดใหม่กับการประชุมของคณะกรรมการชุดใหม่ภายหลังจากนั้นชอบด้วยกฎหมายด้วย ไม่เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 85 วรรคสามที่ให้คณะกรรมการชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่กรรมการของสมาคมต่อไปจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนกรรมการชุดใหม่ในระหว่าง ที่ยังไม่มีการจดทะเบียนกรรมการของสมาคมชุดใหม่เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมีความมุ่งหมายสำหรับกรณีที่คณะกรรมการชุดเดิมพ้นตำแหน่งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการในกรณีปกติธรรมดา และอยู่ในระหว่างดำเนินการทางทะเบียนเพื่อให้การดำเนินการของสมาคมมีความต่อเนื่องหรือไม่มีเหตุขัดข้องในช่วงว่างกรรมการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงมติของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย และความชอบด้วยกฎหมายของการแจ้งนัดประชุม
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1185 ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนใดที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใด ซึ่งที่ประชุมจะลงมติออกเสียงลงคะแนนด้วยในมติข้อนั้น หมายความเฉพาะผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเท่านั้น ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตน ไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษ เพราะแม้ไม่มีมติของบริษัทดังกล่าว ผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทก็ชอบที่จะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้ว อีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมด มิได้เลือกปฏิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษแต่อย่างใด มติดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 1185
การที่ ป.พ.พ. มาตรา 1175 กำหนดให้แจ้งนัดประชุมใหญ่บริษัทด้วยการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้ถือหุ้นทุกคน โดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วันนั้น ก็เพื่อมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้า เพื่อที่ผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่ ดังนั้นการที่ผู้ร้องที่ 1 ในฐานะประธานกรรมการบริษัทได้มีหนังสือลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2534เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 3 ธันวาคม 2534 โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่7 คน ทราบ และผู้ถือหุ้นรวมทั้งผู้ร้องต่างก็ทราบนัดแล้ว ครั้นถึงกำหนดนัดผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้ไปประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน ส่วนผู้ร้องและบุตรผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยไม่ได้เข้าประชุม มีแต่ชาย 2 คนมาประชุมแทน แต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจ จึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 575/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประชุมผู้ถือหุ้นชอบด้วยกฎหมาย แม้มีผู้ถือหุ้นเป็นเจ้าหนี้ และไม่มีการเลือกปฏิบัติในการชำระหนี้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1185ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นคนใดที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษในข้ออันใดซึ่งที่ประชุมจะลงมติออกเสียงลงคะแนนด้วยในมติข้อนั้นหมายความเฉพาะผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเท่านั้นผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทที่ร่วมประชุมและลงมติให้บริษัทชำระหนี้แก่ตนไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียเป็นพิเศษเพราะแม้ไม่มีมติของบริษัทดังกล่าวผู้ถือหุ้นที่เป็นเจ้าหนี้บริษัทก็ชอบที่จะได้รับชำระหนี้หรือเรียกร้องให้มีการชำระหนี้ได้อยู่แล้วอีกทั้งที่ประชุมก็มีมติให้ชำระหนี้คืนแก่ผู้ถือหุ้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันหมดมิได้เลือกปฏิบัติแก่ผู้ถือหุ้นบางคนเป็นพิเศษแต่อย่างใดมติดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1185 การที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1175กำหนดให้แจ้งนัดประชุมใหญ่บริษัทด้วยการลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังผู้ถือหุ้นทุกคนโดยกำหนดเวลาว่าต้องแจ้งก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า7วันนั้นก็เพื่อมุ่งประสงค์ให้มีการแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบล่วงหน้าเพื่อที่ผู้ถือหุ้นจะได้เตรียมตัวสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นอันจะเป็นประโยชน์แก่บริษัทได้เต็มที่ดังนั้นการที่ผู้ร้องที่1ในฐานะประธานกรรมการบริษัทได้มีหนังสือลงวันที่25พฤศจิกายน2534เรียกประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่3ธันวาคม2534โดยส่งให้ผู้ถือหุ้นทั้งหมดซึ่งมีอยู่7คนทราบและผู้ถือหุ้นรวมทั้งผู้ร้องต่างก็ทราบนัดแล้วครั้นถึงกำหนดนัดผู้คัดค้านทั้งห้าซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นได้ไปประชุมโดยพร้อมเพรียงกันส่วนผู้ร้องและบุตรผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นด้วยไม่ได้เข้าประชุมมีแต่ชาย2คนมาประชุมแทนแต่เข้าประชุมไม่ได้เพราะไม่มีหนังสือมอบอำนาจจึงฟังได้ว่าการแจ้งกำหนดนัดประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5736/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายและการกระทำโดยบันดาลโทสะในคดีฆ่าผู้อื่น
ผู้ตายทั้งสองมีเรื่องไม่พอใจน้องชายจำเลยแต่กลับไปหาเรื่องกับจำเลยและชี้หน้าด่าแม่จำเลยเห็นว่าการที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายทั้งสองด้วยสาเหตุเพียงเท่านี้ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการป้องกันสิทธิของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา68แต่การที่ผู้ตายทั้งสองไปหาเรื่องกับจำเลยและชี้หน้าด่าแม่จำเลยนั้นถือได้ว่าจำเลยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมการที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายทั้งสองในขณะนั้นจึงเป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5676/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดชี้สองสถานและการไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี ศาลฎีกาเห็นชอบตามขั้นตอนที่ถูกต้อง
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 182 เมื่อโจทก์ยื่นคำฟ้องและศาลรับคำฟ้องแล้ว ศาลย่อมนัดชี้สองสถานไปได้ โดยแจ้งกำหนดวันชี้สองสถานให้คู่ความทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันเท่านั้น ไม่ต้องนับจากวันที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำให้การ จะทำให้คดีล่าช้าโดยไม่จำเป็น และวันนัดชี้สองสถานนั้นศาลอาจอนุญาตให้เลื่อนไปได้หากมีเหตุสมควร ทั้งการนัดชี้สองสถานตั้งแต่วันที่ศาลรับคำฟ้องเช่นในคดีนี้ก็ไม่ทำให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ต้องเสียเปรียบ เพราะจำเลยที่ 1 สามารถแถลงเสนอประเด็นข้อพิพาทหรือตกลงกันกะประเด็นข้อพิพาทต่อศาลได้ เมื่อศาลทำการชี้สองสถานแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 3 ก็ไม่ได้โต้แย้งว่าการกำหนดประเด็นข้อพิพาทของศาลไม่ถูกต้องอย่างไร เมื่อศาลชั้นต้นแจ้งกำหนดวันชี้สองสถานให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวัน การกำหนดวันชี้สองสถานของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้เลื่อนคดี และให้งดสืบพยานจำเลยที่ 1 เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้โต้แย้งไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5601/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวบังคับจำนองชอบด้วยกฎหมาย แม้ไม่มีผู้รับ หากส่งถึงภูมิลำเนาจำเลย
การบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นการแสดงเจตนาต่อบุคคลผู้ซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า เมื่อการแสดงเจตนาดังกล่าวส่งไปถึงภูมิลำเนาของจำเลยตามสำเนาทะเบียนบ้านแล้ว ย่อมถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงจำเลยซึ่งเป็นผู้รับการแสดงเจตนาแม้จะไม่มีผู้รับก็ตาม ถือว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองดังกล่าวชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5215/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตนเองโดยชอบด้วยกฎหมายจากภยันตรายใกล้ถึงของผู้ถูกทำร้าย
ผู้ตายมีนิสัยเป็นนักเลง อันธพาล ใจคอดุร้าย วันเกิดเหตุผู้ตายได้กล่าวคำอาฆาตจำเลยกับบุตรจำเลยแล้วดื่มสุราก่อนมาหาจำเลย เมื่อผู้ตายเข้ามาในบริเวณบ้านจำเลย จำเลยบอกให้ผู้ตายหยุด แต่ผู้ตายไม่ยอมหยุดและเดินตรงเข้าหาจำเลยระยะห่างเพียง 5 วา พฤติการณ์ของผู้ตายส่อลักษณะอาการที่มุ่งร้ายต่อชีวิตของจำเลย และเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยมีความชอบธรรมที่จะป้องกันภยันตรายได้ตามสมควรจำเลยอายุ 68 ปี อยู่ในวัยชรา ส่วนผู้ตายอายุ 26 ปี เป็นชายฉกรรจ์ ในภาวะเช่นจำเลยต้องประสบในขณะนั้นย่อมต้องเข้าใจว่า ผู้ตายคงจะต้องมีอาวุธติดตัวมาและจะมาฆ่าจำเลย โอกาสไม่อำนวยให้จำเลยได้ตั้งสติไตร่ตรองได้ว่า ผู้ตายมีอาวุธร้ายแรงแค่ไหน การที่จำเลยยิงปืนใส่ผู้ตายเพียง 1 นัด กระสุนปืนถูกผู้ตายและผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยพอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
of 51